อานาปานสติ โดยส่วนตัวข้าพเจ้าสรุปก็คือ รู้ 3 สิ่ง ตามพุทธพจน์ คือ
1.อุ ชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา, ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นบริเวณ ปากทางเข้าออกแล้ว,
2.โส สะโต วะ อัสสะสะติ, สะโต ปัสสะสะติ, เป็นผู้ มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า มีสติอยู่ หายใจออก,
3.ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะปัสสะสามีติ ปะชานาติ, เมื่อหายใจเข้ายาว, ออกยาว เธอก็ รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ออกยาว,
แต่ในส่วนของลมหายใจยาว คน ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าเน้นที่ความยาว ที่วัดได้ หรืออาจเข้าใจว่าลมหายใจ ยาวคือตอนที่ทำให้ยาว แต่หากเรา ท่านได้พิจารณากับ พุทธพจน์ที่ พระองค์ตรัสเปรียบเทียบ อานาปาน สติกับการชักเชือกของนายช่างกลึง จะรู้ได้ว่าพระองค์ทรงหมายถึง ความ ยาวตามกาลเวลา และลมหายใจยาวก็ คือลมหายใจปกตินี่แหละ โดยเนื้อ ความท่อนนี้มีคัมภีร์อรรถกถา(วิสุทธิ มรรค)อธิบายไว้ แต่เข้าใจยากมาก ด้วยสำนวนต่างเวลากันเป็น 1000 ปี รวมทั้งข้อคำแปลจากพระบาลีอันเป็นพุทธพจน์ บางตอนที่สำคัญๆ ผู้แปลก็ไม่ได้แปลแบบกล้าฟันธง(อันนี้น่าเห็นใจ) และหากข้าพเจ้าเป็นข้า ศึกพุทธศาสนาจะต้องกาทำลาย ข้าพเจ้าก็จะไม่ทำแบบเผาฉีกทำลายอย่างเดียว แต่จะหาว่าอะไรเป็นกุญแจและทำการเบี่ยงเบนให้ผิดเพี้ยนในความรู้นั้นด้วย
จะเห็นได้ว่าความเห็นมากมายโดยขาดหลัก ทำให้คลาดเคลื่อนกันไปหมด ยกตัวอย่างเช่น พุทธพจน์ตรัส “อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง สะติง อุปัฏ ฐะเปต๎วา” ไม่ทราบตั้งแต่สมัย ไหนท่านแปลว่า “ตั้งกายตรง ดำรง สติมั่น” หรือ “ตั้งกายตรงดำรงสติ เฉพาะหน้า” ซึ่งคำนี้กำกวมมากๆ เพราะไม่รู้ว่าหมายถึงตรงไหน จะเป็นใบหน้าหรือแม้กระทั้งอาจเข้าใจได้ว่า ไม่ต้องกำหนดจุดสัมผัส แต่รู้เฉพาะ หน้าคืออาการปัจจุบัน ซึ่งราวกับสำนวนที่ใช้กันว่าเหตุการณ์เฉพาะ หน้า/จำเพาะหน้า ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมด ตามนัยยะ ที่พระองค์ทรงตรัสไว้หาก เปรียบเทียบกับ นายช่างกลึงเพราะนายช่างกลึงจะไม่ละสายตาความรู้สึกจากการสัมผัสของไม้กับหัวกลึง ดัง พุทธพจน์ต่อไปนี้
เสยยะถาปิ ภิกขะเว ทุกโข ภะมะกาโร วา ภะมะการันเตวาสี วา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด,
ทีฆัง วา อัญฉันโต ทีฆัง อัญฉามีติ ปะชานาติ. เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว, รัสสัง วา อัญฉันโต รัสสัง อัญฉามีติ ปะชานาติ.
หรือเมื่อชักเชือก กลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักเชือกกลึงสั้น
เรื่องอุบายสอนธรรมนี้ หากท่านใดเข้าถึงสภาพนิมิตสอนธรรม ก็จะรู้ได้ว่ามีความแยบคายแค่ไหนและยิ่งด้วยนี้เป็นเครื่องอุปกรณ์การสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยแล้ว พิจารณาให้ดีๆ ครับ
ยกตัวอย่างข้อนี้เสริมอีกข้อจะกล่าวถึง อุบายที่ไม่แยบคายพอ คัมภีร์ชั้นรองลงมา(โดยอาจารย์/อรรถกถาจารย์) กล่าวถึงจุดนี้ว่าการภาวนาอานาฯ ให้เปรียบเหมือนยาจกง่อยเข็ญใจกำลังไกวชิงช้า(เหมือนเสาชิงช้าพราหมณ์ที่หน้า กทม.) ให้ภรรยาสาวและลูกนั่ง ยาจกง่อยยืนอยู่ตรงกลางของเสาชิงช้าคอยไกว ไม่ได้กวาดสายตาไปที่สุดปลายของชิงช้าเพียงดูอยู่ที่จุดกึ่งกลางเสาก็รู้ชัดว่ายาวขนาดไหน
ซึ่งหากท่านได้เคยมีความเกี่ยวข้องหรือเคยปฏิบัติแบบทิ้งชีวิตในป่า จะรู้ ได้ว่าการนึกถึงคำสอนดังกล่าวข้าง ต้นจะเกิดอะไรขึ้น
บางท่านคงสงสัยครับ ว่าจะเกิดอะไร
เฉลยครับ จิตที่ถูกกดทับเป็นเวลานาน หากสติสัมปชัญญะตามไม่ทันแล้ว อีกทั้งเป็นบุคคลราคะจริต การอิจฉา(อภิชฺฌาวิสมโลโภ) ชายง่อยจะตามมาครับ และติดมาด้วยมานะ คือเปรียบเทียบกับตัวเองว่าเราก็ไม่ได้ง่อยยาจก สักหน่อยทำไมมาไกวเปลกับสาวใน จิตเรา เอาล่ะครับ ทีนี่เป็นเรื่องราวล่ะ ครับ ที่แน่ๆ สมาธิเสื่อมตั้งแต่วูบแรกแล้วครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นข้อความในคัมภีร์ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อแน่ว่าไม่ได้เกิดจากผู้รู้แน่ๆ หรืออาจเกิดขึ้นกับ สำนักของภิกษุณี เพราะอุปมานี้จะให้ผลดีกับบุคคลในเพศหญิงที่ฝึกอานาฯ เพราะมองเห็นโทษของการมีธรรมคู่ ซึ่งแตกต่างจากมุมของบุคคลชายมองเข้าไปตามข้อวิเคราะห์
ข้าพเจ้าเคยได้ฟังสมเด็จสังฆราชองค์ ปัจจุบันเทศน์เรื่องนี้กับหมู่พระสงฆ์ พระองค์ตรัสหลีกเลี่ยง ธรรมแห่งคนคู่จะทรงใช้ความรวบรัดแสดงให้เห็น ความหมาย ของความยาวตามกาลเท่านั้น แสดงให้เห็นพระปัญญาญาณของพระองค์และพระเมตตาให้ผู้ฟังได้ธรรมที่ไม่มีพิษภัยจริงๆ
ที่แสดงมานี้เพื่อที่จะได้เห็นคุณค่าของอุปกรณ์การสอนของพระพุทธองค์ ในที่นี้เรื่องอัทธานะ(เน้นส่วนกาล) คือ นายช่างกลึง แม้ไม่มองเชือกกลึง เพราะตาต้องจ้องผลงานและความรู้สึกต้องอยู่ที่การสัมผัสของสิ่วกับชิ้นงาน แต่ก็รู้ชัดว่าชักเชือกกลึง สั้น หรือยาว
Vdo แสดงพุทธอุปมาเรื่องอานาปานสติ
กลับมาเรื่องการแปล ซึ่งในข้อการแปลนี้ ท่านผู้แต่งวิสุทธิมรรคอธิบายว่า ปะริมุขัง สติง หมายถึง ปริ(รอบ) +มุข(ทางออก) +สติ + อุปัฏฐะเปต๎วา(ดำรงตั้งมั่นแล้ว) อันแปลได้ว่า มีสติอยู่ปริเวณปากทางเข้าออก(ของลมคือ ปราณ)
ส่วนในเรื่องคำว่า มุข ท่านผู้แตกฉาน บาลี ท่านก็ว่าแปลว่า หน้า ก็ได้ ไม่ผิด ส่วนตัวความหมายตามนัยยะที่แท้จริง แห่งพุทธองค์นั้น อาจจะเกินความสามารถของคนในยุคปัจจุบันที่จะรู้ได้ว่าสำนวนครั้งกระนั้น พระองค์ทรงหมายถึงจุดไหน โดยส่วนตัวข้าพเจ้าเชื่อประเด็นนี้ มุข แปลว่า ทาง ตามนัยยวิสุทธิมรรค
ส่วนความยาวท่านพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่งวิสุทธิมรรค อธิบายเชิงภาษาของ คำว่ายาว หมายถึง อัทธานะ ในสมัยนั้นบาลีหมายถึง ได้ทั้งยาวแบบระยะทาง กับยาวแบบเวลา หรือทั้งกาละและ เทศะ (ภาษาอังกฤษ time/space)
แทรกตัวอย่างภาษอังกฤษ เช่น หากมีต่างชาติถามว่า How long have you known him ? อันนี้ ฝรั่งก็ไม่ได้หมายถึง ระยะความยาว แต่หมายถึงระยะเวลา เช่นกันกับพระบาลีตอนนี้ ในตรงนี้ท่านที่ตามอ่านวิสุทธิมรรค ต้องอ่านให้ดี หลายๆ รอบ และหลายๆ สำนวนแปล ถ้าเป็นไปได้ต้องเทียบบาลีด้วย เฉพาะหน้านี้หน้าเดียว ข้าพเจ้าพิจารณาอยู่มากกว่า 3 วัน ท่านกล่าวถึงอัทธานะในแง่ ระยะอยู่มากแห่ง แต่เวลาท่านพูดถึงที่หมายถึงกาล คือเฉพาะวิธีอานาปานสตินี้มีอยู่คำเดียวแห่งเดียว ถ้าหากอ่านผ่านๆ ไป จะไม่สามารถจับประเด็นตามที่ข้าพเจ้ากล่าวนี้ได้เลย
ทีนี่ปัญหาอยู่ที่ว่า ถ้าหากเราท่านไม่ได้รู้ข้อความตอนนี้หรือความหมายตอน นี้ของพุทธพจน์ข้อนี้ ก็จะนึกว่า ยาว โดยระยะ ซึ่งปฏิบัติไปอย่างไรก็ฟุ้ง จนต้องใช้ทีสิ่งที่เรียกว่า บริกรรมเข้ามาใช้ให้จิตหยุด แต่หากเรารู้ความหมายแท้ๆ ของคำว่าบริกรรมในอานาปนสติ ซึ่งหมายถึงจิตที่ตรึกในอัทธา นะ(ความยาวตามกาล)bจนนิ่งใน เบื้องต้น จะไม่มีการท่องบ่น สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอัทธาน สูตรว่าเจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อรู้ อัทธานะ … ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ(ความยาวตามกาล)
มาถึงตรงนี้คงมีความเห็นแย้งข้าพเจ้ามากมาย แต่ฟังต่อสักนิด คำถามตามมามากมาย….. เอ…. พูดมาถึงตรงนี้ก็วงแตกครับ เพราะ แทบทั้งประเทศทำอานาปานสติแบบมีคำท่องบ่น และก็คงจะกล่าวได้อีกว่า การท่องบ่นนั้นเป็นแค่เบื้องต้น เป็นกุศโลบายให้ถึงสมาธิขั้นกลางต่อไป จะท่องบ่นอะไรก็ได้ตามแต่สำนัก อันนี้ไม่ขอกล่าวเทคนิคอื่นที่ใช้ทำน่ะ เพราะก็ตามรูปแบบครูอาจารย์เพราะ หากจะกล่าววิจารณ์เรื่องนี้คงต้องเล่ากันยาวว่าอันไหนสำนักไหนเป็นไป ตามพุทธพจน์ (มีโอกาสต้องเขียนเรื่องนี้ครับ มีเหตุปัจจัยให้เกิดในสำนักต่างๆ แต่โดยส่วนใหญ่เกิดจากไม่เข้าใจอัทธานะ(กาล)ในสภาวะอานาปานสติภาคปฏิบัติ) ในที่นี้ กล่าวหมายเอาเฉพาะแต่การที่เรียกว่าท่องบ่นหรือที่เรียกว่าบริกรรม ซึ่งไม่มีพุทธพจน์ข้ออานาปานสติ
หลายท่านที่ได้อ่านก็คงต้องสวน ข้าพเจ้าว่าถ้าเป็นตามนี้ครูบาอาจารย์ ผู้สำเร็จธรรมต้องบอกมานานแล้ว ทำไมไม่มีมหาเถระพระผู้ใหญ่หรือแม้กระทั้งพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาพูดเรื่องนี้
ข้าพเจ้าขอตอบข้อแย้งนี้ เป็น 2 กลุ่มคำตอบ คือ 1.กลุ่มคัมภีร์ 2. กลุ่มปูชนียบุคคล ดังนี้
1.หากเราใช้เครื่องมือค้นหาคำในพระไตรปิฎกว่าอานาปานสติจะพบได้ว่าเป็นสูตรสั้นๆ บางสูตรย่อเหลือ 2-3 บรรทัด ทุกตอนที่พระองค์ตรัสถึงอานาปนสติ จะทรงหมายถึงหรือจะทรงกล่าวถึงอานาปานสติ 16 ทุกครั้ง ทุกที่ ทุกตอน ทรงย้ำแล้วย้ำอีก
หนึ่งในจากพระสูตรอริฏฐสูตรมีพุทธพจน์ ตรัสสอนพระภิกษุนามว่า ท่านอริฏฐะ พระพุทธเจ้าได้สอนอานาฯ โดยสอบถามว่า อริฏฐะ ท่านทำอานาปานสติ
ท่านอริฏฐะตอบว่าข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ กามฉันท์ในกามที่ล่วงไป ข้าพระองค์ละได้แล้วกามฉันท์ในกามที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ไปปราศแล้ว ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ข้าพระองค์กำจัดเสียแล้ว ข้าพระองค์มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอย่างนี้แล
พระพุทธองค์ทรงตอบว่า อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าอานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น (และทรงกล่าว อานาปานสติ 16 ) ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวอานาปานสติ16 แต่ต้องการชี้ให้เห็นว่า อานาปนสติ 16 นั้นข้อแรกมีวัตถุ 2 ก็หามีสำนักที่ปฏิบัติตามพระองค์น้อยมากจริงๆ ในปัจจุบันทั้งขั้นศีลและภาคปฏิบัติสมาธิ
จากพระสูตรข้างต้นพุทธพจน์ที่ต้อง พิจารณา คือ “อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าอานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดยกว้าง ขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น”
ดูคำวิจารณ์ของอรรถกถาท่านว่า ท่านอริฏฐะเป็นพระอนาคามีแล้วขณะนั้นและก็ตรวจสอบกามและปฏิฆะของท่าน ทั้งสามกาลแล้วว่าไม่มี
เราจะเห็นได้ว่าถึงกระนั้นพระพุทธองค์ยังทรงตรัส “จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว…อานา.16” และสังเกตุให้ดีว่าพระพุทธองค์ไม่มีการกล่าวในเชิงรุนแรงอย่างเช่น พวกนอกลู่นอกทาง ซึ่งเหล่านั้นพระองค์จะใช้คำที่หนักโดยธรรม เช่น โมฆบุรุษ,ภิกษุใบลานเปล่า เป็นต้น หรือ แม้พวกเหล่าภิกษุที่เป็นอลัชชีเต็มรูป ทรงเรียกไปต่างๆ เช่น ภิกษุสันดานกา ภิกษุกินอุจจาระ ภิกษุเถระวิปริตร ภิกษุลามก ดังนี้เป็นอาทิ
อาจมีผู้เห็นแย้งว่าจะเชื่ออรรถกถาได้ อย่างไรว่าท่านอริฏฐะเป็นอนาคามีบุคคล ไม่ใช่หลงอารมณ์ ตอบ การที่พระองค์ไม่ทรงคัดค้านหรือทรงตำหนิ การแสดงธรรมอันยิ่งคือ กล่าวว่า ไม่มีราคะ/ปฏิฆะ (สภาวะ แห่งอนาคามิผล)นั้นเพราะเป็นอาบัติ หนักหากครบองค์ แสดงให้เห็นว่า ท่านเป็นอริยบุคคลแน่นอน
ซึ่งหากเราพิจารณาจากพุทธสมัยกาลแล้ว การที่เถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหลาย โดยมีศีลพรหมจรรย์(150 ข้อ)เป็นพื้น ผู้ปฏิบัติตรง(อุชุปฏิปัน โน) ใครล่ะจะไปกล่าวกับท่านว่า แนวทางนั้นไม่ควรให้เลิกซะ เพราะขนาดพระพุทธองค์ยังทรงตรัสเพียง “อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าอานาปานสติ ย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น..ฯ ” คือทรงกล่าวด้วยความเมตตา แต่เราท่านทั้งหลายก็จะปฏิเสธไม่ได้ว่า แนวคำสอนที่ดั่งเดิม อันเป็นพุทธพจน์/พุทธบัญญัตินั้นยังอยู่และ เป็นศาสดาในยุคปัจจุบันด้วย ตามที่พระ พุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาหลังพระองค์ปรินิพพาน อันนี้ก็อีกเช่นกัน ในที่นี้จะไม่ขอกล่าวลงหลายละเอียดว่าสำนักไหนล่ะไม่ควรกล่าวว่าและสำนักไหนล่ะควรประณาม
ในสำนักที่ศีลก็ไม่งาม ไม่ตรง ไม่ควร แถมแนวปฏิบัติยังพาผูกโลก นอกลู่นอกทางทั้งขั้นศีลและธรรมภาคปฏิบัติ พวกนี้ต้อง ประณาม คือ ปะ+นาม ให้ สาธารณชนรู้ว่าคือใคร จะได้ไม่ไปสนับสนุนเกี่ยวข้องด้วยอันก่อเกิดเป็นกรรม กร่อนพุทธพจน์อย่างยิ่ง
ฉะนั้น ผู้ที่ศึกษาก็ต้องข่วนขวายหากัลยาณมิตรที่ชัดเจนและร่วมศึกษาจนแยก ถูก/ผิด, ควร/ไม่ควร ให้ได้ด้วยตัวเอง (โยนิโส.) ไม่งั้นแล้ว ไปสำนักนั้นก็พูดอย่างนั้น ไปสำนักนี้ก็พูดอย่างนี้ จนบางครั้งไม่รู้ข้อสรุปตามควร(สัมมา) อยู่ตรงไหน สมดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า กัลยา นมิตร+โยนิโส.เป็นเบื้องต้น และที่สุดแห่งพรหมจรรย์ คือเป็นทั้งหมดแห่งพรหมจรรย์(นิพพาน)
ในส่วนที่ 2 บุคคล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงสำนักที่ปฏิบัติตามแนวอานาปานสติ 16 เท่าที่ทราบ จริงๆ เพราะน้อยมาก หากเอา อาทิพรหมจริยกาสิกขา(150 ข้อ พูดง่ายๆ เบื้องต้นคือ ปฏิเสธการรับเงิน) เข้าไปจับด้วยยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่ เอาเป็นว่า เท่าที่รู้ ตรงสุดที่เป็นสำนักคือการทรงสอนโดย สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระ สังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ บางลำพู กทม
การสอนของพระองค์ ไม่ทรงกล่าว ตำหนิการบริกรรมท่องบ่น แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทรงให้ทำตามพุทธดำรัส หรือหากผู้ปฏิบัติทำไม่ได้ท่านจะแนะแนวทางของท่านพุทธโฆษาจารย์ คือ การนับลมหายใจเข้าออกซึ่งมีวิธีตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค
อีกท่านหนึ่งซึ่งต้องเล่าประวัติท่านสัก เล็กน้อย เพราะองค์ท่านมีชีวิตอยู่ในเป็นช่วงเวลาที่เกินเลยอายุของบุคคลกลางคนในยุคนี้อยู่มากและเป็นช่วงเวลาเดียวกับกองทัพธรรมภาคอิสานกำลังมั่นคงคือระหว่างปี 2415 -2493 ท่านคือ
-สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร ) อดีตเป็นประธาน กรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการ คณะสงฆ์ 5 ปี 2488-2493, อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพ ศิรินทร์,อุปัฌชาย์ พระเจ้าคุณนรฯ พระภิกษุพระ ยานรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทร์ มีงานพิมพ์คำเทศน์เรื่องมหาสติปัฎฐานสูตร ของสมเด็จสมเด็จพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์เป็นที่ระลึกใน การบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย 8 มิถุนายน 2531 ใจความตอนหนึ่งว่า การใช้พุทโธและนับลมหายใจกับอานาปานสตินั้นไม่ถูกต้อง เจริญอานาฯก็อานาฯ เจริญพุทธคุณก็ พุทธคุณ… หนังสือที่แจกในงานนี้ข้าพเจ้าไม่มีต้นฉบับ คงมีแต่บทคัดย่อ ของพระเสถียร ถิรธมโม สัทธิวิหาริกในสมเด็จสังฆราช พิมพ์ที่โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณฯ4709-099/500(4) หน้า98
เล่ามาซะยึดยาว ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เพื่อที่จะชี้ให้เห็นว่า เราท่านทั้งหลายชาวพุทธส่วนมากได้ลืมเลือนคำสอนอันเป็นเบื้องต้นแห่งพุทธธรรม โดยเฉพาะหลักอานาปานสติภาวนาเบื้องต้น ข้อแรกใน 16 ที่เหล่าบรรพ ชนหวงแหนรักษาไว้ให้เราทั้งหลาย ด้วยเลือดเนื้อและชีวิตในรูปพระไตร ปิฏก และรักษาไว้โดยเหล่าภิกษุผู้ ปฏิบัติตรง ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติ สมควรแก่ธรรม ในสังฆมลฑลแดน สยามแห่งนี้ อันได้แก่ สภาพ อัทธานะ(เน้นที่กาล) อธิบายขยายความ กาลเวลาในลมหายใจสักเล็กน้อย สภาวะกาลเวลาไม่ใช่กำหนดอย่างนาฬิกาคือเป็นหน่วย วินาทีหรือนาที แต่หากเป็นสภาพกาลเวลาจริงๆ ที่มันเป็น ลองเทียบจาก นายช่างกลึง ตาม VDO (ที่มาภาพจาก web แห่ง หนึ่งบรรยายลักษณะเครื่องกลึงที่ใช้อยู่ ใน อินเดีย เมื่อ1000 ปี ก่อน ชื่อ ภาพ Indian lathe animation power by Aero.1) เหตุที่ใช้คำว่า เน้นที่กาลเพราะการรู้ความยาวของกาลเวลา (Time/กาละ) นั้นจะรู้ความยาวตาม ระยะ (space/เทศะ)ได้โดย อัตโนมัติ
พุทธพจน์เพิ่มเติม”อัทธานสูตร: เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อรู้อัทธานะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุต ด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ กำหนดรู้อัทธานะ…”
และการรู้อัทธานะนี้นำไปสู่การ ปฏิบัติขั้นกลางคือ วสี ผู้ปฏิบัติจะสามารถรู้และตั้งเวลาของสมาธิได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำ ต้องฝึกเพื่อรักษา สภาพฌานหรือสภาพเฉียดฌาน และในขั้นปลายอัทธานะตามกาลนี่ แหละชี้นิพพาน ท่านจึงกล่าวว่านิพพานเพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว. อธิบายว่าเพื่อประโยชน์แก่พระนิพพานนั้น.
ท่านจง มาลองดูเองเถิด หากท่านทั้งหลายจะลองพิสูจน์ในอานาปานสติข้อแรกตามพุทธพจน์โดย พิสูจน์ที่ตัวท่านเองได้ทันที โดยการถามตัวท่านเองว่า เวลาภาวนาที่ท่านเรียกว่าอานาปานสตินั้น ท่านเคยรู้สภาวะแห่งกาลของลมหายใจปกติ คือ ยาว(ทีฆัง) อยู่เป็นปกติหรือไม่ ถ้า ไม่นั้นหมายถึง พระพุทธองค์จะตรัส สอนว่า
“อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ ได้กล่าวว่าไม่มี ก็แต่ว่าอานาปานสติ ย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟังวิธีนั้น..ฯ “
มหาวรรค อานาปาณกถา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๔๐๗๐ – ๕๑๙๙. หน้าที่ ๑๖๗ – ๒๑๒.
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
—————————————————————————————————————-
ถึงแม้ไม่ท่องบ่น การอานาปานสติ ก็มีบริกรรมภาวนาได้ครับ คือกล่าวโดยสรุป เราแปลความหมายคำว่า บริกรรมผิด/คลาดเคลื่อนจากความหมายเดิมบริกรรมภาวนา ไม่ได้หมายความว่า ท่องบ่นอย่างเดียวบริกรรม *(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
1. (ในคำว่า “ถ้าผ้ากฐินนั้น มีบริกรรมสำเร็จด้วยดี”) การตระเตรียม, การทำความเรียบร้อยเบื้องต้น เช่น ซัก ย้อม กะ ตัด เย็บ เสร็จแล้ว
2. สถานที่เขาลาดปูน ปูไม้ ขัดเงา หรือชักเงา โบกปูน ทาสี เขียนสี แต่งอย่างอื่น เรียกว่าที่ทำบริกรรม ห้ามภิกษุถ่มนำลาย หรือนั่งพิง
3. การนวดฟั้น ประคบ หรือถูตัว
4. การกระทำขั้นต้นในการเจริญสมถกรรมฐาน คือ กำหนดใจโดยเพ่งวัตถุ หรือนึกถึงอารมณ์ที่กำหนดนั้น ว่าซ้ำๆ อยู่ในใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทำใจให้สงบ
5. เลือนมาเป็นความหมายในภาษาไทย หมายถึงท่องบ่น, เสกเป่า บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ
*******
คำว่าพระสูตรหมายถึง ส่วนหนึ่งของพระบริสุทธิธรรมโดยตรงจากพระโอษฐ์ไม่มีคำสอนอื่นใดแทรก แยกออกเป็นเรื่องๆ ที่ตรัสสอนในที่ต่างๆ หรือบางครั้งผู้อ้างถึงอาจใช้คำว่า พระบาลี อันหมายถึงพุทธพจน์ นั้นเอง
ขยายความโดยพระไตรปิฎกนั้น ยังมีธรรมอื่นแทรกอยู่ คือคำสอนหรือคำอธิบายคำสอนเดิม (พระบาลี/พระสูตร) โดยท่านได้แบ่ง ไว้เป็น ชั้นตามลำดับความสำคัญหรือจะเรียกง่ายๆ ว่าตามความน่าเชื่อถือ โดยมีจัดแบ่งชั้นตามความน่าเชื่อถือ ตามนี้
1.พระบาลี พระพุทธพจน์ล้วนๆ พระสูตร เป็นหนึ่งส่วนในนี้
2.คัมภีร์ต่างๆ โดยอัครสาวก เช่นพระสารีบุตร เป็นต้น /หรืออาจเรียก อรรถกถา
3.ฎีกา ซึ่งเกิดจาก ความนานของระยะเวลาทำให้ ไม่เข้าใจความหมายด้านภาษา อาจารย์ รุ่นหลัง จึงอธิบาย สำทับอีกครั้ง
4.อนุฎีกา เมื่อเวลาผ่านไป สำนวนที่เคยใช้แปลไว้ กร่อน ลงอีก อาจารย์ หรืออรรถกถาจารย์ ก็แต่งอธิบายเพิ่ม
ฉะนั้นเวลาศึกษาก็ต้องประกอบทั้งทุกชั้นเข้ามาและ กำหนดรู้ว่าชั้นไหนหมายถึง วาทะ ของใคร บริสุทธิ์ ระดับใด
——————————————————————————————————————
คำแปลโดยพจนานุกรม สูตร* พระธรรมเทศนาหรือธรรมกถาเรื่องหนึ่งๆ ในพระสุตตันตปิฎก แสดงเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน, ถ้าพูดว่าพระสูตร มักหมายถึงพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด
พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาสตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา *พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
ส่วนต่อไปนี้จะขออัญเชิญคำวิเคราะห์ความหมายคำแปล อัสสาสปัสสาสะ โดยเนื้อหาจาก หนังสืออานาปานทีปนี หน้า 43-55 พระญาณธชเถระ (แลดี สยาดอ)เขียน พศ. 2446 พระคันธสาราภิวงศ์(วัดท่ามะโอ) พศ.2549 แปล //watnai.blogspot.com/search/label/อานาปานทีปนี
หนังสืออานาปานทีปนีท่านผู้เขียนเขียนระบุตามนัยวิสุทธมรรคคืออัสออก ปัสเข้าและ ได้แยกคำศัพย์ไว้โดยสรุปคือ ศัพท์ทั้งสองนี้ ถ้าเป็นอาขยาต ก็จะเป็น อสฺสสติ (ย่อมหายใจออก) หรือ ปสฺสสติ (ย่อมหายใจเข้า) เป็นการแปลคล้อยตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิ. ๑.๒๙๖)อสฺสาส (สันสกฤติใช้เป็น อาศฺวส) มาจาก อา ศัพท์ + สาส ศัพท์ วิเคราะห์ว่า อาทิมฺหื สาโส อสฺสาโส (อัสสาสะ คือลมหายใจในเบื้องแรก) ส่วน ปสฺสาส (สันสกฤติใช้เป็น ปฺรศฺวส) มาจาก ป ศัพท์ + สาส ศัพท์ วิเคราะห์ว่า ปจฺฉา สาโส อสฺสาโส (อัสสาสะ คือลมหายใจในเบื้องหลัง)
อนึ่ง คำว่า อสฺสาสปสฺสาส มีคำไวพจน์ว่า อานาปาน มาจาก อาน ศัพท์ + อปาน ศัพท์ มีความหมายว่า ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก โดย อปาน วิเคราะห์ว่า อานโต อปคต อปานํ (อปานะ คือ ลมหายใจที่ถัดมาจากลมหายใจเข้า/ลมหายใจออก) อานํ คือ ลมหายใจเข้า อปานํ คือ ลมหายใจออก (เถร. อ. ๒.๒๐๖)
คัดมาจาก หนังสือ อานาปานทีปนี หน้า 43-55 พระญาณธชเถระ (แลดี สยาดอ)เขียน พศ. 2446 พระคันธสาราภิวงศ์ พศ. 2549 แปล *ส่วนผู้แปลได้แปลกลับมาเป็น อัสเข้า ปัสออก
นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ(พระสารีบุตร)ปฏิสัมภิทามรรค อานาฯ ข้อ 383
//www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=4070&Z=5199&pagebreak=0
ท่านผู้อ่าน ครับในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเขียนไว้แบบโครงสร้างประกอบชุดใหญ่ คือมีเนื้อหาภาคปฏิบัติทั้งหมดรวมอยู่ ฉะนั้นบางที ข้อความสำคัญบางตอนหากเจาะจงอ่านเฉพาะ ที่ท่านเขียนอานาปานสติ อาจตกหล่นใจความสำคัญไปบ้าง เพราะท่านอธิบายรวมอยู่ในส่วนอื่นเช่นคล้ายกับว่า บางข้อความสำคัญอาจอยู่ในบทนำหน้าเล่ม หรือบทสรุปท้ายภาค หากไม่ได้ดูครอบคลุมทั้งหมดก็อาจเข้าใจผิดได้และนี้ล่ะเป็น เจตนากระทู้นี้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นข้อความ หรือความสำคัญของ อานาปานสติ ทั้งในด้านคัมภีร์ และผู้สอนที่เหลือน้อยมากๆในยุคปัจจุบัน
ภาพแสดงข้อความในวิสุทธิมรรคเรื่องนิมิตที่ไม่ควรขยาย ซึ่งท่านพุทธโฆษาจารณ์รจนาไว้ในส่วนคหนิเทศ แต่ข้อความนี้ก็จะไม่ปรากฎในบทที่ท่านกล่าวเรื่องอานาฯโดยตรง อันนี้ในวิสุทธิมรรคมีลักษณะเหล่านี้อยู่มากแห่ง จึงพึงระวัง
//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31& amp;i=362&p=3#อุปมาด้วยคนพิการ
อุปมาด้วยคนเฝ้าประตู อ่านแล้วก็ทำให้เข้าใจได้ว่า ต้องต้องตั้งจิตไว้ที่ฐานอันเป็น ที่กระทบของลมเข้าออกเท่านั้น อย่าได้ส่งใจวิ่งไปตามลม
นิมิต ในอานาฯ ต่างจาก นิมิตในการภาวนาแบบอื่น ในวิสุทธิมรรคท่านกล่าวนิมิตไว้หลายแบบและมีลักษณะเรียงลำดับความเข้มด้วย คือ อุคหนิมิตเป็นนิมิตลักษณะผัสสะ ปฏิภาคนิมิต เป็นรูปต่างเช่น ไข่มุข ไล่ไปจนถึงคล้ายพระอาทิตย์ โดยท่านกล่าวหมายถึงฌานระดับต้นๆ จนถึงสุดรูปฌานคือฌาน4 คือสิ่งที่ต่างนั้นเพราะ อานาฯไม่ได้เป็นกองกรรมฐานที่กำหนดรูปเป็นพื้นฐาน แต่ถึงจุดนึง รูปนิมิตจะเกิดขึ้นเอง ซึ่งหลายท่านอาจได้รับการสอนจากครูอาจารย์ว่าให้เพิกนิมิต ซึ่งแตกต่างจากนิมิตในอานาฯที่ท่านพระสารีบุตรให้ทรงไว้
[นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว
เพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา นิมิตลม
อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะ
รู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ] *ท่านสารีบุตร
ซึ่งในท่ามกลางของการปฏิบัตินี้มีตัวบ่งชี้ตัวหนึ่งคือ ปิติ ในวิสุทธิมรรค ท่านกล่าวไว้ในบทแรกๆไม่มีอยู่ในบทที่กล่าวถึง อานาฯโดยตรง ฉะนั้น หากอ่านหรืออ่านจากผู้แปลอีกทีหนึ่งจะข้ามตัวนี้ไปและทำให้หลงผิดได้คือ
ปิติในส่วนที่พระพุทธองค์ ตรัสนั้นไม่ได้หมายเอา ปิติขั้นต้นๆคือ 1-4 แต่หมายเอาเฉพาะ ปีติขั้นที่ 5 ผรณาปีติ เท่านั้น
ฉะนั้นผู้ปฏิบัติอาจหลงได้ หากเกิดปิติข้อต้นๆ เช่น น้ำตาไหล ขนลุก กายโยกโคลง หรือตัวใหญ่ แล้วจะคิดว่านั้นควรที่จะ ถึง ปิติปฏิสังเวทีซึ่งกายจะผ่านมาถึงตรง นี้ต้องผ่านปัสสัมภยัง กายสังขารัง คือสามารถข้ามความเจ็บปวดจากอริยบทได้ก่อน
โดยเมื่อพิจารณาจากหลักนี้ก็ต้องแน่นอนว่า การเปลี่ยนอริยาบทเป็นอุปสรรค อันหนึ่งของอานาฯสรุปอานาแตกต่างจาก ที่ หนังสือครูอาจารย์หลายเล่มเขียนไว้ในระดับต้น-ขั้นต้นตอนกลางนี้ โดย มีข้อแตกต่างอันเป็นหัวใจ 3 ข้อคือ
1. อัทธานะ ที่กล่าวมาในเบื้องต้น จัดว่าเป็นกุญแจไขความหลงในเบื้องต้นของการปฏิบัติ
2. ปิติ ต้องเป็นปิติตามแบบคือ ผรณาปิติ เท่านั้น มีลักษณะ เหมือนน้ำเต็มเขื่อน หรือเหมือนน้ำซึมแผ่จากภายใน ซาบซ่านไปทั้งกาย
3.นิมิต ในอานาฯ ตามที่กล่าว(ตามแบบ)คือต้องทรงไว้