[อาจารย์ Aero.1]
อิทธิบาท หัวใจของอิทธิบาทคืออะไร เอาใหม่
[ผู้ร่วมสนทนา]
หัวใจของอิทธิบาท ก็คือ ความพอใจในการทำเหตุครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ถูกต้อง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ แล้วก็อันนี้คือฉันทะ พอวิริยะก็คือว่า กุศลในชีวิตประจำวันเราก็ต้องผลิตกุศลให้เป็น แล้วก็ขจัดอกุศลออกไป อย่างเช่น ตามอง….
[อาจารย์ Aero.1]
เดี๋ยว ๆ ผิดลำดับนะ พระพุทธเจ้าให้ทำอะไรก่อน
[ผู้ร่วมสนทนา]
ก็….
[อาจารย์ Aero.1]
ขจัดอกุศลก่อน ไม่ใช่ไปผลิตกุศลเลย
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ้อใช่ๆ ครับ ผมพูดสลับกันครับ ขจัดอกุศล
[อาจารย์ Aero.1]
ถามว่าทำไมถึงไม่ให้ผลิตกุศลก่อน เพราะว่าถ้าคุณผลิตกุศลก่อน คุณแยกไม่ออก คุณอาจจะแยกไม่ออกว่าอันไหนกุศล อันไหนความดี อย่างนี้เป็นต้นนะ คุณต้องแยกก่อนว่ากิจกรรมนี้คือความดี ความดีอาจไม่เป็นกุศล กุศล คุณทำกุศลเนี่ย คนอื่นอาจจะมองว่าไม่ใช่สิ่งดีด้วยซ้ำ นึกออกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับๆ
[อาจารย์ Aero.1]
คุณต้องแยกอย่างนี้ให้หมดเลย แล้วคุณถึงจะรู้ว่าอานิสงส์คืออะไร อานิสงส์เนี่ยจะเป็นพื้นฐานให้เห็นนิพพาน
เพราะฉะนั้นถ้าเราตั้งผลเลิศแล้วนี่ เราไม่ได้ไปคิดเพื่อจะไปเกิดเป็นนู่นเป็นนี่ เป็นท้าวสักกะ เป็นมหาจักรพรรดิอะไรอย่างนี้นะ การทำบุญจะไม่หวังผลเลย จะวิ่งเข้าหาความเป็นกุศลฮะ ก็คือการชำระจิตนั่นเอง หรือการละความตระหนี่ แล้วฉันทะที่ตั้งตรงแล้ว ก็ตั้งไปที่เหตุไม่ใช่ตั้งไปที่ผลอีก เห็นมั้ย ละเอียดเข้าไปอีก ละเอียดเข้าไปอีก ในชีวิตประจำวัน อันนี้ทวน
[ผู้ร่วมสนทนา]
การสร้างกุศล รู้จักกุศล ละอกุศล นี้ก็คือ เป็นวิริยะใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เอาใหม่ ละอกุศล ป้องกันอกุศล ผลิตกุศล รักษากุศล
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
จำใหม่นะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
คือกระบวนการนี้เป็นขั้นตอนของวิริยะความเพียร
[อาจารย์ Aero.1]
แล้วคุณต้องแยกออกว่า วิริยะกับอุตสาหะ ต่างกันยังไง ถูกมั้ย อุตสาหะ คือตั้งใจทำ กระทำ และทำไม่หยุด คนส่วนใหญ่จะคิดว่าอุตสาหะเนี่ยคือวิริยะ นึกออกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ทำความเพียรในการทำข้าวมันไก่ ก็คิดว่าการทำความเพียรในการทำข้าวมันไก่นั้นคือการทำ คิดจะทำ ทำและก็ทำไม่หยุดนี้ความเพียร จริง ๆ ตรงนี้คืออุตสาหะครับ ไม่ใช่วิริยะ ฉะนั้น วิริยะคือเรื่องอะไร คือเรื่องฉันทะในการทำให้เป็นกุศลครับ พระพุทธเจ้าตรัสใช้คำว่า ฉันทะสัมมัปปธาน ผู้มีความเพียร มี starter คือฉันทะด้วย ฉันทะคือมุ่งไปที่เหตุด้วย
[ผู้ร่วมสนทนา]
แล้วก็จิตตะ จิตตะเนี่ยผมไม่เข้าใจ เพราะว่าอาจารย์ไม่ค่อยได้พูดถึงจิตตะหนะครับ
[อาจารย์ Aero.1]
(อาจารย์หัวเราะ) จิตตะก็คืออานาปานสติไงเล่า จิตรวมนั่นแหละ
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ๋อ ส่วนวิมังสาคือตรวจสอบ
[อาจารย์ Aero.1]
ทำไมถึงไม่พูด เพราะอะไรรู้มั้ย ผมไม่ค่อยพูดฌาน ฌานผมก็ไม่ค่อยพูด เพราะอะไรรู้มั้ย จิตตะก็ดี ฌานก็ดี อานาปานสติสมาธิก็ดี เนี่ยคำเดียวกันหมดเลย แต่ทำไมถึงไม่พูด ก็เพราะคุณทำไปเดี๋ยวคุณได้เอง ทำตามที่บอกนี่เดี๋ยวได้เอง คำว่าได้คืออะไร ก็คือได้การละนิวรณ์นั่นแหละ เป็นที่หมายของจิตตะ ความตั้งมั่นก็เกิด วสีก็เกิด ในการฝึกวสีตามลำดับ นั่นแหละ องค์คุณของจิตตะหมดแหละ หรือองค์คุณของฌานจิตนั่นแหละ
เพราะฉะนั้น ถามว่าทำไมไม่พูดฌานจิตไม่เน้นที่ฌานจิต เพราะคนส่วนใหญ่เนี่ยเวลาปฏิบัติแล้วหวังผลกันหมดหนะ
ถ้าไม่ได้บอกไม่รู้ตามความเป็นจริงนะ ไม่มีผู้รู้ชี้เนี่ย ร้อยทั้งร้อยตรวจสอบองค์ฌานทั้งหมดแหละ อ๋อย อันนี้วิตก อันนี้วิจารณ์ อันนี้ปีติ อันนี้สุข ไปตรวจสอบองค์ฌาน เรียบร้อยครับ เพราะวสี 4 ข้อแรกยังไม่ทำเลย ไปตรวจสอบองค์ฌาน นั่นมันปัจจเวกขณะองค์ฌาน ก็จะทำให้ฌาน 1 ที่เข้าไปถึงแล้วนั่นหนะล้ม ฌาน 2 ที่ขวนขวายก็ล้มอีก ล้มทั้งคู่เลย ทั้ง 1 ทั้ง 2 เข้าไม่ได้เลยทีนี้
เพราะฉะนั้นจิตตะนี่ผมก็ไม่ค่อยจะพูดถึง เพราะอะไร เพราะสิ่งที่พูดทั้งหมดนั้นหนะวิ่งเข้าหาจิตตะโดยอัตโนมัติ โอเคเนาะ คุณไม่อยากได้ก็ได้หนะ เอาสิ เพราะอะไร เพราะเห็นโทษของการยกจิตเข้าไปเตรียมจ่อที่จะเข้าฌานอยู่แล้ว ใช่มั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ก็วิริยะก็คือตรวจสอบ จะกลับไป วนกลับไปที่ฉันทะ ใช่มั้ยครับ ก็จะละเอียดขึ้น ใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่ วิมังสาก็ปรากฏนะ คุณก็ทำสั่งสมไปเรื่อย ๆ พอคุณภาวนาเป็นแล้ว คุณภาวนาปุ๊บ ตัวอิทธิบาท ก็จะเป็นอิทธิบาทภาวนา ตัววิมังสาตรวจสอบรอบใหม่ แล้วตัวปัญญาหรือวิมังสาเนี่ยก็ไปตรวจสอบศีลด้วยนะ แล้วพอตรวจสอบศีล ศีลก็จะละเอียดขึ้น สมาธิก็จะละเอียดขึ้น พอกพูนไปเรือย ๆ ปัญญาก็มีมากขึ้น เพราะรู้ลำดับหมด รู้เหตุเสื่อม เหตุดับ หรือเหตุเกิด ของจิตตะ ของปัญญา อย่างนี้เป็นต้น นี้คือปัญญาในปัญญาเลย ของพระศาสนา ที่สรุปลงที่ความรู้ว่า ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เห็นภาพเนาะ นี้แหละเส้นทาง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ทีนี้เราก็ทำทานรักษาศีลไปเรื่อย ๆใช่มั้ยครับ ก็เพื่อการยกจิตมันก็มี ทำให้จิตใจแช่มชื่นเบิกบาน
ใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่ ศีลมี 3 ลักษณะนะ 3 ความหมายนะ ศิลา ศิระ แล้วก็ปกติ อาภรณ์ รู้ความหมายของศีลด้วย ศิลา หมายถึงอะไร หมายถึง พื้นฐาน ตอม่อ หนะ ศิระ หมายถึง หัวที่จะดำเนินชี้ทิศทางต่าง ๆ ปกติ หมายถึง ศีลที่มีกำลังแล้วเป็นปกติในชีวิตประจำวันแล้วไม่ต้องไปหักห้ามแล้ว แต่ไม่ทำไง เป็นอาภรณ์ ก็หมายถึง เป็นชุดที่จะป้องกันภัย เป็นเสื้อเกราะนั่นหนะ ป้องกันภัยต่าง ๆ มารก็ทำร้ายได้ยาก อย่างนี้เป็นต้น ว่ามีศีลเป็นอาภรณ์ เข้าถึงแก่นของศีลก็จะองอาจมาดมั่นขึ้น พอองอาจนี่จิตก็ตั้งมั่นได้ง่ายใช่มั้ย นั่นแหละ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ที่อาจารย์บอกว่าจะทำให้รู้ลมสั้นได้ชัดใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่ ถูก ไม่ใช่รู้แค่ 2 นะ 2 ก็จะผ่านไปได้อย่างชัดเจน 3,4 ก็มาผลัวะๆ เลย ก็บอกแล้วว่าถ้าทำตรงเนี่ย 3 วันเท่านั้นแหละ ทำต่อเนื่องเนี่ย เดี๋ยวไปเข้าคอร์ส 3 วันก็ถึงเลย ลมดั่งกังสดาลปรากฏ นี่ อย่างนี้
จากคลิป
Ep38 สนทนาธรรม พ.23 มี.ค.65 โดยท่านอาจารย์ Aero.1
https://youtu.be/SzmXVjo2-2I
นาทีที่ 1.41.56 – นาทีที่ 1.50.25