ปริมุขํสตึอุปปฐฺเปตฺวา – รู้ลม บริเวณปากทางเข้าออก จุดเดียวเข้าออก ไม่ตามลม
1. รู้เข้า/ออก รู้นานขนาดไหน
2. รู้เข้า/ออก รู้สั้นขนาดไหน
3. รู้กองลม หายใจเข้า/ออก
4. รู้ปวดระงับ(เบา) หายใจเข้า/ออก
5. รู้ผรณาปีติ หายใจเข้า/ออก
6. รู้สุข หายใจเข้า/ออก
7. รู้สังขารจิต หายใจเข้า/ออก
8. รู้สังขารจิตระงับ หายใจเข้า/ออก
9. รู้เห็นจิต(คูหา) หายใจเข้า/ออก
10. รู้อภิปราโมทย์ หายใจเข้า/ออก
11. รู้สงบ หายใจเข้า/ออก
12. เปลื้องสภาพรู้ หายใจเข้า/ออก
13. อนิจจลักขณา หายใจเข้า/ออก
14. รู้พ้นราคะ หายใจเข้า/ออก
15. นิโรธา หายใจเข้า/ออก
16. สลัดคืน แล่นสู่นิพพาน หายใจเข้า/ออก
**** จบแบบท่องจำ*******
อธิบายสภาพธรรม
สภาพธรรมะเป็นไปตามลำดับนี้
เมื่อ รู้ลม(ไม่ใช่รู้ผัสสะ)จุดเดียวที่บริเวณปากทางเข้าออกไม่ตามลม ดูความยาวนานของลมที่เข้า และลมที่ออก
ลมยาวคือลมหายใจปกติจดจ่อที่จุดเดียว เมื่อชำนาญการรู้ความยาวนานของลมปกตินั้นๆ
ลมจะสั้นๆ มากๆ อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน(สั้นกว่าเสี้ยววินาที) ให้รู้กาลเวลาสั้นนั้นๆ ที่จุดๆเดียว
เมื่อสมองทำหน้าที่รู้เรื่องเวลาอยู่อย่างนั้น จิตจะไม่สามารถดึงสัญญาได้ เพราะสัญญาเป็นอดีตแม้พยัญชนะต่างๆ ก็มาจากอดีต ไม่มีท่องบ่น มีแต่สถาพธรรมตามความเป็นจริง คือ
รู้ลมจุดเดียว 1
เข้า/ออก 1
ความสั้นที่มันเป็นตามกาลเวลา 1
จะสั้นจนหายไปในที่สุด เพราะสภาวะที่แผ่วเบาเป็นที่สุด และสติสัมปชัญญะน้อย(ต้องฝึกสติสัมปชัญญะเพิ่ม) สำหรับผู้ที่ข้ามไปได้ จะมีสภาพเหมือน กังสดาน คือตีทีเดียวจะได้ยินต่อเนื่อง คือเหมือนไม่มีลมแต่มีลม เข้าสู่สภาพ “ลมปราณ” หรือวิญญาณแห่งลมหายใจ ลมแบบนี้ใช้ในขั้นต่อๆไปจนสุดสายนิพพาน(16)
เมื่อถึงจุดสั้นนี้ ดูจุดเดียว เข้า/ออก จนชำนาญ (ซึ่งดูยากมากเพราะแผ่วเบาและสั้น/เร็ว)
ท่านที่เข้าจุดนี้ ใช้งานได้ในการแก้ฐานกาย/จิต ยกจิตแก้กายที่มีวิบากได้ หรือยกจิตแก้ใจที่มีวิบากได้ และควรแผ่เมตตาโดยใช้ฐานของผรณาปิติ จัดเป็นธรรมโอสถ
เมื่อรู้สั้นชำนาญจะมีสติและสัมปชัญญะที่มีกำลังมากขึ้น(สติสัมปชัญญะ เกิดจากการรู้เวลาของสมองที่คุมการรับรู้เวลา) สมองส่วนนี้จะเจริญตัว รูปหน้า รูปศีรษะจะเปลี่ยน ผ่องใสเพราะ ออกซิเจนมากับเลือดแดงขึ้นมาแทนที่เลือดดำบนทั้งใบหน้า สิว ฝ้า กระ ริ้วรอยจะน้อยลง
เมื่อจิตมีกำลังดังกล่าวจะสามารถรู้ทั่วทั้งกองลมในกายจากจุดเดียว(สัพพกาย) ทำจี้ที่จุดนี้ๆ กายจะสงบระงับ นั่งเหมือนลอยบนอาสนะ เมื่อย ขบ เจ็บปวด จะไม่มี (ปัสสัมภยัง)
ทำรู้กายสงบ ปิติจะมา(ผรณาปีติเท่านั้นในที่นี้) รู้ปิติและลมสั้นที่จุดเดียวต่อไป สุขจะมา จี้รู้ที่สุขต่อไป จะเห็นตะกอนจิต ให้รู้ตะกอนจิตอย่ารู้เรื่องราว รู้ลักษณะมันเฉยๆใส่ใจในลมสั้นและเข้าออก ตะกอนจิตจะนอนก้นเอง รู้ลมสั้นและเข้าออกนั่นๆพร้อมทั้งการระงับของตะกอนนั้นๆ (ปัสสัมภยังจิตตสังขารัง)
จิตจะพลุ้บเข้าคูหา ตอนนั้นแม้ตั้งใจคิดก็ไม่มีเหยื่อของการคิดนึก เป็นการเห็นจิตแท้
ให้รู้ลม(ซึ่งสั้นนั้นๆ)และเข้าออกพร้อมเห็นจิต ต่อไป จิตจะเกิดการปราโมทย์ใหญ่ ยิ่งกว่าสุข จุดนี้จะมีตัววัดแทรกเข้ามาคือ วิปัสสนูกิเลส ว่าตนเองบรรลุธรรมถ้าข้ามได้ จิตจะสงบลึกกว่าเดิมอีกครั้ง นั่งนาน 5-7 ชั่วโมงสบายๆไม่มีลำบากเลย ลุกขึ้นมาก็ไม่มีปวดเมื่อย(สมาทาหัง)
ให้รู้ว่าละทิ้งวิปัสสนูกิเลสทั้ง10 เสีย รู้ลมซึ่งสั้นและเบามาก (วิโมจะยัง)
รู้ลมสั้นเข้าออกต่อไปนั้นจะพบสภาพอนิจจลักขณะ ต่อไปๆ ความสิ้นราคะจะปรากฏ เบื่อหน่าย และเข้าสู่นิโรธและในที่สุดรู้ต่อไปนั้น
คือ ลมสั้น+เข้าออก+นิโรธ ต่อไป จะเข้าสู่สภาพการสลัดคืนจนชำนาญเป็นการสุดสายอานาฯ
บุคคลที่เป็นติเหตุกจิตไม่มีอนันตริยกรรม จะสามารถบรรลุธรรมพร้อมด้วย เจโตฯ อภิญญา หรือแม้ ปฎิสัมภิทา ได้ด้วยวิธีนี้
จบอานาปาสติ พุทธพจน์
บทแทรกนัยยะวิสุทธิมรรค
*อนึ่งตามแบบเสริมที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ท่านที่ต้องการใช้อานาฯ เป็นเครื่องอยู่อันสงบระงับ อาจใช้อานาฯ ในมุม สมาธิ ดังนี้
ลมที่สงบระงับในขั้น ลมสั้นจะปรากฎ แสง(โอภาส)หรือนิมิตอื่นๆได้ ให้ดูแสงหรือนิมิตแท้ เช่น ธรรมจักร ดอกไม้ เพชร ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ฯ ละรู้ลมมาอยู่ที่ แสงหรือนิมิตนั้น จนเจริญตัว เข้า ฌานได้เช่นกัน ดังตามแบบวิสุทธมรรคที่กล่าวไว้ในกสินดิน
Aero.1
24/12/2560
คาถาท้าย อานาปานกถา ปฏิสัมภิทามรรค โดยพระสารีบุตร
สติ
ที่ไปตามลมหายใจออก
ที่ไปตามลมหายใจเข้า
ที่ฟุ้งซ่านในภายใน ที่ฟุ้งซ่านในภายนอก
ความปรารถนาลมหายใจออกและ
ความปรารถนาลมหายใจเข้า อุปกิเลส ๖ ประการนี้
เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ
อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
=============
เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ
=============
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่นอุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ
============
ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปานสติ กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปานสติดีกายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
============
นิมิต ลมอัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียวเพราะไม่รู้ธรรม ๓ ประการ จึงไม่ได้ภาวนา
นิมิตลม อัสสาสปัสสาสะ ไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว เพราะรู้ธรรม ๓ ประการ จึงจะได้ภาวนา ฉะนี้แล ฯ
******************************************************************
ภิกษุใด เจริญอานาปานสติให้บริบูรณ์ดีแล้ว
อบรมแล้วตามลำดับ ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงแล้ว ภิกษุนั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น ฯ