[ผู้ร่วมสนทนา]
อาการที่เหมือนเข็มทิ่มตามตัวอย่างอะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ สาเหตุที่เกิดอะไรอย่างนี้อ่ะค่ะ อยากให้ท่านอาจารย์อธิบายตรงนี้ นิดนึงอาการเหมือนเข็มทิ่มตามตัวอะไรอย่างนี้ เสียวมือเเปล่บๆ อะไรอย่างงี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
[อาจารย์ Aero.1]
ก็ เอาเข้าจริง ๆ แล้วหนะนะครับ อาการเข็มทิ่มแทงตัวเนี่ย ไม่มีปรากฏในบันทึกตามประวัติศาสตร์ ของสำนักปฏิบัติต่าง ๆ หรือมีอาจจะเป็นที่ผมไม่ทราบก็ได้นะ แต่ความเข้าใจผมหนะ ผมมองว่า สภาพของการที่มีเข็มทิ่มหนะ มันเป็นสภาพของผู้ที่ลุถึงลำดับญาณในวิปัสสนาญาณขั้นกลางนะ ครูบาอาจารย์ยุคเก่าเนี่ยพูดไว้คำนึงนะ ผมจำท่านไม่ได้นะ ซึ่งภายหลังเนี่ย เวลาเราปฏิบัติแล้วมันเป็นอย่างที่ท่านพูดจริงๆ
สิ่งที่ท่านพูดคืออย่างนี้ ท่านพูดว่าในช่วงเวลาเจ็บปวดของการข้ามเวทนาในเบื้องต้นก่อนที่ยุคลธรรมจะเข้าเนี่ย ต้องผ่านลักษณะของการชาก่อน ชาเนี่ยเป็นเรื่องเด็กมาก เด็กมาก พอชาแล้วเนี่ยพอเราไม่เปลี่ยนอิริยาบถเนี่ย มันจะเกิดอาการปวด และเมื่อถ้าเราไม่ใส่ใจเรื่องปวดของกายและทิ้งกายไปนะครับ มันจะเกิดอาการที่เรียกว่าความปวดนั้นมันเกิดอาการดับไป ดับไปเป็นแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยนะ ถ้าเราจดจ่อมั่นคงอยู่กับอารมณ์กรรมฐานเนี่ย อยู่ ๆ ความปวดเค้าหายไปเลยจากหน้ามือเป็นหลังมือ หายพรึ่บ หายไปเลยนะ ทีนี้ถ้าเราไม่มีความมั่นคงพอ เราก็พ่ายแพ้ต่อความปวด
อย่างจากประสบการณ์ตรงเนี่ย ที่เคยทำแล้วเคยกำหนดจำไว้นะในสมัยอดีตหนะ ฝึกครั้งแรกๆ นี่ นั่งเต็มที่เลยนะ เป็นปกติของผมนะ เอาประสบการณ์ตรงเนี่ย 45 นาที จะเจอความปวด ความชาไม่พูดถึงนะ ความชาเรื่องเล็กมาก เอาความปวดแล้วกัน 45 นาทีนี่ปวดมาก ก็ไม่สนนะไม่สน ก็นั่งไป ดูลมไป มันจะปวดแบบ superปวดเนี่ยประมาณที่ย่าน 1 ชั่วโมง เราก็ไม่สนอีก แต่มันไม่ใช่อยู่ ๆ ทำวันเดียวแล้วจะได้นะ มันคือทำต่อเนื่องไป ทำไม่สนหนะ ทนมันที่สุดเลยของความทน
ผมไปเห็นความดับเนี่ย ด้วยการปฏิบัติซักประมาณเดือนนึง เดือนแรกของชีวิตหนะนะ ของการปฏิบัติแบบต่อเนื่องนะ ความปวดมันหายไปด้วยชั่วโมงที่ประมาณซักหนึ่งชั่วโมงสิบนาที มันหายไปไหนก็ไม่รู้ หาไม่เจอเหมือนกัน อ้าว แล้วเมื่อกี้ปวดอยู่มันไปไหนแล้วเนี่ย นะ จากวันนั้นมาเนี่ย จึงทำให้การนั่งเนี่ยเข้ามาสู่ย่านหนึ่งชั่วโมงครึ่งได้แบบสบายๆ ไม่มีอาการทุรนทุราย
สมัยก่อนเนี่ยในช่วงเวลา 45 นาที ถึง 1ชั่วโมงเนี่ย มันคือนรกเลย โอ้โห เมื่อไรอาจารย์จะลั่นกระดิ่งน้อ เมื่อไหรจะถึงเวลาให้ถอนอารมณ์ได้แล้วครับ หรือว่าผู้ปฏิบัติถอนอารมณ์นะ อย่างงี้ เมื่อไรจะถึงเวลานั้นนะ เมื่อไรจะถึงเวลากระดิ่ง มันทรมานมาก
แต่พอเราผ่านช่วงเวลาของการข้ามเวทนาไปแล้วเนี่ย เรานั่งชั่วโมงครึ่งสบายๆ อาจารย์ก็ขยับตามอีก ให้นั่งชั่วโมงครึ่ง มันจะปวดก็ปวด ชั่วโมงสิบห้านาที เอาแล้วเริ่มมาแล้ว แต่เรารู้ทันมันแล้วนี่ รูัทันมันก็คือไม่เป็นเหยื่อของความจำนนต่อขันธมาร แล้วก็ต่อไป อันนี้หลายสำนักพูดนะว่าจะโง่อยู่ทำไม ก็เปลี่ยนอิริยาบถสิ ถ้าได้ฟังอุทาหรณ์วันนี้จะได้รู้ว่า อ๋อ วิธีอย่างนี้เค้าปฏิบัติกันนะ ถึงแม้ไม่เจอในพระไตรปิฎกตรงๆ แต่ก็ให้รู้ว่าพระพุทธเจ้าอธิษฐานไม่เปลี่ยนอิริยาบถนะ อันนั้น คือ สัจจะ
เพราะฉะนั้นถ้าจะปฏิบัติตามห้องนี้ ผมท้าพิสูจน์ให้นั่งต่อไป แล้วเดี๋ยวมันเบาเอง ไอ้ปวดนี่ไม่ต้องคุยหรอก มันเป็นสุข ยิ่งกว่าความปวดหายอีก ก็คือมันเบาขึ้น ยิ่งนั่งเหมือนยิ่งตัวลอยขึ้นไป เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่หนีเค้านะขันธมาร เรารู้ลมของเราต่อไป หน้าที่นะ จนกระทั่งความแนบแน่นเค้ามากขึ้น มีความชำนาญมากขึ้น คำว่าชำนาญ ก็คือ ชำนาญกับการวางอารมณ์ ไม่ไปเข่นลม รู้ลมยาวตามกาลเวลาอย่างต่อเนื่อง ไม่หลุดนะ กลายเป็นรู้ลมสั้น ตัวก็เริ่มเบาแล้ว เบาเบา ทำไปเรื่อยๆเนี่ย ย่านการนั่งเนี่ย จะขยับจากหนึ่งชั่วโมงครึ่งเป็นสองชั่วโมงได้ คือนั่งได้ผ่านแบบสบายไม่ปวดเลย หรือถ้าปวดมาก็เล็กน้อยแบบ ผ่านไปแบบนิ่ม ๆ นะ ไม่ทุรนทุรายมาก
เมื่อ 2 ชั่วโมงได้เนี่ย ให้คุณเดินจงกรมมากๆ อย่างที่บอกนะครับ เดินจงกรมให้ผ่านทะลุ 3 ชั่วโมง 5 ชั่วโมงไป เมื่อคุณทรงอารมณ์ได้ในอิริยาบถเดินเนี่ย บอกได้เลยว่าคุณจะสามารถนั่ง 3 ชั่วโมงได้เลย เนี่ยมันเป็นขั้นตอนเป็นลำดับไปนะครับ ในการข้ามเวทนา
พระป่าสมัยก่อน ซึ่งสมัยนี้เค้าไม่แล้ว เค้าดูจิตกันหมดพระป่า พระป่าสมัยก่อนโดยเฉพาะหลวงปู่จันทร์เรียนก็ดี หลวงตามหาบัวก็ดี ที่เหลือน้อยนะครับทุกวันนี้ ก็ไปดูจิตกันหมด ท่านจะบอกว่าอะไร ท่านจะใช้คำนี้ว่า “บดเวทนา” ข้ามเวทนาให้ได้มันถึงจะทำไปถึงจิตรวมได้ ไม่งั้นจิตไม่มีทางรวมนะ พอไปครบ 2 ชั่วโมงแล้วเนี่ย พอเดินได้ 5 ชั่วโมง มีความรู้สึกลอยขึ้นได้ใน 5 ชั่วโมงหรือเบาในอิริยาบถเดินเนี่ย หรือข้ามเวทนาในอิริยาบถเดินได้เนี่ย การนั่งจะทะลุไป 3 ชั่วโมง
ถามว่าลักษณะไหนที่เรียกว่าข้ามเวทนาในการเดิน ก็คือเดินไปเนี่ย มันจะทุกข์มาก มันจะเจ็บมันจะปวด ปล่อยมัน เดินต่อ เดิน 25 ก้าวนะ เดินสุดจงกรม หยุด หันขวา กลับหลังหัน เดินต่อ สุดทางจงกรม หยุด กลับหลังหัน เดินกลับมาต่อ คุณทำอย่างนี้ต่อไปเนี่ยในช่วง 3 ชั่วโมงแรกเนี่ย บางคนก็เดินได้ ขึ้นอยู่กับสรีระ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของกล้ามเนื้อ มันจะถึงภาวะที่ปวด แต่ถ้าคุณเดินต่อไม่หยุดเนี่ย ความปวดนั้นก็หายเหมือนกัน มันหายไปเอง หายแบบหน้ามือเป็นหลังมือเหมือนกัน คุณทำอย่างนั้นได้ปุ๊บ คุณมานั่งคุณจะผ่านทะลุ 3 ชั่วโมง
ทีนี้ในย่าน 3 ชั่วโมง ระดับ 3 ชั่วโมงเนี่ย มันจะมีทุกขเวทนาอีกอันนึงปรากฏขึ้นมา อย่าลืมนะครับว่า ถึงแม้คุณจะนั่งได้ 3 ชั่วโมง ไม่ได้หมายถึงในเบื้องต้นเนี่ยคุณจะหายจากเวทนาในการปวดไปอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ มันยังมีแทรกเข้ามาอยู่บางขณะ แต่มันผ่านไปได้ด้วยความกรุบกริบ คือเล็กน้อยมาก
แต่ถ้าคุณข้ามไปได้หนะนะครับ ใน 3 ชั่วโมง ไปสู่รอยต่อ 3 ชั่วโมงครึ่งเนี่ย มันจะเจอเวทนาใหม่ก็คือ ความร้อน ร้อนเหมือนไฟเผา โบราณจารย์เค้าบอกก อ๋อ อันนี้นี่มันเหมือนไฟนรก ถ้าผ่านไปได้เนี่ยก็เหมือนชดใช้กรรมในนรก อันนี้ผมไม่ยืนยันนะครับ อันนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลของภิกษุรูปนึง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของผู้ที่ปฏิบัติทำความเพียรเนี่ยเมื่อพ้นความร้อนไปเนี่ย คุณนั่ง 6 ชั่วโมงก็ได้ ผ่านทะลุเลย อุปสรรคของขันธมารจะไม่เกิดอีก
ทีนี้เมื่อคุณตั้งทั้งหมดเรียบร้อยหมดแล้วนะ ศีลก็เดินตรงแล้ว อนุปุพพิกถาในชีวิตประจำวันก็ตั้งแล้ว มรรคก็สมาทานแล้ว แล้วคุณนั่งได้ย่านนานขนาดนี้ เป็นผู้ผลิตกุศลเป็นแล้วเนี่ย รักษากุศลได้ด้วย เพราะสัมมัปปธาน 4 ข้อเนี่ย ในเรื่องของการขจัดอกุศลคุณเป็นมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ป้องกันอกุศลคุณก็ทำเป็นแล้ว
เพราะอะไร เพราะคุณผลิตกุศลเป็นในระดับต่าง ๆ ไม่ว่าจะทาน ศีล แล้วก็ภาวนาที่เป็นแล้ว ข้ามเวทนาแล้ว มีกรรมฐานกองหลักแล้วนะครับ เป็นเครื่องอยู่ในชีวิตประจำวันแล้ว และเป็นทั้งเครื่องขัดเกลาและเครื่องอยู่อันผาสุกแล้วเนี่ย คุณต้องมีส่วนตัวนึงที่จะทำให้ความต่อเนื่องของความผาสุกก็ดี หรือเครื่องขัดเกลานั้นก็ดีอยู่ในชีวิตประจำวัน อันนี้เรียกว่าการรักษาไว้ซึ่งกุศลที่เป็นอัปปนา หรืออัปปนาโกศลทั้ง 10 ที่ชี้บ่อย ๆ ว่าหาคนแสดงตรงนี้ยาก ปรากฏว่าอยู๋ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ก็แต่งอินทรีย์ก็ดี จัดการโดยรอบก็ดี balance ชีวิตประจำวันให้สมดุลนะฮะ ตัวสมาธิเค้าก็จะเจริญอย่าง มั่นคงตรงทาง นั่งก็นั่งได้ 3 ชั่วโมงขึ้น โดยเฉพาะอานาปานสติบรรพหรืออานาปานสติ 16 เนี่ย ก็จะลุถึงวัตถุสูงๆ มี 9, 10, 11, 12 เป็นต้น นะครับ
คุณทำไปเรื่อย ๆ ใน 9, 10, 11, 12 ถ้าคุณมาหยั่งตอนนี้บ่อยๆ บ่อย ๆ เวทนาอันนึงจะปรากฏ ไม่คันก็เหมือนเหล็ก เข็มเนี่ยทิ่ม
แปล๊บ แปล๊บ แปล๊บ แปล๊บ แปล๊บ ไปทั้งตัวนะ ถามว่ามันคืออะไร ผมก็ต้องตอบว่ามันก็คือสภาพธรรมอันนึงที่ให้เห็นความสลายของกายนี้ เพราะอย่าลืมว่าคนที่ข้ามวัตถุ 9 คือคนที่ตายก่อนตายแล้ว คือมันมีอาการหัวระเบิด กายแยกเป็นชิ้นแล้ว กายมันจะส่งมาร เสนามารหรือว่าลูกน้องมาบอกคุณซิว่าคุณสนใจมั้ย ไอ้ใหญ่ทำอะไรไม่ได้แล้วใช่มั้ย ชีวิตก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว ทิ้งชีวิตไปแล้ว ไหนลองเอาเล็กๆ เข้าไปดูซิ สนใจมั้ย
คืออะไรเล็ก ๆ เกิดอาการคันหนะทีนี้ ข้ามคันได้มั้ย ไอ้คันเนี่ยยากสุด เพราะมันกระยุบกระยิบ กระยุบกระยิบ มันยิ่งกว่าเหล็กแหลมอีกนะ มันยิ่งกว่าเข็มอีกนะ เข็มมาก็แปล๊บเดียวเองนะ เราก็รู้แล้วดึงกลับไปที่ลมเหมือนเดิมนะ มันยังมีกายอยู่ มันยังวิ่งอยู่ระหว่างวัตถุ 8 กับวัตถุ 9
แต่ถ้าคุณข้ามหมดเลยทั้งคันทั้งตายเป็นตายทั้งเหล็กแหลมอะไรอย่างนี้ กายมันจะสลายหมดเลย เพราะด้วยความรู้เท่าทัน
ของปริญญากิจที่ตั้งไว้ชอบแล้ว มันจะสลายหมด เมื่อสลายหมดมันก็คือภังคญาณนั่นเอง คุณก็จะไปเห็นส่วนย่อยของมัน ก็คืออัฐกลาปะปรากฏ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอันนั้นมันเป็นผลไม่สนใจ ดึงกลับมาที่ลมตามวัตถุต่างๆ ตามแบบอานาปานสติ 13, 14, 15, 16 เค้าก็ประชุมได้
แล้วประชุม 13, 14, 15, 16 เนี่ย ถ้าชัดข้ามวิปัสสนูกิเลสได้ 13, 14, 15, 16 มันพรึ่บเดียวนะ ไม่กี่ขณะจิตนะ อันนี้ก็เล่าสู่กันฟัง ว่าเป็นคำบอกเล่าของผู้ปฏิบัติตรงนะ เค้าจะเจอสภาพแบบนี้เป็นลำดับนะ
โดยสรุป ก็คือ
1 .ชา
2. ปวด
3. ร้อนเป็นไฟเหมือนไฟเผา
4. เหล็กแหลมเป็นเข็มทิ่ม หรือคันยิบยับ ยิบ ๆๆๆ คัน ไม่ใช่มดไต่เหมือนที่บอกว่าเป็นปีติอะไรเบื้องต้นนะ
อันนั้นมันยังไม่ใช่ทาง ยังไม่ใช่เรื่องที่จะมาพูดคุยกับเรื่องของอาการคันที่ว่านี้ หรือว่าอาการเหล็กแหลมแทง แปล๊บ แปล๊บ แปล๊บ แปล๊บ คนละลำดับ ต้องมีการประชุมแล้วนะขององค์ธรรมที่สั่งสมมาดีแล้วตามทางแล้วนะครับ สิ่งเหล่านี้ปรากฏครับ ก็เป็นหนึ่งในอาการของวิปัสสนาญาณนะครับ
จากเทปคลิป
EP36 สนทนาธรรม พ.16 มี.ค.โดยท่านอาจารย์ Aero.1
นาทีที่ 21.52 -นาทีที่ 35.25