[อาจารย์ Aero.1]
มีคำถามแทรกเข้ามานะบอกว่า แล้ววัตถุตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส วัตถุที่ 9 ที่ผมพูดเสมอเนี่ยนะว่าเป็นจุดนัดพบเนี่ย
หน้าตาเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร นำไปสู่คำถามว่าแล้วจิตรวมเป็นอย่างไร
คำว่า” จิตรวม” เนี่ยมีหลายระดับนะ ในขณะที่สั้นหนะ ลมสั้นหนะนะก็จะเรียกว่าจิตรวมก็ได้ เพราะตอนนั้นมโนทวารเริ่มเปิดละ เห็นวับ ๆ แวม ๆ แล้ว บางคนก็ได้ยินเสียง แต่เสียงนั้นมันเสียงจากใจนะ เป็นเสียงที่คลองมโนทวาร อย่างนี้เป็นต้นนะ หรือว่าแสง สี ภาพ นู้นหนะ ก็ไม่ได้เกิดที่ตาเนื้อ แต่เกิดที่ตาที่มโนทวารปรากฏขึ้น บางคนเห็นภาพแบบบอกว่า โอ้โห ผมเคยเห็นนี่แบบเป็น HD คือชัดมาก ชัดกว่าตาธรรมดาเห็นอีก ก็อันนั้นหนะ ให้รู้ว่าอันนั้นหนะมาจากมโนทวารที่เปิดขึ้น
ทีนี้ตรงมโนทวารไม่ใช่หน้าที่นะ ไม่ใช่หน้าที่ที่เราจะไปรู้ภาพรู้อะไรต่าง ๆ กลับมาที่หน้าที่หลัก ก็คือรู้ความสั้นนั้นหนะ อันนั้นหนะจิตเริ่มรวมละ รวมในเบื้องต้นนะ ทีนี้พอมาเห็นกังสดาลมารู้กังสดาลเนี่ย ตอนนั้นหนะ ตัวอุปกิเลสมันน้อยลงมันจางลง ถึงจะไปเห็นลมกังสดาลได้ ตรงนั้นก็รวมอีก สังเกตได้ว่าตอนรู้ลมกังสดาลนั้นหนะเสียงเริ่มเบา ประสาทสัมผัสภายนอกเริ่มเบา มันเหมือนเราอยู่ในท่อที่บริเวณปลายจมูกหนะ ตัวเราภายนอกมันบางมาก ความรู้ชัดไปอยู่ที่บริเวณมุขนิมิต หรือปลายจมูกนั้นแหละ จะเป็นรูปอะไรก็แล้วแต่ เป็นลักษณะอะไรก็แล้วแต่ ตรงนั้นบางคนก็เห็นเป็นท่อ บางคนก็เห็นเป็นรูเล็กๆอยู่ในนั้น ตัวรู้เราอยู่ในนั้น เหมือนเราไปนั่งอยู่ในนั้นอะไรอย่างนี้ เป็นต้น อันนั้นแหละคือสภาพรวม รวมคืออะไร รวมก็คือ สภาพภายนอกเนี่ยมันมีบทบาทในการรับรู้ได้น้อยลงจิตมันก็เลยหดเข้า หดตัวเข้ามาเหมือนอยู่ในท่อบ้าง เหมือนอยู่ในรูบ้างอะไรต่าง ๆเหล่านี้ ลักษณะคล้าย ๆเเบบนั้น นี่รวม ระดับท่ามกลางนะ
แต่ถ้ารวมระดับที่ 9 เนี่ย ลักษณะของเค้าเนี่ย ที่เรียกว่าจะเรียกว่ารวมอย่างที่เรียกว่าจิตรวมใหญ่ก็ได้นะ เห็นฐานจิตที่หลวงปู่มั่นใช้คำนี้หนะนะ
การเห็นฐานจิตเป็นอย่างไร การเห็นฐานจิตเนี่ย คือเป็นการแยกอย่างชัดเจนนะครับ ระหว่างความคิดกับความรู้ ตัวความคิดจะเหลือน้อยมากๆ แทบจะไม่เหลือเลย ตั้งใจคิดก็คิดไม่ออก ตอนนั้นหนะจะเป็นลักษณะนั้น แต่ตัวรู้จะปรากฏชัด คำว่ารู้เนี่ยก็คือความสามารถของจิตนั่นเอง และสิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นหนะ ถ้าเป็นวัตถุที่ 9 คือดับหมด ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดับหมด มีลักษณะอย่างไร อันนี้พูดไปก็จินตนาการยากแต่ให้รู้ไว้ว่า ตาไม่เห็น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่รับรส หูไม่ได้ยินแล้ว หมดเลยเสียง ดับเลย แต่ที่สำคัญหนะตรงกายครับ กาย ถ้าลองคิดดูตรงกายไม่มี เราไม่มีประสาทสัมผัสคือแรง G ทั้งหมด แรงดึงดูดของโลกทั้งหมดก็ไม่เหลือ เพราะมันไม่มีกายให้รับแรง G
แล้วจิตมันจะไปยังไงหละ บางคนก็พลุ๊บ ทะลุหัวไปขึ้นเลย ไปอยู่บนที่ไหนก็ไม่รู้เวิ้งว้างอยู่ ลอยอยู่อย่างงี้นะ เป็นสภาวะนั้น เสียงไม่มี รูปไม่มี หายหมด ให้รู้เลยว่าตอนนั้นแล้วมันจะมาคู่กับอะไร แสงสว่างแสงสว่าง นั่นแหละ นั่นแหละคือสภาพของจิต ที่บาลีเรียกว่า คูหาสะยัง อสรีรัง แปลว่าอะไรแปลว่าอยู่ในคูหา อยู่ในคูหา ก็คือกายนี้แหละ อสรีรัง ไม่มีรูปร่าง เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรในชั้นอรรถกถาอธิบายสภาพธรรมตรงนี้นี่ เรียกว่า “เอโกทิภาวะ”
ไหน ๆ พูดแล้วพูดให้จบนะ เอโกทิภาวะ เอโกทิภาวะ แปลว่าอะไร ถ้าเรา search ในพระไตรปิฎกเราจะได้ยินพุทธพจน์คำนี้ แบบเอโกทิภาวะ เป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยบางทีเค้าก็แปลทับศัพท์ไว้นะ เอโกทิภาวะ หรือถ้าแปลเป็นไทยบางสำนักก็จะแปลว่า “ธรรมเอกที่ผุดขึ้น”
คำว่า ธรรมเอกที่ผุดขึ้น นี่ก็คือสติปัฏฐานเต็มรูปนั่นเอง สติปัฏฐานเต็มรูปคืออะไร ก็คือเป็นการเข้าสู่ความเป็นสติปัฏฐานเห็นว่าไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ถ้าเรียกตามญาณที่เป็นญาณ 16 ก็จะเรียกว่า นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณที่กำหนดรู้ความเป็นไปของนามรูปอย่างชัดเจนตามความเป็นจริง อย่างนี้ นะครับ
เพราะฉะนั้น ตอนนั้นหนะ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในแง่ของวิปัสสนาเกิดขึ้นก็คือ การรู้ว่าไม่ใช่ตัวตนอย่างชัดเจน เพราะอะไร เพราะขันธ์ 5 ที่มันแยกจากกันอย่างชัดเจน ตรงนี้แหละคือก้าวของปัญญานะครับ แล้วเมื่อกี้ที่ผมพูดอยู่เสมอที่ต้องผูกไปด้วยเสมอก็คือลำดับ ตัวลำดับเนี่ยก็คือการรู้เหตุและปัจจัยของการเข้าไปถึงวัตถุที่ 9 นั่นเอง เมื่อมีตรงนี้ประกอบอยู่อย่างชัดเจน คำว่ารู้ตรงนี้ ไม่ใช่รู้ท่อง แต่รู้ความชำนาญจำได้แต่ละลำดับไปว่ามีสภาพธรรมอย่างไร
จำได้ว่าขณะที่เข้านั้นเราทำอะไรถึงเข้า เราทำอะไรถึงยกระดับไปตามลำดับวัตถุต่าง ๆ ทำอย่างไร วางจิตอย่างไร พอรู้เนี่ยแหละ ตัวนี้เป็นตัวกำกับเหตุปัจจัยทั้งหมดในการรู้ ญาณตรงนี้จึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้นลำดับที่ชัดเจนตั้งแต่เบื้องต้นนั้นหนะ เค้าจะมาประกอบรวมตรงนี้ แล้วก็บวกด้วยตัวความรู้ว่ามันไม่เที่ยง มันไม่ใช่ตัวตนแล้วเห็นมันสลายไปตลอด เรียกว่า สัมมสนญาณนะ 3 ญาณนี้กำกับในวัตุที่ 9 คุณจะหมดข้อสงสัยทั้งหมดเลย ไม่ใช่แค่วิธีการปฏิบัตินะ จะเรียกได้ว่าเกือบทั้งหมดในวิธีการในพระศาสนาเลย มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปรากฏ
เพราะฉะนั้น ณ ตอนนี้ที่เรากำลังจะทำไปเนี่ย ไม่ได้ไกลนะ แต่เพียงแต่ว่าถ้าใครก็ตามนะ บุคคลไหนก็ตาม ต้องการที่จะไปถึงอย่างชัดเจนคือทิ้งชีวิตแล้ว ฉันว่าง ตัดปลิโพธ หรือความกังวลอะไรต่างๆ เรียบร้อยเเล้ว อย่างผู้ถามเมื่อสักครู่นี้ บอกว่าอีกไม่กี่วันจะมีการว่างอย่างมาก ก็คือสองอาทิตย์เลย มีแผนแล้วที่จะทำอย่างอุกฤษฎ์เลย อย่างมาก เพราะฉะนั้นให้เพิ่มเวลาเข้าไปนะ จาก 6 ชั่วโมงที่เราทำเนี่ยอัดเข้าไปเลยให้ถึง 13-14 ชั่วโมง เวลานอนตั้งให้เป๊ะ เวลาตื่นตั้งให้เป๊ะ เวลานอนสี่ทุ่มต้องนอนเลย หลับคำว่านอนนี่หลับนะ ไม่ใช่ตาค้างอยู่ แสดงว่ายังติดอยู่ในอารมณ์วางไม่ได้ จิตมันตื่นหนะ มันหลับไม่ลง
เพราะฉะนั้น ต้องหลับ หลับเสร็จ หลับด้วยสีหไสยาสน์นะ ตั้งสติว่าเราจะตื่นขึ้นมาปฏิบัติ แล้วดูลมจนหลับไป ตื่นขึ้นมารู้ลมเลย แล้วทำ ทำต่อ จะตื่นตีสอง ตีสามตีสี่ ก็แล้วแต่ภูมิธรรม แล้วแต่กำลังอินทรีย์ของแต่ละบุคคลอย่างนี้นะ ทำอย่างนี้สลับกันระหว่างนั่งกับเดินเดินจงกรมนะ เดินจงกรมพระพุทธเจ้าตรัสว่าอะไร ให้เดินไปกลับนะ ไปกลับ การวัดก้าวก็คือ 25 ก้าวหรือ 50 ก้าว เดินไปกลับ ถามว่าเดินแล้วจะรู้อะไร ก็รู้ลมก็ได้หรือรู้กายก็ได้ขยับอย่างไร ถามว่าทำไมต้องเดิน ก็เพราะว่าถ้าไม่เดินนี่ยร่างกายมันจะทุกข์ทรมาน เพราะว่าเส้นมันจะตึง ให้คลายเส้นเพราะนั่งนานเป็นสิบชั่วโมงเนี่ย ตึง
เอ้า แล้วถามว่านั่งบัลลังก์นึงกี่ชั่วโมงดี ถ้าเราผ่านที่นี่แล้วสองชั่วโมงแล้วเนี่ย ให้อัดไปวางแผนให้ดี 2 ชั่วโมง ถึง 3 ชั่วโมง แต่ถ้าคุณจิตรวมคุณจะไปถึง 5 ชั่วโมงบัลลังก์นั้น รวมใหญ่เนี่ยประมาณ 5 ชั่วโมง 6 ชั่วโมงสบายๆ ไม่มีการเจ็บปวดเมื่อย เพราะมันดับหมดนะ ขนาดแรง G ยังไม่มีปรากฏที่กาย แรงดึงดูดของโลกก็ไม่มี ในการจิตรวม ณ ขณะนั้น ดับหมด ก็ทำต่อไป
และที่สำคัญ 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 คุณต้องรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อเห็นจิตแล้วจะต้องทำอะไร ก็รู้จิตนั้นและรู้ลมกังสดาลเข้า ตึ๊ด รู้จิตนั้น ตึ๊ด หายใจ หายใจแบบที่ไม่หายใจ ก็คือสภาพที่เปรียบดั่งกังสดาล นั่นเอง ทำอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆจิตก็จะเข้าสู่ความอภิปราโมทย์นะ ความปราโมทย์นี่ต่างกับปีติกับสุขตรงที่ว่า ตอนปีติกับสุขนั้นยังมีกายอยู่ แต่ตอนอภิปราโมทย์เนี่ย ไม่มีกายนะ มันดับหมดแล้ว เหลือแต่จิต เพราะฉะนั้นความอภิปราโมทย์จึงเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก บันเทิงมาก หายใจเข้า หายใจออก เมื่อจิตเนี่ยเข้าไปถึงความบันเทิงนั้น มีแสงสว่างนะ เข้มมากเข้มน้อย สว่างมากสว่างน้อย ก็อยู่ที่ภูมิธรรมของผู้ปฏิบัติ ไม่มีประมาณ และข้อสำคัญอย่าไปติดกับผล กลับมาที่เหตุแล้วก็รู้ลมเข้า กลับมาที่เหตุรู้ลมออก เหตุในที่นี้ก็คือวัตถุ 1ถึง16
เมื่อทำรู้ตอนจิตเบิกบานอภิปราโมทย์นั้น จิตจะเข้าถึงสู่ความเสมอ หลักเหมือนกันเลย เหมือนตอนที่คุณเห็นภาพไม่ดีไม่งาม
แล้วคุณวางตั้งแต่เบื้องต้น แล้วคุณจะไปเห็นภาพที่สวย ถ้าคุณวางสวยได้ คุณจะเข้าสู่ตรงกลางของจิต คุณก็จะไปเห็นลมสั้น
หรือเห็นทั่วกาย นี่คือเบื้องต้น ถูกมั้ย คือคุณวางทั้งสิ่งที่ชอบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ภาพมาเละเทะคุณวางมั้ย ถ้าคุณไม่วาง คำว่าไม่วางก็คือไปติดข้องไปกลัว ไปสลัดออกจากการภาวนา จิตก็หลุด แต่ถ้าคุณข้ามความเน่าเละ ความเหม็น เสียงที่มันโหยหวนอะไรต่าง ๆคุณข้ามได้ ก็จะไปเจอภาพที่สวยงาม โอ้โห อะไรมันจะวิจิตรขนาดนี้นี่ ที่เป็นสัญญาในภายในโดยเราไม่รู้ เพราะจิตเค้ารู้มากหนะ จิต แปลว่า วิจิตร เค้าปรุงได้อย่างวิจิตร อาจจะไปได้กลิ่นที่หอม โอ๊ย กลิ่นนี้ไม่อยู่บนโลกมนุษย์แน่ ก็ไปปรุงละ เป็นกลิ่นในสวรรค์ หรือไปปรุงว่าภาพนี้เป็นภาพในสวรรค์ เสียงเป็นเสียงดนตรีสวรรค์อย่างนี้เป็นต้น จิตก็จะไปผูกกับอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่เป็นส่วนดีจิตก็จะหลุดออกจากความเป็นกลาง การทำต่อไปก็ทำไม่ได้ หลุดออกจากสมาธิ
เพราะฉะนั้น ถ้าข้ามความไม่ดีทางตา หู จมูกได้ มาข้ามความดีเลิศของตา หู จมูก ลิ้นกาย ถ้าคุณข้ามโดยไม่ไปเพลิดเพลินกับติดข้องกับเค้า จิตก็เข้าสู่ความเป็นกลางนะครับ
ทีนี้ลองมาดูตอนที่อะภิปปะโมทะยัง อะภิปปะโมทะยัง ก็เช่นกัน ตอนนั้นหนะทุกข์ทางกายมันไม่มี ทุกข์ทางจิตก็ไม่เห็น มันจะเข้าไปสู่ความอภิปราโมทย์ เราผูกมั้ย เราเพลิดเพลินกับความอภิปราโมทย์นั้นมั้ย ถ้าไม่เพลิดเพลินจิตก็รู้เท่าทัน รู้เท่าทันก็เข้าไปสู่ความเป็นกลางของจิตที่เรียกว่า “เสมอจิต” ความเป็นกลางก็ปรากฏ คือสมาธิอันแนบแน่นเลยทีนี้ ความสงบระงับ จะเป็นฌาน 3 ฌาน 4 อะไรก็ปรากฏตรงนั้น นะครับ ก็ให้เรารู้อย่างเดียว รู้แล้วก็รู้ลม นี่คือหน้าที่หลัก ผลจะเป็นฌาน จะเป็นรู้ จะเป็นระลึกชาติ จะเป็นนู่นนี่นั่น ไม่สนนะ ไม่ใช่เหตุ แต่ถามว่ารู้มั้ย ก็รู้ ก็รู้ไป แต่ไม่สน เพราะอะไร เราฝึกตรงนี้มาตั้งแต่จิตตสังขารแล้ว เรามีความรอบรู้ตรงนี้มาตั้งแต่จิตตสังขารแล้ว เพราะฉะนั้นตรงนี้เค้าจะไม่มีผลต่อผู้ปฏิบัติ ตรงนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่บุคคลเราเขาไปปฏิบัตินะ อย่าลืม
เพราะฉะนั้น ตอนเข้าสู่ความเสมอของจิต หน้าที่รู้ลมเข้า รู้ลมออกต่อเนื่องอยู่อย่างนี้นะ ทีนี้พอจิตเข้าเสมอของจิตนี่ ตัววิปัสสนูกิเลสก็จะเข้ามาแล้ว ในช่วงย่านนี้คือวิปัสสนา ตรุณวิปัสสนา คือแสงอรุณของวิปัสสนาปรากฏ ให้คุณรู้ว่าใด ๆในโลกทั้งมวลเนี่ย ที่เป็นผลเนี่ยคุณวางให้หมดเลยไ ม่ว่าจะเจออะไรที่พิสดารขนาดไหนก็แล้วแต่ เป็นความเชื่อที่ปักแน่น เป็นโอภาสมหาศาล แม้กระทั่งการเจอพระอริยสงฆ์ พูดคุยหัวข้อธรรม อันวิจิตรก็ดี หรือแม้กระทั่งการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ดี วางให้หมดเลย รู้อยู่ที่ปลายจมูก หายใจเข้า รู้อยู่ที่ปลายจมูก หายใจออก ตรงลักษณะนี้เรียกว่าการเปลื้องจิต คำว่าเปลื้องจิตก็คือไม่ไปสาละวนกับสิ่งรู้นั่นเอง นั่นคือธรรมชาติของจิต เมื่อมีแสงมีฉากจิตก็ปรากฏ ให้รู้เค้า รู้เท่านั้นพอ หายใจเข้า หายใจออก มโนทวารนั้นหนะ หรือสภาพของจิตนั้นหนะก็จะใสโดยรอบอย่างสมบูรณ์ เพราะไม่ยึดในจิต ไม่ยึดในตัวรู้นั่นเอง มโนทวารนั้นก็จะปรากฏธรรมขึ้น ธรรมในที่นี้ก็คือพระไตรลักษณ์ก็ปรากฏ
เมื่อรู้ความไม่เที่ยงหรือว่าพระไตรลักษณ์ อนิจจลักษณะปรากฏ ก็รู้ความไม่เที่ยงของขันธ์ที่มันดับไปตามลำดับนั้นแหละ เห็นความเกิดดับชัด บางทีอาจจะไปเห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นความเกิดดับไปตามลำดับ ของตั้งแต่รูปกาย นามกายในระดับละเอียด จนกระทั่งตัวรู้ที่ทิ้งไปเมื่อสักครู่นี้อย่างนี้ เป็นต้น หายใจเข้า หายใจออกอยู่อย่างนี้ เห็นความไม่เที่ยงนะ นิ่งอยู่ที่ความไม่เที่ยง ตัววิราคาหรือความสำรอกกิเลสก็จะปรากฏ ก็จะรู้ชัดเลยว่าการปล่อยเป็นอย่างไร สำรอกเป็นอย่างไร การออกมาข้างนอกอาจจะมีการสำรอกอย่างรุนแรงก็ได้ทางกายเนื้อ อย่างนี้ก็ทำให้รู้แล้วว่าจิตเนี่ยมันคลาย คลายจากความยึด ก็รู้ความคลายของความยึดนั้นหายใจเข้า รู้ความคลายของความยึด หายใจออก จิตก็จะสลัดคืน แล่นไปสู่นิพพานเลย รู้ หายใจเข้า รู้การสลัดคืนหายใจออก อยู่อย่างนี้ นี้คือกิจตั้งแต่ 9, 10, 11, ถึง 16 เราต้องรู้ รู้ลำดับของเค้า ก็เหมือนกับตอนที่เราเริ่มกระทำตั้งแต่ 1, 2, 3, 4 เราต้องรู้ลำดับ ถ้าเข้าไปถึงจิตแล้วก็ต้องรู้ลำดับ
เพราะฉะนั้นกิจในเบื้องต้น คือเราต้องทำความเข้าใจ 1ถึง 16 ให้ชัด เพราะถ้าบุคคลใดมีความพร้อมอยู่แล้วนะ ในอินทรีย์ของเค้าเนี่ย มีความเป็นใหญ่ในอินทรีย์แต่ละข้อนะ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เค้ามีกำลังนั้นหนะ การจะไปเห็นวัตถุที 9 นี้ ไม่ยากนะ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องนาน ไม่ใช่เรื่องไม่นาน เป็นเรื่องไม่แน่ แล้วแต่บุคคลที่ประกอบบุพกรรมบุพชีวิตไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว สั่งสมไว้ดีแล้ว ก็ใกล้ทางมากขึ้น
เพราะฉะนั้น เน้นย้ำนะ อย่าไปพะวงผลที่ไม่ใช่เหตุในลำดับต่อไป ถ้าผลที่เกิดนั้นหนะเป็นเหตุในลำดับต่อไปต้องยกขึ้นมาเป็นเหตุใหม่ ใช่มั้ย ยกตัวอย่างนะ อาจจะฟังแล้วงงหรือเปล่าบางท่าน ยกตัวอย่างเช่น ขณะที่เรารู้ลมยาวเป็นเหตุนั้นหนะ ถ้าเกิดมีเสียงวิจิตรพิสดารมา ใช่เหตุใหม่มั้ย ไม่ใช่เหตุใหม่นะ เหตุใหม่ต้องคือลมสั้นเท่านั้น แล้วเราไม่คาดหวังนะ ไม่คาดหมายไปในอนาคต ที่จะเกิดความหวังในการรู้ลมในลำดับต่าง ๆ แล้วก็ไม่หมายมั่นในอดีต คือลมในอดีต ไม่หมายมั่น ไม่ไปถวิลหานะ จิตมันก็จะเข้าสู่ตรงกลาง นี่หลักเดียวกันทั้งหมดทั้งสายเลย เพราะฉะนั้นหน้าที่สำคัญที่สุด หน้าที่ในลำดับนั้นต้องแยกให้ออก ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นใช่เหตุใหม่มั้ย ถ้าใช่เหตุใหม่ก็ยกขึ้นมา รู้ หายใจเข้า ยกขึ้นมา รู้ หายใจออก ตรงนี้ไม่ใช่ธัมมวิจยะ ซะทีเดียวนะ ตรงนี้คืออานาปานสติเป็นสติปัฏฐานเลย ก็ประกอบไปด้วยทั้งตัวสมาธิและตัวสติปัฏฐาน และตัวอุเบกขาเจือกันอยู่ ต่อไปก็เจริญเป็นโพชฌงค์ในที่สุดนั่นแหละ หรือองค์ในการตรัสรู้นั่นแหละ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ สาธุค่ะ
จบนาทีที่ 28.45
/////////////////////////
เริ่มนาทีที่ 41.00
[อาจารย์ Aero.1]
อย่างที่บอกแหละนะ กลับมาที่หน้าที่ตามลำดับ แล้วก็มรรคนี่สำคัญ สมัยก่อนคนที่เค้าทรงฌานเนี่ย พระพุทธเจ้ามาเทศน์ ก็ไม่ได้เทศน์เรื่องอื่นนะ ก็เทศน์เรื่องมรรคมีองค์ 8 เทศน์อริยสัจสี่ แล้วก็ที่สำคัญเลยเนี่ย จะเน้นไปที่ตัวละนันทิกับความเพลิดเพลิน ถึงแม้จะเข้าฌานมันก็เพลิดเพลินในฌานได้ แล้วตัวเพลิดเพลินนั้นมันจะก่อทุกข์ใหม่ ล้อมรอบฌานนั้นอยู่ ล้อมรอบความสงบนั้นอยู่ ซึ่งไม่ใช่ทาง ทางก็คือการรู้ความเสื่อมของส่วนสุดซ้ายสุดขวาสุดแล้วอยู่ตรงกลาง นั่นแหละมัชฌิมาปฏิปทานะ เพราะฉะนั้นอานาปานสติเนี่ยเป็นอะไรที่แยบคายมากในการเรียนรู้อริยสัจ ทำไปตามลำดับหนะ จะไม่มีหลงเลย แล้วสิ่งที่สั่งสมไว้หนะ เดี๋ยวเค้าจะมารวมเอง รวมเอง แล้วจะมาเอื้อกันนะ แต่อย่าไปติด อย่าไปติดในผลที่่มันไม่ใช่เหตุที่ควรที่จะไปรู้
แล้วไม่ต้องกัวลหรอกว่าจะไม่รู้ ในที่สุดแล้วจะรู้ทั่วและรู้ลึกกว่าที่เราสนใจว่าจะรู้อีก เพราะอะไร เพราะสิ่งเหล่านั้น จะรู้ด้วยวิธีหยุดรู้ ถ้ายังรู้ใคร่รู้อยู่ เรียบร้อย มันก็จะกลายเป็นรู้ที่มั่ว รู้ที่จริงบ้างไม่จริงบ้างสลับกัน แต่เมื่อใดก็ตามถ้าเราทิ้งรู้เข้ามาที่หน้าที่ เดี๋ยวตรงนั้นหนะก็เจริญเป็นอิทธิวิธิ ในพระศาสนา ถามว่าเราจะไปติดมั้ย ก็ไม่ติดอีก เพราะฉะนั้น ผู้รู้นี่จะไปด้วยความบริสุทธิ์จริงๆ ไม่มีติดข้องเลย แต่ใช่ว่าไม่มี เป็นแบบนี้นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะ สาธุ ขอบคุณมากค่ะ ค่ะ สาธุค่ะ
จบนาทีที่ 43:09
จากคลิป รู้เหตุตามความเป็นจริงไปตามลำดับ , เอโกทิภาวะ 26 พ.ค.64 โดย ท่าน อาจารย์ Aero.1
นาทีที่ 9.48 – นาทีที่ 28.45 / นาทีที่ 41.00 – 43:09