[ผู้ร่วมสนทนา]
อาจารย์ครับผมมีคำถามครับอาจารย์ คือเมื่อวันพุธหนะครับที่อาจารย์ Call ใช่มั้ยครับ
ผมก็ไปนั่งทบทวน มันมีช่วงท้าย ๆ หนะครับ ที่อาจารย์นำทำสมาธิอัปปมัญญา อะไรผมก็พูดไม่ค่อยถูกครับ
[อาจารย์ Aero.1]
หัวเราะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ที่เป็นเรื่องการแผ่เมตตา การยกจิตอะไรอย่างนี้ครับ แล้วก็ทีนี้ ผมก็มาสวดมนต์ สวดมนต์เสร็จ แล้วผมก็ มันจะมี เวลาสวดเสร็จก็ต้องสวดบทแผ่เมตตาใช่มั้ยครับ ก็เหมือนกับที่อาจารย์สวดแหละครับ แต่ผมมาอยากมีคำถามถามอาจารย์เรื่องนี้นิดนึงหนะครับ คือผมติดในการแผ่เมตตาครับอาจารย์ คือว่า คือผมมันไม่มีใจร่วมเข้าไปในนั้นหนะอาจารย์ คือผมอ่านตามตัวอักษรหนะ คือผมว่ามันต้องมีอะไรที่แบบ ทำไมผมคิดเป็นตัวหนังสือก็ไม่รู้ เอ่อ อย่างเช่นว่า หรือว่าความที่บอกว่าอย่าเบียดเบียนซึ่งกันเลย เหมือนผมไปขอร้องใครซักคนนึง คือผมก็เอ๊ะ ทำไมผมต้องเป็นผู้ไปขอร้องให้เค้าอย่าพยาบาทผมด้วยอะไรอย่างงี้
คือมันก็ อันนี้แบบ ผมแค่อ่าน ผมก็เอ๊ะ ทำไมคำแผ่เมตตาถึงต้องอย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย อย่าพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย เอ๊ะ ทำไมผมต้องขอร้องเค้าเหล่านั้นด้วย อะไรอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ผมก็ไม่ได้ทำบาป หรือว่าอาจจะมีบาปแต่ผมก็ไม่รู้ว่ามันบาปแบบร้ายแรงหรือเปล่านะ เพราะว่าการกระทำมันผ่านแล้วผ่านเลย เราอาจจะเคยขอโทษให้อภัยเค้าแล้ว แล้วก็นึกไม่ออกว่าใครจะมาพยาบาทผม
[อาจารย์ Aero.1]
เอ้า เอาใหม่ๆ เข้าใจใหม่นะ เดี๋ยวเสริมให้นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
เมื่อกี้ศัพท์ที่คุณบอกว่าคุณจำไม่ได้หนะนะ ศัพท์คำนั้นคือตัตตรมัชฌัตตตา เป็นชื่อเจตสิก เป็นชื่อตัวปรุงแต่งจิตตัวนึงนะ
หมายถึงสภาพความเป็นกลางของพรหมวิหารโดยตรงนะ ความเป็นกลางในที่นี้ก็คือกลางโดยที่ไม่ได้เป็นเมตตาตกบ่ออย่างที่ผมเคยบอกบ่อย ๆ นะ ทีนี้ถามว่าสิ่งที่คุณเจอ คุณรู้สึกว่าทำไมต้องไปขอร้องว่าอย่าเบียดเบียนฉันเลย แล้วฉันก็ไม่รู้ว่าฉันจะไปเบียดเบียนใครแล้วใครก็อย่ามาเบียดเบียนฉันอย่างนี้
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ๆ
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้อยากจะขยายอย่างนี้ว่า ที่คุณระลึกได้นั้นหนะ มันเป็นแค่เสี้ยวเดียวของสภาพเมตตาพรหมวิหาร เสี้ยวเดียวในคือส่วนของตัวคุณเอง แต่เจตนนาหมายเอาเนี่ย หมายเอาสัตว์อื่นที่เค้ากำลังผลาญกันอยู่ จองผลาญกันอยู่ ไม่ได้เกี่ยวกับคุณทั้งหมด นึกภาพออกมั้ย
เหมือนคุณกำลังระลึกให้เค้าอย่าได้เบียดเบียนกันเลย ไม่ใช่ระลึกว่าให้เค้าอย่ามาเบียดเบียนคุณ
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ๋อ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะในที่สุดแล้ว ตัวตนก็ไม่ใช่ตัวตนของเรา ถูกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะฉะนั้นการแผ่ออกไปมันจึงเป็นสภาพเมตตาที่เป็นกลางต่อสรรพสัตว์ มีสัตว์เป็นอารมณ์
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะฉะนั้น เราก็อยู่ในจำนวนสัตว์นั้นด้วยในฐานะที่สมตติว่ามีเรา ว่าเป็นเรา นึกออกมั้ย เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องการเห็นว่าใครจะเบียดเบียนกันโดยภาพรวมทั้งหมด ไม่ใช่ใครจะมาเบียดเบียนเรา โอเคเนาะ เพราะฉะนั้นจิตเนี่ย มันจะไม่มีการมานั่งกังวลว่า เห้ย ฉันต้องกังวลว่าใครจะเบียดเบียนฉัน ไม่ใช่นะ โดยภาพรวมนะเป็นภาพรวมเป็น mass นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
พลังที่ออกไปจะเป็นภาพรวมนะ ของอนันตสากลจักรวาลไง ไม่ใช่แค่ตรงหน้าเราหรือตัวเรา
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ๋อ ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะฉะนั้น อาการที่คุณทำหนะ มันจะบีบเข้าหาตัว แทนที่จะกลายเป็นผู้ที่มีความใหญ่ของจิต จิตก็จะหดตัวเข้าหาตัวเอง มันจะอึดอัดมาก มันจะบีบ แล้วนั่งสมาธิก็ยากแล้วทีนี้
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
แต่ถ้าคุณรู้ว่ามันเป็นอนันตสากลนะ แล้วมันคือแผ่ไปทั่วสรรพสัตว์นะ เค้าก็บอกอยู่แล้วว่าสัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายนะ
ไม่ใช่เเค่ตัวเราหรือคนอื่นที่เบียดเบียนเรา หรือจะเบียดเบียนเรา หรือเคยเบียดเบียนเรา ไม่ใช่ เห็นภาพเนาะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ เป็น mass ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
มันเป็นภาพรวมนะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
เข้าใจผิดมาโดยตลอด
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะฉะนั้นคำว่าตัตตรมัชฌัตตตา หรือว่าเจตสิกตัวนี้มันมีสภาพอย่างไร มันมีสภาพความเป็นกลางปราศจากอคติทั้ง 4 นะ อคติทั้ง 4 มีอะไร อคติที่เกิดจากความเบี่ยงเบนทางความคิด ที่เกิดจากราคะ คือดึงเข้าหาตัวนะ ความเบี่ยงเบนทางความคิดที่เกิดจากโทสะ การผลักออกจากตัว ทำให้เบี่ยงเบน การเบี่ยงเบนทางความคิดของความไม่รู้ และสุดท้ายการเบี่ยงเบนความคิดของความกลัว
เพราะฉะนั้นถ้าข้อมูลเราเคลื่อนเนี่ย อคติยังคาอยู่ ตรงนั้นไม่ใช่ตัตตรมัชฌัตตตา ไม่ใช่ความเป็นกลาง ฉะนั้นปรับใหม่ แผ่เมตตาแบบที่เป็นภาพรวม และให้มาดูว่าส่วนกลางของเมตตาคืออะไร คือ 1. ให้เห็นศัตรูใกล้ ลักษณะจิตของศัตรูใกล้กับศัตรูไกลของเมตตา
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ศัตรูไกลของเมตตาคือความโกรธ ศัตรูใกล้ของเมตตาคือความใคร่
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เมตตามันอยู่ตรงกลางของสองส่วนนี้ นี่เรียกว่าตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก มันเป็นสภาพอโทสะ เห็นหลวงตามหาบัวมั้ย
โวยวายโวยวาย โอ้โหย โขมงโฉเฉง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ๆ
[อาจารย์ Aero.1]
โกรธมั้ย อาจจะไม่โกรธก็ได้นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
(หัวเราะ ) แต่มีท่านนายกท่านนึงเค้าถอยเลยนะอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
อืม ก็แล้วแต่ อันนี้เราตั้งข้อสังเกตเฉยๆ ในการที่จะศึกษานะ
เพราะฉะนั้นให้เห็นก่อนว่ามันคือความเป็นกลางอยู่ตรงกลาง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ พึ่งเข้าใจครับอาจารย์ ว่าไอ้คำว่าเมตตามันคือความเป็นกลางละ รึว่ามันมีแบบเมตตาเป็นอีก 10 Level อะไรอย่างนี้ คือผมไปย่อยจากเมตตาอีกทีนึง ว่าเมตตาเนี่ยอาจจะเมตตาเล็กน้อย เมตตากลางๆ เมตตามาก ๆ อะไรอย่างงี้ คือผมไปเข้าใจแบบนั้นหนะครับอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้แบบนั้นมันก็มี แต่ปัญหาคือมันยังต่อเมตตาไม่ตรงเลยมันจะเข้า level ได้ยังไง มันก็คิดว่าเป็นเมตตาไง ด้วยโมหะไง
จริงๆ มันคือ โลภะ เค้าเรียกเมตตาตกบ่อ ภาษาพระป่าเรียกว่าเมตตาตกบ่อ ภาษาอภิธรรมเรียกว่าเมตตาเปมะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะตั้งจิตไว้ไม่เป็น ทีนี้วิธีเช็คเช็คยังไง เช็คว่า ณ.ตอนนั้นหนะ สมมติเราเล่นกับเเมวอยู่ สมมตินะ ชอบนะ มีคนผู้หญิงนะชอบเล่นกับแมว
[ผู้ร่วมสนทนา]
เล่นกับหมา
[อาจารย์ Aero.1]
ให้ถามตัวเองว่า เอ้าเล่นกับหมาก็ได้ ให้ถามตัวเองว่า ตอนที่เล่นกับหมานั้นหนะ เราชอบหมาอย่างไรนะ ชอบว่าเรารักเค้าเหรอ หรือเราได้ความสุขจากการเล่นของเค้า จากการเล่นกับเค้า แล้วเราก็บอกบัญญัติว่าตรงนั้นคือความเมตตา ที่เราเมตตาหมาตัวนี้ซักบรรดามี คือมากมายเหลือเกินอะไรอย่างนี้นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
แต่กับอีกคนนึงที่ไม่เล่นกับหมาเลย อยู่ตรงกลาง แล้วก็รู้สึกเมตตาในหมานั้นมาก แม้แต่ตัวหมาก็ไม่จับ ผมบอกนะว่าคนที่เล่ากับหมานั้นหนะไม่รู้จักเมตตาด้วยซ้ำ
[ผู้ร่วมสนทนา]
เอ๊า เหรอครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เอ๊า ก็นั่นแหละ ก็มันตกบ่อไปหมด มันไม่ใช่เมตตาไง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้เมตตาเป็นอย่างไร เมตตาก็อยู่ตรงกลางนั้นแหละ ปรารถนาดีต่อสัตว์เหล่านั้น เมตตาต่อหมาเหมือนหมาเป็นเพื่อน
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
วิธีเป็นเพื่อนทำยังไง ก็สอดส่องว่าหมาเป็นทุกข์อะไรมั้ย เมตตาเค้าหนะว่าเป็นทุกข์อะไรมั้ย มีความปรารถนาดีต่อหมานั้น
จำเป็นต้องไปลูบหัวมั้ย ?
[ผู้ร่วมสนทนา]
ไม่ต้องก็ได้
[อาจารย์ Aero.1]
จำเป็นต้องไปเกลือกกลั้ว? แต่ไอ้คนที่เป็นเกลือกกลั้วแล้วก็ เอ๊ น่ารักจังเลย พวกนี้ใช่เมตตามั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
หัวเราะ
[อาจารย์ Aero.1]
นั่นคืออกุศลไง อาจจะไม่ใช่ ซึ่งส่วนใหญ่คือไม่ใช่
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
อืม จริงมั้ย นี่แหละเมตตานะ เมตตาเป็นอย่างนั้น ทีนี้เมตตามีสภาพเป็นมิตร เป็นมิตรย่อม มีแต่ปรารถนาดีต่อมิตร ถูกมั้ย นี้เค้าเรียกว่ามิตรแท้
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะฉะนั้น ปรารถนาดีต่อมืตรแล้วก็มีความระลึกดีๆให้อยู่ตลอดเวลา ทีนี้ถ้าสุนัขนั้นเกิดความทุกข์ยาก เรายื่นมือเข้าไปช่วยด้วยความเมตตาเนี่ย เราต้องไปกอด ลูบ อะไรอย่างนี้มั้ย ไม่ต้องถึงขนาดนั้นก็ได้ ถูกมั้ย เค้าขาดอาหาร เค้าหิว เราเอาข้าวให้เค้า ตัวนี้เป็นกรุณา แต่..มีแต่นิดนึง ขณะที่กรุณานั้นหนะ คุณเอาข้าวให้หมาเนี่ยด้วยความกรุณานั้นหนะ คุณต้องเห็นส่วนสุดของความกรุณทั้งสองข้างด้วย แเล้วคุณแทงให้อยู่ตรงกลาง ส่วนสุดคือ ความประทุษร้าย นี่ศัตรูไกล ประทุษร้าย ศัตรูใกล้คือความหวั่นใจในการช่วยนั้น เวลาคุณช่วยหมาด้วยความเป็นเพื่อนเป็นฐานอยู่แล้ว ถูกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
คุณช่วยด้วยความปรารถดีเอาข้าวให้เค้ากิน ด้วยความเป็นกลางของจิตที่เป็นเจตสิกตัตตรมัชฌัตตตาเนี่ย คุณเอาข้าวให้เค้ากิน โดยที่คุณก็ไม่หวั่นใจด้วยเวลาที่เค้ากินแล้วเค้าเกิดอาการ เอ่อ ที่ทำให้คุณหวั่นใจใดๆ ก็ได้ หรือหมาประสบอุบัติเหตุแล้วคุณไปช่วยเค้าเอายาไปใส่ นั่นคุณก็เห็นความทุกขเวทนาของเค้า คุณหวั่นใจมั้ย ถ้าหวั่นใจอกุศลก็เข้าแทรก แต่ถ้าอยู่ตรงกลางได้คุณทำใจเป็นกลางได้ แล้วคุณก็ช่วยเค้าไปต่อไปด้วยความปรารถนาดี เมตตานั้นเจริญมาเป็นกรุณานะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
อาจารย์ขยายตรงหวั่นใจหน่อยครับ ผมไม่ get ตรงหวั่นใจ มันหวั่นใจยังไงครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ก็ สุนัขทุรนทุราย โดนรถทับเป็นแผล เรามาช่วย แล้วเราก็เป็นทุกข์เวทนาไปกับเค้าด้วย จิตมันก็ดิ้นไง ดิ้นหวั่นใจไปกับความที่สัตว์นั้นตกทุกข์อยู่
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ๋อ อารมณ์นี้ ขอบคุณครับอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
ก็แทงให้เข้าตรงกลาง ความปรารถนาดีนั้นก็จะเจริญต่อเป็นกุศลขั้นที่สองได้ อันนี้เค้าเรียกว่าความเป็นผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในสังสารวัฏด้วย ไม่ใช่ผู้ใหญ่เหมือนกับโลกมนุษย์นะ เป็นผู้ใหญ่แท้จริงหนะเป็นอย่างนั้น
อันที่สามเมื่อเห็นสัตว์นั้นได้ดีอยู่เนี่ย คุณทำความยินดีกับเค้าด้วยเนี่ย มันมีส่วนสุดเหมือนกัน ก็คือมุทิตาเนี่ย มีส่วนสุดสองข้างเหมือนกัน ศัตรูไกลของมุทิตาก็คือความอิจฉา ศัตรูใกล้ก็คือความบันเทิงเกินกว่าเหตุ คุณต้องแทงให้อยู่ตรงกลาง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
คุณฝึกอย่างนี้ได้ในชีวิตประจำวันเนี่ย จิตก็แทบจะรวมเป็นสมาธิแล้ว
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
จากคลิป
EP42 เห็นอริยสัจ ๔ แต่เข้าไม่ถึงธรรม,แก่นของทานและเมตตา | สนทนาธรรม โดยท่านอาจรย์ Aero1 ส.23 เม.ย.65
นาทีที่ 34.29 – นาทีที่ 48.55