[ผู้ร่วนสนทนา] ผมอยากรบกวนท่านอาจารย์ Aero.1 คือเท่าที่ฟังท่านอาจารย์มา รู้สึกว่าอาจารย์จะไม่ค่อยอธิบายขยายความเรื่องสัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม คือคิดว่ามันน่าจะเป็นเหตุปัจจัยอันนึงที่ทำให้การปฏิบัติที่มันก้าวหน้าและอาจต้องไปใช้ในวัตถุต่อต่อไป ก็อยากรบกวนอาจารย์ขยายความเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดในเรื่องสัมปชัญญะนะครับ ท่านอาจารย์ครับ ขอบคุณมากครับ [อาจารย์ Aero.1] ก็ถ้าจะให้ขยายเรื่องสัมปชัญญะนะครับ หลักก็คือสัมปชัญญะ4 แต่โดยรวมในภาคการปฏิบัติแล้วเนี่ย จะต้องทราบอย่างหนึ่งว่าขณะที่พระพุทธเจ้าตรัสคำว่าสตินี่ หมายถึงรวมเอาสัมปชัญญะด้วย สัมปชัญญะเป็นตัวปัญญา และสัมปชัญญะไม่ใช่เพียงการรู้คล่องสัมปชัญญะจะเกิดจากการปฏิบัติ เนี่ยเกิดจากลักษณะของอะไร ก็คือเกิดจากการรู้ตัวทั่วพร้อมเองและไม่เป็นการจัดกระทำด้วย การทำอานาปานสติไปเรื่อย ๆ นี้ ทำต่อเนื่องต่อเนื่อง ตัวสติปัฏฐานจะปรากฏนะครับตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส อย่างที่เราฝึกกันนี้ คำว่าสติจะเกิดก็ต่อเมื่อตอนที่เห็นว่าสัตว์บุคคลหายไปบำราศไป ดับไป ขณะที่ลมหายใจก็เป็นส่วนของลมหายใจ และก็ในส่วนของตัวสติก็เป็นส่วนของตัวสติ รู้อยู่ ผู้รู้ก็เป็นผู้รู้อยู่ นะครับ แยกกัน คำว่าแยกกัน หมายถึงไม่รวมเป็นสัตว์บุคคล ตรงนั้นเรียกว่าสติปัฏฐานเกิด ในขณะที่สติปัฏฐานเกิดตรงนั้นหนะ หมายเอาสัมปชัญญะด้วย เพราะกำลังของสัมปชัญญะจะตามมาจากสติ ก็เป็นตัวปัญญานั่นเอง ทีนี้ถามว่าผมไม่ค่อยขยายเรื่องนี้ ก็อยากที่จะปูพื้นฐานในเบื้องต้นก่อน ในเรื่องของลมยาวให้รู้ให้ฝึกไปเรื่อย ๆ ก่อน จนกระทั่งถนนของสัมปชัญญะ ที่จะเริ่มชัดเจนขึ้นเนี่ยจะเกิดตอนที่ลมสั้น ถ้าใครก็ตามเจอลมสั้นแล้วเนี่ย แล้วรู้จดจ่ออยู่ที่ความยาวตามกาลเวลาของลมสั้นต่อไปเรื่อยๆ ตรงนั้นแหละคือเรื่องของการฝึกสัมปชัญญะโดยตรงเลย และสัมปชัญญะเวลาที่เค้ามีสภาพธรรมที่มีกำลังขึ้น ตัวสัมปชัญญะจะมีลักษณะเหมือนการรู้ทั่วกองลมนั่นเอง ก็คือวัตถุที่…