นี้มาเข้าเรื่องว่าแล้วห้องนี้นี่บอกวิธีการทำอย่างไรสำหรับผู้ที่ได้ฟัง
สิ่งนึงที่ผมกระทำไปด้วยความเอื้อเฟื้อในการพูดคุยเรื่องนี้ก็เกิดจากที่จะต้องถามกันว่าเข้าใจกระดุมเม็ดแรกอย่างไร กระดุมเม็ดแรกคืออะไร กระดุมเม็ดแรกก็คือ การที่เรามีสติเข้าไปตั้งไว้แล้วที่ปลายจมูกนั้น มันเหมือนกับการที่เราต้องรู้อยู่ที่ปลายจมูกนั้น รู้ลมนะ ไม่ใช่รู้ตัวปลายจมูกด้วย แต่ให้รู้ลมที่บริเวณปลายจมูกนั้นหนะจุดเดียวนะ
บางคนบอกว่าหายใจเข้ามีสองรู รู้รูไหนดี ไม่ต้อง เอาจุดเดียว ตรงไหนชัดตรงนั้นจุดเดียว
บางคนบอกว่า หายใจเข้าก็จุดนึง หายใจออกก็จุดนึง ผมบอกว่าไม่ต้อง เอาจุดเดียว เอ๊ะ แล้วจุดเดียวจะทำอย่างไร ในเมื่อหายใจเข้ามันชัดจุดเดียว แล้วตอนหายใจออกมันไม่ชัด มันไม่เห็น ทำไง ก็รู้ พยามรู้ให้ได้ ในไม่เห็นนั่นมันมีอยู่ แล้วไม่ต้องใส่ใจโยกจุดเช่น ลมหายใจเข้าเป็นจุด A ชัดที่จุด A อาจจะเป็นปลายจมูก แต่ลมหายใจออกเกิดไปชัดจุด Bอาจจะเป็นริมฝีปาก (นี้สมมติ) หรืออาจจะเป็นโพรงจมูกที่คนละจุด ให้เอาจุดเดียว อย่าเคลื่อนจุด เพราะการเคลื่อนไปเคลื่อนมาของจุดรู้เนี่ยมันจะเกิดความฟุ้งซ่าน
เพราะฉะนั้นกล่าวโดยสรุปนะ เรื่องแรกเลยเนี่ยให้รู้ลมบริเวณจุดกระทบจุดเดียว ไม่ใช่ให้รู้จุดระทบนะ ให้รู้ลมที่บริเวณจุดกระทบจุดเดียว แล้วตั้งความรู้สึกนั้นหนะทั้งวันเลย ทั้งการปฏิบัติเลย เราตั้งเวลาหนึ่งชั่วโมงสองชั่วโมงก็รู้อยู่ตรงนั้นหนะ อยู่ที่ปลายจมูกนั้นหนะอย่างต่อเนื่อง
เพราะฉะนั้นการที่จะทำแบบนี้ได้มันต้องฝึกนะ ฝึกให้เกิดความเคยชิน ท่านเปรียบเหมือนกับการปักเสาหลักไว้แล้วก็ผูกเชือกให้โคที่กำลังดิ้นรนยังไม่เชื่องให้หมุนพันอยู่กับหลักนั้นหนะ ตัวหลักก็คืออานาปานสติ ตัวสายก็คือสติที่ดึงจมูกผูกวัวไว้ วัวนั้นก็จะเชื่องลงๆ ในที่สุดแล้วก็หมอบอยู่ข้างเสานั้นหนะ พอหมอบแล้วเค้าเชื่องเเล้วก็ฝึกได้แล้วทีนี้
เพราะฉะนั้นการทำอานาปานสติก็เช่นเดียวกัน หาจุดให้เจอก่อน จุดเดียว ไม่มีอาการซ้ายรูซ้ายรูขวาไม่ต้อง เข้าออกชัดตรงไหนจุด Aจุด B ไม่ต้อง เอาจุดเดียว
เมื่อทำอย่างนี้แล้วเนี่ย ตอนที่หายใจเข้าก็ให้รู้ คำว่ารู้นเนี่ยไม่ควรที่จะมีพยัญชนะในหัวนะ เช่นเข้า สระเอขอไข่สระอาไม้โทเนี่ย มีความรู้สึกภายในว่าเข้าหรือว่ามีบ่นอยู่ในจิตว่าเข้าออกอะไรต่างๆ ในที่สุดแล้วมันไม่ควรจะมี อันนี้คำว่าไม่ควรจะมีนี้หมายถึงว่าถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็ไม่ได้ห้ามมากมายนะ แต่ถ้าทำตรงจริง ๆ มันจะไม่มี ถามว่าไม่มีได้อย่างไร ไม่มีได้ก็เพราะว่าเรารู้ตรงนั้นหนะเป็น 3 จุด ก็คือ รู้ลม รู้เข้า ในขณะที่รู้เข้านี่ก็ให้รู้ความนานของเค้าด้วย
เพราะฉะนั้นรู้ 3 สิ่งก็คือ
1. รู้ลมที่จุดจุดเดียว
2. รู้อาการเข้า
3.รู้ความนานของเค้า
แต่ 3 สิ่งนี้มันเกิดที่จุด ๆ เดียวนะ ก็คือปลายจมูกนั่นแหละ ก็คืดจุดที่เราตั้งไว้แล้วนั่นแหละ ตั้งสติไว้แล้วนั่นแหละ มีสภาพที่เป็นอุปัฏฐาก คำว่าอุปัฏฐาก คืออะไร อุปัฏฐาก คือเอาไปทำด้วยความนุ่มนวลทะนุถนอม ไม่กำแรงไปไม่ปล่อยไม่คลาย เหมือนกำนกตะกรุมในพระสูตร ก็คือกำเกินไปนกก็ตาย ปล่อยเกินไปนกก็หลุดมือ เข้าไปด้วยความมั่นใจไม่เข่นอารมณ์ไม่หมายมั่นเกินไป แต่รู้จดจ่อต่อเนื่อง เนี่ยตรงนี้สำคัญ
เมื่อรู้จดจ่อต่อเนื่องที่จุดจุดเดียวเนี่ย ขณะที่เข้าและนานเนี่ยมันก็อยู่ที่จุดนั้นแหละที่จุดจุเดียว สาระตรงนี้ที่ผม (อาจารย์Aero.1)บอกว่าผมพูดร้อยคน จะมีแค่ประมาณห้าเปอร์เซ็นต์ที่จะเข้าใจ ในห้าเปอร์เซ็นต์นั้นจะมีแค่หนึ่งหรือสองเปอร์เซนต์ที่ทำอย่างต่อเนื่องที่จะเอามาทดลองจริงๆ เพราะว่าอะไร เพราะว่าเราสั่งสมวิธีการอะไรมาไม่รู้ในชีวิต แล้วเรื่องที่พูดนี่ก็ไม่ไม่เคยได้ยินนะ
มีเพื่อนสนิทผมคนนึงบอกว่ามันคงมีวิธีเดียวนะถ้าเราจะประกาศวิธีนี้กันได้เนี่ย แล้วก็บอกว่าเป็นวิธีของพระพุทธเจ้าจริงๆ เนี่ย ผมคงต้องเหาะไปสนามหลวงแล้วก็ไปประกาศบนอากาศ เพราะว่าพูดธรรมดาไม่มีใครเชื่อจริงๆนะมันเป็นอย่างนั้น ทีนี้ถ้าเราไม่ต้องใช้อุตริมนุสยธรรม เข้าไปทำแบบนั้นเนี่ย เชิญมา เชิญมาทดลอง เพราะฉะนั้นยังไม่ต้องเชื่อยังไม่ต้องปฏิเสธ ทดลองทำไป ถ้าทำตรงเนี่ยสามวันเจ็ดวันคุณเจอแน่ลมสั้นบางคนเข้าไปถึงลมกังสดาลในวัตถุที่สี่
เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องของการท้าพิสูจน์นะ ท้าพิสูจน์ให้มาลองทำ
ทีนี้เมื่อกี้สักครู่นึงพูดถึงเรื่องของการรู้ลมเข้านะ ในขณะที่ลมออกหละทำยังไง ก็อยู่ที่จุดจุดเดียวรู้ลมบริเวณจุดกระทบ ขณะที่ลมออกก็รู้ความออกของเค้านั้นแหละและในความออกของเค้าเนี่ยก็ให้รู้ว่าความออกของเค้านั้นนานเท่าไหร
บางคนก็บอกอีกว่า เอ๊ การรู้ยาวเนี่ยมันก็ต้องมีการเปรียบเทียบสั้นสิ เพราะฉะนั้นลมหายใจแต่ละครั้งมันก็ยาวมันก็สั้นไม่เท่ากัน เนี่ยแสดงว่าเค้าเข้าใจความหมายเคลื่อนแล้ว
เอาใหม่ ลมหายใจเนี่ย ที่เป็นลมหายใจปกติเนี่ย พระพุทธเจ้าตรัสว่าอันนั้นหนะลมยาว เพราะฉะนั้นเราไม่แปลว่ายาว เราแปลว่าลมปกติ ลมหายใจปกตินั่นแหละ ให้รู้ความนานของเค้า มันจะยาวเท่าไหรมันจะสั้นเท่าไหรไม่ต้องไปเปรียบเทียบ เพราะอะไร เพราสิ่งที่คุณเห็นว่ามันยาวกว่านิดนึงสั้นกว่าหน่อยเนี่ยนึงมันยังไม่ใช่สาระของคำว่าสั้นที่พระองค์ หมายเอา คำว่าสั้นที่พระองค์หมายเอานี้มันสั้นมาก สั้นเป็นเสี้ยววินาที ถ้าสั้นได้ขนาดนั้นเมื่อไหร ตอนนั้นหนะวัตถุที่ 2 ปรากฏ ก็คือลมสั้นนั่นเอง
หน้าที่ของลมสั้นที่เราจะรู้คืออะไร ก็คือหน้าที่เดียวกับการรู้ลมยาวนั่นแหละ หน้าที่เดียวก็คือการรู้ที่จุดจุดเดียว รู้ลักษณะของการเข้าของเค้า แล้วก็รู้ลักษณะของการออกของเค้า ตามระยะเวลา มันจะสั้นแค่ไหนก็ให้รู้นานของความสั้นนั้นแหละ
อย่าเช่น ลมหายใจปกติเนี่ยเค้าอาจจะมีความยาวเมื่อเทียบกับเสียงนะ ตื๊ดดดดดดดดดดดดดดดเข้า ตื๊ดดดดดดดดดดดดดดดออก เราไม่ต้องไปเปรียบเทียบว่าอันไหนสั้นว่าอันไหนนะแต่ให้รู้ว่านานแค่ไหน นี่ลมปกติ
ก็ทำไปเรื่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ แล้วเกิดอยู่ ๆ ลมสั้นขึ้นมา มันสั้นหนะมันสั้น ตึ๊ดเข้า ตึ๊ดออก
หน้าที่ของเราคืออะไร หน้าที่ของเราก็คือรู้ความนานของตึ๊ดนั้นแหละ ที่จุดจุดเดียวคือปลายจมูก เพราะฉะนั้นคำว่ารู้ปลายจมูกเนี่ย เราไม่ทิ้งการรู้เลยนะ รู้ตลอดอยู่ที่ปลายจมูก และรู้อาการเข้าของเค้า ในขณะที่เข้าตึ๊ด ให้รู้ความนานของเค้า รับรู้ความนานของเค้าตึ๊ดนั้นหนะ ตรงนี้ถ้าไม่เข้าใจต้องถามต้องทำความเข้าใจให้ได้ ต้องต้องรับรู้ความเข้าใจให้ได้ ฉะนั้นเวลาที่ออกมันก็ตึ๊ด ก็รู้ความนานของตึ๊ดนั้น รับรู้ให้ได้
เพราะฉะนั้นโดยสาระของยาวกับสั้นเนี่ย มันก็คือรู้จุดจุดเดียว รู้เข้า ในขณะที่เข้านั้นรู้ความนาน ในขณะที่ออกนั้นรู้ความนานโดยที่เวลาที่สั้นก็ให้รู้เหมือนเดิมอยู่ที่จุดจุดเดียว รู้เข้ารู้ความนานของเค้า รู้ออกรู้ความนานของเค้า นี้คือสาระในเบื้องต้น (จบนาทีที่ 31.33)
เริ่มนาทีที่ 35.05
เมื่อเค้าสั้นลง ก็ให้รู้ตรงนั้นแหละความนานในการหายใจเข้าที่สั้นนั้น ตึ๊ด รู้ออก ตึ๊ด อยู่ที่จุด ๆ เดียว รู้ความนานของเค้า จากการรู้ความนานนั้นหนะ จะเป็นเหตุทำให้รู้ทั่วกองลม ถามว่ารู้ทั่วกองลมจะมีลักษณะใด จะมีลักษณะของความหดตัวรู้ทางตาหูจมูกลิ้นกายในการใส่ใจทั้งหมดรอบกาย ให้มันหดเข้ามารู้อยู่แค่ปลายจมูก แค่ปลายจมูก จะรู้ได้เลย เหมือนลักษณะคล้ายๆ ปิดสวิตช์ ปุ๊บ เข้ามาเลย ปุ๊บเข้ามา คล้าย ๆ กับอยู่ในท่อคล้าย ๆกับอยู่ในรูอะไรต่างๆ เพราะอะไร เพราะตัวรู้ภายนอกมันหดลง รู้สันนั้นต่อไปจนกระทั่ง จนตัวรู้ชัดในลมเค้าเกิดขึ้นเป็นลักษณะของสายลมบ้าง เห็นลมเป็นแท่ง เห็นลมเป็นควันมั่ง เป็นก้อนมั่ง….ตอนนี้ให้ยกจิตรู้ทั่ว
จากคลิป (ย้ำวิธีภาวนาสำหรับผู้ใหม่,ไม่มีแดนสุขาวดีใดๆ ปฏิบัติอย่างไรให้ตรงทาง อ 01 มิ.ย.64 โดย ท่าน อ.Aero 1)
นาทีที่ 21.07
** เรื่องลมดั่งกังสดาลให้ฟังต่อในคลิปชื่อ “อานาที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง”
นาที่ 53.00 (**ลมดั่งกังสดาล) ลมหายใจถึงแม้ไม่มีลมหายใจ แต่มันยังมีสัญญาของลมหายใจ หรือแปลเป็นไทยคือมันยังมีความจำได้หมายรู้ของลมหายใจอยู่ที่จุดนั้นแหละ ให้สังเกตดีๆ….