อนุปุพพิกถาทีปนี
ภาค ๒
การพรรณนาศีล
โดย สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
คํานํา
คําสอนในพระพุทธศาสนา ที่มุ่งยกระดับจิตของผู้ปฏิบัติให้สูงขึ้น ตามลำดับ จนถึงสิ้นทุกข์ในที่สุด โดยเริ่มจากสิ่งที่เห็นได้ง่าย ไปสู่สิ่งที่ เห็นได้ยาก และจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม คําสอนเช่นนี้ ท่านเรียกว่า “อนุปุพพิกถา – คําสอนที่แสดงไปตามลำดับ” ไม่ข้ามขั้น ไม่ตัดลัดให้ ขาดความ คําสอนเช่นนี้ย่อมฟอกจิตของผู้ฟังให้สูงขึ้นตามลำดับ ดังที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ยสกุลบุตร และท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น แล้วจบลงด้วยอริยสัจ ๔ ทำให้ผู้ฟังในสมัยนั้นบรรลุมรรคผลทั้งสิ้น อนุปุพพิกถานี้ พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ฆราวาสคือผู้ครองเรือนเป็นพื้นโดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนามาก่อน
หลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงในอนุปุพพิกถานั้นมี ๕ อย่าง
คือ
๑.ทานกถา กล่าวถึงการให้ทาน
๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษาศีล
๓. สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์
๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษของกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวช
เหตุผลที่ทรงแสดงตามลำดับเช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อผู้ฟังเห็น ประโยชน์หรือคุณค่าของการให้ทานและการรักษาศีลแล้ว ก็ย่อมยินดีในการให้ทานและรักษาศีล เมื่อได้ให้ทานและรักษาศีลแล้ว ก็เป็นเหตุให้ แต่เมื่อเกิดอยู่ในสวรรค์ได้พบความสุขมากก็มักจะติดอยู่ ในกามคุณ ไม่อาจจะพบความสุขที่เหนือขึ้นไปกว่านี้ได้ คือ นิรามิสสุข ความสุขอันเกิดจากความสงบ อันไม่เจือด้วยอามิสคือกามคุณ พระองค์ จึงทรงแสดงโทษของกาม เพื่อไม่ให้ติดอยู่ในกาม เมื่อเห็นโทษของกาม แล้ว ก็ทรงแสดงอานิสงส์ของการออกบวช เพื่อให้พ้นจากการเกี่ยวข้องอยู่ ในกาม แล้วในที่สุดก็ทรงแสดงอริยสัจ ๔ เพื่อให้เห็นความจริงของชีวิต โดยเฉพาะเห็นทุกข์ เพราะเมื่อเห็นทุกข์ ก็จะเบื่อหน่ายในทุกข์ เป็นเหตุ ให้เห็นธรรม เพราะผู้เห็นธรรมย่อมเห็นทุกข์ และผู้เห็นทุกข์ย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมก็เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากกิเลสได้ในที่สุด แม้กิเลสยังไม่หมด แต่ก็สามารถทำให้เบาบางลงได้ ก็ย่อมได้รับความสุขสงบจากการประพฤติธรรม
อนุปุพพิกถาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ คือ อาจารย์ผู้สังคายนาพระธรรมวินัย ได้อธิบายความหมายธรรมะของ แต่ละข้อไว้สั้นมาก ทั้งไม่ได้ยกตัวอย่างหรือเรื่องมาประกอบไว้ด้วย เพราะ ท่านคงเห็นว่า ความหมายของหลักธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ในสมัย ของท่านเข้าใจไม่ยาก ทั้งแต่ละข้อล้วนแต่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ เป็น อันมากแล้ว
ข้าพเจ้าเองเห็นว่าอนุปุพพิกถานี้ เหมาะสำหรับทุกคนมาก โดย เฉพาะผู้ที่เริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา หรือผู้ที่ยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา มาก่อน หรือแม้นับถืออยู่นานแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจหลักธรรมเบื้องต้นในพระพุทธศาสนาเท่าที่ควร หรือมีความรู้อยู่พอสมควรแล้ว ก็จะได้เพิ่มพูน ความรู้ความเข้าใจของตนเพิ่มขึ้น และจะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตาม หลักพระพุทธศาสนา อันจะนําความสงบสุขร่มเย็นมาสู่ตนเองและสังคม โดยส่วนรวม จึงได้เขียนหนังสือชุดนี้ขึ้น ให้ชื่อว่า “อนุปุพพิกถาทีปนีกถาหรือเรื่องที่แสดงอนุปุพพิกถา” เช่นเดียวกับมงคลทีปนี ปรมัตถทีปนี หรือกรรมทีปนี เป็นต้น ที่พระเถระในปางก่อนแต่งไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อความ มั่นคงทางพระพุทธศาสนา เพื่อความสงบสุขของมวลมนุษย์ในโลก และเพื่อเพิ่มพูนวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หนังสือนี้ในครั้งแรก เกิดจากคําบรรยายธรรม อบรมอุบาสก อุบาสิกาที่สำนักชีวัดโสมนัสวิหาร เฉพาะในพรรษาเป็นเวลา ๕ ปี ใน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๒๕๓๗ โดยได้บันทึกคําบรรยายไว้ในเทป แล้ว ถอดเทปออกมาจัดพิมพ์ปีละ ๑ เล่ม มีทั้งหมด ๕ ภาค โดยจัดพิมพ์เป็น หนังสือภาคละ ๑ เล่ม ดังนี้
ภาคที่ ๑ ทานกถา – การพรรณนาทาน
(การสั่งสมบุญด้วยการให้ทาน)
ภาคที่ ๒ สีลกถา – การพรรณนาศีล
(การสั่งสมบุญด้วยการรักษาศีล)
ภาคที่ ๓ สัคคกถา – การพรรณนาสวรรค์
ภาคที่ 4 กามาทีนวกถา – การพรรณนาโทษของกาม
ภาคที่ ๕ เนกขัมมานิสังสกถา – การพรรณนาอานิสงส์ของการออกบวช
หนังสืออนุปุพพิกถาทั้ง ๕ ภาคนี้ จัดพิมพ์ทั้งหมดแล้ว โดยจัดพิมพ์ ภาคสุดท้าย คือ อานิสงส์ของการออกบวช ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ แต่ยังไม่ ได้ตั้งชื่อว่า อนุปุพพิกถาทีปนี เพราะยังขาดความสมบูรณ์อยู่ โดยเฉพาะ ภาคที่ ๑ ภาคที่ ๒ และภาคที่ ๔ คือ ทานกถา – การพรรณนาเรื่องทาน – สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีล, และกามาทีนวกถา – การพรรณนาถึง โทษของกาม
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้จัดทำภาคที่ ๑ สมบูรณ์ จึงได้ตั้งชื่อหนังสือชุดนี้ว่า “อนุปุพพิกถาทีปนี” ในปีนี้ได้จัดพิมพ์ภาคที่ ๒ คือ ลีลากา – การพรรณนาเรื่องศีล เสร็จบริบูรณ์ จึงทำให้หนังสือชุดนี้สมบูรณ์แล้ว ๒ ถึง ๔ ภาค คือ ภาคที่ ๑ ภาคที่ ๒ ภาคที่ ๓ และภาคที่ ๕ ยังเหลือแต่ ภาคที่ ๔ คือ กามาทีนวกถา – การพรรณนาโทษของกามเท่านั้น ซึ่ง เกือบบริบูรณ์แล้ว ตั้งใจไว้ว่าจะเขียนให้บริบูรณ์ทั้ง ๕ ภาค ในอนาคต อันใกล้นี้
สำหรับหนังสือเล่มนี้ อันเป็นภาคที่ ๒ คือ สีลกถา – การพรรณนา ศีล เคยจัดพิมพ์แล้วครั้งหนึ่งให้ชื่อภาคนี้ว่า “การสั่งสมบุญด้วยการ รักษาศีล” ทั้งนี้ก็เพื่อความเข้าใจสำหรับคนทั่วไป แต่ในการจัดพิมพ์ ครั้งนี้ให้ชื่อว่า “การพรรณนาศีล” เพื่อให้สอดคล้องกับภาคอื่น ๆ เช่น การพรรณนาสวรรค์ เป็นต้น และเพื่อให้หนังสืออนุปุพพิกถาที่ปนี้ ทั้ง ๕ เล่มนี้มีชื่อสอดคล้องกันตามชื่อเดิมของอนุปุพพิกถา ที่พระบรมศาสดา ทรงประทานไว้
ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ นี้ ข้าพเจ้าได้ทุ่มเทเวลาเป็นอันมาก ในการเขียนหนังสือนี้ให้บริบูรณ์ เพื่อให้สมตามเจตนารมณ์ที่ตั้งไว้แต่เดิมอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในชาติ ของเราเพิ่มขึ้น จึงได้เพิ่มเติมเนื้อเรื่องจากการพิมพ์ครั้งแรกเกือบเท่าตัว โดยได้ค้นคว้าเรื่องศีลจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์วิสุทธิมรรค แล้วนําสาระจากคัมภีร์เหล่านี้มาบรรจุไว้เป็นอันมาก โดยเฉพาะจากคัมภีร์ ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก จึงมั่นใจว่า หนังสือนี้จะเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ พระพุทธศาสนา แก่ท่านผู้สนใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ ในเรื่องศีลของฆราวาสที่เรียกว่า “อาคาริยวินัย” เพราะได้ยกเนื้อหาสาระ และตัวอย่างจากคัมภีร์ต่าง ๆ มาแสดงไว้อย่างเพียงพอ โดยเพิ่มเนื้อหา จากเดิมซึ่งมีเพียง ๑๒ ตอน เป็น ๒๒ ตอน พร้อมทั้งบทนํา
หากท่านผู้อ่านหนังสือนี้ได้อ่านอนุปุพพิกถาทีปนี ภาคที่ ๑ คือ ทานกถา – การพรรณนาทาน มาก่อนแล้ว เมื่อมาอ่านภาคที่ ๒ นี้ ก็จะ เพิ่มความเข้าใจหลักธรรมหมวดนี้ของพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก จึงหวังว่า หนังสือเล่มนี้ จะอํานวยประโยชน์แก่ผู้สนใจ โดยเฉพาะภิกษุ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา รวมทั้งครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา หรือ นักค้นคว้า นักวิจัยหลักพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี เพราะได้อธิบาย แง่มุมต่าง ๆ พร้อมทั้งตัวอย่างประกอบไว้เป็นอันมากและเพียงพอ ทั้ง ให้ความรู้และความเพลิดเพลินแก่ท่านผู้สนใจไว้ในทุกตอน หนังสือเล่มนี้สำเร็จขึ้นมาได้ก็ด้วยความช่วยเหลือของหลายฝ่าย ทั้งในด้านการจัดพิมพ์ต้นฉบับ การตรวจปรู๊ฟ และการบริจาคทุนในการ จัดพิมพ์ จึงขอขอบคุณ ขอบใจ และอนุโมทนาต่อทุกท่านที่มีส่วนช่วย ให้หนังสือนี้สำเร็จลุล่วงมาได้ด้วยดี จึงขอให้ทุกท่านที่มีส่วนช่วยเหลือ ได้รับบุญกุศลครั้งนี้โดยทั่วกัน
หนังสือนี้ได้จัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสทำบุญคล้ายวันเกิด ๖๖ ปีของ ข้าพเจ้า จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม เพื่อใช้แจกเป็นของชำร่วยแก่ผู้มาร่วมงาน และแก่ท่านที่สนใจ ซึ่งระยะประมาณ ๑๐ ปีมานี้ ข้าพเจ้าได้จัดพิมพ์ หนังสือทางพระพุทธศาสนาที่จัดเขียนขึ้นเองปีละ ๑ เล่มทุกปี เพื่อเป็น อนุสรณ์แก่ชีวิต และเพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาในด้านการเผยแผ่ให้ท่านผู้สนใจได้รับความรู้และปฏิบัติกันกว้างขวางยิ่งขึ้น อันจะส่งผล ในระยะยาวต่อความสงบสุขของผู้ปฏิบัติตามและแก่สังคมในชาติของเราโดยส่วนรวม
ในการจัดงานทำบุญคล้ายวันเกิดครั้งนี้ ขอขอบคุณ ขอบใจ และ อนุโมทนาต่อท่านที่เคารพนับถือ ญาติมิตร ศิษยานุศิษย์ ผู้ที่ได้ร่วมกัน บริจาคปัจจัยหลายส่วนในงานนี้ คือในการจัดพิมพ์หนังสือนี้ และหนังสือ อื่น ๆ ที่กําลังทยอยจัดพิมพ์อยู่ในขณะนี้ ในการร่วมกันเป็นเจ้าภาพบริจาคปัจจัยในการทำบุญเลี้ยงพระและทุกคนที่มาร่วมในงาน ในการบริจาคสมทบ กองทุนกรรมฐานของข้าพเจ้า ในการทอดผ้าป่าสร้างหอพุทธสิริ ๑๕๐ ปี
วัดโสมนัสวิหาร ในการรับเป็นเจ้าภาพถวายไตรจีวรอย่างดี และปัจจัย แก่พระภิกษุในภาคการปกครองในภาคใต้ ที่เข้าซ้อมสวดพระปาฏิโมกข์ ในนามภาคที่ จ.ชุมพร ซึ่งปีนี้ผ่านการทดสอบถึง ๘ รูป และในการบริจาค ช่วยเหลืออื่น ๆ ขอให้ทุกท่านได้รับส่วนกุศลครั้งนี้โดยทั่วกัน
ด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งสูงสุดของพุทธ ศาสนิกชนทุกคน และด้วยอำนาจบุญกุศลอันเกิดจากการจัดพิมพ์หนังสือ เป็นธรรมทานก็ดี และจากการบริจาคอื่น ๆ ของทุกท่านก็ดี ขอจงรวมกัน เป็นปัจจัยดลบันดาลให้ทุกท่าน ที่มีส่วนช่วยเหลือในการบําเพ็ญกุศล ครั้งนี้ทั้งหมด จงพบแต่ความสุขความเจริญ ประสบความสำเร็จในชีวิตและ หน้าที่การงานของตน ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้น และถึงความงอกงาม เจริญไพบูลย์ ๆ ในคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วกัน เทอญ
พระธรรมวิสุทธิกวี
(พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
สารบาญ
[บทนำ]
ความสำคัญของศีล
สีลวเถรคาถา
พระสีลวเถระ
ศีลเป็นหลักธรรมสำคัญที่ขาดไม่ได้
ตอนที่ ๑ ความหมายและประโยชน์ของศีล
ความหมายของศีล
คุณค่าของศีล
ศีลสำคัญกว่าความรู้และเกียรติยศชื่อเสียง
คน ๔ จําพวก
ตอนที่ ๒ ปัญหาของศีล
ศีลคืออะไร
วิเสสลักษณะของศีล ๔ ประการ
ตอนที่ ๓ ปัญหาเรื่องศีล (ต่อ)
อานิสงส์ของศีล
อากังเขยยสูตร
จำนวนของศีล
ความเศร้าหมองของศีล
ความผ่องแผ้วของศีล
โทษของศีลวิบัติ
ตอนที่ ๔ มนุษยธรรม
ศีลเป็นเครื่องวัดคุณค่าของคน
ทำไมคนส่วนมากจึงไม่มีศีล
โทษของการขาดศีล
ตอนที่ ๕ วิรัติ ๓ ประการ
สมาทานวิรัติ
สัมปัตตวิรัติ
สมุจเฉทวิรัติ
ตอนที่ ๖ องค์ของศีล
องค์ของศีลข้อที่ ๑
องค์ของศีลข้อที่ ๒
องค์ของศีลข้อที่ ๓
องค์ของศีลข้อที่ ๔
องค์ของศีลข้อที่ ๕
ตอนที่ ๗ องค์ของศีล (ต่อ)
องค์ของศีลข้อที่ ๖
ตารางเวลาเที่ยงจริงของกรุงเทพฯ ทั้ง ๑๒ เดือน
องค์ของศีลข้อที่ ๗
องค์ของศีลข้อที่ ๘
โทษหนักเบาของการล่วงศีล
ตอนที่ ๘ เบญจธรรม
เมตตากรุณา
แม่ชีกินปู
เกิดเป็นโรคน้ำท่วมปอดเพราะเอาลูกไก่แช่น้ำ
สัมมาอาชีวะ
ความสำรวมในกาม
ความซื่อสัตย์
คนขี้ลืม
ตอนที่ ๙ ศีลของฆราวาส
อาคาริยวินัย
ศีล ๕
ศีลอุโบสถ
วันอุโบสถ ๔ ชนิด
อุโบสถ ๓ ประเภท
อานิสงส์ของศีลอุโบสถ
สามเศรษฐีกับดาบส
ประวัติเทวดาผู้เคยรักษาอุโบสถ
ตอนที่ ๑๐ ศีลของฆราวาส (ต่อ)
ศีลในองค์มรรค
ศีลกรรมบถ
มิจฉาทิฏฐิ ๓
อานิสงส์ของการรักษาศีลกรรมบถ
ตอนที่ ๑๑ ทุจริตให้ผลเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น
ประวัติโฆสกเศรษฐี
สุนัขไปเกิดเป็นโฆสกเทพบุตร
เหตุที่ทำให้เทพบุตรเคลื่อน ๔ อย่าง
นางกาลีนำโฆสกะไปให้เกวียนทับ
นางกาลีนำโฆสกะไปทิ้งป่าช้าผีดิบ
นางกาลีนำโฆสกะไปโยนเหว
ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
ความรักเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ
ลูกสาวเศรษฐีแปลงสาสน์
นายโฆสกะได้ภรรยา
เศรษฐีเสียใจเกิดโรค
เศรษฐีถึงแก่กรรม
นายโฆสกะได้รับตำแหน่งเศรษฐี
ตอนที่ ๑๒ โทษของการขาดศีล
โทษของการขาดศีลข้อหนึ่ง
การประพฤติล่วงศีล ๕ มีโทษไม่เท่ากัน
อนันตริยกรรม
อดีตกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
ตอนที่ ๑๓ โทษของการลักทรัพย์
เปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร
ติโรกุฑฑสูตร (ติโรกุฑฑเปตวัตถุ)
ตอนที่ ๑๔ โทษของการประพฤติผิดในกาม
อิสิทาสีเถรี
โลหกุมภีชาดก
เสียงร้อง ทุ, ส, น, โส ของสัตว์นรก
ตอนที่ ๑๕ โทษของการพูดเท็จ
เรื่องนางจิญจมาณวิกา
นางจิญจมาณวิการับอาสาพวกเดียรถีย์
เทวบุตรทำลายกลอุบายของนางจิญจมาณวิกา
นางจิญจมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ
เรื่องเปรตผู้เคยเป็นผู้พิพากษาโกง
ตอนที่ ๑๖ โทษของการดื่มน้ำเมา
ผู้ติดการพนันเหมือนคนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
การดื่มน้ำเมามีโทษร้ายแรงกว่าอบายมุขทุกข้อ
เรื่องหลานอนาถปิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๑๗ เทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมาน
ปฐมปติพพดาวิมาน
ฉัตตมาณวกวิมาน
ฉัตตมาณพไปเรียนวิชาใน
สำนักโปกขรสาดิพราหมณ์
ฉัตตมาณพพบพระพุทธเจ้า
ฉัตตมาณพถูกโจรฆ่าตายไปบังเกิดในสวรรค์
ตอนที่ ๑๘ เทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมาน (ต่อ)
อุตตราวิมาน
นางอุตตราได้เป็นสะใภ้ของราชคหเศรษฐี
นางอุตตราได้โอกาสทำบุญ
นางสิริมาหึงนางอุตตราเอาเนยใสเดือดรด
นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา
นางสิริมาขอให้พระศาสนาอดโทษ
โสณทินนวิมาน
ตอนที่ ๑๙ อนาคาริยวินัย
สหธรรมิก ๕ จำพวก
พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขาราธิษฐาน
ทรงอนุญาตให้มีนางภิกษุณี
ปัญหาอายุพระพุทธศาสนา ๕,๐๐๐ ปี
ศีลของสามเณร
ศีล ๑๐
นาสนังคะ ๑๐
ทัณฑกรรม ๑๐
อัชฌาจาร ๕
อนาจาร ๗๕
ตอนที่ ๒๐ ศีลของพระภิกษุ
จุดมุ่งหมายของการบัญญัติ
สีลสิกขา ๒ อย่างของพระภิกษุ
ปาริสุทธิศีล ๔
กาลิก ๔
ยาวกาลิก
สัตตาหกาลิก
ยาวชีวิก
ตอนที่ ๒๑ พุทธศาสนสุภาษิตเรื่องศีล
บทนํา
ความสำคัญของศีล
ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรมเป็นอันมาก เป็นความงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และงามในที่สุด นั้นก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญานี้เอง ศีลงามในเบื้องต้น (อาทิกัลยาณัง) สมาธิงามในท่ามกลาง (มัชเฌกัลยาณัง) ส่วนปัญญางามในที่สุด (ปริโยสานกัลยาณัง)
ด้วยเหตุนี้เอง พระสีลวเถระ ผู้เป็นพระอรหันตพุทธสาวก จึงได้กล่าว สรรเสริญคุณค่าของศีลไว้เป็นอันมาก ในคัมภีร์เถรคาถา ” ขุททกนิกาย ด้วยพระคาถา ๑๒ คาถา ว่า
- ท่านทั้งหลายพึงศึกษา (รักษา) ศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีลอันบุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้วย่อมนํา สมบัติทั้งปวงมาให้ในโลกนี้
- นักปราชญ์ เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ ความปลื้มใจ ๑ ความบันเทิง ในสวรรค์เมื่อตายไปแล้ว ๑ ก็พึงรักษาศีลเถิด
๓) ด้วยว่าผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีล (ไม่มีศีล) ประพฤติกรรมอันเลวทราม ย่อมแตกจากมิตร ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับการสรรเสริญ และชื่อเสียงทุกเมื่อ
๔) นรชนผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและความ เสียชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและ
ชื่อเสียงทุกเมื่อ.
๕) ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณ ความดีทั้งหลาย เป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะ ฉะนั้น บุคคลพึงชําระศีลให้บริสุทธิ์
๖) ศีลสังวร (คือการสำรวมในศีล) เป็นเครื่องกั้น ความทุจริต ทำจิตให้ร่าเริง เป็นท่าที่หยั่งลงสู่มหาสมุทร คือพระนิพพาน ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้น บุคคลพึงชําระศีลให้บริสุทธิ์
๗) ศีลเป็นกําลังหาอะไรเปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่าง สูงสุด เป็นอาภรณ์ (เครื่องประดับ) อันประเสริฐ เป็น เกราะเครื่องกันอย่างน่าอัศจรรย์
๘) ศีลเป็นสะพาน เป็นมหาอํานาจ เป็นกลิ่นหอมอย่างยอดเยี่ยม เป็นเครื่องลูบไล้อันประเสริฐ บุคคล ผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อมหอมฟุ้งไปในทั่วทุกทิศ
๙) ศีลเป็นกําลังอย่างเลิศ เป็นเสบียงเดินทางชั้นเยี่ยม เป็นพาหนะอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นเครื่องหอมฟุ้งไปทั่ว ทิศานุทิศ
๑๐) คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทา ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับ ทุกข์โทมนัสในอบายภูมิ ย่อมได้รับทุกข์โทมนัสในที่ทั่วไป.
๑๑) ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับความ สรรเสริญในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้ว ย่อมได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงใจในที่ ทุกสถานในโลกนี้
๑๒) ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญา เป็นผู้สูงสุด ความชนะในมนุษยโลกทั้งหลาย และ ในเทวโลกทั้งหลาย ย่อมมีได้ก็เพราะศีลและปัญญา
ในพระคาถาที่พระสีลวเถระกล่าวทั้ง ๑๒ คาถานี้ ล้วนแต่เป็น ความจริง และจับใจนักปฏิบัติมาก เริ่มต้นด้วยการชักชวนให้รักษาศีล แต่ใช้คําว่า “ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้” คําว่า “ศึกษา” ใน ที่นี้หมายถึงการมีศีลนั่นเอง หาใช่เพียงศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจอย่างเดียวไม่ แต่ในที่นี้จะนํามาอธิบายเพียงคาถาเดียว คือ คาถาที่ ๔ อันจับใจนักปราชญ์ ทางพระพุทธศาสนามากคาถาหนึ่ง โดยนําพระบาลีมาวางไว้ให้เห็นศัพท์ เดิมด้วย รวมทั้งคําแปล ให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจชัดยิ่งขึ้น ข้อความทั้งหมด ในคาถานี้ก็คือ
“อาทิ สีลํ ปติฏฐา จ กลยาฌานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย.
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดของคุณความดี
ทั้งหลาย เป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น
บุคคลพึงชําระศีลให้บริสุทธิ์”
ขอขยายความหมายของคาถานี้ โดยถือเอานัยที่ท่านอธิบายไว้ใน อรรถกถาเถรคาถา ชื่อ ปรมัตถทีปนี ภาคที่ ๒ เป็นหลัก
ในคาถานี้กล่าวถึงความสำคัญของศีลไว้ถึง ๔ ประการ คือ
๑.ศีลเป็นเบื้องต้น (อาทิ)
๒. ศีลเป็นที่ตั้ง (ปติฏฐา)
๓. ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งความดีทั้งหลาย (กลฺยาฌานํ มาตุกํ)
๔. ศีลเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง (ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ)
๑. ศีลเป็นเบื้องต้น เพราะว่า ศีลเป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมทั้งหลาย คือธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศลทั้งหมด อันรวมลงในศีล สมาธิ และปัญญา ศีลเป็นเบื้องต้น สมาธิเป็นท่ามกลาง ปัญญาเป็นที่สุด ดังที่พระพุทธองค์ ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้น ในศาสนานี้ ในบรรดากุศลธรรม ทั้งหลาย เธอพึงชําระเบื้องต้น (คือศีล) เท่านั้นให้บริสุทธิ์”
อีกประการหนึ่ง พระไตรปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม พระวินัย คือ ศีล จัดเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา ฉะนั้น ในการสังคายนาทุกครั้ง นับตั้งแต่ครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ท่านจึง ยกพระวินัยขึ้นสังคายนาก่อน เพราะเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนา เปรียบเหมือนต้นไม้ เมื่อรากแก้วมันขาดแล้ว ต้นไม้นั้นก็ต้องตาย พระ พุทธศาสนาก็เหมือนกัน ถ้าศีลคือพระวินัยไม่มีเสียแล้ว พระพุทธศาสนา ก็อยู่ไม่ได้ จะต้องเสื่อมไปอย่างรวดเร็ว เพราะศีลอันเป็นเหมือนรากแก้ว ขาดเสียแล้ว
อีกประการหนึ่ง ศีลหนุนให้ได้สมาธิ ๆ หนุนให้ได้ปัญญา ๆ ทำให้ จิตพ้นจากกิเลส ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระมหาปรินิพพานสูตร ” ว่า “สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส, สมาธิปริภาวิตา
ปญฺญา มหผลา โหติ มหานิสํสา, ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ.
แปลความว่า สมาธิที่ศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก, ปัญญาที่สมาธิ อบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก, จิตที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อม พ้นจากกิเลสทั้งหลาย โดยถูกทางทีเดียว
ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศีลหนุนให้ได้สมาธิ สมาธิหนุนให้ได้ปัญญา ปัญญา ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลส ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “อาทิ สีลํ – ศีลเป็นเบื้องต้น”
๒. ศีลเป็นที่ตั้ง (ข้อนี้บางท่านแปลศีลเป็นที่พึ่ง) ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศีลเป็นที่ตั้งของอุตตริมนุษยธรรม (ธรรมชั้นสูง) ทั้งหลายทั้งปวง ดังที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์เทวดาสังยุตต ” ว่า
“สีเล ปติฏฺฐาย นโร สปญฺโญ จิตฺตํ ปญฺญญฺจ ภาวยํ
อาตาปี นิปโก ภิกฺขุ โส อิมํ วิชฏเย ชฏํ.
ภิกษุเป็นคนมีปัญญา มีความเพียร มีปัญญารักษาตน ตั้งมั่นอยู่ในศีลแล้ว บําเพ็ญสมาธิและปัญญาอยู่นั้น พึง สางชัฏ (ตัณหา) นี้เสียได้
ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ คือ ด้วยศีล ๑ ด้วยสมาธิที่แสดงออกด้วยหัวข้อคือ จิต ๑ ด้วยปัญญา ๓ ประการ คือ ๑. สชาติปัญญา-ปัญญาที่มาพร้อมกับ การเกิด ๒. ปาริหาริกปัญญา-ปัญญารักษาตัว ๓. วิปัสสนาปัญญา-ปัญญา
ทำลายกิเลส และด้วยความเพียรเผากิเลส ๑ รวมเป็น ๖ ประการ ยืนอยู่ คือสมาธิ ด้วยมือคือปาริหาริกปัญญา อันกําลังคือความเพียรสนับสนุนแล้ว จึงตัดทำลายชัฏคือตัณหา อันตกอยู่แล้วในสันดานของตนให้หมดไปได้ เปรียบเหมือนบุรุษยืนอยู่บนแผ่นดิน ยกศาตราที่ลับดีแล้ว ถางกอไผ่ใหญ่ ฉะนั้น ในขณะแห่งมรรค ภิกษุนั้นชื่อว่า ถางชัฏนั้นอยู่ ในขณะแห่งผล ชื่อว่า ถางชัฏนั้นเสร็จแล้ว ย่อมเป็นทักขิไณยบุคคลผู้เลิศของโลก พร้อมเทวโลก
๓.ศีลเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย คือ ศีลเป็นเสมือนมารดา คือเป็นบ่อเกิดแห่งคุณธรรมเป็นอันมาก มีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้นคนจะทำสมาธิหรือจะเจริญวิปัสสนาได้ผลดีก็ต้องมีศีลเป็นเบื้องต้น หากปราศจากศีลเสียแล้ว คุณธรรมหรือกุศลธรรมทั้งหลาย ที่เรียกว่า “กัลยา ณธรรม” จะเกิดขึ้นยากหรือเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะขาดบ่อเกิดของคุณธรรม ทั้งหลาย แต่เมื่อมีศีลเป็นพื้นฐานเสียแล้ว คุณธรรมเป็นอันมากย่อมเกิด ขึ้นได้ง่าย เพราะศีลเป็นบ่อเกิดของคุณธรรมทั้งหลาย
๔. ศีลเป็นประธานของธรรมทั้งปวง ทั้งนี้ก็เพราะว่าศีลนี้เป็นประ มุข คือ เป็นทางเข้ามาของธรรมที่ไม่มีโทษ คือ กุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง มีความปราโมช เป็นต้น คือตามหลักพระพุทธศาสนานั้น ใครจะ ทำบุญให้ทาน หรือจะทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น งานบวช งานฉลอง งานศพ งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น คือ ไม่ว่าจะทำมงคล หรืออวมงคลก็ตาม ต้องมีประธานในงานทำบุญทุกอย่างคือ ต้องผ่านศีล ต้องรับศีลเสียก่อน เพราะหากไม่มีศีลแล้ว กุศลธรรมหรือความดีหรือ มงคลทั้งหลายจะเกิดขึ้นยาก ถึงจะเกิดขึ้นก็ตั้งอยู่ไม่ได้นาน จะเสื่อมได้ง่าย เพราะขาดศีลอันเป็นประธานของกุศลธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้น เมื่อ ชาวพุทธจัดงานทำบุญไม่ว่างานอะไร จึงมีการขอศีลและรับศีลก่อน และ พระจะต้องให้ศีล อันเป็นการเปิดงาน เพราะศีลเป็นประธานของกุศล ธรรมทั้งปวง
ในตอนสุดท้ายของพระคาถานี้ ท่านกล่าวสรุปท้ายสำหรับผู้ฟัง ทุกท่าน เหมือนอย่างตอนสุดท้ายของการให้ศีลของพระ ดังที่ได้ฟังกันอยู่เสมอว่า
ตสฺมา สีลํ วิโสธเย- เพราะฉะนั้น บุคคลพึงชําระศีลให้บริสุทธิ์ (รักษาศีลให้บริสุทธิ์) ทั้งนี้ก็เพราะว่า ศีลมีความสำคัญมากดังกล่าวแล้ว
พระสีลวเถระคือใคร ?
คาถา ๑๒ คาถาแสดงถึงความสำคัญของศีลที่พระสีลวเถระได้ กล่าวไว้ ดังปรากฏในคัมภีร์เถรคาถา ขุททกนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ ตามที่นํามากล่าวแล้วข้างต้นนั้น จับใจนักธรรมะ คือ นักปฏิบัติธรรม มาก พระเถระรูปนี้คือใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ชาวพุทธ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ทราบ เพราะไม่มีการกล่าวถึงแม้ในประวัติของพระพุทธ สาวก ๘๐ องค์ (อสีติมหาสาวก)
ฉะนั้น ในที่นี้จะนําประวัติของท่านมากล่าวไว้ เพื่อประดับ ความรู้ และเพื่อได้ระลึกถึงพระอรหันตพุทธสาวกรูปนี้ให้เกิดสังฆานุสสติ ประวัติของท่าน พระอรรถกถาจารย์บันทึกไว้ในอรรถกถาเถรคาถา คัมภีร์ปรมัตถทีปนีโดยย่อ แต่ก็มีสาระน่าศึกษาและน่าประทับใจในปฏิปทา ของพระอรหันตสาวกองค์นี้ พระสีลวเถระ แปลตามศัพท์บาลีว่า “พระเถระผู้ทรงศีลคุณ”
ชื่อของท่านช่างเหมาะสมกับภาษิตทั้ง ๑๒ คาถา ที่ท่านได้กล่าวไว้ใน คัมภีร์เถรคาถา
พระสีลวเถระนี้ ได้เคยสั่งสมบุญญาธิการ (บุญบารมี) ไว้ใน พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ทั้งหลาย ได้สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัย แห่งวิวัฏฏะ (คือความสิ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด) ในภพที่ท่าน เกิดนั้นๆ ในพุทธบาทกาล (คือสมัยพุทธกาล) นี้ ท่านได้มาเกิดเป็น พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งแคว้นมคธและอังคะ ในกรุงราชคฤห์ อันเป็นนครหลวงของมคธสมัยนั้น ได้ทรงรับขนาน พระนามว่า “สีลวกุมาร”
พระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้า พิมพิสาร เมื่อตนเองขึ้นครองราชย์ โดยทรงกระทำปิตุฆาตแล้ว ก็ทรง ปรารถนาจะปลงพระชนม์สีลวกุมารนั้น ผู้ถึงความเจริญวัยเป็นหนุ่มขึ้น ทรงปล่อยช้างตกมันตัวร้ายให้ทำร้ายพระกุมารนั้น แม้จะทรงพยายามด้วยอุบายวิธีนานัปการ ก็ไม่ทรงสามารถที่จะปลงพระชนม์สีลวกุมารได้เพราะผู้ที่เกิดมาเป็นภพสุดท้ายในการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อยังไม่บรรลุ พระอรหันต์แล้ว จะถึงแก่ชีวิตในระหว่างไม่มีเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของพระสีลวกุมารนั้นจึงทรงสั่งให้พระมหาโมคคัลลานเถระ ไปนําพระสีลวกุมารมาเสีย พระ โมคคัลลานเถระได้ใช้มือนําพระสีลวกุมารนั้นมาด้วยกําลังฤทธิ์
พระกุมารลงจากมือพระเถระแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และประทับนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระสีลวกุมารนั้นทรงสดับ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเกิดพระศรัทธาในพระศาสนา จึงได้ขอบรรพชา แล้วทรงเจริญวิปัสสนาอยู่ไม่นานเลย ก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในแคว้นโกศล อันอยู่ทางทิศเหนือ ของแคว้นมคธ
ครั้งนั้น พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสั่งราชบุรุษทั้งหลายไปว่า “ขอให้ ท่านทั้งหลายจงปลงพระชนม์พระ
สีลวเถระนั้นเสีย” ราชบุรุษเหล่านั้นได้ไปสู่สำนักของพระเถระ ได้ฟังธรรมที่พระเถระแสดงแล้วเกิดความสังเวช สลดใจ มีใจเลื่อมใสในพระศาสนา จึงขอบวชกันทั้งหมด พระเถระได้ แสดงธรรมแก่ภิกษุผู้เคยเป็นราชบุรุษเหล่านั้นด้วยคาถา ๑๒ คาถา ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
พระสีลวเถระ แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ ดังที่กล่าว มาข้างต้นนี้ ชื่อว่าได้พยากรณ์ความเป็นพระอรหันต์ โดยได้แสดงธรรมที่ตนเป็นผู้มีคุณคือศีลบริสุทธิ์ดีเป็นต้น
ศีลเป็นหลักธรรมสำคัญที่ขาดไม่ได้
ในพระพุทธศาสนา ศีลเป็นหลักธรรมสำคัญและจําเป็นที่ต้อง ปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าจะตรัสย่อหลักธรรม เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ และเพื่อจำง่าย พระองค์จะบ่งศีลไว้ด้วยทุกแห่ง เช่น
๑.บุญกิริยาวัตถุ ๓ คือ ทาน ศีล ภาวนา
๒. ไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
๓.หลักคําสอนย่อในโอวาทปาฏิโมกข์ คือ
-การไม่ทำบาปทั้งปวง คือ มีศีล
-การทำกุศลให้ถึงพร้อม คือ มีสมาธิ
-การทำใจของตนให้สะอาด คือ มีปัญญา
๔ .ธรรมวินัย คือ พระธรรมได้แก่พระสูตรและพระอภิธรรม ส่วนพระวินัยก็คือศีล
ในหลักธรรมทั้ง ๔ หมวดใหญ่นี้ ล้วนแต่กล่าวถึงศีลไว้ทั้งสิ้น เพราะศีลเป็นหลักธรรมที่ขาดไม่ได้ ดังกล่าวแล้ว
ในธรรมทั้งหมดข้างต้นนี้ แท้ที่จริง รวมลงในหมวดที่ ๒ คือ ไตรสิกขาทั้งหมด เพราะทานรวมลงในศีลได้ เช่น ศีลห้า ที่เรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า “ปัญจเวรวิรัติ-การงดเว้นการก่อเวร ๕ ประการ” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เป็นมหาทาน หรืออภัยทาน ส่วนภาวนาก็คือ สมาธิ และ ปัญญานั้นเอง
ฉะนั้น ทาน ศีล ภาวนา ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง
ธรรมหมวดแรก คือ ทาน ศีล ภาวนา พระพุทธองค์ทรงแสดง แก่ฆราวาส ส่วนไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พระองค์ทรง แสดงแก่บรรพชิต (นักบวช) เพราะฆราวาสยังมีทรัพย์สินสมบัติอยู่ พระพุทธองค์จึงสอนให้ประพฤติธรรมด้วยการให้ทานก่อน แล้วค่อย ขึ้นสู่ศีล สมาธิ และปัญญาตามลำดับ แต่บรรพชิตได้สละสมบัติทั้งปวง ออกบวชแล้ว จึงไม่เรื่องทานอีก เพราะท่านเข้าใจและผ่านการบริจาค มาแล้ว จึงเริ่มต้นด้วยศีลก่อนทีเดียวเลย และมุ่งการปฏิบัติของตนขึ้นสู่สมาธิและปัญญาตามลำดับ
ส่วนธรรมหมวดที่ ๔ คือ ธรรมวินัย ก็คือ ศีลธรรมนั่นเอง แต่ ที่ไม่ยกเอาวินัยคือศีลไว้หน้า ก็เพราะในยุคแรกๆ ที่พระองค์ประกาศ พระศาสนานั้น ยังไม่ทรงบัญญัติพระวินัย ปรากฏว่า พระพุทธองค์ได้ ทรงบัญญัติพระวินัย เมื่อล่วงปฐมโพธิกาลไปแล้ว คือเลย ๒๐ ปีแรก แต่กาลตรัสรู้ไปแล้ว ทรงแสดงแต่พระธรรม จึงเรียกคําสอนของพระองค์ว่า “พรหมจรรย์” พรหมจรรย์ก็คือศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง แต่เป็นศีล ในองค์มรรค หาใช่ศีล ๒๒๗ ดังที่ปรากฏในพระปาฏิโมกข์ไม่ ต่อเมื่อ พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยแก่พระภิกษุและนางภิกษุณีแล้ว จึงตรัสเรียก คําสอนของพระองค์ว่า “พระธรรมวินัย” เพราะพระธรรม พระองค์ทรง สอนมาก่อน แต่พระวินัยมาทรงบัญญัติภายหลัง
แต่ในสังคายนาครั้งที่ ๓ ในชมพูทวีป ที่อโศการาม เมืองปาตลีบุตร (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ) ในพุทธศตวรรษที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔ พระ ธรรมสังคาหกาจารย์ คือ พระอรหันต์ผู้ทําสังคายนาพระธรรมวินัยได้เรียก พระธรรมวินัยว่า “พระไตรปิฎก” คือ ตํารา ๓ ชุด อันได้แก่ พระวินัย ปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยแยกพระธรรมออกเป็น พระสูตร และพระอภิธรรม ส่วนพระวินัยปิฎก คือ คัมภีร์ว่าด้วยศีลของ พระภิกษุและนางภิกษุณี
ฉะนั้น เมื่อแยกปิฎกออกเป็น ๓ พระวินัยปิฎกมาอยู่ต้นปิฎก อื่นว่า
๑. พระวินัยปิฎก
๒. พระสุตตันตปิฎก
๓. พระอภิธรรมปิฎก
ทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่ว่า พระวินัยได้ยกขึ้นสู่การสังคายนาก่อน ปิฎกอื่น เพราะเป็นรากแก้วของพระศาสนา ดังกล่าวแล้ว
เพราะฉะนั้น ศีลจึงถือว่าเป็นเบื้องต้นของพรหมจรรย์ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักธรรมที่นําชีวิตไปสู่ความสงบสุข ทั้งในชาตินี้ และในชาติหน้า และเป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ในที่สุด
เพราะผู้ที่จะเป็นมนุษย์สมชื่อนั้น จะต้องเป็นผู้มีศีล เพราะศีล เป็นมนุษยธรรม ซึ่งแปลว่า “ธรรมสำหรับมนุษย์” ถ้าหากว่าประพฤติ ล่วงศีลหรือไม่มีศีลเสียแล้ว กายวาจาก็ไม่ปกติ อยู่ก็ไม่ปกติ อาจจะ ต้องโทษหรือได้รับความเดือดร้อน เพราะตนเองขาดศีล เพราะเป็น ทั้งหลายเขาไม่ทำชั่ว ถ้าใครไปทำชั่วทำผิด ก็แสดงว่าผิดปกติแล้ว คนไม่ปกติ คืออยู่ไม่ปกติเหมือนมนุษย์ทั้งหลายเขา เพราะมนุษย์ คือผิดปกติภาวะของมนุษย์ ผิดปกติภาวะของท่านผู้มีศีล
เพราะฉะนั้น ศีลถ้าใครรักษาดีแล้ว จะเกิดปกติขึ้น ถ้าเข้าใจ รักษาได้ดี จะไม่อึดอัด ผู้เขียนเอง สมัยเมื่อบวชพระใหม่ๆ ตั้งใจ จะเคร่งครัดในเรื่องศีล แต่รู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะคอยระวังตัว เสียแจ กลัวจะผิดศีลข้อนี้จะผิดศีลข้อโน้น เกิดสงสัยขึ้นว่า ที่ ประพฤติไปอย่างนั้นผิดคือต้องอาบัติหรือเปล่า หรือถูกหรือเปล่า รู้สึกอึดอัดใจ ไม่ค่อยสบายใจ แต่เมื่อเข้าใจศีลดีขึ้น ศึกษาเรื่องศีล จนเข้าใจความหมายที่แท้จริงของศีลแต่ละข้อชัดดีแล้ว และปฏิบัติ จนเข้าใจชัดขึ้นแล้ว กายก็ปกติ วาจาก็ปกติ แล้วทำใจให้ปกติ ไม่ต้อง สงสัยวุ่นวายด้วย มีความสุขอันเกิดจากปกติของศีล เพราะศีลทำกาย และวาจาให้ปกติ
๓. ศีล แปลว่า เย็น คนมีลักษณะเย็นนี้เห็นได้ง่าย เพราะเมีย มีศีล ก็ทำกายและวาจาให้สงบเย็น และยังส่งผลไปทำใจให้เย็นสงบ ด้วย เพราะสงบระงับเรียบร้อยได้ อย่างพระที่มีศีลาจารวัตร จะมองดู ท่านเป็นคนสงบเย็น ไม่ร้อนด้วยอำนาจกิเลสเผาใจ เพราะศีลทำให้ ท่านเป็นคนเยือกเย็น
๔. ศีล แปลว่า เกษมหรือปลอดภัย คือ คนมีศีลทำตนให้ปลอดภัยได้ คือ ปลอดจากเวรภัย แต่คนที่ไม่มีศีลจัดว่าเป็นคนยังมี เวรมีภัยอยู่ คือยังก่อเวรภัยด้วยการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดใน กาม พูดเท็จ หรือดื่มน้ำเมา หรือของเสพติดให้โทษอยู่ ยังสร้างภัย เวรให้แก่ตัวเองและผู้อื่นอยู่ จึงไม่เกษม ไม่ปลอดโปร่ง ไม่ปลอดภัย ส่วนคนที่มีศีล ไม่ว่าจะไปที่ใดหรืออยู่ที่ใด ก็รู้สึกปลอดภัย เกษม เบิกบาน ไม่กลัว ไม่ตระหนก ไม่หวั่นใจว่าใครจะมาก่อเวรก่อกรรม ให้แก่ตน เพราะตนเองไม่ทำผิด จะอยู่ที่ใดหรือไปที่ใดก็อยู่อย่างเป็นสุข และเป็นที่ไว้วางใจของคนทั้งหลาย จึงเป็นผู้เกษมปลอดภัย
๕. ศีล แปลว่า ประเสริฐ คือ คนที่มีศีลนั้น ย่อมเป็นคนดี เป็นคนประเสริฐแน่นอน เช่น อุบาสกอุบาสิกาที่มีศีลบริสุทธิ์ คน ทั้งหลายก็เคารพนับถือ ยิ่งมีศีลมากขึ้นก็ยิ่งเป็นที่รักเคารพนับถือ ของคนทั้งหลายเพิ่มขึ้น เช่น พระภิกษุสามเณรมีศีลมากกว่าคฤหัสถ์ ก็ย่อมเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป อย่างพระภิกษุสามเณร ถ้าไม่บวชก็ไม่ได้ประเสริฐกว่าชาวบ้านทั่วไป แต่เมื่อเข้ามาบวชแล้วเป็น ผู้ทรงศีลก็ประเสริฐขึ้น เป็นที่รักเป็นที่เคารพของคนทั้งหลายมากกว่า ชาวบ้านทั่วไป เพราะเหตุที่ศีลทำให้ท่านเป็นผู้ประเสริฐนั่นเอง ด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงกล่าวไว้ว่า “นักบวชทรงเครื่องรบ ครบครันก็ยังไม่สง่างามเหมือนนักพรตผู้ทรงเครื่องประดับคือศีล ศีลเป็นเครื่องประดับที่ทันสมัยอยู่เสมอ สามารถประดับได้จน ตราบเท่าชรา เป็นเครื่องประดับที่มีค่าสำหรับทุกคน ไม่ต้องซื้อหา มา ใครจะขโมยแย่งชิงไปก็ไม่ได้ ตกน้ำไม่ไหลไฟไหม้ก็ไม่ได้ ตายแล้ว ก็ยังติดตัวเราไปได้อีก ใครนํามาประดับเข้าแล้วไม่เป็น มีแต่ทำให้สง่า ทำให้ประเสริฐขึ้น”
เครื่องประดับบางชนิด เหมาะสมสำหรับคนบางวัยเท่านั้น ไม่ อาจจะนํามาประดับได้ตราบเท่าชรา แต่ศีลนี้ประดับได้ทุกเพศทุกวัยและประดับได้ตลอดกาล ใครอยู่ใกล้คนมีศีลก็สบายใจ เพราะอยู่ใกล้ คนประเสริฐ แต่ถ้าอยู่ใกล้คนไม่มีศีลก็เดือดร้อน เพราะอยู่ใกล้คน ไม่ประเสริฐ ศีลจึงทำคนให้ประเสริฐ และจัดเป็นมนุษยธรรม-ธรรม ของผู้มีใจสูง เพราะเมื่อมีศีลก็เป็นคนที่ประเสริฐเป็นคนสูงด้วยคุณธรรม
คําว่า “ประเสริฐ” คือ ทำคนที่มีศีลให้สูงขึ้น ให้ดีขึ้น คือ ให้ประเสริฐกว่าคนทั้งหลายที่เขาไม่มีศีล อย่างพระที่บวชแล้วสึก ออกไป ในภาษาบาลี ท่านใช้คําว่า “หีนาย สํวตฺตติ – เวียนมาเพื่อ ความเป็นคนเลว” ฟังดูแล้ว เหมือนจะพูดเหยียดหยามคนที่สึก ออกไป แท้ที่จริง ถ้าพิจารณาดูให้ชัดแล้ว ก็น่าจะเป็นอย่างนั้น คือ เดิมมีศีล ๒๒๗ พอสึกออกไป ศีลก็หมดไปเลย ศีล ๒๒๗ ก็ไม่มี ศีล ๑๐ ก็ไม่มี บางคนแม้แต่ศีล ๕ ก็ไม่มีเลยแม้แต่ข้อเดียว ถึงกับ เป็นคนไม่มีศีลเลย จึงชื่อว่า เวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว คือ ก่อน บวชก็ไม่มีศีล เมื่อสึกออกไปแล้วก็ไม่มีศีลเหมือนเดิม จึงเวียนมา ที่เก่า คือเวียนมาเป็นคนเลว อันตรงกันข้ามกับประเสริฐ แต่ถ้าแม้ จะสึกออกไปแล้วมีศีลอยู่ เช่น ศีล ๕ หรือศีล ๘ ก็ยังจัดว่าเป็นผู้ ประเสริฐ เพราะมีศีลที่ทำตนให้ประเสริฐขึ้น แม้จะไม่มีมากเท่าพระภิกษุหรือสามเณรก็ตาม
เราเคยได้ฟังอานิสงส์ของศีลมาแล้วว่า เกษม และประเสริฐอย่างไร อานิสงส์ของศีลที่พระท่านบอกให้ทราบเสมอในตอนท้ายศีล เมื่อท่านให้ศีลทุกครั้ง อานิสงส์ของศีลอย่างย่อแล้วมี ๓ ประการ คือ
๑.สีเลน สุคติ ยนฺติ ศีลทำให้บุคคลไปสู่สุคติ
๒. สีเลน โภคสมฺปทา ศีลทำให้คนได้รับโภคทรัพย์
๓. สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ ศีลทำให้บุคคลดับทุกข์ความเดือดร้อน จนถึงเข้าสู่พระนิพพานในที่สุด
เพราะฉะนั้น ศีลจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก ใครก็ตาม ถ้าได้รักษาศีลเป็นประจำอย่างน้อยศีล ๕ นอกจากจะได้สั่งสมบุญกุศล ทำให้ชีวิตพบความสงบสุข ได้รับทรัพย์สมบัติ ในชาติปัจจุบันแล้ว ก็ยังส่งผลให้ไปเกิดในสุคติภูมิ เมื่อตายจากโลกนี้ไป และส่งผลให้ ดับความทุกข์ความเดือดร้อน จนเข้าสู่พระนิพพานในที่สุดได้
คุณค่าของศีล
ต่อไปนี้ จะได้อธิบายถึงคุณค่าของศีลหรืออานิสงส์ของศีล ๓ ประการ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ
๑. ศีลทำบุคคลให้ไปสู่สุคติ คําว่า สุคติ ในที่นี้แยกเป็น ๒ อย่าง คือ
๑) สุคติ หมายถึง ไปดี คือคนที่มีศีลนั้นจะไปที่ไหน ก็ไปดีทั้งสิ้น เดินไปไหนก็ปลอดภัย ไม่อันตราย ไม่อันตรายต่อ ตนเอง ต่อคนอื่น หรือต่อสังคม ชื่อว่าไปดี เพราะไปสู่ที่ดีที่ประเสริฐ และไปด้วยความปลอดภัย
ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ทั้งคนมีศีล ย่อม ได้รับการยกย่องให้มียศ ให้มีตำแหน่ง หน้าที่การงานที่ดี มีอะไรดีๆ เพราะศีลทำให้ไปสู่สุคติ คือส่งให้ไปสู่ที่ดี
๒) สุคติ หมายถึง ภูมิหรือสถานที่ไปเกิด คือ สุคติภูมิ สถานที่ไปเกิดดี ในพระพุทธศาสนาท่านแยกสุคติออกเป็น ๒ คือสวรรค์ และมนุษย์
มนุษยโลกนี้จัดเป็นสุคติภูมิอย่างหนึ่ง อย่างคนที่ตาย ญาติมิตรเห็นเข้าหรือรู้เข้า ก็มักจะพูดหรือปรารถนาว่า “ขอให้เกิดที่ชอบๆ เกิด คําว่า “ที่ชอบ” ก็คือสุคติภูมินั้นเอง จะเป็นมนุษยโลกหรือสวรรค์ ชั้นใดชั้นหนึ่งก็ได้
ฉะนั้น คําว่า “สุคติ แปลว่า คติที่ดี” หมายถึง โลกมนุษย์ และโลกสวรรค์ คนที่ไปสู่สุคติ อาจจะไปเกิดเป็นมนุษย์ก็ได้ การเกิดในโลกมนุษย์ถือว่าเป็นสุคติภูมิ ถ้าเกิดในสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่ง ก็จัดเป็นสุคติภูมิที่สูงขึ้น ฉะนั้น เราควรภูมิใจว่า แม้เพียงรักษาศีล อย่างเดียว ก็สามารถทำให้เราไปเกิดบนสวรรค์ได้ ถ้าไม่ไปสวรรค์ ก็ไปเกิดในมนุษยโลกนี้ แม้ในขณะที่ยังเป็นมนุษย์อยู่จะไปที่ใด ก็ไปดี และไปอย่างประเสริฐ เพราะมีศีล ฉะนั้น การมีศีลจึงทำให้ คนไปสุคติได้
๒. ศีลทำให้ได้รับโภคทรัพย์สมบัติ คือทำให้เป็นคนมีกิน มีอยู่ มีเงินมีทอง มีทรัพย์สินสมบัติมากได้ ข้อนี้ ถ้าไม่พิจารณาให้ดี ก็อาจจะเข้าใจผิดได้
คําว่า “ศีลทำให้ได้รับทรัพย์สมบัตินั้น” หมายความว่า คนที่มี ศีลจะทำมาหากินอะไรก็ยั่งยืน เพราะไม่ฆ่าเขา ไม่โกงกิน ลักขโมย เขา ย่อมมีคนให้เกียรติ มีคนเชื่อถือ จะทำมาค้าขายติดต่อก็ทำงาน ได้ผลดี ถ้าทำราชการก็ยั่งยืน แต่คนไม่มีศีล เช่น ไปฆ่าเขา ไปโกงกิน คอร์รัปชัน ก็ถูกไล่ออก หรืออาจจะติดคุก หรือบางทีก็ถูกฆ่าตาย หรือถูกริบทรัพย์สมบัติ ยกตัวอย่าง พ่อค้าส่งของไปต่างประเทศ แต่ทำด้วยความไม่ซื่อสัตย์ ได้ปลอมปนสินค้าเข้าไป ทำให้ต่างประเทศเขาขาดความเชื่อถือ ในที่สุด ต่างประเทศเขาถึงครับหรือส่งสินค้าคืน ทางรัฐบาลก็ไม่ยอมอนุญาตให้บุคคลหรือบริษัทเช่นนี้เป็นตัวแทนในการส่งของออกไปต่างประเทศ ทรัพย์สมบัติที่จะพึงเกิดก็เกิด ไม่ได้ ที่มีอยู่แล้วก็หมดไป เพราะฉะนั้น จึงมีคําพังเพยเตือนใจว่า “ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน” ซื่อก็คือซื่อสัตย์สุจริต มีศีล คดก็คือ ไม่มีศีล มีแต่ทุจริต
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ พระสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ย่อมเป็น ที่รัก เคารพนับถือของคนทั้งหลาย ได้มีคนเป็นจำนวนมากมาถวาย จตุปัจจัยไทยธรรมแก่ท่าน เพราะเหตุที่ท่านเป็นผู้ทรงศีล ใช้ก็ ไม่หมด อาหารก็เหลือเฟือ แต่ถ้าว่าท่านไม่มีศีล หรือคนทั่วไปรู้ว่า ท่านไม่มีศีลแล้ว ก็จะหยุดทำบุญทำทานแก่ท่าน เกลียดชัง ไม่คบ หรือไม่ก็ไล่ออกจากวัด เพราะเป็นคนทุศีล จึงไม่พบความเจริญขึ้นมา ได้ เพราะฉะนั้น ศีลจึงทำให้ได้รับทรัพย์สมบัติ ตัวอย่างที่เห็น ได้ง่ายๆ อย่างคนที่ไม่กินเหล้า แม้เพียงศีลข้อนี้ข้อเดียวก็สามารถ เก็บทรัพย์สมบัติไว้ได้มาก ไม่ต้องเสียเงินเพราะเหล้า ยิ่งคนกินเหล้า ถึงกับเมามายแล้ว ก็จะทำลายสมบัติให้ฉิบหายไปทั้งของตนและของ คนอื่น ต้องเสียเงินเพราะเมา บางทีก็ต้องถูกปรับหรือติดคุก เมื่อเมา แล้วขับรถไปชนคนอื่นเขา หรือบางครั้งก็ทำให้ตนเองและคนอื่นต้อง ตาย เพราะเหล้าเป็นสาเหตุ ก็เนื่องมาจากไม่รักษาศีลนั่นเอง ถ้ารักษา ศีลแล้ว นอกจากไม่ต้องเสียทรัพย์เพราะขาดศีลแล้ว ก็ยังทำทรัพย์สมบัติให้เพิ่มพูนขึ้นอีกด้วย
๓.ศีลทำบุคคลให้เข้าถึงพระนิพพาน คําว่า “ไปสู่พระนิพพาน (นิพฺพุตี ยนฺติ)” มีความหมายกว้าง
นิพพาน แปลว่า “ดับ” คือดับความทุกข์ความเดือดร้อนได้ คนมีศีลย่อมสามารถดับความทุกข์ความเดือดร้อนในชีวิตได้มากเรื่องเดือดร้อนเพราะขาดศีลไม่มีแล้ว แต่จะมีความสุขร่มเย็นเข้ามา แทนที่ ท่านผู้ใดรักษาศีลย่อมทราบผลข้อนี้ได้ดีว่า คนมีศีลดับความ ทุกข์ความเดือดร้อนได้มาก และทำให้พบความสงบสุข ความร่มเย็น ในชีวิตได้มากจริง เมื่อมีศีลเป็นพื้นฐานได้ดี ก็ยกจิตขึ้นสู่สมาธิได้ ทำให้เกิดความสงบและความเยือกเย็นขึ้น เพราะมีศีลเป็นพื้นฐาน
ศีลทุกข้อทุกประเภท ถ้าใครรักษาได้และรักษาเป็นประจำแล้ว เมื่อบําเพ็ญได้มากและนานเข้าก็เกิดเป็นบารมีขึ้น ที่เรียกว่า “ศีลบารมี” บารมีทุกข้อในบารมี ๑๐ ไม่ว่า ศีลบารมี ทานบารมี หรือปัญญาบารมี ย่อมทำบุคคลให้เข้าสู่พระนิพพาน ดับความทุกข์ ในที่สุดได้ ฉะนั้น คุณค่าของศีลข้อสุดท้าย ท่านจึงกล่าวว่า “สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ แปลว่า บุคคลย่อมเข้าถึงนิพพานเพราะศีล”
ศีลสำคัญกว่าความรู้และเกียรติยศชื่อเสียง
คนไม่มีศีลแม้จะมีความรู้ดี มีเกียรติ มียศ มีตำแหน่งสูง มี ทรัพย์สมบัติมาก และมีชาติตระกูลสูง ก็หาประเสริฐไม่ และไม่ เป็นที่รักที่เคารพของคนทั้งหลาย เพราะคนเคารพนับถือท่านที่มีศีล มากกว่ามีสมบัติอย่างอื่น ดังเรื่องพราหมณ์ชื่อศีลวิมังสะ เป็นตัวอย่าง เรื่องนี้บันทึกไว้ในสีลวิมังสชาดก ว่า ในกรุงสาวัตถี มีพราหมณ์ คนหนึ่ง ชื่อ สีลวิมังสกะ (ผู้ทดสอบเรื่องศีล) เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัย มีศีล ๕ ไม่ขาด ได้อาศัยพระเจ้าโกศลอยู่ พระราชากับพวกพราหมณ์ อื่นๆ ก็ให้ความเคารพนับถือพราหมณ์นั้น ด้วยมาคำนึงถึงว่า “พราหมณ์นี้เป็นผู้มีศีล”
วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นคิดว่า “พระราชาทรงอาศัยความถึงพร้อม ด้วยชาติ โคตรสกุล ประเทศ และศิลปะของเราแล้ว ทรงทำความ เคารพนับถือ หรือทรงอาศัยความถึงพร้อมด้วยศีลจึงทรงทำความ เคารพนับถือ เราจักทดลองดู”
เมื่อพราหมณ์คิดดังนี้แล้ว จึงไปสู่ที่บํารุงพระราชา (ไปสู่ พระราชวัง) แต่เมื่อจะกลับจากราชสำนักไปยังบ้านของตน ไม่ได้ บอกเล่าเลย หยิบเอาเงินเหรียญ (กหาปณะ) อันหนึ่งจากแผ่นกระดาน ของเหรัญญิกคนหนึ่งเอาติดมือไปบ้านของตน เหรัญญิก (คนรักษา เงิน) ไม่พูดอะไร ได้แต่นั่งเฉยอยู่ เพราะความเคารพนับถือต่อพราหมณ์ ๒ นั้น ในวันที่ ๒ พราหมณ์นั้นได้หยิบกหาปณะไป ๒ อัน เหรัญญิก ก็อดกลั้นไว้เช่นเดิม ไม่ยอมพูดอะไรเลย แต่ในวันที่ ๓ พราหมณ์นั้น ได้หยิบกหาปณะไปกํามือหนึ่ง
ในครั้งที่สามนี่เอง เหรัญญิกโกรธ แล้วร้องตะโกนขึ้น ๓ ครั้ง ว่า “เราจับโจรปล้นทรัพย์ได้แล้ว”
พวกมนุษย์พากันมาจากข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง พูดว่า “บัดนี้ ท่านทำเป็นผู้มีศีลเที่ยวไปแล้วสิ้นกาลนาน” แล้วพากันทุบ ๒-๓ ครั้ง แล้วจองจำนําไปทูลเสนอพระราชา
พระราชาทรงวิปปฏิสาร (ไม่สบายพระทัย) ได้รับสั่งว่า “พราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงทํากรรมของคนทุศีลเช่นนี้” ตรัส แล้วก็รับสั่งว่า “พวกเธอจงไปลงอาชญาแก่เขาเถิด”
พราหมณ์นั้นได้กราบทูลแด่พระราชาว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าไม่ใช่โจร แท้จริง ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำเช่นนี้เพราะเหตุนี้ (คือเพื่อทดลองเรื่องความสำคัญของศีล) แล้วจึง กราบทูลต่อไปว่า เดี๋ยวนี้ข้าพระองค์ทราบแน่ชัดแล้วว่า พระองค์ ทรงอาศัยศีลเท่านั้น จึงได้ให้การนับถือแก่ข้าพระองค์ หาใช้ได้อาศัย ชาติสกุลเป็นต้นไม่ แล้วได้ทูลต่อไปว่า จริงทีเดียว บัดนี้ พระองค์ ได้รับสั่งให้ลงอาญาแก่ข้าพระองค์ ด้วยเหตุนี้ ข้าพระองค์จึง ทราบแน่ชัดว่า “ในโลกนี้ ศีลเท่านั้นสูงสุด ศีลเป็นประมุข” อนึ่ง ข้าพระองค์ เมื่อจักทำกรรมอันสมควรแก่ศีลนี้ ดำรงอยู่ในการ ครองเรือน บริโภคกิเลสทั้งหลายอยู่ จักไม่อาจทำได้”
พราหมณ์นั้น เมื่อได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงทูลขอพระบรม ราชานุญาตว่า “ข้าพระองค์จักบวชในสำนักพระศาสดาในวันนี้แหละ ข้าแต่พระสมมติเทพ ขอพระองค์โปรดพระราชทานการบรรพชาแก่ ข้าพระองค์เถิด”
เมื่อพูดแล้ว เขาก็เดินทางจากตัวเมืองไปยังวัดพระเชตวัน ทูลขอบรรพชากับพระศาสดา ได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว ไม่ ทอดทิ้งการเจริญกรรมฐาน เจริญวิปัสสนา ในที่สุดก็ได้บรรลุพระอรหันต์
การลงโทษต่อพราหมณ์นั้นด้วยการขโมยแล้วจองจำอันใด การขโมยและจองจำอันนั้น บัณฑิตพึงเห็นว่า “เป็นผลของอทินนาทาน”
คน ๔ จําพวก
เกี่ยวกับเรื่องของศีลและความรู้นั้น มีบุคคลอยู่ในโลก ๔ จําพวก คือ
๑.คนบางพวกที่มีความรู้น้อยทั้งไม่มีศีล
๒. คนบางพวกมีความรู้น้อยแต่มีศีล
๓. คนบางพวกมีความรู้มากแต่ไม่มีศีล
๔. คนบางพวกมีทั้งความรู้ทั้งมีศีล พระพุทธเจ้าทรงปรารภคน ๔ ประเภทนี้ จึงตรัสคาถาภาษิตนี้
ไว้ในอัปปัสสุตสูตร ” ว่า
“ถ้าบุคคลทั้งมีการศึกษาน้อยทั้งไม่ตั้งอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียนเขา ทั้ง ๒ ส่วน คือ ทั้งส่วน ศีลและส่วนความรู้ ถ้าบุคคลแม้มีการศึกษาน้อย แต่ตั้งมันอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขา ในด้านศีล แต่ความรู้ของเขาไม่บริบูรณ์ ถ้าบุคคล แม้มีการศึกษามากแต่ไม่ตั้งอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมติเตียนเขาในด้านศีล แต่ความรู้ของเขาบริบูรณ์ ถ้าบุคคลมีทั้งการศึกษามากทั้งตั้งมั่นอยู่ในศีล บุคคล ทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาทั้ง ๒ ส่วน คือทั้งส่วนศีล และความรู้ ใครเล่าจะติเตียนคนที่มีการศึกษามาก ผู้ทรงธรรม มีปัญญาเป็นพุทธสาวก เป็นดังแท่งทอง ชมพูนุชนั้นได้ แม้เหล่าเทพเจ้าก็นิยม ถึงพระพรหม ก็สรรเสริญ.
จากพระพุทธภาษิตในพระสูตรนี้ ย่อมชี้ให้เห็นชัดว่า พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญคนมีศีลมากกว่าการมีความรู้ แต่ถ้ามีมากทั้ง ๒ อย่างก็ประเสริฐแท้
การมีศีลมีความสำคัญมากเพียงไร ท่านผู้อ่านใคร่ครวญเอา ก็จะทราบได้ด้วยตน ฉะนั้น จึงขอให้ทุกคนตั้งใจรักษาศีล อยู่อย่าง คนมีศีล อย่างน้อยก็มีศีล ๕ ไว้ตลอดไป ขอให้เตือนตนอยู่เสมอว่า “วันใดถ้าไม่มีศีล วันนั้นถือว่าขาดทุน และไม่ควรออกจากบ้าน เพราะ มันไม่เป็นมงคล” ขอให้อยู่อย่างมีศีล แล้วจะเกิดความเป็นสิริมงคล เป็นความสุข ความเจริญ ความเกษมปลอดภัย และความประเสริฐ แก่ตนอย่างแน่นอน.
ตอนที่ ๒
ปัญหาเรืองศีล
การพรรณนาศีลในตอนนี้ จะพูดถึงปัญหาเรื่องศีล ซึ่งท่าน กล่าวไว้อย่างมีระบบ ในการอธิบายเรื่องศีล
ในการศึกษาเรื่องศีลนั้น ท่านตั้งปัญหาถามขึ้นมาเพื่อให้เกิด ความเข้าใจเรื่องศีลชัดขึ้น ๗ ข้อ คือ
๑.อะไรชื่อว่าศีล ?
๒. ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าอะไร ?
๓. ลักษณะเป็นต้นของศีลเป็นอย่างไร ?
๔. ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ?
๕. ศีลมีกี่อย่าง ?
๖. อะไรเป็นความเศร้าหมองของศีล ?
๗. อะไรคือความผ่องใสของศีล ?
ปัญหาเรื่องศีลมีถึง ๒ ข้อ ถ้าถามเราให้ตอบ คงตอบได้บ้าง ตอบไม่ได้บ้าง แม้เราจะได้ศึกษามานานแล้วก็ตาม นี้คือการตั้งปัญหา ของพระเถระในปางก่อน คือพระพุทธโฆสาจารย์ ชาวชมพูทวีปเกิดใกล้พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ท่านเดินทางไปแปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล (ศรีลังกา) เป็นภาษาบาลี ในแผ่นดิน พระมหานาม ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ คือในราว พ.ศ. ๒๕๖ ผลงาน ของท่านมีมากมหาศาล อรรถกถาพระไตรปิฎกส่วนใหญ่เป็นผลงาน ของท่าน แต่ท่านได้อาศัยอรรถกถาเดิมที่พระเถระชาวศรีลังกา ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ๓ คัมภีร์เป็นหลักในการเขียนของท่าน คือ
๑. อรรถกถาพระสูตร ชื่อ มหาอรรถกถา
๒. อรรถกถาพระวินัย ชื่อ กรุนที
๓. อรรถกถาพระอภิธรรม ชื่อ มหาปัจจรี
ผลงานเด่นมากของพระพุทธโฆสาจารย์ ก่อนที่ท่านจะ แต่งอรรถกถาต่าง ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก คือ ปกรณ์วิเสส ชื่อ วิสุทธิมรรค เรียกสั้น ๆ ว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรค อันเป็นเพชรน้ำเอก เล่มหนึ่งของคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่นอกจากพระไตรปิฎก คัมภีร์วิสุทธิมรรค ว่าด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อจากพระไตรปิฎก ทั้ง ๔๕ เล่ม ออกมาเป็นหนังสือ ๓ เล่ม
เฉพาะในเรื่องศีล กล่าวไว้ในสีลนิทเทส โดยท่านตั้งเป็นคําถาม ขึ้น ๗ ข้อก่อน แล้วท่านก็ตอบเองโดยอธิบายออกไป แต่จะถือเอา นัยการอธิบายแบบของท่านนั้นเข้าใจยาก เพราะเป็นสํานวนบาลีอยู่มาก
ฉะนั้น ในที่นี้จะถอดเอาแต่ใจความเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับท่านผู้สนใจ
ปัญหาข้อที่หนึ่ง ศีลคืออะไร ? ข้อนี้มีคําตอบว่า ศีลคือเจตน จะงดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น คือ ในการรักษาศีลนั้น ถ้าใครมีเจตนาจะงดเว้นจากการทำชั่วก็จัดเป็นศีลแล้ว ดังพระบาลีที่พระ สารีบุตรกล่าวไว้ในคัมภีร์ ปฏิสัมภิทามรรค ว่า
“เจตนา ชื่อว่าศีล เจตสิกก็ชื่อว่าศีล สังวรก็ชื่อว่าศีล การ ไม่ล่วงละเมิดก็ชื่อว่าศีล”
คําตอบมีหลายอย่าง ถ้าถามว่าศีลคืออะไร ? คําตอบง่ายๆ ก็คือ เจตนาจะงดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าศีล แต่ถ้าเป็นคําตอบ แบบพระสารีบุตร โดยตอบอย่างละเอียดนั้น ท่านตอบโดยแบ่งออก เป็น ๔ อย่าง คือ
๑. เจตนาคือศีล
๒. เจตสิกคือศีล
๓. สังวรคือศีล
๔. การไม่ล่วงละเมิดคือศีล
ขออธิบายศีลตามนัยของพระสารีบุตร เพื่อความเข้าใจในเรื่อง ศีลให้ชัดขึ้น ดังต่อไปนี้
ประการแรก เจตนาชื่อว่าศีล ศีลในข้อนี้หมายถึงเจตนา คือคนที่จะรักษาศีล ถ้าไม่มีเจตนาที่จะรักษา ถึงจะงดเว้นก็ไม่เป็นศีล เพราะไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น เพราะใจยังไม่รับรู้ เช่น เด็กที่นอน แบเบาะ ไม่ทำชั่ว คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เป็นต้น หากจะถามว่า เด็กนั้นมีศีลไหม ? คําตอบก็คือ “ไม่มี” ถามว่า “ทําไมไม่มี ?” เพราะ เขาไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา น่ามีศีลได้ คําตอบก็คือ จะมีศีลไปไม่ได้ เพราะ ไม่มีเจตนาจะงดเว้น แม้ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เป็นต้น ก็จริง แต่ เมื่อไม่มีเจตนาจะงดเว้นก็ไม่มีศีล เหมือนอย่างคนที่อยู่ร่วมกันในบ้าน ไม่ได้ทำชั่ว คือ ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มน้ำเมา เมื่อไม่มีเจตนาจะงดเว้น ก็จัดว่าไม่มีศีล
ในกรณีเช่นนี้ ถามว่า คนนั้นได้บุญไหม ? ตอบว่า “ไม่ได้” และถามว่า “เขาได้บาปไหม ? ก็ตอบว่า “บาปเขาก็ไม่ได้” เขาไม่ได้ทำชั่ว บุญก็ไม่ได้ เพระเขาไม่ได้ทำดี เพราะบาปบุญจะเกิด ได้ต้องมีเจตนา ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ – ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำที่มีเจตนาว่า เป็นกรรมได้”
ในเรื่องนี้ มีข้อที่น่าสังเกตอยู่ว่า คนสูงอายุ (คนแก่) บางคน มีอายุ ๗๐-๘๐-๙๐-๑๐๐ ปี นอนอยู่ที่บ้าน ไม่ทำความชั่วอันใดเลย แต่ก็ไม่ได้ทำบุญอะไร เพราะไม่มีศีล นับว่าน่าเสียดายที่มีชีวิตอยู่ยืน แต่นอนหายใจทิ้งเสียเปล่า ๆ ไม่ได้สั่งสมบุญอันใดเลย นับว่าเสียที ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา บางคนภูมิใจว่า ปู่ ยา ตา ทวด ของตนมีอายุยืนเท่านั้นเท่านี้ แต่ไม่มีศีลเลย ก็ไม่ควรภูมิใจ เพราะ – อยู่อย่างไม่มีศีล เนื่องจากไม่มีเจตนาจะงดเว้นจากความชั่วเลย ต้องมีเจตนางดเว้นจึงจะจัดว่าเป็นศีลได้
ประการที่ ๒ เจตสิกชื่อว่าศีล เรื่องเจตสิกนี้ค่อนข้างเข้าใจ ยากสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาอภิธรรม แต่ถ้าตั้งใจทำความเข้าใจก็ไม่ยาก
เจตสิกไม่ใช่จิต แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต เช่น สติ โลภ โกรธ หลง เป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต ถ้าเป็นตัวจิต มันก็ต้องอยู่กับจิตตลอดไป ปัญญา เมตตา กรุณา มุทิตา ก็ล้วนเป็นตัวเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่มัน เกิดขึ้นกับจิตบางดวง ไม่เกิดกับจิตบางดวง ถ้าเปรียบจิตเหมือนไฟ เจตสิกก็คือแสงสว่างของไฟ ไฟกับแสงสว่างของไฟ มันไม่ใช่อันเดียวกัน ฉันใด จิตกับเจตสิกก็ไม่ใช่อันเดียวกันฉันนั้น
ตามหลักอภิธรรมนั้น เจตสิกมี ๕๒ ดวง เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต และมีที่ตั้งอันเดียวกับจิต เจตสิก มีทั้งหมด ๕๒ ดวง ในจำนวน ๕๒ ดวงนั้น เป็นฝ่ายบุญที่เรียกว่า กุศลเจตสิก หรือโสภณเจตสิก ๒๕ ดวง เป็นฝ่ายบาป ที่เรียกว่า อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง เป็นฝ่ายกลางๆ ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป ที่เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
ในเจตสิกฝ่ายกุศล ๒๕ ดวงนั้น มีวิรัติเจตสิกอยู่ ๓ ดวง วิรัติ ก็คือเจตนาที่จะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นต้น วิรัติเจตสิก ๒ ดวงนั้น คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ถ้าใครเรียนอภิธรรม จะเข้าใจในข้อนี้ได้ง่าย
วิรัติ แปลว่า งดเว้น ฉะนั้น วิรัติเจตสิก จึงหมายถึง เจตสิก ที่งดเว้น แต่ในเรื่องศีลนี้ ท่านพูดแต่เจตสิกอย่างเดียว ไม่ได้พูดว่า วิรัติด้วย เมื่อเจตสิกเป็นศีล จึงหมายถึงวิรัติเจตสิก หาใช่เจตสิก ดวงอื่นๆ ไม่ ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า “เจตสิกชื่อว่าศีล” ท่านเรียกศีลชนิดนี้ว่า วิรัติเจตนา เช่น อุบาสกอุบาสิกาบางคน พอถึง วันพระ เมื่อตื่นนอนแต่เช้าก็ตั้งจิตอธิษฐาน วิรัติงดเว้นเอาเองว่า ตนขอสมาทานศีลอุโบสถในวันนี้ ก็เป็นผู้รักษาศีลแล้ว ทั้งๆ ที่ยัง ไม่ได้สมาทานศีลจากพระสงฆ์เลย แม้ยังไม่ได้เปล่งวาจา แต่เมื่อ ตั้งใจงดเว้นเอาก็จัดว่าเป็นผู้มีศีลแล้ว นี้เกิดจากอะไร ก็เกิดจากวิรัติ คือการงดเว้น อันเป็นวิรัติเจตสิก ถ้าวิรัติอย่างสูงของพระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป ก็เป็นสมุทเฉทวิรัติ คือท่านไม่ต้องสมาทานอย่างคนทั่วไป แต่ท่านตั้งใจงดเว้นเด็ดขาดตลอดชีวิตเลย ใคร จะมาบังคับให้ท่านฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ หรือดื่มน้ำเมา ท่านตายเสียดีกว่าที่จะยอมทำชั่ว เพราะท่านงดเว้น ได้เด็ดขาดตลอดชีวิตแล้ว เพราะฉะนั้น วิรัติจึงชื่อว่าศีล แต่ในที่นี้ ท่านเรียกว่า “เจตสิกชื่อว่าศีล”
ประการที่ ๓ สังวรชื่อว่าศีล สังวร แปลว่า ความสำรวม จัด เป็นศีลชนิดหนึ่ง เรียกว่า อินทรียสังวรศีล คือการสำรวมอินทรีย์ ๖ อันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้รั่วไหลออกไปข้างนอก แต่มีสติสำรวมควบคุมไว้จัดเป็นสติสังวร ถ้าขาดสติเมื่อไร คือไม่ สำรวมอินทรีย์เมื่อไร ศีลก็ขาด เช่น พระภิกษุออกไปบิณฑบาต ขาดความสำรวมตา สำรวมใจ มองซ้าย มองขวา มองหน้า มองหลัง แบบคนไม่สำรวม มองเห็นชัดว่าท่านไม่สำรวมเลย อย่างนี้ถือว่าท่าน ขาดศีล คือขาดอินทรียสังวรศีล แต่ถ้าท่านสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ ของท่าน คือ สำรวมตา สำรวมหู สำรวมจมูก สำรวมลิ้น สำรวมกาย และสำรวม ใจแล้ว ก็จัดว่าท่านมีศีลข้อสำรวม ที่เรียกว่า อินทรียสังวรศีล สังวร คือตัวสำรวมนี้ จึงจัดเป็นศีลอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สังวร ชื่อว่าศีล
ประการที่ ๔ การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล เมื่อเราไม่ล่วงละเมิด ต่อสิ่งที่เราตั้งใจว่าเราจะไม่ล่วงละเมิด เช่น ตั้งใจว่า เราจะไม่ล่วงละเมิด ศีล ๕ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ เป็นต้น ก็ชื่อว่าเรามีศีล เพราะการไม่ล่วง ละเมิดนี้เป็นศีล แต่ถ้ามีการล่วงละเมิดศีล ชื่อว่าขาดศีล หรือไม่มีศีล ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า “การไม่ล่วงละเมิดชื่อว่าศีล
นี้เป็นการตอบปัญหาข้อที่หนึ่ง ที่ถามว่า อะไรชื่อว่าคีล?
ปัญหาข้อที่ ๒ ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าอะไร ? ท่านตอบ ปัญหาข้อนี้ว่า “ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ารวมเข้า” ถามว่า “รวมอะไร เข้ามาจึงจัดเป็นศีลได้” คําตอบก็คือ “การรวมกายวาจาเข้ามาให้ เรียบร้อยชื่อว่าศีล” คําว่า “รวม” ในที่นี้ คือสำรวม เพราะถ้าไม่สำรวม กาย ก็จะฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ถ้าไม่สำรวมวาจา ก็จะพูดเท็จ พูดคําหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ศีลก็ขาด เพราะ ขาดการรวมเข้าคือสำรวม
เป็นที่น่าสังเกตว่าศีลนี้ ควบคุมกายกับวาจาเท่านั้น ไม่ได้ ควบคุมไปถึงใจ เช่น เพียงแต่คิดจะฆ่าสัตว์ คิดลักทรัพย์ คิดจะ พูดเท็จ อย่างเดียว โดยไม่มีกายวาจาเข้าประกอบด้วย ศีลไม่ขาด แต่ศีลก็เศร้าหมองไปได้ เพราะปล่อยให้ใจคิดไปอย่างนั้น
การรวมตัวเข้าจัดเป็นศีล เพราะทำให้เรียบร้อย สวยงาม น่าดู ถ้าเปรียบให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เปรียบเหมือนดอกไม้ที่เก็บมาร้อยรวมกัน เข้า อันดอกไม้นานาชนิด สีต่าง ๆ ช่างดอกไม้เก็บเอามาร้อยเป็น พวงมาลัยโดยมารวมกันเข้า มองดูสวยงาม เรียบร้อย เช่น ดอกมะลิ เมื่อมันกระจายอยู่ก็ไม่ค่อยสวยงาม แม้จะมีกลิ่นหอมก็ตาม แต่เมื่อ เก็บมาร้อยรวมกันเข้า แม้จะนานาพันธุ์หลายชนิด รวมเป็นพวงดอกไม้ หรือพวงมาลัย ก็เกิดความสวยงามขึ้น
พระภิกษุสามเณรก็เช่นกัน แม้จะมาจากสกุลต่าง ๆ กัน ความ ประพฤติเดิมไม่เหมือนกัน รูปร่างผิวพรรณไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมา บวชในพระพุทธศาสนา มีศีลเหมือนกัน มีศีลเสมอกันก็งาม ดูงดงาม น่าเคารพ น่าเลื่อมใส แม้อุบาสกอุบาสิกาก็เช่นกัน แม้จะมาจากสกุลต่างๆ กัน ต่างบ้าน ต่างตำบล หรือต่างจังหวัดกัน แต่เมื่อมารักษาศีล นุ่งห่มชุดขาว เรียบร้อยเหมือนกัน ก็ดูสวยงาม น่าเลื่อมใส เพราะเป็นการรวมตัวกันเข้า เพื่อทำความดี ฉะนั้น การ รวมตัวกันเข้าจึงจัดเป็นศีล คือการรวมกายวาจาเข้าให้เรียบร้อย ไม่เกะกะ ไม่วุ่นวาย ไม่รุงรัง เหมือนดอกไม้นานาพันธุ์ ที่นํามาร้อยเป็นพวงมาลัย เป็นพวงดอกไม้ ก็สวยงามเป็นที่เจริญตาเจริญใจของผู้พบเห็น
ปัญหาข้อที่ ๓ ที่ถามว่า ลักษณะเป็นต้นของศีลเป็นอย่างไร ? ปัญหาข้อนี้ฟังแล้วเข้าใจยากหน่อย แต่ถ้าใครได้ศึกษา พระอภิธรรมก็จะพบการให้คําจํากัดความศัพท์ธรรมะทางพระพุทธศาสนาในทํานองคําถามนี้มากทีเดียว
ท่านถามถึงวิเสสลักษณะ ๔ ประการของธรรมทุกชนิด คือ ธรรมะหรือสภาวธรรมทุกชนิดมีวิเสสลักษณะของมันอยู่ ๔ ประการ คือ
๑.ลักษณะ คือ เครื่องหมาย
๒. รสหรือกิจ คือ หน้าที่
๓.ปัจจุปัฏฐาน คือ เครื่องปรากฏหรือผล
๔. ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้
ฟังเพียงเท่านี้ บางท่านก็งงแล้ว เพราะแต่ละคํามีความหมาย ลึกในทํานองอภิธรรม แต่ถ้าตั้งใจทำความเข้าใจก็ไม่ยาก วิเสส ลักษณะทั้ง ๔ ประการนี้ มีความหมายอย่างไร ขอให้ดูวิเสสลักษณะ ของศีล ดังต่อไปนี้
๑. ลักษณะของศีล การรวมตัวเข้าเป็นลักษณะของศีล ลักษณะก็คือ เครื่องหมาย เช่น เครื่องหมายการค้า มีเครื่องหมาย มียี่ห้อ(Brand Name) ของมัน ศีลก็มีลักษณะคือเครื่องหมายของมัน เหมือนกัน เมื่อเห็นเข้าแล้วก็เข้าใจได้ว่า นี้คือลักษณะของศีล คือ ถ้ารวมตัวกันเข้าก็เป็นศีล รวมอะไรเข้า คือรวมกายและวาจาให้สงบ เรียบร้อย ไม่วุ่นวาย ไม่สร้างความเดือดร้อน เหมือนดอกไม้ที่รวมตัว เข้าเป็นพุ่มดอกไม้หรือเป็นพวงดอกไม้ก็เรียบร้อย น่าดู น่าชม ฉะนั้น การรวมตัวเข้าจึงเป็นลักษณะของศีล
๒. รถหรือกิจของศีล คําว่า รสก็ตาม กิจก็ตาม เข้าใจยาก ในที่นี้ก็คือ หน้าที่นั่นเอง อะไรคือหน้าที่ของศีล? ศีลมันทำหน้าที่ อย่างไร ? เมื่อเรารักษาศีลหรือมีศีล ศีลมันทำหน้าที่อะไรให้แก่เรา เช่น เรารับคนเข้ามาทำงาน มอบหน้าที่อะไรให้เขาทำ เช่น ภารโรง ทำหน้าที่อะไร คนขับรถทำหน้าที่อะไร ตำรวจ ทหารทำหน้าที่อะไร ก็ต้องตอบได้ ศีลที่รับเข้ามาไว้ในใจของเราแล้วมันมีหน้าที่อะไร หน้าที่ของศีลก็คือกําจัดความทุศีลเสีย คือ กําจัดความไม่ดีเสียนั่นเอง
พอคนเรามีศีลเมื่อใด ความทุศีล คือความไม่มีศีลก็ถูกกําจัดไป เมื่อนั้น เหมือนอย่างที่มีคําถามว่า อะไรเป็นตัวกําจัดความมืด ก็ต้อง ตอบได้ว่า แสงสว่างเป็นตัวกําจัดความมืด หน้าที่ของศีลก็คือกําจัด ความทุศีล จะว่ากําจัดความชั่วมันก็ไม่หมดทีเดียว เพราะศีลกําจัดได้ เฉพาะกิเลสอย่างหยาบ ที่เรียกว่า วีติกมกิเลส ที่ฟุ้งออกมาทางกาย และทางวาจา ๒ อย่างเท่านั้น โดยเว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกาม รวมดื่มน้ำเมาเข้าในข้อนี้ด้วย และเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือ พูดเท็จ พูดคําหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ แต่ศีลไม่อาจจะทำลายกิเลสอย่างกลางและอย่างละเอียดได้ เพราะความชั่วมีมาก ความชั่วหรือกิเลสมันมีอยู่ถึง ๓ ชั้น คือ
๑. กิเลสอย่างหยาบ จะกําจัดเสียได้ด้วยอำนาจศีล
๒. กิเลสอย่างกลาง จะกําจัดเสียได้ด้วยอำนาจสมาธิ
๓. กิเลสอย่างละเอียด จะกําจัดเสียได้ด้วยอำนาจปัญญา
เพราะฉะนั้น หน้าที่ของศีลก็คือกําจัดความทุศีล
๓. ปัจจุปัฏฐานของศีล หรือเครื่องปรากฏของศีล ในที่นี้ หมายถึงผลของศีลนั่นเอง ถ้าถามว่า “อะไรคือผลของศีล ?” คําตอบ ก็คือ “ความสะอาดเป็นผลของศีล” คนถ้ามีศีลแล้วก็เป็นคนสะอาด กายและสะอาดวาจา
ไม่น่าเกลียด ไม่เน่าใน ไม่เป็นที่รังเกียจของคน ทั้งหลาย ดังนั้น ผลจริงๆ ของศีลก็คือความสะอาด ความสะอาด เป็นเครื่องปรากฏหรือเป็นความปรากฏของศีลให้เห็นชัด ในที่นี้ก็คือผลของศีลนั่นเอง
๔. ปทัฏฐานของศีล ปทัฏฐานในที่นี่คือเหตุใกล้ คําว่า “เหตุใกล้” ก็ฟังเข้าใจยาก คือ เหตุนั้นมี ๒ อย่าง คือ เหตุใกล้กับ เหตุไกล แม้เหตุใกล้ ก็มีใกล้มากกับใกล้น้อย เหตุไกลก็มีไกลมาก กับไกลน้อย เช่น มีคําถามว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดปัญญา คําตอบ ก็คือ ศีลและสมาธิ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา แต่ศีลเป็นเหตุไกล ส่วน สมาธิเป็นเหตุใกล้ เพราะสมาธิอยู่ใกล้กับศีลมากกว่าปัญญา เพราะ ศีลหนุนให้จิตได้สมาธิ ๆ หนุนให้จิตได้ปัญญา ๆ หนุนให้พ้นจากกิเลส ทั้งหลายได้
แต่ในที่นี้ถามว่า อะไรเป็นเหตุใกล้ของศีล ? คําตอบก็คือ ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปเป็นเหตุใกล้ของศีล ฉะนั้น เหตุใกล้ของศีลก็คือ หิริ-ความละอายต่อบาป และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป การที่เราละอายต่อบาปและสะดุ้งกลัวต่อผลของ บาปนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดการรักษาศีลขึ้นแล้ว อย่างที่เราเห็นว่า การ ทำชั่วนี้ไม่ดีเลย เสียชื่อเสียงและวงศ์ตระกูล เสียชื่อพ่อแม่ สถาบัน ที่เราสังกัด และครูอาจารย์ จึงไม่อยากกินเหล้า ไม่อยากขโมย ไม่ อยากทำความผิด อย่างนี้เรียกว่า มีหิริ-ความละอายต่อการทำบาป จึง ไม่อยากทำบาป แต่ถ้าเรากลัวว่าเมื่อทำความผิดแล้ว เราจะได้รับการ ลงโทษ เช่น ถูกตําหนิติเตียน ถูกไล่ออกจากวัด หรือออกจากงาน หรือถูกลงโทษ เช่น ถูกปรับหรือติดคุกติดตะราง หรือถูกประหารชีวิต หรือกลัวว่า เมื่อตายไปแล้ว ก็จะถูกลงโทษในนรก ผลที่ตามมาอีก แม้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เศษกรรมยังมีอยู่ก็จะต้องได้รับโทษอีก เช่น ถูกฆ่าตาย เกิดมามีอายุสั้น และถูกปล้น ถูกโกงกิน หรือเกิดมาเป็น คนปัญญาอ่อน หรือเป็นคนวิกลจริต เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่า มี โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงไม่ยอมหรือไม่กล้า ทำบาป เพราะกลัวต่อผลของบาปที่จะได้รับ
ฉะนั้น การมีหิริและโอตตัปปะนี้คือเหตุใกล้ของศีล เพราะมี เหตุ ๒ อย่างนี้ ใกล้ต่อการเว้นชั่ว จึงเป็นเหตุให้รักษาศีล
ในตอนนี้ ได้พูดถึงปัญหาของศีลเพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ อะไรชื่อว่าศีล ? ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าอะไร ? และลักษณะ เป็นต้นของศีลเป็นอย่างไร ? และได้ตอบปัญหาทั้ง ๓ ประการนี้ ให้เห็นชัดเจนแล้ว
ฉะนั้น เมื่อท่านทั้งหลายเห็นว่าศีลมีค่าสูง และมีเหตุผลดังกล่าว มาแล้ว ก็ขอให้รักษาศีลให้บริบูรณ์เถิด อย่างน้อยก็ศีลห้า ก็จะสมกับ ที่เกิดมาเป็นมนุษย์นับถือพระพุทธศาสนา
ตอนที่ ๓
ปัญหาเรืองศีล (ต่อ)
การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้พูดถึงปัญหาเรื่องศีลอีก ๔ ข้อที่ยังเหลือ เพราะได้อธิบายมา ๓ ข้อ ในตอนที่ ๒ แล้ว ปัญหา เรื่องศีลอีก ๔ ข้อ ที่จะอธิบายในตอนนี้ คือ
๔. ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ?
๕. ศีลมีกี่อย่าง ?
๖. อะไรเป็นความเศร้าหมองของศีล ?
๗.อะไรคือความผ่องใสของศีล ?
อานิสงส์ของศีล
ปัญหาข้อที่ ๔ ที่ถามว่า “ศีลมีอานิสงส์อย่างไร ? อานิสงส์ ของศีล เมื่อว่าโดยย่อแล้วก็มีอย่างเดียว คือ มีความไม่เดือดร้อน เป็นผล แต่ท่านขยายอานิสงส์ของศีลออกไปเป็น ๕ ประการ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์ทีฆนิกาย มหาปรินิพพานสูตร ว่า “ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของผู้มีศีล มี ๕ ประการ คือ
๑) บุคคลในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อม ได้รับกองแห่งโภคสมบัติมาก ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ
๒) เกียรติศัพท์ (ชื่อเสียง) อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึง พร้อมด้วยศีลย่อมฟุ้งขจรไป
๓) ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ จะเป็นขัตติยบริษัท (พวกวรรณกษัตริย์) ก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป
๔) ผู้มีศีลถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงตาย (คือเมื่อใกล้ตายก็ไม่หลงลืม)
๕) ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เบื้องหน้าแต่การตายเพราะ กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์”
อานิสงส์ ๕ ประการนี้ • ถ้ากล่าวโดยย่อ ก็มี ๕ ประการเช่นกัน คือ
๑)ย่อมได้รับโภคสมบัติมาก
๒) ชื่อเสียงอันดีงามย่อมฟุ้งขจรไป
๓) จะไปสู่ชุมชนใดๆ ก็เป็นผู้แกล้วกล้าไม่เก้อเขิน
๔) ย่อมเป็นผู้ไม่หลงตาย
๕) เมื่อตายแล้วย่อมไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อากังเขยยสูตร
อานิสงส์ของศีล พระพุทธเจ้าตรัสไว้มากในอากิ่งเขยสูตรซึ่งขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้ ว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระราชดํารัสพระผู้มีพระภาคว่า“พระเจ้าข้า”พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลอันสมบูรณ์ มีปาฏิโมกข์อันสมบูรณ์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมใน พระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัย ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ เป็นที่เคารพ และเป็นผู้ควรยกย่องของเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลายเถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบกรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “ขอเราจึงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารเถิด” ดังนี้ ภิกษุ นั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตนไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของเทวดาหรือ มนุษย์เหล่าใด สักการะเหล่านั้นของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นจึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “ญาติและสาโลหิต ของเราเหล่าใด ล่วงลับ ทำกาละไปแล้ว มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงเราอยู่ ความระลึกถึงด้วยจิตอันเลื่อมใสของญาติและสาโลหิตเหล่านั้น จึงมี ผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่เถิด” ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ ด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงเป็นผู้ข่ม ความไม่ยินดีและความยินดีได้ อนึ่ง ความไม่ยินดีอย่าพึงครอบงำ เราได้เลย เราพึงครอบงำย่ำยีความไม่ยินดีอันเกิดขึ้นแล้วได้อยู่เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับ จิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูน สุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า “เราพึงเป็นผู้ข่มความ กลัวและความขลาดได้ อนึ่ง ความกลัวและความขลาด อย่าพึ่งครอบ เราได้เลย เราพึงครอบงำ ย่ำยีความกลัวและความขลาดที่เกิดขึ้น แล้วได้อยู่เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงเป็นผู้ได้ฌาน ทั้งสี่ อันเกิดขึ้นเพราะจิตยิ่ง เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา จึงได้ไม่ยาก ไม่ลําบากเถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นจึง กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำ ฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราจึงถูกต้องด้วย กาย ซึ่งวิโมกข์อันก้าวล่วงรูปาวจรฌานแล้ว เป็นธรรมไม่มีรูป สงบ ระงับอยู่เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรม เครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราจึงเป็นโสดาบัน เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ จึงเป็นผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีการบรรลุธรรมเป็นเบื้องหน้าเถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเกิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราจึงเป็นพระ สกทาคามี เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ ๓ และ เพราะราคะ โทสะ โมหะ เป็นสภาพเบาบาง จึงมาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วจึงทำที่ สุดทุกข์ได้เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบ ธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วย วิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราจึงเป็นโอปปา ติกสัตว์ เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภา คิยสังโยชน์ ๕ (สำเร็จเป็น พระอนาคามี) พึงปรินิพพานในพรหมโลกนั้น มีอันไม่กลับมาจาก โลกนั้นเป็นธรรมดาเถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ ด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเกิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงบรรลุอิทธิ วิธีหลายประการ คือ คนเดียวจึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนจึงเป็น คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายก็ได้ ทะลุฝากําแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ จึงผุดขึ้น ดำลง แม้ในแผ่นดิน เหมือนในน้ำก็ได้ จึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่ง มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอด พรหมโลกก็ได้เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบ ด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราจึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย ทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำ ให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้ เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงกำหนดรู้ใจ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ ๒ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิต โทสะ จิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหูก็รู้ว่า จิตหดหู หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตก็รู้ว่าจิตเป็น มหัคคต หรือจิตไม่เป็นมหัคคตก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคคต จิตมีจิตอื่น ยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือ จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นเถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำ ให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌาน ให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงระลึกชาติ ก่อนได้เป็นอันมาก คือ พึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สาม ชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็น อันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ว่า ในภพโน้น เรามี ชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ จากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็น อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับ จิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงเห็นหมู่สัตว์ ที่กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ จึงรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือ การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราพึงเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ จึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้นพึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่อง ระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูน สุญญาการเถิด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า “เราพึงทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่เถิด” ดังนี้ ภิกษุนั้น พึงกระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่ทำฌานให้เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาการเกิด
คําใดที่เรากล่าวแล้วว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีลอันถึงพร้อม มีปาฏิโมกข์อันถึงพร้อมแล้วอยู่เถิด เธอ ทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มักเห็นภัยในโทนเพียงเล็กน้อยสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด”ดังนี้ คํานั้นอันเราอาศัยอำนาจประโยชน์นี้ จึงได้กล่าวแล้ว ดังได้พรรณนามานี้
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จากข้อความที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในพระสูตรนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า ผลดีทุกอย่างที่น่าปรารถนาจนถึงความสิ้นทุกข์ บุคคลจะได้ก็ด้วย การมีศีลบริบูรณ์ ฉะนั้น ผู้หวังจะได้อานิสงส์ดังกล่าวแล้วข้อใดข้อหนึ่งเมื่อเชื่อมั่นในพุทธศาสนาแล้ว ก็พึงทำตนให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด
จำนวนของศีล
ปัญหาเรื่องศีลในข้อที่ ๕ ว่า ศีลมีกี่อย่าง ? คําตอบในข้อนี้ ก็คือ ศีลมีหลายอย่าง แต่ถ้าย่อแล้วมี ๒ อย่าง คือ ศีลของบรรพชิต นักบวช และศีลของฆราวาส-ผู้ครองเรือน แม้ศีลของบรรพชิตก็ยัง แยกย่อยออกไปอีก คือ ศีลของภิกษุ และศีลของภิกษุณี ศีลของ สามเณร ศีลของนางสิกขมานา (คือสามเณรีผู้เตรียมบวชเป็นนางภิกษุณี ต้องรักษาศีล ๑๐ ใน ๖ ข้อแรกไม่ให้ขาดเป็นเวลา ๒ ปี) และศีลของสามเณรี
ส่วนศีลของฆราวาส ก็มีถึง ๔ ประเภท คือ
๑) ศีล ๕ ๒) ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ ๓) ศีลในองค์มรร และ ๔) ศีลกรรมบถ
แม้ศีลของพระภิกษุก็ยังแยกเป็นศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์และศีลที่มานอกพระปาฏิโมกข์ หรือพระภิกษุมีจาตุปาริสุทธิศีล ๔ คือ
๑) ปาฏิโมกข์สังวร ศีลในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗
๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือการสำรวมอินทรีย์
๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งการเลี้ยงชีพ
๔) ปัจจยปัจเวกขณศีล ศีลคือการพิจารณาปัจจัย ๔ รวมความว่า ศีลมีหลายอย่าง ทั้งศีลของบรรพชิตและศีล ของคฤหัสถ์ ในแต่ละฝ่าย ท่านก็ยังแยกย่อยออกไปอีกหลายข้อ ดังกล่าวแล้ว
ความเศร้าหมองของศีล
ในปัญหาที่ถามว่า อะไรเป็นความเศร้าหมองของศีล คําตอบ ก็คือ การขาดเป็นท่อน เป็นต้น เป็นความเศร้าหมองของศีล
ศีลที่รักษาไว้แล้วเกิดความเศร้าหมองขึ้นได้ หรือไม่บริสุทธิ์ไปได้ ท่านกล่าวว่ามีลักษณะ ๔ ประการ คือ
๑. ขัณฑานี ขาด
๒. นิททานี ทะลุ
๓. สพลาน ด่าง
๔. กัมมาสาน พร้อย
เมื่อศีลที่รักษาแล้วเกิดขาด หรือทะลุ หรือด่าง หรือพร้อย ก็ เป็นศีลที่ไม่บริสุทธิ์ อย่างนี้ เรียกว่า “ความไม่บริสุทธิ์ของศีล”
ศีลขาด นั้น ได้แก่ขาดเบื้องต้นหรือขาดที่สุด เหมือนผู้รักษา ศีล ๕ หรือศีล ๘ ขาดข้อต้น คือ ฆ่าสัตว์ หรือขาดข้อสุดท้าย คือดื่มสุรา หรือถ้าศีล ๘ ขาดข้อสุดท้าย คือ นั่งหรือนอนบนที่นอนสูง หรือที่นอนใหญ่ อย่างนี้เรียกว่าศีลขาด เหมือนอย่างผ้าที่ขาด ด้านต้นหรือด้านสุดท้าย หรือขาดทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่าผ้าขาด
ศีลทะลุ คือ ขาดตรงกลาง เช่น ศีล ๕ ข้อที่ ๓ กาเมสุมิจฉาจ ถ้าขาดข้อนี้ชื่อว่าศีลทะลุ เพราะมันทะลุขึ้นตรงจุดนั้น แม้ศีล ก็เหมือนกัน เมื่อขาดตอนกลางๆ ท่านเรียกว่า “ศีลทะลุ” ศีลด่าง คือ ใครถ้ารักษาศีลแล้ว มันเกิดขาดเป็นข้อๆ ลำดับ เช่น ข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อโน้นก็ขาด ข้อนี้ก็ขาด เป็นข้อๆ ไป อย่างนี้เรียกว่า ศีลต่าง หรือศีลไม่ถึงกับขาดแต่ว่ามันไม่บริสุทธิ์ ในข้อนั้น ๆ เช่น ผู้รักษาศีลไปตีแมวไม่ถึงกับตาย แต่เกือบตาย หรือฆ่าคนไม่ถึงกับตายแต่เกือบตาย อย่างนี้ก็เรียกว่าศีลต่าง ศีล ไม่บริสุทธิ์ได้ เหมือนเสื้อผ้าที่สวมใส่สกปรกแต่ก็ไม่ขาด แต่สกปรก เหม็นสาป ก็ชื่อว่าศีลไม่บริสุทธิ์เช่นกัน
ศีลที่ขาดเป็นข้อๆ ตามลำดับ ท่านเรียกว่าศีลต่าง เปรียบเหมือน แม่โคมีสีแดงบ้าง สีขาวบ้าง เป็นตอนๆ เรียกว่า แม่โคต่าง ศีล เหมือนกัน ถ้าขาดเป็นตอนๆ ท่านเรียกว่า ศีลต่าง
ศีลพร้อย คือ ศีลขาดเป็นจุดๆ ไม่ใช่ขาดเป็นข้อๆ คําว่า “ขาดเป็นจุดๆ นี้ ท่านเปรียบเหมือนแม่โคสีลายพร้อยไปทั้งตัวเป็น จุด ๆ อยู่ทั่วตัว สมมติว่า พระมีศีลอยู่ ๒๒๗ ข้อ ก็ขาดไปมากเป็น จุดๆ หรือผู้มีศีล ๕ หรือศีล ๘ ก็ขาดเป็นจุดๆ ไม่ใช่ขาดหมดทุกข์ แต่ขาดเป็นจุดๆ เป็นข้อๆ อย่างนี้ เรียกว่า ศีลพร้อย
เพราะฉะนั้น การขาดเป็นท่อนเป็นต้นของศีล จึงถือว่า เป็นความเศร้าหมองของศีล
ความผ่องแผ้วของศีล
ปัญหาเรื่องศีลในข้อที่ ๗ ถามว่า “อะไรคือความผ่องแผ้ว ของศีล” คําตอบก็คือ “การที่ศีลไม่ขาดเป็นท่อนเป็นต้น เป็นความผ่องแผ้วของศีล”
ความผ่องแผ้วของศีลนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแยกออกไปถึง ๘ ประการ อันตรงกันข้ามกับความขาดเป็นท่อนของศีล แต่ท่านเพิ่มอีก ๔ ข้อ รวมแล้วเป็น ๘ ข้อ คือ
๑. อขัณฑาน ไม่ขาดเป็นท่อน
๒. อัจฉททานิ ไม่ทะลุ
๓. อสพลานิ ไม่ด่าง
๔. อกัมมาสานิ ไม่พร้อย
๕. ภุชิสสานิ เป็นไทยแก่ตน
๖. วิญญูปสัฏฐาน วิญญูชนสรรเสริญ
๗. อปรามัฏฐาน อันตัณหาไม่แตะต้อง
๘. สมาธิสังวัตตนิกานิ เป็นไปเพื่อสมาธิ
ก็เมื่อศีลที่รักษาแล้วไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย ศีลประเภทนี้ เป็นไทยแก่ตน เพราะไม่ขึ้นอยู่กับการบังคับของใคร วิญญูชนคือ บัณฑิตทั้งหลายก็สรรเสริญ ไม่มีกิเลสตัณหาเข้ามาพัวพัน เพราะรักษา เพื่อความบริสุทธิ์ และศีลประเภทนี้เองที่เป็นไปเพื่อให้บรรลุสมาธิ อุปจารสมาธิ-สมาธิเฉียด ซึ่งสมาธิในที่นี้ ท่านแยกเป็น ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียด จะได้ฌาน และอัปปนาสมาธิ สมาธิที่เข้าถึงความแนบแน่นของจิต คือถึงขั้นบรรลุฌาน
แต่อย่างไรก็ตาม ความผ่องแผ้วหรือความบริสุทธิ์ของศีลจะเกิดขึ้นและดำรงอยู่ได้นานก็ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ
๑. ด้วยการเห็นโทษของศีลวิบัติ คือ เห็นโทษของการขาดศีล
๒. ด้วยการเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ คือ เห็นประโยชน์ของการมีศีล
โทษของศีลวิบัติ
ใน ๒ อย่างนี้ โทษของการขาดศีลนั้น บัณฑิตทางพระพุทธ ศาสนากล่าวไว้หลายอย่าง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพาน สูตร “ ว่า
“ดูก่อนคฤหบดี โทษของศีลวิบัติของคนทุศีลมี ๕ อย่าง คือ
๑.คนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมถึงความเสื่อมโภคทรัพย์เป็น อันมากเพราะความประมาทเป็นเหตุ
๒. ชื่อเสียงอันเลวของคนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมฟุ้งขจรไป
๓.คนทุศีล มีศีลวิบัติ ไม่ว่าจะเข้าไปสู่บริษัทใด ๆ คือ ขัตติย บริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัท ก็ตาม ก็ไม่องอาจ เป็นผู้เก้อเขินเดินเข้าไป
๔. คนทุศีล มีศีลวิบัติ เป็นผู้หลงตาย
๕. คนทุศีล มีศีลวิบัติ เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิ บาต นรก
อีกอย่างหนึ่ง ท่านยังกล่าวไว้อีกว่า บุคคลทุศีล เพราะเหตุที่เป็นผู้ทุศีล จึงไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตักเตือนไม่ได้สำหรับเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน เป็นผู้ถึงความทุกข์ เพราะเหตุถูกติเตียนในเรื่องการขาดศีล ต้องเดือดร้อนในเมื่อได้ฟัง ผู้อื่นสรรเสริญผู้มีศีล
อนึ่ง เพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้น เขาย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม เพราะเหตุที่เป็นผู้ทุศีลนั้น ผู้ทุศีลนั้นเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดุจผ้าป่าน
อนึ่ง คนเหล่าใดถือตามอย่างคนทุศีลนั้น ชนเหล่านั้น จะประสบทุกข์ เพราะเหตุที่คนทุศีลนั้นนําความทุกข์ในอบายมาให้ สิ้นกาลนาน
คนทุศีลได้รับไทยธรรมเหล่าใด ก็ทำไทยธรรมของทายก เหล่านั้นไม่ให้มีผลมาก เพราะเหตุนั้น จึงจัดว่าเป็นคนมีค่าน้อย
เขาเป็นคนสะสางยาก ดุจหลุมคูณที่หมักหมมมาเป็นเวลา นานปี จัดเป็นคนพาเทียร (เสีย) ทั้ง ๒ ข้าง เหมือนต้นไม้ที่ถูก ไฟเผา แม้เธอจักปฏิญาณตนว่าเป็นภิกษุ ก็หาเป็นภิกษุไม่ เหมือน ลาที่ติดตามฝูงโค ก็ไม่ใช่โค เป็นผู้ที่ต้องหวาดผวาอยู่เป็นนิจ เหมือนคนที่มีเวรกับคนทั่วไป เป็นคนไม่ควรจะอยู่ร่วมด้วย ราวกับว่า ซากศพ แม้ภิกษุนั้นจะประกอบด้วยคุณความรู้ดี เป็นต้น ก็ไม่ควร จะได้รับการบูชาของเพื่อนพรหมจรรย์ด้วยกัน ราวกะว่าไฟในป่าช้า ไม่ควรเป็นที่บูชาของพวกพราหมณ์ (ผู้บูชาไฟ) ราวกะว่าคนตาบอด เป็นผู้อาภัพในการเห็นรูป เป็นผู้หมดหวังในพระสัทธรรม ประดุจ คนจัณฑาลไม่มีหวังในราชสมบัติ แม้จะสำคัญตนเองว่ามีความสุข แต่ก็มีความทุกข์แท้ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอัคคีขันธปริยาย
เพราะฉะนั้น นักปราชญ์พึงเห็นโทษในศีลวิบัติโดยวิธีพิจารณาโทษของการขาดศีล โทษของการขาดศีลนั้นท่านกล่าวไว้ในคัมภี วิสุทธิมรรค แยกไว้เป็นข้อๆ ถึง ๑๐ ข้อ อันย่อมาจากอัคคีขันธปริยาย โดยมุ่งติเตียนพระผู้ขาดศีลเป็นสำคัญ คือ
๑.คนที่ขาดศีลแล้ว ไม่ละอยู่ซึ่งกามสุขซึ่งมีความทุกข์ อันเผ็ดร้อนเป็นผล เพราะเป็นทุกข์ยิ่งเสียกว่าทุกข์อันเกิดแต่การกอดกองไฟ จะมีความสุขแต่ที่ไหน
๒. คนมีศีลวิบัติเสียแล้ว จะมีส่วนแห่งความทุกข์อันเกิดยิ่งกว่าทุกข์ อันเกิดด้วยการถูด้วยเชือกขนทรายอันมั่นเสียอีก ชื่อว่ามีความสุขในการยินดีต่อการอภิวาทกราบไหว้แต่ที่ไหน
๓.คนไม่มีศีลจะมีความสุขต่อการยินดีในการอัญชลีกรรมได้ อย่างไร ? คือ การอัญชลีกรรมของคนที่มีศรัทธา จะเป็นเหตุแห่งความ ทุกข์มีประมาณยิ่งกว่าความทุกข์อันเกิดจากการถูกประหารด้วยหอกหรือซัดด้วยหอก
๔. คนไม่สำรวมแล้ว จึงเป็นผู้เสวยสมบัติอันเกิดแต่แผ่นเหล็ก อันโพลงแล้วในนรก สิ้นกาลนาน จะมีความสุขอันเกิดจากการใช้จีวร ได้อย่างไร ?
๕. แม้บิณฑบาตจะเป็นของอร่อย (แม้อาหารบิณฑบาต ก็เปรียบเหมือนยาพิษอันร้ายแรงแก่คนที่ไม่มีศีลที่จะพึงกันท่อนเหล็ก แดงที่ติดด้วยไฟ สิ้นกาลนาน (หมายความว่าคนที่ไม่มีศีลนั้น แล้วไปตกนรก ก็ต้องกินก้อนเหล็กแดง)
๖. แม้การใช้เตียงตั้ง ที่ชาวโลกสมมติกันว่ามีความสุข ก็กลับ เป็นความทุกข์สำหรับคนที่ไม่มีศีลที่จะต้องถูกทุกข์คือเตียงตั้งเหล็ก อันโพลงแล้วเบียดเบียนสิ้นกาลนาน (หมายความว่า คนที่ไม่มีศีลนั้นไปนอนบนเตียงบนฝั่งที่เขาถวายแล้ว แต่ต้องไปตกนรกซึ่งถูกเตียงตั้งในนรกนั้นเบียดเบียนสิ้นกาลนาน)
๗.การยินดีด้วยการอยู่อาศัยในวิหารที่เขาถวายด้วยความศรัทธาจะมีได้อย่างไรแก่คนผู้ทุศีล ที่จะพึงอาศัยในท่ามกลางหม้อเหล็ก อันลุกโพลง (ข้อนี้หมายถึงว่า ร้อนในนรก ถ้าไม่มีศีลแล้ว ตายไป ตกนรก โดยเฉพาะเรื่องพระ)
๘.พระบรมครูของโลกตรัสตําหนิคนใดว่าเป็นผู้มีสมาจาร อันระลึกด้วยความรังเกียจ (สมาจารคือความประพฤติ) เป็นคน รกรุงรังดุจหยากเยื่อ เป็นคนลามก เป็นคนเน่าใน น่าติเตียนชีวิตของ คนเช่นนั้น เป็นผู้ไม่มีปัญญา ผู้ทรงไว้ซึ่งเพศลามก แต่ก็ไม่ใช่สมณะ ผู้ที่ทำตนให้ถูกกัน ถูกขุดอยู่
๙. สัตบุรุษผู้มีศีลในโลกนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงคนใด ดุจคนขี้โอ่ เว้นคูณ เว้นซากศพเสียฉะนั้น (หมายความว่า คนดี คือสัตบุรุษนั้น เขาจะเว้นคนที่ไม่มีศีล เหมือนกับคนที่ชอบสวยชอบงาม เว้น เว้นซากศพเสีย ไม่อยากเข้าใกล้) ชีวิตของคนไม่มีศีลนั้นจะประเสริฐ อะไร เพราะเขาไม่พ้นจากภัยทั้งปวง แต่พ้นจากการบรรลุความสุข ปิดประตูสวรรค์สนิท มีทางไปสู่อบายอย่างเดียว
๑๐.คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่ตั้งแห่งการสงสารของผู้ที่มักจะ สงสารที่จะเหมือนคนไม่มีศีลได้ (คือ ใครเล่าที่น่าสงสารเหมือนกับ คนที่ไม่มีศีล ๆ นี้น่าสงสารเหลือเกิน เพราะต้องทุกข์ยากทั้งในปัจจุบัน และทุกข์ยากในนรก)
เมื่อพิจารณาถึงโทษของการขาดศีลแล้ว ศีลมันจะผ่องใสขึ้น เพราะระวังไว้ ไม่อยากจะขาดศีล
ต่อไปก็ให้พิจารณาอานิสงส์ของการมีศีล เพื่อความผ่องแผ้วของศีลเมื่อเราพิจารณาถึงอานิสงส์ของการมีศีลแล้วเราก็อยากจะมีศีล ศีลของเรานี้จะผ่องใสขึ้นไปอีก ให้พิจารณาศีลสมบัติ ซึ่งศีลสมบัตินี้มีนัยตรงข้ามกับ ๑๐ ข้อนั้น ถ้าคนมีศีลสมบัติก็ได้ตรงข้าม เช่น เขาถูกติเตียน คนมีศีลก็ไม่ถูกติเตียน เขาไปนรก คนมีศีลก็ไม่ต้องไปนรก
อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวสรรเสริญเรื่องคนที่มีศีลไว้ว่า “ศีลของภิกษุใดหมดจดปราศจากมลทินด้วยดีแล้ว การทรงไว้ซึ่ง บาตรและจีวรของภิกษุนั้น ย่อมนํามาซึ่งความเลื่อมใส การบรรพชา ของภิกษุนั้นจัดว่ามีผล ภัยที่เกิดจากการติเตียนตนเป็นต้น ย่อมไม่ ครอบงำจิตใจของภิกษุผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ปานดังดวงอาทิตย์ขจัด ความมืดในโลกได้ฉะนั้น ภิกษุที่งดงามในป่าคือตบะ เพราะพร้อม ไปด้วยศีล ดังพระจันทร์วันเพ็ญงามในท่ามกลางหาว เพราะรัศมีที่ โชติช่วง เพียงแต่กลิ่นกายของภิกษุผู้มีศีล ยังทำความปราโมทย์ให้แก่ ทวยเทพทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงกลิ่นแห่งศีลเล่า” ในข้อนี้ ท่านย้ำว่า เพียงแต่กลิ่นกายอย่างเดียว เทวดาทั้งหลายยังเข้าใกล้ พระผู้มีศีล ไม่ต้องกล่าวถึงกลิ่นศีลเลยว่าจะมีขนาดไหน
“กลิ่นแห่งศีล ย่อมครอบงำสมบัติแห่งกลิ่นหอมทั้งหลาย ฟุ้งตลบไปไม่ติดขัดในทิศทั้งปวง สักการะที่ทายกให้แล้วในท่านผู้มีศีล แม้จะน้อย แต่ก็มีผลมาก” คือของที่ทำบุญแก่พระผู้มีศีลแม้จะน้อย แต่มีผลมาก
“ผู้มีศีลย่อมเป็นภาชนะสำหรับรองรับเครื่องสักการะบูช อย่างนี้ อาสวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในภพปัจจุบันย่อมเบียดเบียนผู้มีศีลไม่ได้ คนมีศีลย่อมขุดรากเหง้าของความทุกข์อันจะเป็นไป ในภายหน้าทั้งหลายเสีย สมบัติใดในมนุษย์ และสมบัติใดในสวรรค์ สมบัตินั้นเมื่อผู้มีศีลปรารถนาอยู่ก็ย่อมจะได้โดยไม่ยาก” นี้หมายความ ว่า คนมีศีลนั้นอยากจะได้สมบัติมนุษย์ หรืออยากจะได้สมบัติในสวรรค์ ก็ไม่ยากเลย
“อนึ่ง สมบัติคือพระนิพพานอันใด ที่เยือกเย็น แสนจะเย็น ท่านผู้มีศีลย่อมแล่นไปสู่พระนิพพานอันนั้นได้”
บัณฑิตพรรณนาอานิสงส์อันมากหลายมีประการเป็นเอนก อันเป็นรากเหง้าของสมบัติทั้งปวง ดังพรรณนามาฉะนี้ เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์เห็นโทษของศีลวิบัติ และเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติแล้ว พึงทำศีลให้ผ่องใสขึ้นโดยประการทั้งปวงได้
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านพรรณนาคุณของศีลไว้อย่างน่าจับใจยิ่งโดยใจความว่า
“พวกกุลบุตรในพระศาสนา ไม่มีที่พึ่ง (อย่างอื่น) เว้นไว้แต่ศีล ที่ใครเล่าจะพึงกล่าวกำหนดอานิสงส์ ได้ แม่น้ำใหญ่ คือ แม่น้ำคงคาก็ดี แม่น้ำสรัสวดีก็ดี แม่น้ำยมุนาก็ดี แม่น้ำสรภูก็ดี แม่น้ำอจิรวดีก็ดี แม่น้ำ มที่ก็ดี ไม่อาจจะชําระมลทินของสัตว์ในโลกนี้ได้ แต่น้ำคือศีลสามารถชําระได้ ลมเจือฝนก็ดี จันทน์แดง ก็ดี แก้วมุกดาก็ดี แก้วมณีก็ดี ไม่อาจจะระงับความ รุ่มร้อนของสัตว์ในโลกนี้ได้ แต่ศีลที่บุคคลรักษาดี แล้ว เป็นของประเสริฐ เป็นของเย็นที่สุด สามารถ ให้สงบระงับได้ กลิ่นอื่นที่จะเสมอด้วยกลิ่นศีลซึ่งฟุ้งไปทั้งในที่ตามลมและทวนลมจักมีแต่ที่ไหน บันไดสำหรับขึ้นสวรรค์หรือว่าประตูในการเข้าสู่ พระนครคือนิพพาน อย่างอื่นที่จะเสมอด้วยศีลจัก มีแต่ที่ไหน พระราชาทรงเครื่องประดับด้วยแก้ว มุกดาและแก้วมณี ก็ไม่งามเหมือนนักพรตผู้ประดับ ด้วยเครื่องประดับคือศีล ศีลนั้นย่อมกําจัดความกลัว แต่การติตนเองเป็นต้นได้ โดยประการทั้งปวง ย่อมจะยังชื่อเสียงและความร่าเริงให้เกิดในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตพึงรู้แจ้งกถามุขอันว่าด้วยอานิสงส์ของศีล อันเป็นรากเหง้าของคุณทั้งหลาย ซึ่งเป็นตัวการที่ คอยบั่นทอนโทษทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้”
ฉะนั้น ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตนและส่วนรวมก็พึงชําระศีลของตนให้บริสุทธิ์เถิด
ตอนที่ ๔
มนุษยธรรม
สีลกถาในตอนนี้จะได้พูดถึง “มนุษยธรรม” เพื่อสร้างความ เข้าใจที่ถูกต้องในการประพฤติธรรม โดยเฉพาะในการรักษาศีล ๕ อันเป็นหลักธรรมสำหรับมนุษย์ทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อความสงบสุขสำหรับ ปัจเจกชนและสังคมโดยส่วนรวม อันเป็นรากฐานแห่งความสงบสุข ร่มเย็นขึ้นในชาติบ้านเมือง และก่อให้เกิดสันติภาพถาวรขึ้นในโลก
ทุกคนที่เกิดมาล้วนแต่รักสุข เกลียดทุกข์ ต้องการความเจริญ ก้าวหน้า ไม่ต้องการความเสื่อมด้วยกันทั้งสิ้น นี้คือความจริงที่ทุกคน ยอมรับ แต่ในการแสวงหาความสุขความเจริญนั้น บางคนสร้างความ ทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น บางคนทำความเดือดร้อน ให้แก่ตนอย่างเดียว ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน บางคนทำความเดือดร้อน ให้แก่ผู้อื่นอย่างเดียว แต่ไม่ให้ตนเดือดร้อน บางคนไม่สร้างความ เดือดร้อนให้แก่ใครเลย มีแต่นําความสุขความเจริญมาให้ตนและ คนอื่น บุคคล ๔ ประเภทนี้อยู่ในโลก ซึ่งแสวงหาความสุขความเจริญด้วยวิธีแตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อพิจารณาตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว ก็เห็นได้ว่า คนที่สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น ก็คือ คนที่ขาดศีลธรรมนั่นเอง ส่วนคนที่ทำความสุขความเจริญให้แก่ ตนและคนอื่น ก็คือคนที่มีศีลธรรม ไม่ว่าผู้นั้นจะนับถือศาสนาใดก็ตาม
ศีลธรรมเป็นเครื่องวัดคุณค่าของคน
ศีลเป็นเครื่องวัดคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ทำให้คนต่างจาก สัตว์ดิรัจฉานในด้านคุณธรรม ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่าง สงบสุข แต่ถ้าหากว่าคนขาดศีลธรรมเสียแล้ว จิตใจก็ไม่ต่างอะไร ไปจากสัตว์ป่าหรือสัตว์ดิรัจฉาน ศีลเหมือนน้ำชําระกาย คนมีศีลจึง เหมือนคนอาบน้ำ เพราะสะอาดไม่เหม็นสาบ ไม่ก่อทุกข์ร้อนให้แก่ ใคร น่าเข้าใกล้ แต่มีข้อที่น่าสังเกตอยู่ว่า ผู้ใดก็ตามรักษาศีลแล้วก็ ยังเดือดร้อนวุ่นวายเพราะรักษาศีล แสดงว่ารักษาศีลไม่เป็น จะต้อง รักษาให้ถูกต้องเสียใหม่ เหมือนใครก็ตามที่อาบน้ำแล้วยังสกปรกอยู่ แสดงว่าอาบน้ำไม่เป็น เพราะน้ำนั้นเมื่ออาบเป็นแล้วจะต้องสะอาด จะต้องอาบน้ำเสียใหม่ หรืออาบให้ถูกวิธี เพราะศีลนั้นถ้าใครรักษาเป็น ย่อมนําความสงบสุขร่มเย็นมาให้แก่ผู้นั้นอย่างแน่นอน เหมือนน้ำ ถ้าอาบเป็นย่อมนําความสะอาดและความสดชื่นมาแก่ผู้นั้น ส่วนธรรมะเหมือนเครื่องแต่งตัว คนมีธรรมะจึงเหมือนคนแต่งตัวเพราะ ทำให้สวยงาม มีสง่าราศีและมีความสุข แต่ถ้าผู้ใดก็ตาม ประพฤติธรรม เช่น ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่การงานหรือทำสมาธิแล้ว ยังเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ ไม่เจริญก้าวหน้าหรือไม่สงบสุขก็แสดงว่าประพฤติธรรมไม่เป็น จะต้องหาวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องเสียใหม่ เหมือน ใครก็ตามถ้าแต่งตัวแล้วยังไม่สง่าหรือยังน่าเกลียดอยู่ ก็แสดงว่า แต่งตัวไม่เป็นหรือเลือกเครื่องแต่งตัวไม่เป็น หรือแต่งตัวไม่ถูก กาลเทศะ หรือไม่เหมาะแก่เพศและภาวะของตน จึงจำเป็นต้องแต่งเสียใหม่
ศีล ๕ หรือเบญจศีลในพุทธศาสนา ถ้ารักษาประจำเรียกว่า “นิจศีล” คือ ศีลที่รักษาเป็นนิตย์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “มนุษยธรรม” คือ ธรรมะสำหรับมนุษย์ เพราะทำจิตใจของคนผู้มีศีลให้สูงขึ้น และทำให้ต่างจากสัตว์ดิรัจฉาน แต่ถ้าผู้ใดไม่มีศีล ๕ ก็ชื่อว่าไม่มี มนุษยธรรม ย่อมทำความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและสังคมได้มาก อีกประการหนึ่ง ศีล ๕ นี้ เรียกว่า “ปัญจเวรวิรัติ” การงดเว้นจากเวร ๕ ประการ เพราะคนมีศีล ๕ ก็เท่ากับว่าผู้นั้นได้งดเว้นจากการสร้าง เวรกรรม ๕ ประการนั่นเอง
ถ้าหากว่าคนในโลกมีศีล ๕ หรือมนุษยธรรมโดยทั่วไปแล้ว โลกหรือประเทศชาติบ้านเมืองก็จะสงบสุขอย่างยิ่ง จะไม่มีสงคราม ไม่มีการเข่นฆ่าล้างผลาญกัน ไม่มีการขโมยแย่งชิงโกงกินกัน ไม่มีการประพฤติผิดทางกามที่ก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายแตกแยก ในสังคม ไม่มีการโกหกหลอกลวงใส่ความกัน ไม่มีการเสพของ มึนเมาให้โทษต่าง ๆ อันเป็นบ่อเกิดแห่งความประมาทและความ หายนะต่าง ๆ ทุกครอบครัวจะสงบสุขโลกจะร่มเย็น มนุษย์จะมีความ สงบสุขเพิ่มขึ้น จะได้อยู่ด้วยความรักใคร่ ช่วยเหลือกันเหมือนญาติพี่น้อง รัฐบาลของแต่ละประเทศไม่ต้องเสียงบประมาณมาก ในการมีกําลังทหารป้องกันประเทศและกําลังตำรวจในการรักษาความสงบสุขภายในมากอย่างเช่นปัจจุบัน คุกตะรางไม่ต้องแออัดหรือไม่จำเป็นต้องมีคุกตะรางให้เสียอิสรภาพของคนในชาติและงบประมาณของประเทศมากอย่างเช่นปัจจุบัน มนุษย์โลกจะมีความสุขเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
แต่การที่มนุษย์ในโลกยังต้องเดือดร้อนวุ่นวายอยู่เป็นอันมาก ในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ประเทศต่าง ๆ ในโลกพยายามพัฒนาประเทศของตนอย่างเต็มความสามารถแล้วในปัจจุบันก็ตาม ก็เพราะคนในโลก เป็นจำนวนมากยังขาดการพัฒนาทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะศีล ๕ หรือมนุษยธรรมนั่นเอง
แม้ในประเทศของเราเอง ซึ่งเป็นเมืองพระพุทธศาสนา ประชากรประมาณร้อยละ ๕๔ นับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังมีคนถือศีล เป็นประจำน้อยมาก ไม่ถึง ๑ เปอร์เซ็นเสียด้วยซ้ำ เมื่อเทียบกับ ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่ทุกคนยอมรับ ว่าศีล ๕ เป็นของดี ใครมีศีลเป็นคนที่น่าเคารพนับถือ แต่พอถึงเวลา ให้รักษาศีล ๕ เข้าจริงก็กลับไม่รักษาหรือรับแล้วตั้งไว้ไม่ยอมปฏิบัติ แม้จะมีการสมาทานศีล ในประเพณีทำบุญทางพระพุทธศาสนาทุกครั้ง ก็รับเพียงธรรมเนียมเป็นส่วนใหญ่ ไม่ตั้งใจรักษาจริงจัง เพราะไม่เห็น คุณค่าที่แท้จริงของศีล หรือเพราะไม่เชื่อเรื่องบาปบุญ
เรื่องนี้นับว่าน่าขบคิด เพราะทุกคนยอมรับว่าศีลนั้นดีแน่ แต่ไม่ยอมรักษาอย่างจริงจัง หรือไม่ยอมรักษาศีลเลย ถ้าเห็นคุณค่า ที่แท้จริงของศีลแล้ว ทุกคนก็ย่อมรักษาศีลอย่างแน่นอน แม้ไม่มีใครรู้เห็นก็ย่อมรักษา เหมือนเงินทองใครก็ต้องการ ทุกคนรู้ว่ามีคุณค่าจึงพยายามขวนขวายมาใส่ตนให้มากเท่าที่จะมากได้
เรื่องศีล ๕ นี้พูดและฟังกันมามาก จนเป็นเรื่องเคยชินไปเสียแล้ว แต่ก็ยังมีคนรักษาศีลเป็นประจำน้อยมาก และยังมีผู้ประพฤติ ล่วงศีลมากอยู่นั่นเอง ตั้งแต่โบราณกาลมาจนถึงปัจจุบัน สังคมจึง ยังต้องเดือดร้อนอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้จะพยายามช่วยกันแก้ ก็ ทำได้เพียงบางส่วนหรือบางยุคบางสมัยเท่านั้น ข้อนี้เกิดจากสาเหตุ อันใด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดแต่เหตุ
เหตุที่คนไม่อยากรักษาศีล ๕ หรือรักษาบางครั้ง แต่ไม่อยาก รักษาเป็นประจำแม้แต่ในหมู่พุทธศาสนิกชน เมื่อใคร่ครวญดูแล้ว น่าจะเนื่องจากเหตุอย่างน้อย ๕ ประการ คือ
๑. เพราะไม่เห็นโทษที่แท้จริงของการขาดศีล
๒. เพราะไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของการมีศีล
๓. เพราะเข้าใจผิดว่าศีลต้องรับจากพระเท่านั้น
๔. เพราะกลัวว่าเมื่อรับศีลแล้วถ้าศีลขาดจะบาป
๕. เพราะขี้เกียจที่จะคอยระวังรักษาอยู่เป็นประจำ ต่อไปนี้จะได้ชี้แจงเหตุผลของแต่ละข้อให้เข้าใจชัด
โทษของการขาดศีล
การที่คนในโลกไม่อยากรักษาศีล เพราะเหตุสำคัญประการหนึ่ง คือ เพราะไม่เห็นโทษที่แท้จริงของการขาดศีล แท้ที่จริง การขาดศีล โดยเฉพาะศีล ๕ มีโทษมาก ซึ่งทำความเดือดร้อนให้ทั้งแก่ตนเอง และผู้อื่น ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ปัจจุบันนั้นทำตนและสังคมให้เดือดร้อนวุ่นวาย และยังเป็นบาปอกุศล ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนทั้งในชาตินี้และชาติหน้าอีกด้วย คือ เมื่อตายไปแล้ว สัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต หรือเป็นอสุรกายที่เรียกกันว่า ก็ไปเกิดในที่ลําบากเดือดร้อน ที่เรียกว่าตกอบาย คือ อาจจะเกิดเป็น ผี ภูมิใดภูมิหนึ่ง ตามกรรมที่ตนทำไว้ เพราะฉะนั้น การขาดศีลจึง น่ากลัว ดังพระเถระรูปหนึ่งพูดกับศิษย์ของท่านว่า “ลูกเอ๋ย คนที่ไม่มีศีล ๕ เมื่อตายไปนรกมันจะถามหา”
ในเรื่องตายแล้วเกิดใหม่ หรือเรื่องนรกสวรรค์ บางคนอาจจะ ค้านว่าฉันไม่เชื่อเรื่องโลกหน้าชาติหน้า มีแต่ชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น คนเราตายแล้วก็สูญ เผาแล้วเป็นขี้เถ้า ไม่มีอะไรเหลือให้ไปเกิด ในชาตินี้เสียให้พอ ใครจะเดือดร้อนอย่างไรก็ช่างเขา ขอให้เราเป็นสุข ก็แล้วกัน เพราะตายแล้วก็สูญ คนประเภทนี้เองที่สร้างความเดือดร้อน วุ่นวายให้แก่ตนเองและสังคมได้มาก เพราะไม่เชื่อบุญ ไม่เชื่อบาป แท้ที่จริง นรกและสวรรค์นั้นมีแน่ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า สิ่ง เหล่านี้ไม่ได้ปรากฏขึ้นหรือหายไปตามความเชื่อของคน เพราะมัน เป็นกฎของธรรมชาติที่อยู่ตามธรรมดาของมัน แต่พุทธศาสนิกชน ที่แท้จริงย่อมเชื่อมั่นในข้อนี้ แม้จะยังไม่อาจพบเห็นด้วยตนเอง ทุกอย่างก็ตาม เพราะเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระบรมศาสดา ของเราทั้งหลาย ซึ่งตรัสยืนยันว่า โลกหน้า สวรรค์และนรกมีจริง ดังข้อความจากคัมภีร์ธรรมบท ขุททกนิกาย ว่า
“คนบางพวกเกิดในครรภ์มารดา บางพวกที่ ทำกรรมชั่วไว้ไปนรก พวกที่ทำกรรมดีไว้ไปสวรรค์ ส่วนท่านที่หมดกิเลสแล้วย่อมนิพพาน”
นี้คือพระดํารัสยืนยันของพระพุทธเจ้าว่า คนเราที่ตายไปแล้ว นั้น ถ้ายังมีกิเลสก็เกิดอีก ถ้าหมดกิเลสก็เข้าสู่นิพพาน ไม่ต้อง เวียนว่ายตายเกิดอีก ส่วนผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เมื่อตายแล้วก็ต้องเกิดอีก เช่น บางพวกเป็นมนุษย์อีก บางพวกที่ทำชั่วไว้มากไปนรก พวกที่ ทำดีมากไปสวรรค์ ท่านที่หมดกิเลสแล้วอย่างพระอรหันต์ทั้งหลาย ก็เข้าสู่นิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดให้ทุกข์ยากอย่างเราท่าน ทั้งหลายอีก แต่พวกที่ยังมีกิเลสอยู่ แม้ไม่เชื่อว่าการเกิดมีจริงก็ต้อง เกิด แม้ไม่อยากเกิดก็ต้องเกิด เพราะเหตุให้มันเกิดคือกิเลสยังมีอยู่ แต่จะเกิดเป็นอะไรและอยู่ที่ใดนั้น ข้อนี้ขึ้นอยู่กับแรงเหวี่ยงแห่งกรรม ที่ผู้นั้นได้ทำไว้ส่งเขาไปเกิดในภพชาตินั้นๆ
คนที่ผิดศีลข้อหนึ่ง คือ ฆ่าสัตว์และทำลายล้างคนอื่นสัตว์อื่น
ย่อมเดือดร้อนในปัจจุบัน เช่น ต้องติดคุกตะราง เมื่อตายไปก็ไปเกิด ในสถานที่ลําบาก เช่น เกิดในนรก เป็นต้น เมื่อเขากลับมาเกิดใน มนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เขาเป็นคนอายุสั้น และมักถูก ฆ่าตาย
คนที่ผิดศีลข้อสอง คือ ลักทรัพย์ ย่อมเดือดร้อนในปัจจุบัน เช่น ติดคุก เป็นต้น เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบาย มีนรก เป็นต้น เมื่อ – กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เขาเป็นคนยากจน และถูกโกง ถูกปล้น หรือถูกขโมย
คนที่ผิดศีลข้อสาม คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อมเดือดร้อน ในปัจจุบัน คือ ทำให้เกิดการแตกแยกในครอบครัว และถูกปองร้าย เป็นต้น เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบาย มีนรก เป็นต้น เมื่อเขากลับมา เกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เขาเกิดการแตกแยกร้าวฉานในครอบครัว บางคนเกิดมาเป็นหญิง ถูกทารุณกรรม เป็นต้น
คนที่ผิดศีลข้อสี่ คือ พูดเท็จหลอกลวงคนอื่น ย่อมเดือดร้อน ในปัจจุบัน เช่น ไม่มีใครอยากเชื่อถือ บางคนถึงกับติดคุกติดตะราง เมื่อเขาตายไปก็ไปเกิดในสถานที่ลําบากมีนรก เป็นต้น เมื่อเขามาเกิด เป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เขาถูกใส่ความ มักได้ฟัง แต่เรื่องไม่จริง เพราะกรรมที่ตนทำไว้มาให้ผล
คนที่ผิดศีลข้อห้า คือ ดื่มสุราเมรัยหรือของเสพติดให้โทษร้ายแรงต่าง ๆ ย่อมเดือดร้อนในปัจจุบัน คือเสื่อมทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ทรัพย์ย่อมฉิบหายไป และก่อให้เกิดความทะเลาะ วิวาท ทั้งเป็นเหตุให้ทำผิดศีลข้ออื่นๆ เพราะเมาขาดสติ บางคน ถูกไล่ออกจากงาน เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น เมื่อ เขากลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้เขาเป็นคน บ้าใบ้ สติไม่สมบูรณ์ ปัญญาทึบ สมองเสื่อม เพราะกรรมที่ตนทำไว้มาให้ผล
ฉะนั้น คนที่ไม่มีศีลนี้ย่อมสร้างแต่เวรกรรมให้แก่ตนเอง หา ส่วนดีได้ยาก จึงมีแต่ความเดือดร้อน ไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ในเพศภาวะ และฐานะอย่างไร ดังคํากลอนที่ว่า
อันสตรีไม่มีศีลก็สิ้นสวย บุรุษด้วยไม่มีศีลก็สิ้นศรี
สมณะไม่มีศีลก็สิ้นดี ข้าราชการศีลไม่มีก็หยาบคาย
โทษของการขาดศีลมีมากดังกล่าวมานี้ ฉะนั้น คนที่ฉลาดและกลัวบาปจึงนิยมรักษาศีล
คุณค่าของศีล
เหตุประการที่สอง ในการที่คนไม่รักษาศีล คือ เพราะไม่เห็น อานิสงส์หรือคุณค่าที่แท้จริงของศีล คือ คนบางคนยังคิดว่าศีลขัดขวาง ความสุขความเจริญก้าวหนาในอาชีพหรือในชีวิตของตน จึงไม่อยาก รักษาศีล โดยเฉพาะเขายังไม่ซึ้งในคุณค่าอันแท้จริงของศีล แท้จริง ศีลแม้เพียงศีล ๕ ให้คุณค่าแก่ชีวิตมาก นอกจากจะไม่ทำตนและสังคม ให้เดือดร้อนแล้ว คนมีศีลยังมีส่วนช่วยตนเองและสังคมให้อยู่อย่าง สงบสุขด้วย ศีลเป็นเครื่องประดับที่ล้ำค่า สามารถประดับได้ทุกเพศ ทุกวัยตราบเท่าชรา และไม่มีใครมาแย่งชิงหรือขโมยไปได้เลย ศีล ทำให้คนปฏิบัติธรรมชั้นสูงคือสมาธิและปัญญาได้ผลดี ศีลทำให้ บุคคลงดงาม ศีลทำให้เป็นที่รักของคนทั้งหลาย ดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายต้องการทำตนให้เป็นที่ รักเป็นที่เคารพของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายแล้ว ก็พึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลายเถิด”
อานิสงส์หรือคุณค่าของศีล เมื่อกล่าวโดยย่อแล้วก็มีเพียง ๓ ประการ ดังพระบาลีที่ท่านกล่าวไว้ในตอนท้ายของศีล ว่า
๑. สีเลน สุคติ ยนฺติ ศีลทำให้คนไปสู่สุคติ
๒. สีเลน โภคสมฺปทา ศีลทำให้คนได้รับทรัพย์สมบัติ
๓. สีเลน นิพพุติ ยนฺติ ศีลทำให้คนดับทุกข์ความเดือดร้อน เข้าสู่นิพพานได้
คําว่า “สุคติ” ก็คือ คติกำเนิดที่ดีมีความสุข จะเป็นมนุษย์ ก็ได้ สวรรค์ก็ได้ เพราะมนุษยโลกจัดเป็นสุคติภูมิ คนที่เขาเกิดมาดี
มีความสุข นั่นก็เพราะศีลของเขาตามมาให้ผล เพราะมีศีล ทำให้ คนได้ร่ำรวยมีโภคทรัพย์สมบัติ เช่น คนที่ทำมาหากินโดยชื่อสัตว์ สุจริต ก็หากินได้ยั่งยืน ย่อมเป็นที่เชื่อถือของคนทั้งหลาย บางคนเกิดมาบนกองเงินกองทองเพราะเกิดมาในตระกูลร่ำรวย ข้อนี้เกิดจากกรรมดีที่ตนได้สร้างไว้ เช่น การให้ทานและการรักษาศีล เป็นต้น นอกจากนี้ ศีลยังเป็นรากฐานที่ทำให้การฝึกจิตได้ผลดี เพราะ เป็นเหตุให้เกิดสมาธิๆ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา ปัญญาย่อมนําไปสู่ การดับทุกข์ความเดือดร้อน แล้วนําเข้าสู่พระนิพพานได้ในที่สุด คือมีผลมากดังกล่าวมานี้ ฉะนั้นคนฉลาดจึงนิยมรักษาศีล
วิรัติ ๓ อย่าง
เหตุผลประการที่สามที่คนไม่อยากรักษาศีล คือ เพราะเข้าใจ ผิดว่า ศีลต้องรับจากพระเท่านั้น เมื่อศีลขาดหรือเมื่อตนไม่มีโอกาส รับศีลจากพระภิกษุสามเณร บางคนจึงไม่ได้รักษาศีล
แท้ที่จริง ศีลนี้รับจากท่านผู้มีศีล เช่น ภิกษุสามเณร หรือ อุบาสกอุบาสิกาผู้มีศีลก็ได้ ตั้งใจงดเว้นสมาทานเอาด้วยตนเอง ก็ได้ เหมือนการอาบน้ำ จะอาบเองก็ได้ ให้คนอื่นอาบให้ก็ได้ หรือ เหมือนกับเสื้อผ้าของเราสกปรกหรือขาด เราจะซักเองหรือเย็บเอง ก็ได้ จะให้คนอื่นซักให้หรือเย็บให้ก็ได้ จะรับในวัด ในบ้าน หรือใน ที่อื่นที่ใดก็ได้ เพราะศีลนั้นเกิดจากการงดเว้นที่เรียกว่า “วิรัติ”
วิรัติ มี ๓ อย่าง คือ
๑. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทาน คือ สมาทานหรือ รับเอาด้วยตนเองก็ได้ ด้วยการรับจากผู้อื่นก็ได้ เช่น การสมาทาน
หรือการรับศีล ๕ หรือ ๘ เป็นต้น การสมาทานนั้น จะสมาทานทีละข้อที่เรียกว่า ปัจเจกสมาทานก็ได้ อย่างที่สมาทานหรือรับกัน อยู่ในปัจจุบัน จะสมาทานรวบทุกข้อ ที่เรียกว่า เอกชนสมาทานก็ได้ การสมาทานรวบจะใช้ภาษาบาลีหรือภาษาไทยก็ได้ เช่น ภาษาบาลีสมาทานว่า อิม ปญองค์สมมุนาคต์ สีลํ สมาทิยามิ หรือว่า อิมานิ ปญฺจ สีลานิ สมาทิยามิ ซึ่งแปลว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานศีล ๕ ประการนี้” จะว่าทั้ง ๒ อย่าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ย่อมสำเร็จเป็นศีลทั้งสิ้น
๒. สัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ได้แก่ การรักษาศีลของท่านผู้ไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล แต่ มาประสบเหตุการณ์ที่จะทำตนให้ประพฤติล่วงศีล ก็ตั้งใจงดเว้นขึ้น ในทันทีทันใด นั้นก็เป็นศีลเหมือนกัน เช่น เห็นทรัพย์ของผู้อื่น วางทิ้งไว้ อันตนจะหยิบถือเอาไปได้ แต่มาคิดว่า คนอย่างตนไม่เคย ขโมยใครกิน การขโมยไม่ดี เป็นบาป แล้วงดเว้นเสียในขณะนั้น – เช่นนี้เป็นศีลเหมือนกัน
๓. สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นได้เด็ดขาด คือ การรักษาศีลของ พระอริยบุคคล ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ท่านงดเว้นจากการประพฤติ ผิดศีลห้าอย่างเด็ดขาด โดยไม่ต้องสมาทาน เพราะจิตของท่านเห็นโทษ ของการขาดศีลอย่างแท้จริง ไม่ยอมประพฤติล่วงศีล แม้จะสิ้นชีวิต ก็ไม่ยอมผิดศีล เหมือนคนกลัวตายไม่ยอมดื่มยาพิษ
ฉะนั้น ถ้าเราไม่เข้าใจผิดเรื่องการรักษาศีลแล้ว ก็สามารถ รักษาศีลได้ง่ายมาก เพราะสมาทานเอาด้วยตนเองก็ได้ ก็ย่อมมีศีล ได้ตลอดไป แม้ศีลอุโบสถก็สมาทานด้วยตนเองได้เช่นกัน
ไม่ได้รักษาศีลเพราะกลัวบาป
เหตุประการที่สี่ที่คนไม่อยากรักษาศีลก็คือ เพราะกลัวว่า เมื่อรับศีลแล้ว ถ้าศีลขาดจะเป็นบาป เลยไม่ยอมรับศีล การกลัวที่ ไม่ถูกต้องเช่นนี้ ทำให้พุทธศาสนิกชนเป็นจำนวนมากไม่อยากรักษา ศีล หรือเมื่อพระให้ศีลก็เลือกรับเอาบางข้อ พอถึงข้อที่ตนคิดว่าจะรักษาไม่ได้ก็ไม่ยอมรับเสีย
แท้ที่จริง การประพฤติผิดศีล ๕ นั้น ผู้นั้นจะได้รับศีลมาก่อน หรือไม่ก็ตาม ถ้าประพฤติล่วงศีลข้อใดข้อหนึ่ง เช่น ฆ่าสัตว์ หรือ ดื่มน้ำเมา ก็เป็นบาปทั้งสิ้น แต่คนที่มีศีลมาก่อนแล้วมาประพฤติ ผิดศีล กับคนที่ไม่ได้รับศีลมาก่อนแล้วประพฤติผิดศีล ย่อมได้รับผล ต่างกัน คือ คนที่มีศีลมาก่อน ย่อมได้ผลบุญตลอดเวลาที่ศีลของตน ยังไม่ขาด ยิ่งรักษาได้นานบุญก็ยิ่งมาก แต่เมื่อศีลขาดบุญก็หยุด เขา ได้รับบาป คนเช่นนี้ย่อมได้รับทั้งบุญและบาป ส่วนคนที่ไม่รับศีล มาก่อนแล้วทำบาปอย่างเดียวแล้ว ใครจะได้กําไรหรือขาดทุนมากกว่า กัน ใน ๒ คนนี้ ถ้าเปรียบให้เห็นง่ายๆ ก็คือ คนที่มีศีลเหมือนคน สวมใส่เสื้อผ้า แม้ผ้านั้นจะขาดไปบ้างก็ยังดีกว่าคนไม่นุ่งผ้า คนไม่มี ศีลเหมือนคนไม่นุ่งผ้า มันน่าเกลียด ฉะนั้น คนที่มีศีล แม้มันจะขาด ไปบ้างก็ยังดีกว่าคนไม่มีศีล
แท้จริง ศีลที่รักษานั้น มันย่อมขาดไปบ้างในบางครั้ง เหมือน เสื้อผ้าที่เราสวมใส่ เพราะเหตุการณ์บางอย่างให้เป็นไป แต่เมื่อรู้ว่า ขาดแล้วก็สมาทานรักษาเอาใหม่ โดยขอรับจากพระก็ได้ สมาทาน เอาด้วยตนเองก็ได้ เหมือนเสื้อผ้าของเราสกปรกหรือขาด เราก็ชักเองหรือให้คนอื่นซักให้ เย็บเองหรือให้คนอื่นเย็บให้ก็ได้ ย่อมดีกว่าปล่อยให้สกปรกหรือขาดอยู่ตลอดไป ถ้าเข้าใจดีในข้อนี้ คนเราก็ย่อมรักษาศีลได้จนตลอดชีวิต เพราะเมื่อเข้าใจแล้วรักษาศีลได้ ไม่ยากเลย เมื่อศีลขาดก็สมาทานรักษาเอาใหม่ ก็ย่อมมีศีลได้ตามเดิม
เหตุประการสุดท้ายที่คนไม่รักษาศีลก็คือ เพราะขี้เกียจที่จะ คอยระวังรักษาศีลอยู่เป็นประจำ คือ บางคนคิดเห็นว่า เมื่อรักษาศีลแล้ว ถ้าศีลขาดก็ต้องสมาทานใหม่และต้องคอยระวังรักษาอีก ทำให้กังวล เสียเวลาทำมาหากิน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อยากรักษาศีล คนที่ คิดเช่นนี้ก็เพราะยังไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของศีล เหมือนกันคนที่ ไม่อยากแปรงฟัน เพราะขี้เกียจจะแปรง ด้วยคิดเห็นว่า แปรงอะไร กันบ่อยๆ เสียเวลา เพราะไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงของการแปรงฟัน ในที่สุดปากก็เหม็นและฟันก็หมดปากเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น การมีศีล ๕ อยู่เป็นประจำ หรือที่เรียกว่า รักษา นิจศีลนั้น จําต้องศึกษาให้เข้าใจเรื่องศีล ทำความเห็นของตนในการ รักษาศีลให้ถูกต้อง ด้วยอาศัยหลัก ๕ ประการ คือ
๑. เห็นโทษที่แท้จริงของการขาดศีล
๒. เห็นคุณค่าหรืออานิสงส์ที่แท้จริงของศีล
๓.ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่าศีลนี้สมาทานด้วยตนเองก็ได้รับจากท่านผู้มีศีลก็ได้
๔. ให้ถือว่าการมีศีลนั้นแม้จะขาดไปบ้างก็ยังดี ดีกว่าไม่มี ศีล เหมือนการมีเงิน แม้จะขาดมือไปบ้างก็ยังดีกว่าไม่มีเลย แต่ถ้า รักษาให้บริสุทธิ์อยู่เสมอจะยิ่งดีมาก
๕. ต้องหมั่นตรวจตราดูศีลของตนให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ เหมือนรักตน หมั่นรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตนให้บริบูรณ์อยู่เสมอฉะนั้น
อีกประการหนึ่ง ขอให้เตือนตนเองอยู่เสมอว่า “พุทธศาสนิกชน ที่แท้จริงต้องมีศีล อย่างน้อยก็ศีล ๕ วันใดถ้าไม่มีศีล วันนั้นถือว่าขาดทุน และไม่ควรออกจากบ้าน เพราะมันไม่เป็นมงคล”
ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนี้ ถ้าทุกคนเข้าใจถึงอานิสงส์ของศีลและโทษของการขาดศีลที่แท้จริง พร้อมด้วยวิธี รักษาศีลที่ถูกต้องดังกล่าวมาแล้ว คนเป็นจำนวนมากก็จะยินดี ในการรักษาศีล ประเทศชาติของเราก็จะมีความสงบสุขยิ่งกว่าใน ปัจจุบันอย่างแน่นอน แต่เราชาวไทยทุกคน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนจะต้องช่วยกันชี้แจงให้ผู้ที่ยังไม่รู้ได้เข้าใจให้กว้างขวางและให้มาก ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รักษาศีล ก็เพราะเหตุ ที่ขาดความเข้าใจที่ถูกต้องนั่นเอง
ฉะนั้น จึงเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนทุกคนที่จะต้อง ช่วยกันส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้มีการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง โดย เฉพาะนําหลักศีลธรรมมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเท่าที่ จะทำได้ โดยเฉพาะการรักษาศีล ๕ อันเป็นมนุษยธรรม ที่จําเป็นยิ่ง สำหรับทุกคนนี้ ขอให้รักษาให้ได้เป็นประจำจนตลอดชีวิต หากทำได้ ความสงบสุขร่มเย็น ความเจริญรุ่งเรือง ย่อมเกิดแก่ตนเอง สังคม โดยส่วนรวม และประเทศชาติอันเป็นที่รักของเรามากกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันนี้อย่างแน่นอน
ตอนที่ ๕
วิรัติ ๓ ประการ
ในตอนที่ ๕ นี้จะได้พูดถึงวิรัติ ๓ ประการ เพิ่มเติมให้ละเอียด ยิ่งขึ้น ซึ่งวิรัติ ๓ นี้ ได้พูดไว้ในตอนที่ 4 บ้างแล้ว แต่พูดไว้โดยย่อเท่านั้น
ถ้าจะมีผู้ถามว่า การที่ศีลจะเกิดขึ้นได้นั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร คําตอบก็คือ ศีลจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีวิรัติ คือวิรัติเจตนาที่จะงดเว้น จากเวรนั้นๆ จากโทษนั้นๆ จึงจะเป็นศีลได้ เพราะฉะนั้น ศีลจะเกิด ขึ้นได้ต้องมีวิรัติ และวิรัติตัวนี้เองจึงจัดเป็นศีล วิรัติคือตัวเจตนา งดเว้นนี้เอง เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า เจตนา สีล ตัวเจตนาเป็นศีล เจตนาตัวนี้ก็คือวิรัติเจตนา
คําว่า “วิรัติ” นั้นแปลว่า “งดเว้น” งดเว้นในที่นี้คืองดเว้นจาก เวร งดเว้นจากข้อห้าม วิรัติในพระพุทธศาสนานั้น ท่านแยกออกไป เป็น ๓ ประการ คือ
๑. สมาทานวิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทาน หรือด้วยการถือเอา รับเอา
๒. สัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยประสบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
๓. สมุจเฉทวิรัติ งดเว้นได้อย่างเด็ดขาด
สมาทานวิรัติ เป็นวิรัติของบุคคลที่ตั้งใจสมาทานศีลไว้ก่อน
สัมปัตตวิรัติ เป็นวิรัติของผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจสมาทานศีลไว้ก่อน แต่มาประสบเหตุการณ์ที่จะเป็นเหตุให้ล่วงศีลเข้าก็เกิดงดเว้นขึ้นทันทีทันใด
สมุจเฉทวิรัติ เป็นวิรัติที่งดเว้นเด็ดขาดของพระอริยบุคคลตั้งแต่ชั้นพระโสดาบันเป็นต้นไป
จะได้อธิบายวิรัติทั้ง ๓ ประการนี้ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องของศีล เพราะหนังสือนี้จะได้ศึกษาเรื่องศีล เพื่อให้เกิดความเข้าใจในแง่มุมต่าง ๆ
วิรัติข้อแรก คือ สมาทานวิรัติ แปลว่า งดเว้นด้วยการ สมาทาน คําว่า “สมาทาน” แปลว่า “รับเอา ถือเอา” สมาทานศีล ก็คือรับศีล หรือถือศีล เพราะฉะนั้น สมาทานตัวนี้แปลว่า รับหรือ ถือเอา แต่การสมาทานนั้น ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ
๑. สมาทานด้วยตนเอง
๒. สมาทานจากท่านผู้มีศีล
สมาทานด้วยตนเอง ก็คือ เราตั้งใจงดเว้นจากการทำชั่วด้วย ตนเอง โดยไม่ต้องรับศีลจากท่านผู้มีศีล โดยทั่วไป การสมาทาน ด้วยตนเองนั้น ต้องมีความเข้าใจในเรื่องศีล จึงสมาทานเอาได้ถูกต้อง ซึ่งการสมาทานเองนี้จะย้ำเพิ่มเติมในภายหลัง
จะพูดถึงการสมาทานจากผู้อื่นเสียก่อน การสมาทานศีลหรือ การรับศีลจากท่านผู้มีศีลนั้น คือรับจาก
ใคร ? ตอบว่า ใครก็ได้ที่มีศีล เราก็รับจากท่านผู้มีศีลนั้น เช่น รับจากพระภิกษุสามเณรหรือรับจากอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศีลก็ได้ แต่โดยทั่วไปนั้น การรับศีลจะต้องรับจาก พระภิกษุหรือสามเณร
ก่อนที่จะได้รับศีลนั้นต้องมีการขอศีล โดยเฉพาะรับจากพระ ถ้ารับจากแม่ชีหรือสามเณรก็ไม่มีข้อกําหนดว่าต้องขอ แต่พระนั้น ถ้าพระรูปใดให้ศีลไปโดยไม่มีฆราวาสขอ เป็นอาบัติ เพราะฉะนั้น ต้องขอศีลด้วย มีต้นเหตุอยู่ในสมัยพระพุทธเจ้า เหตุที่พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติให้ต้องมีผู้ขอก่อนจึงจะให้ศีล ถ้าไม่มีผู้ขอห้ามให้ศีล ถ้าพระรูปใดให้ ท่านปรับเป็นอาบัติทุกกฏ ๆ เป็นชื่ออาบัติข้อหนึ่ง ในอาบัติ ๓ อย่างของพระ
กล่าวกันว่า ในสมัยหนึ่ง พระสารีบุตรอัครสาวกฝ่ายขวาของ พระพุทธเจ้า ท่านนั่งพิจารณาดูว่าศีล ๕ นี้ดีมาก ถ้าคนเรามีศีล ๕ แล้ว ครอบครัวก็จะสงบสุข สังคม บ้านเมืองก็สงบสุข ตนเองก็ สงบสุข ทำอย่างไรคนถึงจะมีศีล ๕ เป็นประจำ เมื่อท่านคิดดังนี้ เวลา ใครเข้ามาในวัดท่านก็ขอให้เขารับศีล คนที่เห็นคุณค่าก็สรรเสริญ ท่านว่า ท่านหวังดี คนที่ไม่เห็นคุณค่าก็ไปโพนทะนาหาว่าท่านไป บังคับให้เขารับศีลจากท่าน จนในที่สุด เรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงปรารภเรื่องนี้ จึงทรงบัญญัติว่า นับแต่นี้ต่อไป เรื่อง ศีลนี้ถ้าไม่มีผู้ขอห้ามให้ ถ้าพระภิกษุรูปใดให้ เป็นอาบัติทุกกฏ
เพราะฉะนั้น ศีลนั้นพระสงฆ์จะให้ได้ก็ต้องมีผู้ขอ ถ้าไม่มี ผู้ขอให้ไปก็เป็นอาบัติ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นคุณค่าของศีลอย่างแท้จริง เห็น ความสำคัญของศีลเพิ่มขึ้นว่า ผู้ที่จะรักษานั้นต้องขอ ไม่ใช่ให้โดยที่ ไม่มีผู้ขอ แต่สำหรับธรรมะนั้น แม้ไม่มีผู้ขอก็ให้ได้ เพราะไม่มีวินัย บัญญัติไว้ แม้จะมีคําอาราธนาก็เป็นการอาราธนาตามธรรมเนียมเท่านั้นเอง แม้ไม่อาราธนาพระก็แสดงธรรมได้ สอนได้ ส่วนศีลนี้จ ก็ต้องมีผู้ขอ เช่น ขอรับศีล ๕ จากพระสงฆ์ การขอศีลนั้นมีระบบการขออยู่ ๒ อย่าง คือ
๑.การขอที่เป็นปัจเจกสมาทาน คือการขอรับเป็นข้อๆ
๒.การขอที่เป็นเอกชนสมาทาน คือการขอเพื่อสมาทานรวบทั้ง ๕ ข้อ
การขอศีลเพื่อแยกเป็นข้อ ๆ นี้ โดยทั่วไปแล้วเป็นการขอ ศีล ๕ ถ้าเป็นการขอศีล ๘ ศีล ๑๐นั้นเป็นการขอแบบรวบทั้งสิ้นคือเป็นเอกชนสมาทาน เอกะ แปลว่า “รวบเป็นข้อเดียว เป็นอัน เดียวกัน รวบที่เดียว” ส่วนปัจเจกะ แปลว่า “แยกเป็นข้อ ๆ” โด ทั่วไปการขอศีลในปัจจุบัน คนขอศีลเป็นอันมากจะกล่าวคําว่า “วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย” แต่บางคนนั้นไม่มี วิสุํ วิสุํ รถขนตาย นี้ แตกต่างกัน ถ้ามีคําว่า วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺลาย นั้นแสดงว่า ผู้ขอนั้นต้อง การรับแยกเป็นข้อ ๆ เป็นปัจเจกสมาทาน คือ ขาดศีลข้อใดจะได้ ขาดเฉพาะข้อนั้น ข้ออื่นไม่ขาด คือรับศีลเผื่อขาดเอาไว้ เผื่อว่า ตัวเองจะได้ไปทำผิดอย่างโน้นอย่างนี้บ้าง ศีลจะได้ไม่ขาดไปทั้งหมด คือรับเผื่อขาดเอาไว้ ใจยังไม่มั่นคงเท่าที่ควร
แต่ถ้าไม่มีคําว่า “วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺลาย” เป็นการขอรวบ อย่าง ศีลอุโบสถหรือศีลของสามเณร อย่างนี้เป็นเอกชฌสมาทาน คือ สมาทานรวบทีเดียว ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง ข้ออื่นก็ขาดไปด้วย
การสมาทานศีล ถ้าหากว่าเป็นปัจเจกสมาทาน คือ ในการขอมีคําว่า “วิถี วิสุ รถชนตาย” นี้แสดงว่าเป็นปัจเจกสมาทาน แต่ถ้าไม่มีคํา ว่า “วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺถาย” นี่เป็นเอกชนสมาทาน ต้องแยกให้ออก
ท่านเปรียบเทียบว่า ถ้าขอมีคําว่า วิ วิสุ นั้น เหมือนกับว่าเรามีเงินอยู่ ๕๐๐ บาท แต่เป็นใบละร้อย ถ้าขาดใบไหนก็ขาดใบนั้นใบอื่นไม่ขาด แต่ถ้าสมาทานศีลแบบรวบ เหมือนกับเรามีเงิน ๕๐๐ บาทใบเดียว ถ้าใบนั้นขาดก็ขาดหมด เพราะฉะนั้น จำเป็นต้องระวัง ให้มาก เพราะขาดทีเดียวมันขาดหมด แต่การรักษาแบบรวบทีเดียว นั้น แสดงว่าจิตใจต้องมั่นคง แน่วแน่ เห็นคุณค่าของศีลจริง ๆ รับศีล เพื่อความบริสุทธิ์ของศีลจริง ๆ ไม่ใช่รับเผื่อขาด
เมื่อพูดถึงบุญที่จะได้รับนั้น คนที่รับศีลไม่มีคําว่า วิสุํ วิสุํ หรือ รับรวบ ย่อมมีบุญหนักแน่นกว่า แต่สำหรับบุคคลที่เป็นชาวบ้าน ทั่วไป ยังไม่ค่อยมั่นคงในพระศาสนานั้น มักจะรับแยกเป็นข้อ ๆ จึงมีคําว่า วิ วิสุ รกขนตถาย เข้าไป วิสุํ วิสุํ แปลว่า เป็นข้อ ๆ ถ้าไม่มีคําว่า วิสุํ วิสุํ รกฺขนตุลาย แสดงว่ารับรวบทั้ง ๕ ข้อ ทั้ง ๘ ข้อ หรือทั้ง ๑๐ ข้อ โดยทั่วไปอย่างการรับศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ เวลา อาราธนา ไม่มีคําว่า วิสุํ วิสุํ จงสังเกตดู เช่น การขอศีลอุโบสถ ว่า “มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห อฏฺฐยุคสมนนาคต อุโปสถํ ยาจาม” ว่าถึง ๓ ครั้ง ทําไมต้องขอถึง ๓ ครั้ง ขอครั้งเดียวไม่ได้หรือ ? ที่ต้องขอถึง ๓ ครั้ง ก็แสดงว่า ผู้ขอเอาจริงไม่ใช่ขอเล่น ๆ เพราะ ฉะนั้น พระก็ต้องตั้งใจให้ด้วยความจริงใจ เพราะผู้ขอนั้นต้องการ ขอศีลอย่างจริง ๆ แล้วเวลาสุดท้ายของศีลจะมีการรวบศีล การ รวบศีลนั้นเองเป็นลักษณะของเอกชฌสมาทาน รวบศีลอย่างไร ? เช่นว่า “อิมํ อฏฺฐยุคสมนนาคตํ พุทฺธปญฺญัตฺติ อุโปสถํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นี้” นี้เรียกว่า สมาทานรวบ แม้จะสมาทาน
แต่ละข้อก็จริง แต่ตอนสุดท้ายนั้นรวบ ส่วนศีล ๕ นั้น สมาทาน มาแต่ละข้อ เวลาตอนสุดท้ายนั้นไม่มีการรวบ สมาทานทีละข้อ ถ้าไม่มีคําว่า “วิสุํ วิสุํ รกฺขนตฺลาย” แสดงว่าผู้รักษานั้นต้องรักษารวบเหมือนกัน แม้ไม่รวบท้ายศีล
การรับศีลแบบรวบ เห็นได้ชัดมาก โดยเฉพาะพระสงฆ์ใน คณะธรรมยุตนั้น ถ้าสมาทานศีลรวบท่านจะไม่ลงว่า “สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ” อย่างให้ศีลแก่สามเณร ๆ ก็ขอศีล ๑๐ ศีล ๑๐ ของสามเณรนั้น แท้ที่จริงก็คือ ศีล ๙ เพิ่มขึ้นจากศีล ๘ อีกข้อหนึ่ง เท่านั้น เป็น ๙ ข้อ แต่ท่านแยกศีล ๘ ข้อที่ ๗ นั่นเป็นสองข้อ ศีลของสามเณรจึงเป็น ๑๐ ข้อ
ศีลของสามเณรนั้นไม่ลงคําว่า “สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ”ยกตัวอย่างในการให้ศีลแก่สามเณรให้ดู
ปาณาติปาตา เวรมณี (แล้วสามเณรก็รับไปตามลำดับ)
อทินฺนาทานา เวรมณี.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี.
มุสาวาทา เวรมณี.
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี.
วิกาลโภชนา เวรมณี.
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา เวรมณี.
มาลาคนฺธวิเลปนธารณมนุทนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี.
ชาตรูปรชตปฏิคคหญา เวรมณี.
เมื่อครบ ๑๐ พระที่ท่านให้ศีลจะให้รวบศีลลงเป็นเอกัชฌสมาทานว่า “อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยมิ” ว่า ๓ ครั้ง ให้สามเณรว่าตาม ๓ ครั้ง อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ. แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลทั้ง ๑๐ ประการนี้
การสมาทานศีลประเภทนี้เป็นเอกัชฌสมาทาน เรียกว่า สมาทานรวบ แม้ว่าทีละข้อก็จริง แต่ท่านมารวบตอนสุดท้ายเหมือนกับเราสมาทานศีลอุโบสถแล้วมารวบตอนสุดท้าย อย่างนี้ เป็นเอกัชฌสมาทาน
อีกประการหนึ่ง เอกชฌสมาทานที่ง่ายที่สุด คือไม่ต้องว่าเรียง ทีละข้อ รวบทั้ง ๕ ข้อ หรือทั้ง ๘ ข้อเลย ยกตัวอย่างว่า ถ้าเราอยาก จะรักษาศีลด้วยตัวของเราเอง หรือพระที่ให้ศีลท่านมีธุระด่วน ท่าน ไม่อาจจะให้ศีลเรียงข้อได้ ท่านก็ให้ศีลอย่างรวบเป็นเอกชนสมาทาน ขึ้นได้ เช่น ศีล ๕ ว่า “อิมํ ปญฺจงฺคสมนฺนาคตํ สมาทิยามิ ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า
อิมํ ปญฺจงฺคสมนนาคตํ สมาทิยามิ.
อิมํ ปญฺจงฺคสมมุนาคตํ สมาทิยามิ.
อิมํ ปัญฺจงฺคสมนฺาคตํ สมาทิยามิ.”
ถ้าหลายคนลงท้ายว่า สมาทิยาม ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลอัน ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้ แต่ถ้าใครจำอย่างนี้ไม่แม่นก็เอาแบบง่าย ๆ อย่างนี้ก็ได้ว่า
“อิมานิ ปญฺจ สีลานิ สมาทิยามิ.
อิมานิ ปญฺจ สีลานิ สมาทิยามิ.
อิมานิ ปญฺจ สีลานิ สมาทิยามิ.”
เพียงเท่านี้ก็เป็นศีลแล้ว โดยไม่ต้องว่าเรียงทีละข้อ ถ้าเราต้องการสมาทานศีล ๘ ก็สมาทานว่า อิมานิ อฏฺฐสีลานิ สมาทิยามิ ว่า ๓ ครั้ง ก็ได้ทั้ง ๘ ข้อแล้ว ถ้าต้องการสมาทาน ศีลอุโบสถกว่า “อิมํ อฏฐงฺคสมนฺนาคตํ
อุโปสถํ สมาทิยามิ (ถ้าหลายคนให้ใช้ สมาทิยาม.) โดยกล่าวคําสมาทานว่า
“อิมํ อฏฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ.
อิมํ อฏฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ.
อิมํ อฏฐงฺคสมนฺนาคตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ.”
อย่างนี้เรียกว่าสมาทานรวบ ผู้รักษาศีลบางคน บางคราวถ้า เวลาไม่พอจะสมาทานอย่างนี้ก็ได้ หรือจะว่าภาษาไทยก็ได้ถ้าว่า หากภาษาบาลีไม่ได้ คือเป็นภาษาไทยว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานศีล ๕ ประการ” เพียงเท่านี้ก็เป็นศีลแล้ว หรือสมาทานว่า “ข้าพเจ้า ขอสมาทานศีลอุโบสถ” อย่างนี้ก็เป็นศีลแล้ว หรือว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานศีล ๘” ก็เป็นศีลแล้ว
ตามปกติ การสมาทานศีลอุโบสถ เขาต้องสมาทานให้ได้ วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง แต่ถ้าหากว่ามาสมาทานเอาประมาณเกือบ ๔ โมง เช้าหรือ ๓ โมงครึ่งแล้ว ก็ขาดไปถึง ๓ ชั่วโมงครึ่ง หรือเกือบ ๔ ชั่วโมง ดังนั้นคนไทยเราโบราณหรือชาวพุทธที่เข้าใจเรื่องนี้ จะ สมาทานจากที่บ้านมาก่อน คือพอล้างหน้าบ้วนปากตอนเช้าก็สมาทาน ศีลเลย นึกในใจว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานศีลอุโบสถในวันนี้” ตั้งใจ สมาทานก็ได้เต็มทั้งวัน เมื่อมาถึงวัดก็สมาทานซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ว่า เป็นภาษาไทยง่าย ๆ ถ้าจำภาษาบาลีไม่ได้ ถ้าจำภาษาบาลีได้ก็แบบ ที่ว่าข้างต้นนี้ อย่างนี้เรียกว่าสมาทานแบบรวบ สมาทานด้วยตนเอง ก็ได้ สมาทานจากท่านผู้มีศีลก็ได้ นี้เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่อง การรักษาศีลว่า ศีลนี้จะต้องเกิดจากการวิรัติ วิรัติข้อแรกก็คือสมาทาน วิรัติ งดเว้นด้วยการสมาทานเอา คือรับเอา รักษาเอา รับเอาเองก็ได้ รับจากพระหรือจากท่านผู้มีศีลก็ได้
ปกติว่า บางครั้งผู้ประสงค์จะสมาทานศีลไม่อาจพบพระสงฆ์ เพราะอยู่ที่บ้าน บางทีป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล บางทีชีวิตใกล้จะตาย อยู่แล้ว ศีลมันยังไม่บริสุทธิ์ เวลาต้องการให้ศีลบริสุทธิ์ชาวบ้านนี้ทำง่าย แม้ไม่เจอพระสงฆ์ก็อธิษฐานศีลเอาได้ เช่นว่า “ข้าพเจ้าขอ สมาทานศีล ๕ ประการ” จะสมาทานเป็นภาษาไทยก็ได้ ถ้าสมาทาน เป็นภาษาบาลีก็สมาทานทีละข้อก็ได้ หรือสมาทานรวบก็ได้ ก็เป็นศีลแล้ว ถ้าทำได้เช่นนี้ก็ย่อมมีศีลอยู่ตลอด เหมือนเสื้อผ้าขาด พอขาด ก็เย็บเสีย ไม่จำเป็นต้องปล่อยให้ขาดอยู่นาน หรือเสื้อผ้าสกปรก ก็ซักเสีย ไม่จำเป็นต้องรอไว้ให้นานแล้วก็มาซักเสียทีหนึ่ง ขาดก็เย็บเสีย ศีลของเราก็เหมือนกัน เป็นเครื่องประดับที่ประเสริฐมาก เมื่อรู้ว่าข้อใดบกพร่อง ก็อธิษฐานขึ้นไปก็เป็นผู้รักษาศีลแล้ว โดย เฉพาะศีล ๕ ซึ่งต้องรักษาเป็นประจำ ถ้าศีล ๘ หรือศีลอุโบสถนั้น ๘ ต้องรักษาเฉพาะวันที่ท่านกำหนดไว้ แต่ศีล ๘ นั้น รักษาได้ทั่วไป เหมือนศีล ๕ ท่านผู้ใดต้องการจะได้บุญเพิ่มขึ้นก็รักษาศีล ๘ เพิ่มขึ้น พอถึงวันอุโบสถก็อธิษฐานเป็นศีลอุโบสถ
แท้ที่จริงศีล ๘ กับศีลอุโบสถนั้นก็คืออันเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่ว่าศีลอุโบสถนั้นรักษาในวันที่บัณฑิตกำหนดไว้ คือในวันอุโบสถ หรือในวันที่กำหนดตามหลักพระพุทธศาสนา อาจจะเป็น ๗ วัน ต่อหนึ่งครั้ง หรือรวบ ๓ เดือนทีเดียวก็ได้ เป็นการรักษาศีลพิเศษ
วิรัติข้อที่ ๒ คือสัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นเมื่อประสบ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วิรัติข้อนี้ เป็นศีลของผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจรักษาศีลไว้ก่อน เช่น บางคนเดิน ๆ ไป ไปเห็นของมีค่าของคนอื่น ตกวางอยู่ข้างหน้า คิดว่าจะขโมยก็ได้เพราะว่าเจ้าของเขาไม่เห็น เจ้าของเขาเผลอ แต่ก็มาคิดดูว่า คนอย่างเราไม่เคยขโมยของใครกิน สกุลของเราไม่เคยโกงใครกิน แล้วงดเว้นเสียในขณะนั้น ทั้งๆที่ ไม่ได้สมาทานมาไว้ก่อน ก็เป็นศีล หรือชาวนาคนหนึ่งเดินไปบนคันนา มีปลาช่อนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาบนคันนา ก็คิดว่า “เออ ได้หม้อแกง หนึ่งพอดี”แต่มาพิจารณาว่า คนอย่างเราไม่เคยฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เราก็จะไม่ฆ่าสัตว์ตัวนี้ แล้วปล่อยมันไปเสีย อย่างนี้ก็เป็นศีล หรือใครมายั่วให้เรากินเหล้าทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจจะรักษาศีลข้อนี้ แต่เรามาพิจารณาขึ้นในขณะนั้น ไม่ล่วงศีล หรือใครมายั่วให้ประพฤติผิด ในกาม ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ตั้งใจงดเว้นไว้ก่อน เมื่อพิจารณาถึงเหตุผล บาปบุญคุณโทษแล้ว เราก็งดเว้น ฉะนั้น สัมปัตตวิรัติ ก็คืองดเว้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า วิรัติข้อนี้ อาจจะมีกับเราบางคน ในบางคราว แต่ชาวพุทธส่วนมากเป็นสมาทานวิรัติ และสัมปัตตวิรัตินี้ คนจะต้องมีใจสูงพอสมควรจึงจะงดเว้นได้ในขณะนั้น
วิรัติข้อที่ ๓ สมุจเฉทวิรัติ คือ งดเว้นได้เด็ดขาด เป็นวิธีติ ของพระอริยบุคคล คือ พระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป แล้ว ท่านจะมีศีล ๕ บริสุทธิ์ที่สุด มั่นคงในพระพุทธศาสนา คือ มั่นคงในพระพุทธ บริสุทธิ์ในพระธรรม แล้วก็เชื่อมั่นในพระสงฆ์ วิธีที่จะดูว่าบุคคลใดเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ก็ให้ดูที่ศีล ๕ ก็พอว่าเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันหรือเปล่า ยิ่งสูงขึ้น ศีล ๕ ก็ยิ่งบริสุทธิ์มากขึ้น แม้แต่พระโสดาบัน ศีล ๕ ก็บริสุทธิ์มาก แล้ว คือท่านไม่ตั้งใจที่จะล่วงศีล ท่านตายเสียดีกว่าล่วงศีล เหมือนกับคนเราที่โตขึ้นมาแล้ว เขาให้ดื่มยาพิษก็ไม่อยากจะดื่ม เพราะ เห็นว่ายาพิษนี้เมื่อดื่มเข้าไปแล้วมันเป็นอันตราย มันถึงตายได้ พระอริยบุคคลก็เหมือนกัน ใครจะบังคับให้ท่านล่วงศีล ๕ ข้อใด ข้อหนึ่งแล้ว ท่านตายเสียดีกว่า ท่านไม่ยอมที่จะประพฤติล่วงศีลเลย พระอริยบุคคลนั้นท่านมั่นคงอย่างยิ่งในพระศาสนา คือ ในพระรัตนตรัย ถ้าใครเอาเงินมาจ้างท่านสัก ๑๐ ล้าน หรือ ๑๐๐ ล้าน หรือกี่พันล้านก็ตาม บอกว่าให้ท่านเปลี่ยนจากนับถือพระพุทธศาสนาเสีย ไปนับถือ ศาสนาอื่น หรือถ้าไม่เปลี่ยนศาสนาเขาจะฆ่าให้ตาย ท่านผู้นั้น ยอมตายเสียดีกว่าที่จะเปลี่ยนศาสนา เพราะใจของท่านนั้นมั่นคง ในพระรัตนตรัยที่สุดแล้ว แม้ศีลนี้ก็เหมือนกัน สมมติว่าเขาบังคับให้ พระอริยบุคคลไปฆ่าคนใดคนหนึ่ง หรือปั๊มด หรือผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง ท่านตายเสียเองดีกว่าที่จะต้องขาดศีล ล่วงศีล
เพราะฉะนั้น ศีลของท่านไม่ต้องระวังรักษาแล้ว มันสำเร็จอยู่ ในตัวเด็ดขาดแล้ว เป็นสมุจเฉทปหานแล้ว ท่านละได้เด็ดขาดแล้ว การล่วงศีล ๕ สร้างเวรก่อกรรมนั้น พระอริยบุคคลตั้งแต่ชั้น พระโสดาบันท่านงดเว้นได้เด็ดขาดแล้ว เพราะฉะนั้น พระโสดาบัน ท่านจึงปิดประตูอบายได้ ท่านไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ เพราะศีล ๕ ของท่านบริสุทธิ์ที่สุด
อบายคืออะไร ? อบายคือภพหรือภูมิที่ไร้ความเจริญมี ๔ อย่างคือ เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เกิดเป็นเปรต เกิดเป็นอสุรกาย (ผี) เกิดในนรก แต่สำหรับปุถุชนนั้นศีล ๕ ยังไม่มั่นคง ฉะนั้น จึงยัง ปิดประตูอบายไม่ได้ พลาดท่าเข้าก็อาจจะตกลงไปในอบายได้ เพราะ ยังงดเว้นไม่ได้เด็ดขาด แต่ถ้างดเว้นเด็ดขาดอย่างพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันเป็นต้นไปแล้ว ศีลก็จะบริสุทธิ์ที่สุด และงดเว้นได้เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน
จึงขอสรุปในตอนนี้ว่า ศีลจะเกิดขึ้นได้ต้องมีวิรัติ และวิรัติ ในพระพุทธศาสนานั้นมี ๓ ประการ ดังกล่าวแล้ว
ขอให้เราชาวพุทธทำความเข้าใจในวิรัติทั้ง ๓ ประการนี้ให้ชัด จะได้อธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ชัดเจน ทั้งตนเองจะได้รักษาศีลได้ดีขึ้น ฉะนั้น จึงขอให้ทุกท่านตั้งใจรักษาศีลด้วยความไม่ประมาท โดยมีวิรัต เจตนาเกิดขึ้นในใจ ก็จะเป็นบุญเป็นกุศลแก่ตนที่รักษาศีลทุกครั้ง แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ยังดีกว่า ประเสริฐกว่าคนที่มีอายุยืน ถึง ๑๐๐ ปี แต่ไม่อยู่อย่างมีศีลอันใด
ตอนที่ ๖
องค์ของศีล
ในการศึกษาให้เข้าใจเรื่องศีล ที่เรียกว่า “สีลกถา-การพรรณนา เรื่องศีล” นั้น ท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องศีลติดต่อกันมาถึง ๕ ตอนแล้ว คงเพิ่มความเข้าใจเรื่องศีลในพระศาสนาว่า คําสอนในเรื่องศีลนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้มาก และเรื่องศีลนี้มีหลายแง่หลายมุมที่จะต้อง ศึกษาให้เข้าใจ เฉพาะในตอนที่ ๖ นี้ จะได้พูดถึง องค์ของศีล
เมื่อเรารักษาศีล เช่น ศีล ๕ หรือศีล ๘ แล้ว จะรู้ได้อย่างไร ว่าศีลที่รักษานั้นยังบริสุทธิ์อยู่ หรือเศร้าหมอง หรือมันขาดไปแล้ว มี หลักเกณฑ์อย่างไร ที่จะทำให้เราทราบได้ว่า ศีลที่เรารักษานั้นยัง บริสุทธิ์ดีอยู่หรือไม่ หรือว่าเราต้องไปถามท่านผู้รู้ให้ช่วยอธิบายว่าศีลที่เรารักษานั้นยังบริสุทธิ์อยู่หรือขาดไปแล้ว
ในเรื่องนี้ ถ้าเราได้ศึกษาให้เข้าใจด้วยตนเองแล้ว ก็ไม่จําเป็น ที่จะต้องไปถามใครให้ช่วยตัดสินให้ เราเองก็สามารถทราบได้โดย ไม่ยาก ถ้าได้ศึกษาเรื่องศีลให้เข้าใจชัด
การที่จะทราบได้ว่า ศีลที่เรารักษาไว้นั้นยังบริสุทธิ์อยู่หรือ ขาดไปแล้ว ต้องมีเครื่องวัด ซึ่งได้มีไว้เรียบร้อยแล้วในคัมภีร์ทาง พระพุทธศาสนา ท่านเรียกเครื่องวัดนี้ว่า “องค์ของศีล”
ผู้รักษาศีลจะฟังตัดสินได้ด้วยตนเองว่า ศีลของตนยังปกติอยู่หรือขาดไปแล้ว ก็ด้วยอาศัยเครื่องมือในการวัดศีลหรือในสก ข้อนั้น ๆ ที่เรียกว่า “องค์” ถ้ามีองค์ไม่ครบแม้แต่องค์เดียว สิกขาบท นั้นหรือศีลข้อนั้นก็ยังไม่ขาด ต่อเมื่อล่วงศีลครบองค์ศีลจึงจะขาด ต่อเมื่อล่วงศีลครบองค์ศีลจึงจะขาด
องค์ของศีลที่จะอธิบายในตอนนี้ จะได้พูดถึงองค์ของศีล ๘ เพราะเมื่ออธิบายองค์ของศีล ๘ ก็เท่ากับได้อธิบายองค์ของศีล ๕ ไปด้วย
องค์ของสิกขาบทข้อที่ ๑
ศีลแต่ละข้อ ท่านเรียกว่า สิกขาบทหนึ่ง ๆ ศีลข้อ ๑ คือ การเว้นจากปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ ถ้าเราสมาทานคือรักษาศีลข้อที่ ๑ การที่ศีลข้อนี้จะขาดไปย่อมมีองค์เป็นเครื่องตัดสิน องค์ของสิกขาบท ข้อที่ ๑ มี ๕ อย่าง คือ
๑. ปาโฌ สัตว์มีชีวิต
๒. ปาณสญฺญิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
๔. อุปกฺกโม พยายามเพื่อจะฆ่า
๕. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
ถ้าหากว่า ในองค์ทั้ง ๕ นี้ไม่ครบ สมมติว่า ขาดตัวเจตนาคือ คิดเพื่อจะฆ่า ศีลก็ยังไม่ขาด เช่น ยุงกัดเรา เราเอามือไปลูบโดยไม่มี เจตนาให้มันตาย แต่ยุงตัวนั้นเกิดตายขึ้นมา อย่างนี้ศีลไม่ขาด เพราะ ไม่ครบองค์ ไม่ครบองค์ไหน ? ก็ไม่ครบองค์ที่ ๓ คือ ไม่มีเจตนาจะฆ่าคือไม่มีจิตคิดจะฆ่า แม้ยุงจะตายก็ตาม และไม่เป็นบาปด้วเพราะการที่จะเป็นบาปหรือเป็นบุญได้ การกระทำนั้นต้องมีเจตนาคือความจงใจ
หรือคนที่ผสมยาให้คนไข้กิน แต่ผสมยาผิด หรือหยิบยาผิด และคนป่วยเกิดตายขึ้นมา ศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่มีเจตนาจะฆ่า
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในองค์ศีลในสิกขาบทคือศีลทุกข้อต้องมี เจตนาที่จะล่วงศีลข้อนั้น ๆ ถ้าไม่มีเจตนาที่จะล่วงศีลข้อนั้น ๆ แล้ว แม้จะฆ่าสัตว์ไปแล้ว ลักของเขามาได้แล้ว พูดเท็จออกไปแล้ว หรือ ดื่มน้ำเมาแล้ว ศีลข้อนั้นก็ไม่ขาด และไม่เศร้าหมอง ยังบริสุทธิ์อยู่ แม้การกระทำนั้นจะผิดกฎหมายบ้านเมืองก็ตาม เช่น ขับรถชนคนตายโดยไม่เจตนา ทำปืนลั่นถูกคนตายโดยไม่เจตนา พูดผิดไปโดยไม่เจตนา หรือดื่มเหล้าเข้าไปโดยไม่ทราบว่าเป็นเหล้า คิดว่าน้ำธรรมดาหรือน้ำชา เป็นต้น เดินเหยียบเอามดหรือแมลงตายโดยไม่มีเจตนา นอกจากศีลไม่ขาดแล้ว ก็ยังไม่เป็นบาปด้วย เพราะไม่มีเจตนา แม้ บางอย่างจะผิดกฎหมาย เช่น ขับรถชนคนตาย เพราะกฎหมายถือว่า ทำด้วยความประมาท แต่ก็ไม่ผิดศีล เพราะไม่มีเจตนาจะล่วงศีล ดังกล่าวแล้ว
สัตว์มันตายแล้ว แต่เราสำคัญคือคิดว่ามันยังไม่ตาย ไปฆ่ามันอีก เช่น สมมติว่า ชายคนหนึ่งมีความแค้นศัตรูคู่เวรของตน ต้องการ จะฆ่าให้เขาตาย แต่เขาเกิดตายก่อนที่จะถูกยิง แต่เขาไปยิงศัตรู ของเขานั้นซ้ำเข้าไปอีก ทั้ง ๆ ที่ศัตรูตายแล้ว หรือเอาน้ำร้อนไปราด ลงจานที่มดมันตายแล้ว แต่คิดว่ามันยังไม่ตาย อย่างนี้เรียกว่าศีล ไม่ขาด เพราะมดมันไม่มีชีวิตแล้ว จึงไม่ครบองค์ของศีล หรือมด มันยังไม่ตาย แต่เราคิดว่ามันตายแล้ว จึงเอาน้ำร้อนไปเทราดลงตรงนั้น ศีลก็ไม่ขาด เพราะขาดองค์ที่สองและที่สาม
หรือใครก็ตามรักษาศีลแล้ว ไปฆ่าสัตว์ หรือฆ่าคนก็ตาม แต่มันไม่ตาย หรือเขาไม่ตาย แต่ปางตายหรือเกือบตาย เช่นไปตีแมวเกือบตาย ศีลก็ไม่ขาด แต่ศีลก็ไม่บริสุทธิ์ และจัดเป็นบาปด้วย เพราะมีเจตนาจะฆ่าผู้อื่น เพราะฉะนั้น ในการฆ่าสัตว์นี้ ต้องมีองค์ครบ ๕ ศีลจึงจะขาด
องค์ของศีลข้อ ๒
ในสิกขาบทข้อที่ ๒ หรือในศีลข้อที่ ๒ ก็มีองค์ของศีลอยู่ ๕ อย่างเหมือนกัน คือ
๑. ปรปริคฺคหิตํ ของที่เขาหวงแหน
๒. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา รู้ว่าของที่เขาหวงแหน
๓. เถยฺยจิตฺตํ จิตคิดจะลักของเขา
๔. อุปกฺกโม พยายามเพื่อจะลักของเขา
๕ เตน หรฌํ ลักของเขามาได้ด้วยความพยายามนั้น
ในองค์ของศีลข้ออทินนาทานนี้ ต้องผิดศีลครบทั้ง ๕ องค์ ของศีลข้อนี้ ศีลจึงจะขาด ถ้าเพียงแต่ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ศีลก็ ไม่ขาด เป็นเพียงแต่ศีลเศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ เหมือนเสื้อผ้าไม่ขาด แต่สกปรกไม่สะอาด ก็ถือว่าผ้านั้นไม่บริสุทธิ์ แม้จะยังสวมใส่อยู่ก็ตาม
ขอให้พิจารณาองค์ของศีลทั้ง ๕ ข้อ ในศีลข้อนี้ ถ้าของที่เขา ไม่หวงแหน เช่นเขาทิ้งแล้ว หรือไม่ต้องการแล้ว เราหยิบเอาไป ซึ่ง ก็ไม่ขาด แม้จะคิดว่าเราจะขโมย แต่ที่จริงเขาไม่ได้หวง เขาทิ้งแล้วเพราะไม่ครบองค์ศีลข้อนี้ คือ ขาดองค์ที่หนึ่ง ได้แก่ “ของนั้นเขาหวงแหน”
ถ้าพยายามเพื่อจะลัก แม้พยายามแล้วก็เอาของมาไม่ได้ เพราะเอาออกไม่ได้หรือมีคนเห็นหรือเจ้าของเข้ามาพบ ก็เอาของไป ไม่ได้ ศีลข้อนี้ก็ไม่ขาด แต่ถ้าของที่จะขโมยนั้น เอาเคลื่อนออกจาก ที่หมดทุกฐานแล้ว แม้จะเอาของมาไม่ได้ศีลก็ขาด เช่นหยิบเงิน หรือสิ่งของเขาขึ้นมาแล้ว เจ้าของเขาเห็นแล้วก็วางลงไปตามเดิม หรือโต๊ะ ๔ ขา ยกออกจากที่หมด หรือวัวควายของเขา จูงให้เดินไป เมื่อขาทั้ง ๔ ของมันไปจากที่ยืนตามเดิมแล้ว ศีลก็ขาดทันที แม้ยัง เอาของหรือสัตว์นั้นไม่ได้ก็ตาม หรือนำออกไปแล้ว เอามาคืนใน ภายหลัง ศีลก็ขาดเช่นกัน เพราะของนั้นเคลื่อนที่พ้นจากที่ตั้งเดิม ไปแล้ว แต่ของนั้นหรือสัตว์ที่เราจะขโมยนั้น ถูกยกเคลื่อนที่ไปเพียง บางส่วน เช่น โต๊ะ ๔ ขา ยกเคลื่อนไปได้แล้วทั้ง ๒ ขา หรือวัว ควายจูงออกไปได้ ย่างไป ๓ ขาแล้ว ศีลยังไม่ขาด แต่เมื่อพ้นจาก ฐานเดิมทั้ง ๔ ขาแล้ว ศีลก็ขาดในทันที แม้จะเอามาคืนเขาทีหลัง แต่ศีลก็ขาดไปแล้ว ในข้อนี้ท่านถือฐานที่ตั้งเดิมหรือที่อยู่เดิมเป็น สำคัญ ลักเอาไปให้พ้นจากฐาน ศีลจึงขาด ตรงกับองค์ของศีลข้อนี้ ในองค์ข้อสุดท้ายว่า “ลักของนั้นได้มา”
แต่ถ้าของนั้น เราถือเอามาโดยวิสาสะ โดยความคุ้ยเคย เช่น ไม้ขีดไฟของเพื่อนหรือของพี่น้อง เราขอเอามาก่อนเอาไปใช้ แม้ ไม่ใช้คืนเขาศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่มีไถยจิต คือจิตคิดจะลัก
ลักเองศีลก็ขาด ใช้คนอื่นให้ลักศีลก็ขาด ท่านเรียกสิกขาบท (ศีล) ประเภทนี้ว่า “สาณัตติกะ-ทำเองหรือใช้ให้คนอื่นทำ ศีลก็ขาด”
แต่ถ้าสิกขาบทใด คือศีลข้อใด ตนทำเองเท่านั้น ใช้ให้คนอื่น ทำศีลไม่ขาด ท่านเรียกสิกขาบทนั้นว่า “อนาณัตติกะ-ใช้ให้คนอื่นทำ ศีลไม่ขาด” เช่น หรือใช้ให้คนอื่นกินเหล้า หรือนอนบนที่นอนสูง และที่นอนใหญ่ เป็นต้น ศีลก็ไม่ขาด เพราะสิกขาบทเหล่านี้เป็นอนาณัตติกะ
องค์ของศีลข้อที่ ๓
ศีลข้อที่ ๓ นั้นมี ๒ ประเภท คือ
๑. ศีลข้อ ๓ ในศีลห้า หมายถึง ห้ามประพฤติผิดในกาม
๒. ศีลข้อ ๓ ในศีลแปด หมายถึง ห้ามประพฤติผิดพรหมจรรย์
ห้ามประพฤติในกามของศีล ๕ นั้น ระหว่างหญิงกับชายห้าม ไม่เหมือนกัน ข้อห้ามในศีลข้อนี้ห้ามทั้งหญิงทั้งชาย ไม่ให้ประพฤติผิดประเวณี
องค์ของศีลข้อที่ ๓ คือ กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ ๔ คือ
๑.อคมนียวัตถุ หญิง (ชาย) ต้องห้าม
๒. ตสฺมี เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๓. เสวนปฺปโยโค ทำความพยายามเพื่อเสพ
๔. มคฺเคน มคฺคปปฏิปทาทนํ มรรคถึงกัน (เพศสัมพันธ์)
องค์ที่หนึ่ง คือ คนต้องห้าม คนต้องห้ามในที่นี้มี ๒ ประเภท คือ หญิงต้องห้ามและชายต้องห้าม ถ้าชายใดสมสู่กับหญิงต้องห้าม ชายนั้นผิดศีล ถ้าหญิงใดสมสู่กับชายต้องห้าม หญิงนั้นผิดศีล ถ้าคนทั้งสองต่างต้องห้ามกัน มาสมสู่กัน ต่างฝ่ายก็ต่างผิด
หญิงต้องห้ามมี ๓ ประเภท คือ
๑.หญิงมีสามี
๒. หญิงมีญาติปกครอง
๓. หญิงมีจารีตรักษา
หญิงมีสามี หมายถึง หญิงที่อยู่กินกับชายฐานะสามีภรรยากัน จะได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าเขาจะทำ พิธีแต่งงานกันหรือไม่ก็ตาม ไม่ถือเป็นประมาณ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เขาได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาโดยเปิดเผยเท่านั้น
หญิงประเภทนี้ จะหมดภาวะเป็นหญิงที่ต้องห้ามต่อเมื่อสามี ตายแล้ว หรือได้บอกหย่าขาดกับสามีแล้ว หญิงที่สามีถูกกักขัง เช่น ถูกจําคุก ถ้าไม่ได้หย่าขาดจากกัน ก็คงถือว่าหญิงนั้นมีสามี แม้สามี จะต้องถูกจองจำตลอดชีวิตก็ตาม ตนก็ยังอยู่ในฐานะเป็นหญิงต้องห้าม ของชายอื่นนอกจากสามีของตนเท่านั้น นอกจากสามีจะสิ้นชีวิต ชายใด สมสู่กับหญิงเช่นนี้ ย่อมผิดศีล
เมื่อเล็งเห็นถึงการทำความไว้วางใจกัน นอกจากการสมสู่กัน แล้ว แม้แต่การผูกสมัครรักใคร่ฐานชู้สาว การเกี้ยวพาราสี พูดเคาะ หรือแม้แต่การเล่นหูเล่นตากับภรรยาของผู้อื่นในเชิงชู้สาว แม้ไม่ถึง กับศีลขาดก็ตาม แต่ทำให้ศีลมัวหมอง ชายผู้รักษาศีลข้อนี้พึงเว้น การกระทำดังกล่าวเสียเช่นกัน
หญิงมีญาติปกครอง คือ หญิงสาวที่ไม่เป็นอิสระแก่ตน แต่ อยู่ในการปกครองของพ่อ แม่ พี่ ป้า น้า อา หรือผู้อุปการะ ซึ่งนับว่า เป็นญาติผู้ใหญ่ของตน หญิงประเภทนี้ ถ้าชายใดอยากได้มาเป็น ภรรยาก็ต้องติดต่อสู่ขอจากผู้ใหญ่ ให้ชอบด้วยประเพณี ให้เป็นศักดิ์ศรีแก่ตนและวงศ์ตระกูล ชายใดลักลอบสมสู่หรือฉุดคร่าลักพาไป ย่อมผิดศีลข้อนี้ทั้งสิ้น เว้นไว้แต่หญิงนั้นเป็นอิสระแก่ตัว ไม่อยู่ในการปกครองดูแลของใคร ไม่มีสามี รวมทั้งไม่ใช่หญิงที่จารีตรักษา การสมสู่กับหญิงประเภทนี้ไม่ผิดศีล แต่ต้องได้รับการยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ฉุดคร่ามาข่มขืนเอาตามอำเภอใจ
การผิดศีลในข้อนี้ เกิดจากขัดขืนน้ำใจท่าน ทำให้ผู้มีพระคุณต้องช้ำใจ ผิดทั้งชายและหญิง
หญิงที่ผู้ใหญ่รับของหมั้นจากชายแล้ว ตกลงว่าจะแต่งงานด้วย นับแต่รับของหมั้นแล้ว หญิงนั้นย่อมเป็นสิทธิของคู่หมั้น จนกว่า จะคืนของหมั้นหรือบอกเลิกการหมั้นเสีย
หญิงมีจารีตรักษา หมายถึง หญิงที่มีศีลธรรม กฎหมายหรือ จารีตคุ้มครองรักษา เช่น หญิงที่ประพฤติพรหมจรรย์ เช่น นางภิกษุณี นางสิกขมานา หรือสามเณรี หรืออุบาสิกา ที่รักษาศีลอุโบสถ เช่น แม่ชี หรือแม้ไม่ได้โกนหัวบวชเป็นชี แต่รักษาศีล ๘ เป็นประจำ ก็เป็นหญิงต้องห้ามของชาย หากล่วงละเมิด ก็ผิดศีลข้อนี้ทั้งสิ้น
ชายที่ต้องห้ามมี ๒ ประเภท ได้แก่ ชายที่หญิงสมสู่ไม่ได้มี ๒ ประเภท คือ
๑. ชายอื่นนอกจากสามีตน (สำหรับหญิงที่มีสามี)
๒. ชายที่จารีตห้าม (สำหรับหญิงทั่วไป)
ข้อที่หนึ่ง สำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว และยังอยู่กินกับสามี ก็ให้ถือว่า ผู้ชายนอกจากสามีตนจัดเป็นชายต้องห้ามทั้งสิ้น
ข้อสอง สำหรับหญิงทั่วไป คือทั้งที่มีสามีและไม่มีสามี ให้ถือว่า ชายที่จารีตต้องห้าม เช่น พระภิกษุสามเณร หรือนักบวชในศาสนาที่ถือพรหมจรรย์ทั้งหมด เป็นชายต้องห้าม ถ้าประพฤติล่วง เข้าเป็นการผิดประเวณี และเป็นการผิดศีลข้อนี้ทั้งสิ้น
ในศีลข้อ กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า หญิงที่มีสามี แล้ว ยังไม่ได้หย่าร้างกัน และสามีก็ยังอยู่ จะมีชายอื่นเป็นสามีที่สองไม่ได้ เพราะผิดประเวณี หรือผิดประเพณีอย่างมาก เพราะถ้ามีสามี หลายคนในขณะเดียวกัน ลูกที่เกิดมาก็ไม่รู้ว่าพ่อของเขาเป็นใคร จึง ไม่แตกต่างอะไรกับหมู่สัตว์เดรัจฉาน มีหมู แพะ แกะ ไก่ เป็นต้น
ส่วนชายสามารถมีภรรยาได้หลายคน ถ้าหากว่าหญิงที่ได้มา เป็นภรรยานั้น ไม่ใช่หญิงต้องห้าม ๓ ประเภทดังกล่าวแล้ว และได้ มาโดยชอบธรรม เช่น มีผู้ยกให้ หรือหญิงนั้นเป็นอิสสระแก่ตน และพอใจมาเป็นภรรยาเขา ดังที่เห็นไว้ว่า พระราชาแม้เป็นพระ โสดาบัน เช่น พระเจ้าพิมพิสาร ก็ปรากฏว่า นอกจากพระนางวิเทหิ ซึ่งเป็นพระมเหสีแล้ว พระองค์ก็ยังมีพระชายาอีกหลายพระองค์ แม้ท้าวสักกเทวราชจอมเทพในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็ปรากฏว่ามี พระมเหสีถึง ๔ พระองค์ คือ นางสุธรรมา นางสุนันทา นางสุจิตรา และนางสุชาดา ทั้ง ๆ ที่พระองค์ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ซึ่งพระอริยบุคคลแม้แต่ชั้นพระโสดาบัน ย่อมมีศีลบริสุทธิ์ที่สุด ดังนั้น ชายจึงสามารถมีภรรยาได้หลายคน ถ้าต้องการและได้โดยธรรม คือ ไม่เป็นหญิงต้องห้ามดังกล่าวแล้ว เพราะชายแม้จะมีภรรยาหลายคน ลูกที่เกิดมา ก็ย่อมแน่ชัดอยู่แล้วว่าใครเป็นพ่อ ใครเป็นแม่ตน จึง ไม่ผิดประเวณี คือไม่ผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจาร
องค์ของศีลข้อ ๓ ในศีล ๘
ส่วนผู้รักษาศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ จะมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เด็ดขาด เพราะผิดพรหมจรรย์
ในศีลข้อ ๓ ของศีล ๘ หรือศีลอุโบสถนั้นมีองค์ศีล ๒ คือ
๑. เสวนจิตฺตํ จิตคิดจะเสพ
๒. มคฺเคน มคฺคปฏิปทาทนํ มรรคถึงกัน
ในองค์ของศีล ๒ ข้อนี้ เพียงแต่คิดว่าจะเสพเมถุนเท่านั้น ศีลยังไม่ขาด เพราะยังไม่ครบองค์ ๒ แต่ก็ทำให้ศีลเศร้าหมองได้ แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์เมื่อใด ศีลก็ขาดทันที เว้นไว้แต่ถูกข่มขืนแล้วไม่ยินดี เพราะไม่ครบองค์ ๒
ในศีลข้อนี้ ถ้าเพียงจับมือถือแขน ศีลยังไม่ขาด หรือเพียง กอดจูบกัน ศีลก็ยังไม่ขาด แต่ศีลเศร้าหมอง ด่างพร้อย แต่เดี๋ยวนี้ แม่ชีที่ถือศีลข้อนี้เคร่ง แม้ส่งของให้แก่ผู้ชายด้วยมือของตนก็ไม่ยอม เพราะกลัวจะเสียศีล แต่ถ้าไม่ถูกกันแต่อย่างใด ศีลก็ไม่ขาดและไม่ ด่างพร้อยด้วย แต่เมื่อถือเคร่งเข้าไว้ย่อมดีกว่าหนักไปด้านข้างหย่อน นักพระวินัยถือกันอย่างนี้
องค์ของศีลข้อที่ ๔
ในศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจากการพูดเท็จ คือศีลข้อนี้จะขาดไปได้ เพราะล่วงศีลครบทั้งองค์ ๔ อย่าง คือ
๑. อตถํ วตฺถุ เรื่องไม่จริง
๒. วิสํวาทนจิตฺตํ จิตคิดจะกล่าวให้ผิด
๓. ตชฺโช วายาโม พยายามกล่าวให้ผิด
๔. ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ การให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องน้ำ
ถ้าผู้ใดล่วงศีลข้อนี้ ถ้าครบองค์ ๔ แล้วศีลจึงจะขาด ถ้าไม่ครบองค์ ๔ ขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง ศีลก็ไม่ขาด
เรื่องไม่จริง หมายความว่า เรื่องที่พูดนั้นไม่จริง เมื่อพูดออกไปก็เป็นคําเท็จหรือคํามุสา แม้เรื่องไม่จริง แต่พูดผิดพูดพลั้งเผลอ ไป เช่น วันนี้เป็นวันอาทิตย์ แต่พูดผิดหรือเข้าใจผิดไปว่าวันจันทร์ แล้วพูดว่า วันนี้เป็นวันจันทร์ อย่างนี้ศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่มีเจตนา จะพูดให้ผิดหรือพูดเท็จ
เรื่องไม่จริง แม้ไม่ได้พูดแต่ทำกิริยาท่าทางให้คนอื่นรู้ ความ หมายของอาการที่แสดงออกนั้น เช่น ยกมือหรือสั่นศีรษะให้คนรู้ หรือเขียนเป็นอักษรบอกให้ทราบ แต่เป็นเรื่องเท็จ ศีลก็ขาดเหมือนกัน เพราะให้สำเร็จประโยชน์เท่ากัน เพราะการผิดศีลข้อนี้นอกจาก แสดงออกทางคําพูดที่เรียกว่า “วจีกรรม” แล้ว ยังผิดได้เพราะแสดงออกทางกายที่เรียกว่า “กายกรรม” อีกด้วย ฉะนั้น การผิดศีลข้อนี้ในบางครั้งเป็นทั้งวจีทุจริต ทั้งวจีกรรม คือเป็นได้เพราะแสดงออก ทางวาจาอย่างเดียว แต่บางครั้งเป็นวจีทุจริต แต่เป็นกายกรรม คือ เป็นได้เพราะแสดงกิริยาท่าทางโดยทางกายหรือเขียนหนังสือให้รู้อีกด้วย
ถ้าพูดคํามุสาออกไปแล้ว หรือแสดงออกทางกายให้เขาเข้าใจผิดแล้ว แต่ผู้ฟังหรือผู้ที่ดูอาการทางกายที่แสดงออกไม่เข้าใจ เช่น พูดโกหกกับเด็กหรือพูดกับชาวต่างชาติ เขาฟังไม่เข้าใจ แม้พูดเรื่อง ไม่จริง ศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่ครบองค์ คือผู้ฟังไม่เข้าใจ แม้ศีลไม่ขาด เพราะไม่ครบองค์ แต่ศีลก็เศร้าหมองไป เพราะจิตคิดจะพูดเรื่องไม่จริงและพูดออกไปแล้ว เป็นแต่ผู้ฟังไม่เข้าใจเท่านั้น
บางคนพูดว่าศีลข้อนี้รักษายาก เพราะบางคราวเราต้องพูด โกหกบ้าง มิฉะนั้นแล้วจะพาตัวไม่รอด เมื่อถึงคราวคับขัน หรือเพื่อ เอาตัวรอด เช่น มีผู้มาขอยืมเงินเรา และผู้ที่ยืมนั้นเป็นญาติ เป็นเพื่อ เป็นมิตรของเรา ถ้าให้ไปก็ไม่ได้คืน และเคยประสบมามากรายแล้ว จนไม่อยากจะให้ใครยืมเงิน บางทีก็บอกให้เขาไปเลยแต่ไม่มาก เพราะแก้รําคาญหรือไม่ต้องมาผิดใจไม่พอใจกันอีกในภายหลัง ครั้นจะพูดโกหกว่า ไม่มีเงิน ทั้ง ๆ ที่ก็พอมีอยู่ ศีลก็จะขาด จึงรู้สึกทำให้หนักใจในการรักษาศีลข้อนี้
ในกรณีเช่นนี้ ท่านผู้รู้แนะนําไว้เข้าที่ดี ทั้งไม่ผิดศีลและไม่เสีย มิตร คือถ้าเราไม่ต้องการให้เขายืม ก็พูดกับเขาตามความเป็นจริงว่า “ไม่มีที่จะให้” คือเงินที่ให้เขายืมนั้นไม่มี แต่ที่มีไว้ใช้ส่วนตัวนั้นๆ มี ไม่ต้องพูดจารในให้มาก พูดเท่านี้ก็พอว่า “ไม่มีที่จะให้” ศีลก็ ไม่ขาด เพราะเราพูดคําจริง ศีลจะขาดได้ก็ต่อเมื่อพูดเรื่องไม่จริง ใคร จะคิดว่าการพูดแบบนี้เป็นการเลี่ยงบาลีก็ได้ แต่ดีกว่าพูดเท็จแน่นอน ทั้งศีลก็ไม่ขาดและไม่เศร้าหมองอีกด้วย ในสํานวนพระเรียกการพูด เช่นนี้ว่า “กัปปิยโวหาร – คําพูดที่สมควร
องค์ของศีลข้อ ๕
ศีลข้อ ๕ คือ การงดเว้นจากการดื่มน้ำเมา มีองค์สำหรับตัดสินว่า ศีลขาดหรือไม่มีองค์อยู่ ๔ อย่าง คือ
๑. มทนียํ ของมึนเมามีสุรา เป็นต้น
๒. ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ จิตใคร่จะดื่มกิน
๓. ตชฺโช วายาโม พยายามจะดื่มกิน
๔. ปิตุปฺปเวสนํ ดื่มกินให้ล่วงลำคอเข้าไป
ของมึนเมามีสุรา เป็นต้น คือของดื่มกินที่ทำให้ผิดศีลข้อนี้ ท่านหมายถึงมึนเมา จนทำให้สติเสียไป และเป็นเหตุให้เกิดความ ประมาทในชีวิต เพราะสติขาดเสียแล้ว เมื่อดื่มกินของมึนเมาเข้าไป
ในสมัยพุทธกาล ของเมาที่ห้ามไว้มีสุรากับเมรัย แต่ในปัจจุบัน ของเมาที่ทำให้สติเสีย และเป็นอันตรายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต มีมากขึ้น เช่น เฮโรอีน ผงขาว และยาบ้า เป็นต้น แม้ดื่มกินของ เหล่านี้ ศีลก็ขาดเช่นกัน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมัวเมาจนขาดสติยับยั้งจิตใจ
จิตใคร่จะดื่มกิน คือของเมาถ้าไม่ตั้งใจจะดื่มกิน แม้กิน เข้าไปศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่มีเจตนา เช่นเหล้า เข้าใจผิดว่าน้ำแล้ว ดื่มกินเข้าไป ศีลไม่ขาด เพราะไม่ครบองค์ คือไม่มีเจตนาจะดื่มกิน แต่น้ำเมานี้ ถ้าเป็นศีลของพระ แม้ไม่มีเจตนาจะดื่ม แต่เมื่อดื่มกิน เข้าไปด้วยความเข้าใจผิดศีลก็ขาด เพราะศีลข้อนี้ของพระเป็น อจิตตกะ คือแม้ไม่มีเจตนาก็ขาดศีล เพราะพระต้องมีความระมัดระวัง มากกว่าชาวบ้านและสามเณร
ดื่มกินให้ล่วงลำคอเข้าไป คือการดื่มกินนั้นไม่จำเป็นต้องเข้า ทางปากอย่างเดียว แม้ฉีดเข้าไป หรือดมกลิ่นของมัน เช่น พวก สารไอระเหย เมื่อเข้าไปสู่ร่างกาย ศีลก็ขาดแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้า ทางลำคออย่างเดียว เพราะให้สำเร็จประโยชน์เช่นเดียวกัน คือ เสพ ของมึนเมาเช่นเดียวกัน
การอธิบายเรื่ององค์ของศีลในตอนนี้ ขอจบแค่ ๕ ข้อก่อน ส่วนองค์ของในศีลสิกขาบทข้อต่อไปที่ยังเหลือ จะได้บรรยาย ในตอนต่อไป ขอให้ท่านสาธุชนทุกท่าน ตั้งใจทำความเข้าใจใน องค์ของศีลดังกล่าวมา ก็จะได้รักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ได้อย่างแท้จริง
ตอนที่ ๗
องค์ของศีล (ต่อ)
การอธิบายเรื่ององค์ของศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ อันรวมถึง ศีล ๕ ในการอธิบายนี้ด้วย ได้อธิบายไปแล้ว ๕ สิกขาบทหรือ ๕ ข้อ ในตอนที่ ๖ และในตอนที่ ๗ นี้จะได้อธิบายต่อ เริ่มตั้งแต่สิกขาบทที่ ๖ เป็นต้นไป
องค์ของศีลข้อ ๖
ในสิกขาบทที่ ๖ คือ การเว้นจากการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล ในศีลข้อนี้ มีองค์ ๔ คือ
๑. วิกาโล เวลาเที่ยงวันไปจนถึงวันรุ่งขึ้น
๒. ยาวกาลิกํ ของที่เป็นอาหารชั่วกาล
๓. อชฺโฌหรณปโยโค พยายามเพื่อจะกลืนกิน
๔. เตน อรุโฌหรฌํ กลืนด้วยความพยายามนั้น
ในการจะผิดศีลข้อนี้ได้ การกระทำของผู้นั้นต้องประกอบด้วย องค์ของศีล ๔ ประการนี้ หากไม่ครบองค์ศีลก็ไม่ขาด
องค์ที่หนึ่ง เวลาเที่ยงวันไปจนถึงวันรุ่งขึ้น คําว่า เวลาวิกาลในพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ
๑. เวลากลางคืน
๒. เวลาเที่ยงวันไปจนถึงวันรุ่งขึ้น
คําว่า “วิกาล” ในศีลข้อนี้ หมายถึง เวลาเที่ยงวันไปจนถึง วันรุ่งขึ้น โดยถือดวงตะวันเป็นหลัก ไม่ได้ถือนาฬิกา เพราะนาฬิกา ไม่แน่นอน ๑๒ นาฬิกาในเวลาเที่ยงวันไม่ตรงกับเวลาเที่ยงจริงของ ดวงอาทิตย์ และเวลาเปลี่ยนไปตลอด ไม่ตรงกันสักเดือนเดียว ดังจะเปรียบเทียบเวลาเที่ยงจริงของดวงอาทิตย์กับเวลาเที่ยงของ ๑๒ นาฬิกามาให้ดูทั้ง ๑๒ เดือน เพื่อผู้รักษาศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ จะได้ดูเป็นหลักในการดูเวลาเที่ยงวันแท้จริงโดยดูนาฬิกาเทียบกับเวลาเที่ยงจริงของดวงอาทิตย์ ซึ่งเวลาตารางเปรียบเทียบนี้นํามาจากการคํานวณของปฏิทินปักข์ของมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยยึดเวลา เที่ยงจริงของกรุงเทพมหานครเป็นหลัก ส่วนเวลาเที่ยงจริงระหว่าง กรุงเทพฯ กับจังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกของกรุงเทพฯ เวลาก็เที่ยง ก่อน เพราะดวงอาทิตย์ขึ้นก่อน แต่อย่างมากไม่เกิน ๑๙ นาที คือ จังหวัดอุบลราชธานี แต่ถ้าจังหวัดใดอยู่ไปทางตะวันตกของกรุงเทพฯ เวลาจะเที่ยงช้ากว่ากรุงเทพฯ อย่างมากไม่เกิน ๖ นาที เช่น จ.กระบี่ และ จ.เชียงใหม่ เที่ยงหลังจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๖ นาที บางจังหวัด ของไทยที่เที่ยงตรงกับกรุงเทพฯ มี ๖ จังหวัด คือ สงขลา สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ทุกปีเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด
เวลาเที่ยงจริงของกรุงเทพฯ ทั้ง ๑๒ เดือน
วันที่ เดือน เวลาเทียงในกรุงเทพฯ
๑ มกราคม ๑๒.๒๑ น.
๑๕ มกราคม ๑๒.๒๗ น.
๑ กุมภาพันธ์ ๑๒.๓๑ น.
๑๕ กุมภาพันธ์ ๑๒.๓๒ น.
๑ มีนาคม ๑๒.๓๐ น.
๑๕ มีนาคม ๑๒.๒๗ น.
๑ เมษายน ๑๒.๒๒ น.
๑๕ เมษายน ๑๒.๑๘ น.
๑ พฤษภาคม ๑๒.๑๕ น.
๑๕ พฤษภาคม ๒.๑๔ น.
๑ มิถุนายน ๑๒.๑๖ น.
๑๕ มิถุนายน ๑๒.๑๘ น.
๑ กรกฎาคม ๑๒.๒๒ น.
๑๕ กรกฎาคม ๑๒.๒๔ น.
๑ สิงหาคม ๑๒.๒๔ น.
๑๕ สิงหาคม ๑๒.๒๒ น.
๑ กันยายน ๑๒.๑๘ น.
๑๕ กันยายน ๑๒.๑๓ น.
๑ ตุลาคม ๑๒.๐๗ น.
๑๕ ตุลาคม ๑๒.๐๓ น.
วันที่ เดือน เวลาเที่ยงในกรุงเทพฯ
๑ พฤศจิกายน ๑๒.๐๑ น.
๑๕ พฤศจิกายน ๑๒.๐๒ น.
๑ ธันวาคม ๑๒.๐๗ น.
๑๕ ธันวาคม ๑๒.๐๓ น.
ตามตารางที่นํามาเปรียบเทียบให้ดูนี้จะเห็นได้ว่า เดือนที่เวลา เที่ยงจริง ดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับเวลาเที่ยงของนาฬิกาในกรุงเทพฯ คือ ปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายน นั่นก็คือ ๑๒.๐๑ น. ส่วนเวลาที่ต่างกันมากคือ เดือนกุมภาพันธ์ คือ ๑๒.๓๒ น. ในการรักษาศีลข้อนี้ ที่ควรสังเกตและจำไว้ก็คือ เมื่อตนอยู่ใน ประเทศใดก็ให้ถือเวลาของประเทศนั้น แม้อยู่ในเครื่องบินที่กําลัง บินอยู่ ก็ให้ถือเวลาท้องถิ่นที่เครื่องบินกําลังบินอยู่ เพราะเดี๋ยวนี้ ในเครื่องบินสมัยใหม่ที่กําลังเดินทางจะบอกเวลาท้องถิ่น (Local Time) ไว้ให้ผู้โดยสารทราบด้วย แต่ถ้าเครื่องบินลำใดไม่ได้บอกเวลา ท้องถิ่นไว้เราต้องคํานวณเอาเองว่า เวลาขณะนั้นที่กําลังนั่งอยู่ใน เครื่องบินนั้น เวลาท้องถิ่นที่เครื่องกําลังบินอยู่เวลาเท่าไร ถ้าไม่แน่ใจ ก็รีบทานอาหารเสียก่อน ดีกว่านั่งทานอาหารไปก็สงสัยว่าขณะนี้ เที่ยงแล้วหรือยัง เพราะแม้เลยเที่ยงวันไปแล้วแค่เพียงหนึ่งนาที ศีลก็ขาด ในกรณีเช่นนี้ เราต้องถือนาฬิกาเป็นประมาณ เพราะไม่มี หลักคํานวณเวลาท้องถิ่นในการเที่ยงจริงเหมือนอย่างที่ปฏิทินมหามกุฏราชวิทยาลัยได้ทำไว้
อีกประการหนึ่ง ในแถบขั้วโลกเหนือ เช่น ประเทศสวีเดนและ นอรเวย์ ฟินแลนด์ และในแถบขั้วโลกใต้ เช่น ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นต้น ดวงอาทิตย์ไม่อยู่เหนือศีรษะเมื่อเวลาเที่ยง แต่เอียงไปอยู่ข้าง ๆ หรือแม้แต่บนเทือกเขาหิมาลัย ดวงอาทิตย์เมื่อ เที่ยงวันไม่ได้อยู่เหนือศีรษะของเรา ก็ให้ถือนาฬิกาเป็นประมาณไม่ว่าในฤดูใต
องค์ที่สอง ของที่เป็นยาวกาลิก คือ เป็นอาหารชั่วกาล คือ ของที่รับประทานไม่ได้เมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว ได้แก่อาหารทุกชนิด เว้นไว้แต่น้ำผลไม้คั้น ที่ทรงอนุญาตให้รับประทานหลังเที่ยงวันได้ และยาทุกชนิดเท่านั้น หรือเว้นไว้แต่เภสัชที่ทรงอนุญาตพิเศษให้ รับประทานได้ในเวลาวิกาล คือ เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำมัน และ น้ำอ้อย แม้แต่นมสด นมส้ม โอวัลติน เครื่องดื่มผสมนมทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นยาวกาลิก คือของที่รับประทานได้ชั่วกาล เลยเที่ยงวัน ไปแล้ว ถ้าผู้ถือศีล ๘ ผู้ใดรับประทานเข้าไปก็ถือว่า ศีลขาดทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องกาลิก ของที่รับประทานตามกาลนี้จะได้พูดรายละเอียดอีกครั้งในตอนข้างหน้า
องค์ที่สามและองค์ที่สี่ คือ พยายามกลืนกินและกลืนกิน ของนั้นเข้าไป ข้อนี้หมายถึงกินให้ล่วงลําคอเข้าไป ไม่ใช่เพียงผ่าน ปากเท่านั้น แต่ต้องผ่านลําคอ ถ้าเพียงแต่อมไว้ยังไม่ทันกลืนกิน ศีลไม่ขาด เอาอาหารใส่เข้าปากแล้ว แต่พอหันไปดูตะวันหรือไปดู นาฬิกา ก็เห็นว่าเลยเที่ยงไปแล้ว ก็คายออกเสียหรือบ้วนทิ้งเสีย ศีล ก็ไม่ขาด หรือน้ำมะพร้าวเข้าใจว่าเป็นน้ำธรรมดา ดื่มเข้าไปแล้วแต่ยัง ไม่ทันผ่านลำคอ เมื่อรู้ว่าเป็นน้ำมะพร้าวก็บ้วนทิ้งเสีย เพราะน้ำมะพร้าว รับประทานไม่ได้ในเวลาวิกาล เนื่องจากเป็นมหาผล ที่พระพุทธเจ้า ไม่ทรงอนุญาตให้รับประทานในเวลาวิกาล เมื่อไม่ล่วงลำคอศีลก็ไม่ขาด แต่ถ้าผ่านลำคอเข้าไปแล้ว ศีลก็ขาด
ใครก็ตามที่รักษาศีลข้อนี้ ไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ก็ตาม ถ้ารับประทานอาหารประเภทยาวกาลิก – อาหารที่ใช้ชั่วกาล ศีลขาดทั้งสิ้น พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุไข้หรือผู้รักษาศีลข้อนี้าศีลข้อนี้ ที่ป่วยไข้ฉันหรือรับประทานอาหารที่เป็นยาวกาลิกได้เฉพาะน้ำเนื้อ หรือน้ำข้าวกรองเท่านั้น ถ้าอาหารเป็นยาวกาลิกนอกจากนี้ รับประทาน ในกาลคือเช้าถึงเที่ยงเท่านั้น ถ้าเลยเที่ยงไปศีลก็ขาดไม่ว่าจะเป็นไข้ หรือไม่ หรือไม่ว่าผู้นั้นจะเข้าใจผิดว่ายังไม่เที่ยงแล้วรับประทานเข้าไปก็ตาม
แม้ผู้ที่รับศีลข้อนี้ รับประทานอยู่ก่อนเที่ยง แต่รับประทาน ติดต่อกันจนเลยเที่ยง ศีลก็ขาดเช่นกัน จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
ฉะนั้น ผู้รักษาศีลข้อนี้ จึงควรทำความเข้าใจเรื่องความหมาย และขอบเขตของศีลข้อนี้ให้ชัด มิฉะนั้นแล้ว บางทีศีลขาดไปแล้วก็ยังไม่ทราบ
องค์ของศีลข้อที่ ๗
ในศีลข้อที่ ๗ ท่านแยกองค์ของศีลออกเป็น ๒ ตอน คือ
ตอนที่ ๑ นัจจคีตวาทิตวิสุกทัสสนะ
ตอนที่ ๒ มาลาคันธวิเลปนธารณมัณฑนวิภูสนัฏฐานา
ในตอนแรกคือ การเว้นจากการฟ้อนรําขับร้อง ประโคม เครื่องดนตรีต่าง ๆ และดูการละเล่นที่เป็นข้าศึกต่อบุญกุศล มีองค์ ๓ คือ
- นจฺจาทีนิ การเล่นมีการฟ้อนรําขับร้อง เป็นต้น
- ทสฺสนฺตฺถาย คมนํ ไปเพื่อจะดูหรือจะฟัง
- ทสฺสนํ ดูหรือฟัง
องค์ที่หนึ่ง คือ การเล่นมีการฟ้อนรําขับร้อง เป็นต้น ข้อนี้ หมายความว่า การเล่นมีหลายอย่าง เช่น เล่นว่าว เล่นซ่อนหา เล่น เตะตะกร้อ เป็นต้น แต่การเล่นบางอย่าง มันเป็นข้าศึกต่อบุญกุศล ทำให้เกิดกิเลส โดยเฉพาะกามหรือการยั่วกาม ทำให้บุญกุศลตกไป เช่น การฟ้อนรํา การขับร้อง การประโคม ที่เรียกรวมกันว่า การดีด สี ตี เป่า เช่น ดีดพิณ ดีดกีต้าร์ เป็นต้น หรือการสี เช่น สีซอ สีไวโอลิน เป็นต้น การตี เช่น การตีฉิ่ง ตีฉาบ ตีฆ้อง ตีกลอง เป็นต้น การประโคม เช่น ประโคมดนตรี ประโคมระนาด หรือเหมือนอย่างลิเกหรือละคร โหมโรง เป็นต้น จัดเข้าในข้อนี้ทั้งสิ้น
ถ้าเขามีการฟ้อนรํา ขับร้องหรือการประโคม แต่เราไม่ได้ไปดู หรือไปแต่ไม่ได้ดู ศีลก็ไม่ขาด แต่แม้เราไม่ได้ไปดู แต่เป็นคนฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม หรือแสดงเสียเองก็ผิดเหมือนกัน หรือผิวปากเป็น เสียงเพลง หรือเพลงอยู่แต่ในลำคอ หรือแม้แต่ปรบมือหรือเคาะไม้ ทำเป็นเสียงเพลง ก็ผิดศีลข้อนี้เช่นกัน
องค์ที่สอง ไปเพื่อจะดูหรือเพื่อจะฟัง ข้อนี้หมายถึง ตั้งใจ ไว้ว่าจะไปดูหรือจะไปฟัง แต่ถ้าเราอยู่ที่บ้านของเราหรือที่วัดของเรา ได้เห็นหรือได้ยินการฟ้อนรํา ขับร้อง เป็นต้น โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจดู หรือตั้งใจฟัง แต่อยู่ในบริเวณนั้น มันได้เห็นได้ฟังเข้า ถ้าเช่นนี้ศีล ไม่ขาด เพราะไม่ได้ตั้งใจดูหรือตั้งใจฟัง
หรือใครก็ตามที่รักษาศีลข้อนี้ นั่งฟังหรือนั่งดูรายการพระเทศน์ หรือรายการธรรมะ รายการข่าว หรือสารคดีทางวิทยุหรือโทรทัศน์อยู่พอจบรายการก็มีเสียงเพลงดังเข้ามา หรือเสียงหรือภาพแสดงละคร หรือภาพยนตร์ อันเป็นสิ่งที่ขัดต่อบุญกุศล ถ้าตั้งใจดูหรือฟังรายการ นั้น ศีลก็ขาด ถ้าไม่ตั้งใจดูหรือฟังโดยปิดหรือเลื่อนหรือหมุนคลื่น เปลี่ยนไปช่องอื่นรายการอื่นเสีย ศีลก็ไม่ขาด เพราะไม่ได้ตั้งใจดูหรือฟังรายการดังกล่าว
ในตอนที่ ๒ เว้นจากทรงไว้ การประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องทาเครื่องยอมผัดผิวให้งามต่างๆ
ศีลข้อนี้มีองค์ ๓ คือ
๑. มาลาทีนํ อญฺญตฺรา เครื่องประดับมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น
๒. อนุญฺญาตการณาภาโว ไม่มีเหตุเจ็บไข้เป็นต้นที่ทรงอนุญาต
๓. อลงฺกตภาโว ทัดทรงตกแต่งเป็นต้นด้วยหวังประดับให้สวยงาม
ในองค์ที่ ๑ ของที่ทัดทรงตกแต่งนั้น มีดอกไม้และของหอม เป็นต้น ไม่ว่าเครื่องแป้ง เครื่องหอม เครื่องประดับผิวและน้ำหอม ทั้งหมด จัดเข้าในมาลาคันธวิเลปนะ คือดอกไม้ของหอมและ เครื่องลูบไล้ทั้งสิ้น
ในองค์ที่ ๒ นั้น ไม่มีเหตุที่จะให้ทรงอนุญาต ก็ทัดทรงตกแต่ง ไม่ได้ แต่ถ้ามีเหตุให้ทรงอนุญาต เช่น ป่วยไข้ เป็นผื่นคันตามตัว หรือหนังแตก หนังลอก ปากแตก เพราะหนาวจัดหรือร้อนจัด หรือ เพราะถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก เป็นต้น ก็ทายาได้ ศีลไม่ขาด
ในองค์ที่ ๓ นั้น ท่านห้ามการทัดทรงตกแต่งเพื่อหวังให้สวยงาม แต่ถ้าเราตกแต่งหรือทายาหรือน้ำมันหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น ไม่ได้มุ่งให้สวยงาม แต่ให้หายโรคหรือไม่ให้ร่างกายมองแล้วน่าเกลียดก็ใช้ได้ ศีลข้อนี้ไม่ขาดแต่ผู้ถือเคร่งในศีลข้อนี้ไม่ยอมทาอะไรเลย
องค์ของศีลข้อที่ ๘
ในสิกขาบทที่ ๘ คือเว้นจากที่นอนอันสูงและที่นอนใหญ่ (มีภายในยัดนุ่นและสำลี และเครื่องปูลาดอันวิจิตรโอ่อ่า บุด้วยเงิน และทองคําเป็นต้น) ศีลข้อนี้มีองค์ ๓ คือ
๑. อุจฺจาสยนมหาสยนา ที่นั่งที่นอนสูงและใหญ่
๒.อุจฺจาสยนมหาสยนสญฺญิตา รู้อยู่ว่าที่นั่งที่นอนสูงและใหญ่
๓. อภินิสีทนํ วา อภินิปชฺชนํ วา นั่งหรือนอนทับ
ในองค์ที่ ๑ คําว่า “ที่นอนสูงและใหญ่” นั้น ท่านหมายเอา เตียงที่มีเท้าสูง ๘ นิ้วพระสุคต (นิ้วของพระพุทธเจ้า) วัดแต่เท้าเตียง ไม่นับแม่แคร่ ๘ นิ้วพระสุคต เท่ากับ ๒๒ เซนติเมตร ในมาตรา นายม เมตริกในปัจจุบัน
ส่วนที่นอนใหญ่นั้น หมายถึงใหญ่จนคนสองคนนอนได้อย่าง สบาย คือเตียงคู่นั่นเอง อันหมายถึงเตียงของคนคู่ แต่เมื่อรักษาศีล ๘ แล้ว ย่อมเว้นจากเมถุนธรรม – ธรรมของคนคู่ คือเพศสัมพันธ์ เพื่อให้ห่างไกลจากกามจึงเว้นที่นอนประเภทนี้เสียด้วย ที่นั่งที่นอนสูงและใหญ่ที่ห้ามไว้ในสิกขาบทนี้ คือ เตียงหรือ ตั้ง (ดั่งคือที่ใช้สำหรับนั่ง ไม่มีพนัก อาจจะมีขาก็ได้ ไม่มีก็ได้) ในองค์ที่ ๒ รู้ว่าที่นั่งหรือที่นอนสูงและใหญ่ ถ้าไม่ทราบ ไม่ได้สังเกต แต่ได้นั่งหรือนอนลงไปบนที่นั่งที่นอนเช่นนั้นศีลไม่ เพราะไม่มีเจตนาจะล่วงศีล
แต่ในศีลข้อนี้ แม้แต่ที่นอนถูกแบบวินัย คือไม่สูงและไม่ใหญ่เกินกว่าที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ แต่ยัดนุ่นหรือสำลี ปูลาดด้วยเงินและทองอย่างโอ่อ่า สวยงาม ก็ใช้ไม่ได้ ผู้ใดนั่งหรือนอนลงบนที่นอน เช่นนี้ศีลขาดเช่นกัน เพราะไม่ต้องการให้เกิดกามกิเลส อันเกิดจาก ความโอ่อ่าและนอนสบายของที่นั่งที่นอนเช่นนั้น เว้นไว้แต่หมอน จะยัดนุ่นหรือสำลีได้ ทรงอนุญาต หรือที่นั่งที่นอนยัดด้วยหญ้าหรือทำด้วยฟองน้ำ เปลือกไม้หรือแม้แต่ใยสังเคราะห์ ก็ใช้ได้ ศีลไม่ขาด
ในองค์ที่ ๓ นั่งหรือนอนทับลงไป ในองค์ข้อนี้ ท่านหมาย เอานั่งหรือนอนลงไปบนเตียงหรือตั้งที่สูงและใหญ่เช่นนั้น แต่ถ้าไม่ ได้นั่งหรือไม่ได้นอนลงไป เป็นเพียงแต่ยืนบนเตียงหรือตั้ง เช่นนี้ ศีลไม่ขาด ถ้าไม่ได้ใช้นั่งหรือนอน แต่มีไว้สำหรับรับแขกหรือมีไว้สำหรับวางของศีลก็ไม่ขาด
หากท่านผู้รักษาศีลศึกษาให้เข้าใจองค์ของศีล ๘ ในทุก สิกขาบทดังกล่าวมาแล้วครบถ้วน แล้วปฏิบัติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ตั้งแต่ต้น ก็จะรักษาได้บริสุทธิ์สมตามจุดมุ่งหมายตามพุทธประสงค์ ก็จะได้รับอานิสงส์แห่งการรักษาศีลที่บริบูรณ์ได้อย่างแน่นอน ขอให้ตั้งใจศึกษาให้เข้าใจชัด เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติได้ถูกต้อง ของตน และในการแนะนําผู้อื่น อันเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงมั่น แห่งพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย
โทษหนักเบาของการล่วงศีล
ในการผิดศีลทั้ง ๘ ประการนี้ ถ้าจะถามว่ามีโทษหนักเบา เหมือนกันหรือไม่ ? ในข้อนี้ขอตอบว่า โทษไม่เท่ากัน ที่เห็นได้ชัด คือการผิดศีล ๕ กับการผิดศีล ๘ มีโทษต่างกันมาก
ศีล ๕ ทุกข้อ ถ้าใครประพฤติเข้าแล้ว จะได้รักษาศีลมาก่อน จึงเป็นการก่อเวรให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและส่วนรวม หรือไม่ได้รักษาศีลมาก่อนก็ตาม ย่อมเป็นบาปทั้งสิ้น เพราะเป็นประพฤติทุจริต จึงเป็นการก่อเวรให้เกิดขึ้นแก่ตนเองและส่วนรวม
ส่วนศีล ๘ นอกจากศีล ๕ อีก ๓ ข้อ และข้อ ๓ เว้น เพศสัมพันธ์ ถ้าใครประพฤติผิดศีล ๘ ไม่เป็นบาป เพราะศีล ๘ เป็นวัตร คือข้อปฏิบัติที่ยกจิตให้สูงขึ้น ท่านจึงเรียกศีล ๘ ว่า ศีลวัตร แต่เมื่อศีล ๘ ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป ศีลก็ขาดหมด เพราะการสมาทาน ศีล ๘ เป็นการสมาทานรวบที่เรียกว่า เอกชนสมาทาน บุญก็หยุด เมื่อศีลขาด และเปิดทางให้กิเลสประเภทนิวรณ์คือกามฉันท์ไหลเข้า มาสู่จิตใจได้ง่าย เพราะศีล ๘ ที่นอกเหนือจากศีล ๕ ทุกข้อ มุ่งยก จิตให้ขึ้นสู่สมาธิ และเพื่อป้องกันกามฉันท์เป็นสำคัญ จะได้เบากาย เบาใจมีเวลาในการทำสมาธิอบรมจิตของตนได้มาขึ้น ศีล ๘ จึงมีผลมากกว่าศีล ๕
การประพฤติผิดศีล ๕ แล้ว จะบาปหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย ๓ ประการเป็นเครื่องตัดสิน คือ
๑. วัตถุ
๒. ประโยค
๓. เจตนา
วัตถุ หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ หรือเรื่องที่เป็นตัวทำกรรม เช่น
ถ้าฆ่าคนหรือสัตว์ดิรัจฉาน คนหรือสัตว์ที่เราคนหรือสัตว์ที่เราฆ่านั้นจัดเป็น วัตถุของปาณาติบาต ผู้ที่เราฆ่านั้นเป็นผู้มีคุณมากหรือเป็นผู้มีคุณน้อยเป็นสัตว์ใหญ่หรือเป็นสัตว์เล็ก ถ้าฆ่าผู้มีคุณความดีมาก เช่น พ่อ หรือพระสงฆ์ บาปก็มาก แต่ฆ่าผู้มีคุณความดีน้อย เช่น โจร ก็น้อย ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บาปก็มาก แต่ถ้าฆ่ายุงหรือฆ่ามด บาปก็น้อย
ในการลักของเขา ถ้าของใหญ่หรือของน้อยแต่มีค่ามาก บาป ก็มาก แต่ถ้าของที่ลักนั้นเป็นของน้อยหรือมีค่าน้อย บาปก็น้อย
ในการประพฤติผิดในกาม ถ้าประพฤติผิดในท่านผู้มีคุณความ ดีมาก มีคุณธรรม เช่น พระภิกษุสามเณร บาปก็มาก ถ้าประพฤติผิด ในท่านผู้มีคุณความดีน้อยหรือคนชั่ว บาปก็น้อย
ในการพูดเท็จ ถ้าเรื่องที่พูดสำคัญ เกิดความเสียหายมาก หักรานประโยชน์คนอื่นมาก บาปก็มาก ถ้าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่ สำคัญ หรือพูดเพื่อสนุก หัวเราะเล่น บาปก็น้อย
ในการเสพของมึนเมา ถ้าของที่เสพนั้นมีฤทธิ์มาก ร้ายแรง ทำให้มึนเมา หลงใหล ไร้สติได้มาก บาปก็มาก แต่ถ้ามึนเมานิดหน่อย ทำลายสติสัมปชัญญะน้อย บาปก็น้อย
ประโยค หมายถึงความพยายาม คือการกระทำทางกาย หรือทางวาจา ถ้าทำด้วยความพยายามมาก เช่น ต้องติดตามกระทำ
กรรมนั้นเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี บาปก็มาก ถ้าทำด้วยความ พยายามน้อย เช่น ตบยุงแปะเดียว ไม่ต้องลงแรงมาก บาปก็น้อย เจตนา หมายถึงความจงใจหรือตัวเจตนา เพราะการทำกรรม
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม ที่จะจัดเป็นกรรม ส่งผลให้แก่ผู้ทําได้ จะต้องทำด้วยเจตนาหรือความจงใจ เช่น ถ้า ฆ่าสัตว์ด้วยไม่มีเจตนา ก็ไม่บาป หรือทำบุญด้วยไม่มีเจตนา ก็ไม่ เป็นบุญ พระพุทธเจ้าจึงตรัสกฎแห่งกรรมในข้อนี้ไว้ว่า “เจตนาหํ ภิกขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำ ที่มีเจตนาว่าเป็นกรรม”
ดังนั้น เมื่อพูดในด้านเจตนากันแล้ว ถ้ากระทำกรรมด้วย – เจตนาที่รุนแรง คือทำด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะกล้า บาปก็มาก ถ้าทำด้วยเจตนาที่เบาบาง คือทำด้วยความโลภ โกรธ หลง น้อย บาปก็น้อย
ฉะนั้น การจะตัดสินใจว่า การผิดศีล ๕ เป็นบาปมากหรือ น้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการดังกล่าวมา แม้บุญจากการรักษาศีล ๕ ก็มีนัยตรงกันข้ามกับการทำบาป จึงไม่ จำเป็นต้องชี้แจงอีก
ตอนที่ ๘
เบญจธรรม
ในการบรรยายสีลกถานี้ ท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องศีลติดต่อกัน มาถึง ๒ ตอน ได้เข้าใจถึงศีลในแง่มุมต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการรักษาศีลในพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น แต่เรื่องศีลนี้ ยังมีข้อปลีกย่อยที่จะต้องทำความเข้าใจอยู่อีกหลายเรื่อง เพราะฉะนั้น ในตอนนี้จะได้พูดถึงเบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม ซึ่งคู่กับเบญจศีล
มีคําถามขึ้นมาว่า ในการรักษาศีลนั้น ศีลจะเกิดขึ้นและตั้งอยู่ เพราะอาศัยอะไร ? คําตอบซึ่งได้เคยตอบมาแล้วในบทก่อนว่า ศีล จะเกิดขึ้นเพราะอาศัยวิรัติ คืองดเว้น ซึ่งวิรัตินั้นมี ๓ อย่าง ได้อธิบาย ไปแล้ว แต่ศีลจะตั้งอยู่หรือตั้งอยู่ได้นานนั้น เพราะอาศัยอะไร เพราะ ศีลของบางคนนั้นรักษาแล้วตั้งอยู่ได้ไม่นาน คือรักษาไว้ไม่นานศีลขาด ในที่นี้ ถามว่า “ศีลจะดำรงอยู่ได้นานนั้นเพราะอาศัยอะไร ?” คําตอบ ก็คือ “ต้องอาศัยเบญจธรรม หรือกัลยาณธรรม” ซึ่งคู่กับเบญจศีล
บางท่านได้เคยทราบเรื่องเบญจศีลเบญจธรรมมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ได้เรียนธรรมศึกษา ในแบบเรียนธรรมศึกษา วิชาวินัยของฝ่ายคฤหัสถ์ที่เรียนธรรมศึกษาเขาจะให้เรียนเรื่องเบญจธรรมและอุโบสถศีลด้วย
เบญจธรรม ก็คือ ธรรม ๕ ประการ ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “กัลยาณธรรม” มีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑. เมตตา กรุณา เป็นตัวหนุนศีลข้อที่ ๑ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ เป็นตัวหนุนศีลข้อที่ ๒ คืองดเว้นจากการลักทรัพย์
๓.ความสำรวมในกาม เป็นตัวหนุนศีลข้อที่ ๓ คืองดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
๔. ความสัตย์ เป็นตัวหนุนศีลข้อที่ ๔ คือ การงดเว้นจาก การพูดเท็จ
๕. ความมีสติรอบคอบ เป็นตัวหนุนศีลข้อที่ ๕ คือการงดเว้นจากการดื่มนาเมา
เบญจศีลก็คือ ศีล ๕ เบญจธรรมก็คือ ธรรม ๕ เบญจ แปลว่า ๕ ธรรมก็คือธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นตัวหนุนศีลให้ดำรง อยู่ได้นาน ถ้าหากว่าผู้ใดรักษาศีลแล้วไม่มีเบญจธรรมนี้เข้าหนุน ศีลนั้นจะขาดง่าย จะดำรงอยู่ไม่ได้นาน และบุญก็จะได้น้อยด้วย เพราะรักษาแต่ศีล แต่ไม่ประพฤติธรรม
ในการรักษาศีล ศีลจะดำรงอยู่ได้นานต้องมีธรรมะ ๕ ประการ เป็นตัวหนุนให้ศีลอยู่ได้นานด้วย
เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น ขอย้ำว่า เบญจธรรม ๕ ประการ ก็คือ
๑. เมตตา กรุณา
๒. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพโดยชอบ
๓. ความสำรวมในกาม
๔. ความมีสัตย์
๕. ความมีสติรอบคอบ
ถ้าผู้ใดมีธรรมะทั้ง ๕ ประการนี้ หรือกัลยาณธรรม (ธรรมที่ งาม) ๕ ประการนี้แล้ว ศีลของผู้นั้น โดยเฉพาะศีล ๕ จะบริสุทธิ์อยู่ ได้นานและขาดยาก แต่ถ้าหากว่าไม่มีกัลยาณธรรม หรือเบญจธรรม ทั้ง ๕ ประการนี้หนุนแล้ว ศีลจะขาดได้ง่าย
ยกตัวอย่าง คนที่รักษาศีลข้อที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ ถ้าผู้นั้นไม่มีเมตตา กรุณา ศีลจะขาดไว แต่ถ้ามีเมตตา กรุณาศีลจะขาดช้าหรือไม่ขาดเลย
เมตตาคืออะไร ? เมตตาก็คือความปรารถนาจะให้ผู้อื่น สัตว์อื่นมีความสุข
กรุณาคืออะไร ? กรุณาก็คือการสงสารที่เห็นผู้อื่นมีความทุกข์ ต้องการช่วยให้พ้นทุกข์
เมตตากับกรุณานั้นต่างกัน เมตตาเราแผ่ไปหรือปรารถนาดี อยากให้ผู้อื่นมีความสุข อย่าได้มีความทุกข์ ส่วนกรุณานั้นเห็นเขาทุกข์ อยู่แล้ว สงสารเขา อยากให้เขาพ้นจากทุกข์
คนที่มีเมตตา กรุณาจึงเป็นมนุษย์ที่มีคุณธรรม ท่านตั้งคําถามไว้ว่า “เมื่อเราเดินไปเห็นคนตกน้ำ เราอยู่ในฐานะที่ช่วยเหลือได้แต่เราไม่ช่วย ถามว่า ผู้นี้ขาดเมตตาหรือกรุณา ?
คําตอบก็คือ ขาดกรุณา เพราะเขาทุกข์อยู่ไม่ช่วยเขา หรือเห็นคนถูกรถชน บาดเจ็บสาหัสไม่มีใครช่วยเหลือ เราผ่านไปก็ไม่ยอม ช่วยเขา อย่างนี้เรียกว่า ขาดกรุณา
นิทานแม่ชีอยากกินปู
คนที่ใจจืดใจดำ ฆ่าคน ฆ่าสัตว์อย่างโหดเหี้ยม พวกนี้ขาด ตตากรุณาทั้งสิ้น เมื่อขาดเมตตากรุณาแล้วศีลขาดง่าย ฆ่าสัตว์ ก็ฆ่าได้ง่าย ฆ่าคนก็ฆ่าได้ง่าย ศีลข้อ ๑ จึงขาดได้ง่าย เพราะขาดเมตตา กรุณา เหมือนอย่างที่เล่าเป็นนิทานไว้ว่า
“แม่ชีคนหนึ่งอยากกินปูขึ้นมา แต่ไม่มีใครทำให้แกกิน ก็เลย ต้มน้ำใส่กะทะไว้ก่อน แล้วก็จับปูมา ครั้นจะเอาปูใส่ลงใน บนปากหม้อ แล้วให้ปูมันไต่ ถ้ามันตกลงไปก็ถือว่ามันตกเอง ตัวไหน หม้อก็กลัวจะเป็นบาป ศีลจะขาด ก็มีวิธีเลี่ยงศีล คือเอาไม้มาพาดไว้ ตกลงไปตายเอง ก็ได้กินปูตัวนั้น ทีนี้พอลูกปูไต่ ลูกปูขามันไม่ค่อยดี นัก มันก็ตกลงไปตายแล้วตัวหนึ่ง ทีนี้ปล่อยปูตัวโต คือแม่ปู พอ ปล่อยไปแล้ว แม่ปูขามันคล่องหน่อย มันข้ามพ้น แม่ชีก็บอกว่า “เอ็งตัวโต ต้อง ๒ เที่ยว” เที่ยวที่ ๒ ตกจนได้ แม่ชีก็เลยได้กินปู”
อย่างนี้ ถ้าขาดเมตตา กรุณาแล้วศีลมันขาดได้ง่าย เราต้องเอาใจเขามาใส่ในเราว่า เมื่อเราฆ่าเขาเราจะเดือดร้อนขนาดไหน
เกิดเป็นโรคน้ำท่วมปอดเพราะเอาลูกไก่แช่น้ำ
ในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ขณะที่ผู้เขียนกําลังอบรมนิสิตมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์อยู่ ที่พระวิหารวัดโสมนัสวิหาร มีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่าน หนึ่ง ชื่อ อาจารย์พิศ เงาเกาะ ได้มาพูดให้ฟังเรื่องหนึ่งว่า “มีอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คนหนึ่งหลายปีมาแล้ว ตอนนี้อาจารย์คนนี้ตายไปแล้ว ตายไปเพราะเป็นโรคมะเร็ง เขาไปนอนอยู่ ที่โรงพยาบาลศิริราช ขณะที่เขานอนอยู่นั้น มีความรู้สึกว่ามีลูกไก่ไต่ออกมาจากปากของเขา จากจมูกบ้าง แล้วน้ำก็ท่วมปอด
ในครั้งนั้น อาจารย์พิศ เงาเกาะ ได้ไปเยี่ยมเพราะรู้จักคุ้นเคย กัน แล้วก็ถามอาการต่าง ๆ ตอนหนึ่งได้ถามว่า “อาจารย์เคยไปฆ่าสัตว์ ฆ่าไก่ อะไรบ้างหรือเปล่า?”
เขาตอบว่า “มี” สมัยก่อนนี้เขามีฟาร์มเลี้ยงไก่ของหลวงอยู่ ในมหาวิทยาลัยเกษตร ตอนนั้นเขากําลังเลี้ยงต้อนรับนักศึกษาอยู่ อาหารมันหมด ไปซื้อไม่ทัน เลยไปเอาลูกไก่ตัวเล็ก ๆ ที่เพิ่งออกมา จากฟองไข่ เอาไปจุ่มน้ำเป็นร้อย มันก็ตายหมด แล้วก็เอามาทำ อาหารกินกัน ทอดบ้าง ในที่สุดอาจารย์ท่านนั้นก็เป็นโรคน้ำท่วมปอด เมื่อใกล้จะตาย และรู้สึกว่ามีลูกไก่ไต่ออกมาจากจมูกบ้าง จาก ปากบ้าง
เรื่องนี้คือผลแห่งกรรมที่เห็นทันตา ทำให้เป็นโรคน้ำท่วมปอด เพราะนําลูกไก่ไปแช่น้ำจนตาย
เพราะฉะนั้น ถ้าขาดเมตตากรุณาแล้วก็จะฆ่าสัตว์ได้ง่ายแล้วกรรมนั้นก็บันดาลให้เขาต้องได้รับผลเช่นนั้น อันนี้เป็นตัวอย่าง ตัวอย่างหนึ่ง ถ้าขาดเมตตากรุณาแล้วศีลขาดง่าย ศีลไม่อาจดำรงอยู่ ได้นาน โดยเฉพาะศีลข้อ
เบญจธรรมข้อที่ ๒ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพในทางสุจริต เป็นเหตุหนุนศีลข้อที่ ๒ ศีลข้อนี้คือไม่ลักทรัพย์ ไม่ขโมย ไม่แย่งชิง ของคนอื่น แต่เราก็มีธรรมข้อที่ ๒ คือการเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ ไม่ เลี้ยงชีพในทางที่ผิดธรรมข้อไปขโมยทรัพย์สินเขา หรือไปค้า เฮโรอิน ค้าของเถื่อน ทำให้ศีลมันด่างพร้อยแล้ว ศีลมันขาดได้ง่าย แต่ถ้าหากว่าเรามีสัมมาอาชีวะ ตั้งใจว่าจะเลี้ยงชีพในทางที่สุจริต ไม่โกงไม่กินใคร เมื่อเรามีความตั้งใจอย่างนี้ศีลข้อที่ ๒ ที่เรารักษาก็ จะมั่นคงขึ้น เพราะศีลข้อที่ ๒ จะขาดไปก็เพราะขาดธรรมะหรือ สัมมาอาชีวะ แต่เมื่อเราตั้งใจว่าจะเลี้ยงชีพในทางที่สุจริต โดยคิด อยู่เสมอว่า คนอย่างเราไม่เคยขโมยใครกิน ศีลข้อนี้ก็จะบริสุทธิ์
เบญจธรรมข้อที่ ๓ คือ ความสำรวมในกาม เป็นการหนุน ศีลข้อที่ ๓ ให้ดำรงอยู่มัน การสำรวมในกามนั้น ท่านแยกเป็น ๒ คือ
๑.สทารสันโดษ ความพอใจด้วยภรรยาของตน สำหรับฝ่ายชาย
๒. ปฏิวัตร คือความภักดีต่อสามีของตนสำหรับฝ่ายหญิง
ถ้าหากว่ามีความสำรวมในกามอย่างนี้ คือ พอใจด้วยภรรยา ของตน ไม่พอใจด้วยหญิงอื่น ภรรยาคนอื่นสำหรับฝ่ายชาย และภักดี ต่อสามีของตนสำหรับฝ่ายหญิง การล่วงในทางกามก็เกิดขึ้นไม่ได้ หรือเกิดยาก เพราะมีเบญจธรรมข้อที่ ๓ นี้หนุนเอาไว้
เบญจธรรมข้อที่ ๔ ความซื่อสัตย์ เป็นเหตุหนุนศีลข้อที่ ๔ คือเว้นจากการพูดเท็จ คนที่พูดเท็จเพราะไม่ถือสัจจะ เมื่อไม่ถือ สัจจะศีลจึงขาดได้ง่าย แต่ถ้าคนใดถือสัจจะ มีความสัตย์อยู่ในตัว ศีลก็ดำรงอยู่มั่นได้นาน ลักษณะของความสัตย์นั้น ท่านอธิบาย ขยายความออกไปว่ามีลักษณะ ๔ ประการ
๑. ความเที่ยงธรรมในกิจการหน้าที่
๒. ความซื่อสัตย์ต่อมิตร
๓. ความสวามิภักดิ์ต่อเจ้านายของตน
๔. ความกตัญญู
ข้อที่ ๑ ความเที่ยงธรรมในกิจการหน้าที่ คือ ถ้าตั้งใจทำอะไรก็ทำจริง ๆ ไม่ทำเหลาะแหละ ไม่ใช่ว่าทำโน้นนิดนี้หน่อยแล้วงานก็ไม่เสร็จ คือไม่มีสัจจะในการงาน คนไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริงใจ จะทำอะไรต่าง ๆ กิจการในหน้าที่ สิ่งเหล่านั้นก็มักจะเสีย เพราะไม่มีความจริงใจ แต่ถ้าเรามีสัจจะว่าจะทำงานให้สำเร็จจริงๆ งานก็สำเร็จได้ง่ายเพราะมีความเที่ยงธรรมในกิจการหน้าที่ สมมติว่า เราตั้งใจไว้ว่า “ภายในสัปดาห์นี้ เราจะต้องทำเรื่องนี้ให้เสร็จ” เมื่อตั้งสัจจะแล้วก็ทำจริง งานนั้นก็เสร็จตามที่ได้ตั้งสัจจะเอาไว้ คือไม่โลเล พยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ความจริงใจก็เป็นการหนุนการรักษาศีลข้อที่ ๔ได้
ข้อที่ ๒ ความซื่อตรงต่อมิตร คือไม่คดโกง ไม่โกหก ไม่ทรยศต่อมิตร เพราะมิตรบางประเภท เป็นมิตรปลอกลอก เป็นมิตร เห็นแก่ได้ เป็นมิตรเอาแต่ประโยชน์ แต่มิตรที่ดีนั้นต้องเป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ ต่อมิตร ไม่ทำมิตรให้เสียหาย ไม่หักหลัง ไม่โกหก ไม่หลอกลวงเมื่อมีความซื่อตรงต่อมิตรเช่นนี้แล้ว ก็เป็นเหตุหนุนศีลข้อ ๔ ให้มั่นคงยิ่งขึ้น
ข้อที่ ๓ ความสวามิภักดิ์ต่อเจ้านายของตน อย่างข้าราชการ ในสมัยก่อน หรือแม้ในคณะรัฐมนตรีในสมัยปัจจุบันก็ตาม เวลาเข้า รับหน้าที่ เขาจะต้องปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าจะไม่โกงกิน จะสวามิภักดิ์ต่อประเทศชาติ ต่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เมื่อตัวเองไม่ได้ทำผิด ไม่โกงกิน มีความสวามิภักดิ์ ต่อประเทศชาติ ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อเจ้านายของตน ในทางที่ถูกต้อง การตระบัดสัตย์ก็ไม่มี การรักษาสัตย์ก็มั่นคงขึ้นศีลข้อ ๔ ก็ถูกหนุนให้ดีขึ้น
อนุปุพพิกถาทีปนี ภาค ๒ การพรวนด
ข้อที่ ๔ ความกตัญญู คือ ใครก็ตามที่ระลึกถึงบุญคุณของท่านผู้มีพระคุณแก่ตน และตั้งใจตอบแทนบุญคุณ คนอย่างนี้ เป็นคนที่ ไม่ลบหลู่บุญคุณของท่านผู้มีพระคุณแก่ตน คนเช่นนี้เป็นคนที่มีใจสูง
ในพระพุทธศาสนา ท่านยกตัวอย่างพระสารีบุตร ท่านได้รับ ธรรมะจากพระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ท่านก็ถือว่าพระอัสสชินั้น เป็นอาจารย์ของท่าน ท่านจะอยู่ที่ใด ไปที่ใด ท่านก็เคารพอาจารย์ของ ท่านตลอด แม้เวลาท่านจะนอน ท่านรู้ว่าอาจารย์ของท่านอยู่ทางทิศ ไหน ท่านก็หันหน้า หันศีรษะไปทางทิศนั้น แล้วยกมือไหว้ไปทางทิศ นั้น จนพระบางรูปพูดว่า พระสารีบุตร ทําไมยังไหว้ทิศอยู่ แม้มาบวช ในพุทธศาสนาแล้ว จึงพากันกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “ไม่ใช่ท่านไหว้ทิศ ท่านนึกถึงอาจารย์ของท่าน ที่เคยให้ ธรรมะให้ท่านได้สำเร็จมรรคผลในพระพุทธศาสนา” นี้เป็นลักษณะ ของความกตัญญูที่หนุนให้มีสัจจะ และก็หนุนศีลข้อที่ ๔ ให้มั่นคงขึ้น
เบญจธรรมข้อที่ ๕ ความมีสติรอบคอบ คือ ถ้าเรามีสติ รอบคอบอยู่ การที่จะไปกินเหล้าเมายา เสพของเสพติดให้โทษต่าง ๆ ก็จะเกิดได้ยาก แต่ถ้าขาดตัวสติยั้งคิดพิจารณาแล้ว ย่อมจะเสพ ของเสพติดให้โทษได้ง่าย ศีลข้อที่ ๕ ซึ่งเรารักษาไว้ก็จะขาดไปได้ลักษณะของความมีสติรอบคอบนั้น ท่านแยกออกถึง ๔ ประการ คือ
๑.การรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
๒. การไม่เลินเล่อในการงาน
๓. ความมีสติสัมปชัญญะ
๔. ความไม่ประมาทในธรรม
จะขออธิบายทั้ง ๔ ประการนี้แต่โดยย่อ
ข้อที่ ๑ รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร คืออาหารนั้น ถ้าเราบริโภคมากเกินไปก็ทำให้ง่วงทำให้ซึม ทำให้อุ้ยอ้าย ทำให้ ขาดตัวสติไปได้ หรือบริโภคน้อยเกินไปก็ทำให้หิว ทำให้กระวน กระวาย หรือบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ บริโภคอาหารที่ไม่ได้ พิจารณา ก็ทำให้ขาดสติไปได้ แต่ถ้าเรารู้จักประมาณในการบริโภค อาหารแล้วจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์ ร่างกายกระปรี้กระเปร่า แล้ว การประพฤติธรรมก็ทำผลให้ดียิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมสติขึ้น
ข้อที่ ๒ การไม่เลินเล่อในการงาน คือ บางคนที่ทำงานเลินเล่อ เดี๋ยวงานโน้นเสีย เดี๋ยวงานนี้เสีย เดี๋ยวก็เดินเตะแก้ว เตะกระโถน บางทีก็ทำของเสียหาย ฉีกขาด จะขับรถ จะทำอะไร ก็เลินเล่อ กระแทกโน่น กระแทกนี้ คือคนที่ประมาทเลินเล่อนี้จะเป็นเหตุ ให้ตัวสติขาดไป และไม่ช่วยหนุนศีลข้อที่ ๕
ฉะนั้น การมีสติรอบคอบนี้ จำเป็นต้องฝึกเอาไว้ คนที่มีสติ รอบคอบได้มากนั้น ต้องฝึกสติอย่างดีที่สุด อย่าทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความ รวดเร็วจนเกินไป เพราะความหวังผลสำเร็จนั้น ย่อมมีแก่คนที่ ไม่รวดเร็วจนเกินไป ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “อปี อตรมานานํ ผลาสาว สมิชฺฌติ – การหวังผลสำเร็จย่อมมีได้แก่พวกคนที่ไม่รีบร้อนจนเกินไป”
สิ่งไหนที่ลืมง่าย ๆ ให้คิดถึงสิ่งนั้นบ่อย ๆ และพยายามพิจารณาถึงสิ่งนั้นอยู่เสมอ แต่บางคนเผลอเรออยู่เรื่อย ขาดสติอยู่เป็นประจำ
คนขี้ลืม
มีนิทานอยู่เรื่องหนึ่งที่เล่ากันมาว่า ชายคนหนึ่งหุงข้าว แต่ สติหลงลืม หุงข้าวใช้ไม้ฟืน เมื่อจะเอาปืนใส่เข้าในเตาไฟ หมานอนอยู่ จึงจับเอาขาหมาเข้าไป นึกว่าปืน เลยพูดว่าขึ้นว่า “แหม จะจับ เอาดุ้นหมา กลับมาถูกเอาขาฟื้น” แสดงว่าขาดสติมาก แทนที่จะจับ เอาปืนไปจับเอาหมาเข้า ถึงเวลาพูดกลับพูดผิดอีก แสดงว่าสตินี้ เผลอเอามาก เราจะต้องฝึกสติให้สมบูรณ์ขึ้น
ข้อที่ ๓ การมีสติสัมปชัญญะ การมีสติสัมปชัญญะนี้ สำคัญมากสัมปชัญญะนี้คือการรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่กําลังทำอะไรอยู่ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ทุกระยะที่เราทำอะไร ให้รู้ตัว อย่างที่เราฝึกกรรมฐาน หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้ แต่ถ้า หายใจเข้าก็ไม่รู้ว่าหายใจเข้า หายใจออกก็ไม่รู้ว่าหายใจออก ชื่อว่า ขาดสติสัมปชัญญะ และในการกำหนดกรรมฐานนี้ ขอย้ำว่า บางที พวกเราเวลาเริ่มกำหนดตัวลมหายใจ จะตามลมอยู่ตลอดเวลา เช่น จะนั่งสักครึ่งชั่วโมงก็ตามลมทั้งครึ่งชั่วโมง
แท้ที่จริง ในการตามลมนั้น เขาให้ตามเฉพาะเริ่มต้นใหม่ ๆ เท่านั้นเอง เวลาเราฝึกไปนานเข้า ไม่ต้องตามลม แต่ให้จิตไปจดจ่อ ไว้ที่จุดใดจุดหนึ่ง ครั้งแรกท่านเรียกว่า อนุพันธนา ติดตามลมไป – พอจิตใจไม่วอกแวกไปข้างอื่นแล้ว ก็ใช้ รูปนา คือ Fix เอาไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่ง สมมติว่า จดจ่อจิตเอาไว้ที่จมูก ลมเข้าออก ให้ เหมือนคนนั่งเฝ้าประตูทางผ่านออก หรือจดจ่อจิตเอาไว้ที่อก หรือ ที่ท้อง ลมผ่านเข้าผ่านออกก็รับรู้อย่างเดียว ไม่ส่งจิตออกไปข้างนอก ชื่อว่า มีสติสัมปชัญญะ
สัมปชัญญะนี้สำคัญมาก ตัวสัมปชัญญะนี้ก็คือตัวปัญญาตามหลักแล้วสติสัมปชัญญะนี้คือปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้น การมีสติสัมปชัญญะจึงมีความสำคัญมากในการสร้างสติให้เกิดขึ้น สติกับสัมปชัญญะนั้นต่างกัน สตินั้นหมายถึงความระลึกได้ถึงสิ่งที่ล่วงไป แล้ว และยังไม่มาถึง ส่วนสัมปชัญญะหมายถึงรู้ตัวอยู่ในปัจจุบัน
ข้อที่ ๔ ความไม่ประมาทในธรรม ความไม่ประมาทในธรรม ในที่นี่ก็คือ ไม่ประมาทในชีวิตว่า เราต้องมีความแก่เป็นธรรมดาล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ ไม่มัวเมาประมาทในความเจ็บ ว่าเรามีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ไม่มัวเมาประมาท ในความตายว่าเรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ อย่างนี้เรียกว่าไม่ประมาทในธรรม จะเป็นเหตุให้มีสติระลึกรู้ จดจ่อ อยู่ในสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา ว่าเราต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ล่วงพ้น สิ่งเหล่านี้ไปไม่ได้ เป็นธรรมดาสำหรับชีวิต ก็เป็นเหตุให้เราไม่มัวเมา ประมาท แล้วรีบสร้างความดี
อีกประการหนึ่ง ความไม่มัวเมาประมาท ทำให้เราไม่ตกไป ในทางทุจริต แต่ให้ทำแต่สุจริตให้ประพฤติที่สุจริต ไม่ประพฤติทุจริต
อีกประการหนึ่ง ความไม่มัวเมาประมาทในธรรมก็คือ การที่ เราไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ หรือต่อ มันเกิดขึ้นแล้ว เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้น ก็เสื่อมไปเป็นธรรมดา ไม่ดีใจ เมื่อสิ่งเหล่านี้ที่เป็นฝ่ายดีเข้ามากระทบไม่เสียใจมากหรือไม่เสียใจเลยเมื่อสิ่งร้ายมากระทบ แต่วางตนเป็นกลา โดยพิจารณาว่า นี้คือโลกธรรม มันไม่เที่ยง มันมีความแปรปรวนไป เป็นธรรมดา จึงไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อถูกโลกธรรมเข้ากระทบ
กัลยาณธรรม ที่เรียกว่าเบญจธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ เป็นตัว หนุนให้ศีลบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น บุคคลที่รักษาศีลอยู่เป็น ประจำ โดยเฉพาะนิจศีล หรือศีล ๕ ขอให้มีธรรมะทั้ง ๕ ประการนี้ จะประเสริฐแท้ เพราะการมีศีลนั้นเหมือนกับการอาบน้ำ ส่วนการ มีธรรมะนั้นเหมือนกับการแต่งตัว เรามีทั้งการอาบน้ำ ทั้งการแต่งตัว ย่อมเป็นบุคคลที่มีความสวยงาม และเกิดความสงบสุขขึ้น ก็ย่อม จะเกิดคุณค่าแห่งการประพฤติธรรมในพุทธศาสนามากขึ้น
ตอนที่ ๙
ศีลของฆราวาส
ศีลในพระพุทธศาสนา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วินัย” วินัย มี ๒ อย่าง คือ
๑. อาคาริยวินัย วินัยของฆราวาส
๒. อนาคาริยวินัย วินัยของบรรพชิต
ในการพรรณนาเรื่องศีล หรือสีลกถาในตอนนี้ จะได้พูดถึงศีล ของฆราวาสหรือคฤหัสถ์ – ผู้อยู่ครองเรือน
ศีลของฆราวาสนั้น มี ๔ ประเภท คือ
๑. ศีล ๕
๒. ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ
๓. ศีลในองค์มรรค
๔. ศีลกรรมบถ
ศีล ๕
เรื่องศีล ๕ ได้อธิบายมาพอสมควรแล้ว จึงไม่ต้องอธิบายในที่นี่อีก ศีล ๕ นี้ มีชื่อเรียกอยู่ ๔ อย่าง คือ๑.ปัญจศีลหรือเบญจศีล เพราะศีลนี้มี ๕ ประการ คําว่า “ปัญจ” หรือ “เบญจ” แปลว่า ๕
อนุปุพพิกถาทีปนี ภาค ๒ การพรรณ ศีล
๒. ปัญจวิรัติ การงดเว้นจากเวร ๕ ประการ คือ การรักษา ศีล ๕ นี้เป็นเหตุให้งดเว้นจากการก่อเวรกรรม ๕ ประการ ท่าน จึงเรียกศีล ๕ นี้ว่า ปัญจเวรวิรัติ
๓. นิจศีล คือศีลที่ต้องรักษาเป็นนิจ “นิจ” แปลว่า เป็นประจำ คือศีล ๕ นี้ พุทธศาสนิกชนทุกคนควรรักษาเป็นประจำคือเป็นนิจ บางคนตั้งใจรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิต นี้คือชาวพุทธที่แท้จริง หรือลักษณะของคนที่บําเพ็ญศีลอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอุบาสกอุบาสิกา เพราะได้เห็นคุณค่าและความจําเป็นของการรักษาศีล จึงได้รักษาศีล ๕ เป็นประจำ ดังนั้นศีล ๕ ท่านจึงเรียกว่า “นิจศีล”
๔. มนุษยธรรม คําว่า “มนุษย์” แปลว่า “ผู้มีใจสูง” คําว่า “สูง” ในที่นี้ หมายถึงสูงด้วยศีลธรรม ฉะนั้นผู้มีใจสูงที่เรียกว่า มนุษย์ ก็ต้องมีมนุษยธรรมคือธรรมสำหรับมนุษย์ ธรรมสำหรับ ๕ มนุษย์ก็มี ๕ อย่าง เป็นอย่างน้อย ฉะนั้น ศีล ๕ ท่านจึงเรียกว่า “มนุษยธรรม”
ศีลอุโบสถ
ศีล ๕ หรือศีล ๘ ได้อธิบายมาแล้ว และพุทธศาสนิกชน ส่วนใหญ่ก็เข้าใจศีล ๕ และศีล ๘ กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว แต่ศีลอุโบสถ หรืออุโบสถศีลยังไม่เข้าใจกันมากนัก แม้จะมีอุบาสกอุบาสิการักษา ศีลอุโบสถกันอยู่ทุกวันธรรมสวนะหรือวันพระ ที่เรียกว่า วันอุโบสถ แต่ก็ยังมีศีลอุโบสถบางอย่างที่บางท่านยังไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคย ได้รักษา ฉะนั้น ในบทนี้จึงย้ำเรื่องศีลอุโบสถเป็นสำคัญ
ศีล ๕ ต่างจากศีล ๘ ในข้อที่ว่า
๑. ศีล ๕ มี ๕ ข้อ แต่ศีล ๘ มี ๘ ข้อ
๒. ศีล ๕ หรือเบญจศีล เป็นมนุษยธรรม และเป็นศีลที่ ชาวพุทธควรรักษาเป็นนิจ ที่เรียกว่า นิจศีล ส่วนศีล ๘ เป็นศีลของอุบาสกอุบาสิกา ผู้ปรารถนาจะบําเพ็ญศีลบารมีให้สูงให้มากขึ้น
๓.ศีล ๕ ข้อที่ ๓ กับศีล ๘ ข้อที่ ๒ ต่างกัน คือ ศีล ข้อที่ ๓ ๘ เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนศีล ๘ ข้อ ๓ เว้นจาก เพศสัมพันธ์โดยประการทั้งปวง เข้าสู่ชีวิตพรหมจรรย์ คือความ ประพฤติที่ประเสริฐ
๔. ศีล ๕ ถ้าใครผิดเข้าแล้วเป็นบาป ส่วนศีล ๘ ที่นอกเหนือ จากศีล ๕ แม้ล่วงแล้ว ไม่บาป เพราะเป็นวัตรปฏิบัติที่ยกจิต ให้สูงขึ้น เพื่อบําเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี
ส่วนศีล ๘ ต่างจากศีลอุโบสถในข้อที่ว่า ศีล ๘ นั้น รักษาได้ทุกวันไม่มีกำหนด ส่วนศีลอุโบสถรักษาเฉพาะวันอุโบสถที่บัณฑิตกำหนดไว้
ศีล ๕ ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถมีมาแล้วก่อนพุทธกาล เพรา นักบวช นักพรต หรือนักประพฤติธรรมรักษาศีลเหล่านี้อยู่ก่อนแล้ว ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นในโลก
ตัวอย่าง เช่น พระมหาชนก บรมโพธิสัตว์ คือพระพุทธเจ้า ของเรา เมื่อทรงบําเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ได้ทรงเสวยพระชาติเป็น พระมหาชนก บําเพ็ญวิริยบารมี
ตามประวัติตอนหนึ่งของเรื่องมหาชนกชาดก พระมหาชนกพระราชกุมารแห่งมิถิลานคร มีพระชนมายุได้ ๑๖ พระพรรษา ได้เดินทางไปค้าขายยังสุวรรณภูมิ คือแหลมทองของเรา เพื่อรวมทรัพย์ กู้ราชสมบัติของพระบิดาในมิถิลานคร ซึ่งถูกแย่งเอาไป โดยเดินทาง เป็นพ่อค้าสำเภา จากเมืองกาลจัมปากะสู่อ่าวบอมเบย์ แล้วออกสู่ มหาสมุทรอินเดีย เรือสำเภาเกิดแตกในท่ามกลางมหาสมุทร คนโดยสารในเรือตายหมด เหลือแต่พระมหาชนกผู้เดียว แหวกว่ายอยู่ ท่ามกลางมหาสมุทรเป็นเวลา ๗ วัน ขณะแหวกว่ายอยู่ในมหาสมุทร นั้น คืนวันหนึ่งได้แหงนขึ้นไปดูบนท้องฟ้า เห็นพระจันทร์เต็มดวง จึงทราบได้ว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ จึงทรงอมน้ำทะเลกลั้วปากแล้ว บ้วนทิ้ง ทรงอธิษฐานศีลอุโบสถ อันแสดงให้เห็นพระทัยอันเต็มเปี่ยม ในการบําเพ็ญศีลบารมี แม้อยู่ในห้วงอันตรายถึงชีวิตขนาดนั้น พระองค์ก็ยังไม่ทอดทิ้งการรักษาศีลอุโบสถ
แต่ศีลอุโบสถก่อนพุทธกาล สันนิษฐานว่า คงไม่ครบ ๘ ข้อ เหมือนปัจจุบัน เพราะศีลอุโบสถที่สมาทานกันอยู่ในปัจจุบันนี้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ดังคําสมาทานศีลอุโบสถตอนท้ายของศีล ว่า “อิมํ อฎฺฐงฺคสมนฺนาคตํพุทฺธปญฺตฺตํ อุโปสถํ สมาทิยามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถศีล ทั้ง ๔ ประการที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้นี้”
คําว่า “อุโบสถ” แปลว่า “การเข้าอยู่จำ” หรือ “ดิถีพิเศษที่ เข้าอยู่” (ด้วยการไม่บริโภคอาหารในเวลาวิกาล) คือการรักษาศีล อุโบสถมักจะเข้าไปอยู่ประจำในวัดหรือสถานที่บําเพ็ญตามวันที่ กำหนดไว้ บางคนก็อยู่ค้างคืนในวัดตลอดวันอุโบสถ เพื่อได้มีโอกาส ฟังธรรมและปฏิบัติภาวนาของตนให้มากยิ่งขึ้น
วันอุโบสถ ๔ ชนิด
วันหรือกาลที่รักษาอุโบสถ มี ๔ ชนิด คือ
๑. ปักขอุโบสถ
๒. ปกติอุโบสถ
๓. ปฏิชาครอุโบสถ
๔. ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ
ปักขอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษากันอยู่ในปัจจุบัน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม รวมเดือนละ ๔ ครั้ง
ปกติอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษาเดือนหนึ่ง ๘ วัน ได้แก่ วัน ๕ ค่ำ ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำข้างขึ้น ๔ วันและข้างแรม ๔ วัน เป็นกาลที่รักษาปกติอุโบสถ
ปฏิชาครอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษาเดือนหนึ่ง ๑๑ วัน คือ ข้างขึ้น ๕ วัน ได้แก่ วัน ๔ ค่ำ ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ และ ๑๓ ค่ำ ข้างแรม ๖ วันได้แก่ วัน ๑ ค่ำ ๔ ค่ำ ๖ ค่ำ ๗ ค่ำ ๙ ค่ำ ๑๒ ค่ำ (หรือ ๑๓ ค่ำ) เป็นกาลที่รักษาปฏิชาครอุโบสถ
ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ คือ อุโบสถที่รักษาภายในฤดูฝน ๔ เดือน คือ ตั้งแต่เดือน ๘ แรมค่ำ ๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ นี้เป็นกาล ที่รักษาปาฏิหาริกปักขอุโบสถ
แต่ในอรรถกถาราชสูตรกล่าวว่า ปาฏิหาริกอุโบสถ นั้นคือ อุโบสถที่รักษาเป็นนิตย์ตลอด ๓ เดือน
ถ้าไม่สามารถรักษาได้ ๓ เดือน ก็รักษาเพียง ๑ เดือน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒
ถ้าไม่สามารถรักษาได้ ๑ เดือน ก็รักษาเพียงครึ่งเดือน คือ ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ถึงต้นเดือน ๑๒
อุโบสถที่รักษาใน ๓ ตอนนี้ ตอนใดตอนหนึ่งเรียกว่า ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ
อุโบสถ ๓ ประเภท
อุโบสถที่จัดประเภทแห่งการประพฤติ ท่านจัดไปตามความประพฤติของผู้รักษา ที่อย่างต่ำ อย่างกลาง และอย่างสูง (อุกกฤษฏ์)
มี ๓ อย่าง คือ
๑.นิคคัณฐอุโบสถ
๒. โคปาลอุโบสถ
๓. อริยอุโบสถ
อุโบสถของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา เรียกว่า นิคคัณฐอุโบสถ
อุโบสถที่อุบาสกอุบาสิการักษา มีอาการเหมือนคนรับจ้างเลี้ยง โค เรียกว่า โคปาลอุโบสถ
อุโบสถที่อุบาสกอุบาสิการักษา ประพฤติพิเศษโดยข้อปฏิบัติ เรียกว่า อริยอุโบสถ
นิคคัณฐอุโบสถ นั้นคือ ตั้งจิตวิรัติเจตนางดเว้นไม่ตลอดทั่วไป เช่น ในสิกขาบทที่ ๑ (ศีลข้อ ๑) คิดเว้นไม่ฆ่าสัตว์ในทิศตะวันออก ทิศอื่นไม่เว้น หรือไม่ฆ่ามารดาบิดา ญาติพี่น้องมิตรสหายหรือสัตว์บางชนิด ซึ่งเป็นที่รักใคร่พอใจของตัว ในคนหรือสัตว์หมู่ อื่นไม่เว้น เช่นนี้เป็นต้น แม้ในสิกขาบทข้ออื่น ๆ ก็มีลักษณะเช่นนี้ รวมความว่า รักษาตามชอบใจของตัว อย่างนี้เรียกว่า นิคคัณฐอุโบสถ
โคปาลอุโบสถนั้น มีวิธีสมาทานและวิธีรักษาถูกต้องตามหลัก พระพุทธศาสนาทุกอย่าง เหมือนอย่างอุบาสกอุบาสิการักษาอยู่ทุกวันนี้แต่เมื่อสมาทานหรือรักษาแล้ว ก็พูดแต่ดิรัจฉานกถา (พูดเรื่องชาวบ้าน ชาวโลก นอกจากศีล สมาธิ ปัญญา) ต่าง ๆ เช่นพูดถึง บ้าน เมือง สงคราม ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ เรือกสวน ไร่นา การค้าขาย ตลาดหุ้น ลูกหลาน คนรวย คนจน เรื่องของสามีภรรยาหย่ากัน หรือทะเลาะกัน พูดถึงที่นั้นที่นี่ พูดถึงคนนั้นคนนี้ เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับการทำบุญกุศล ก็ไม่ได้รับรสของปีติปราโมทย์ ศรัทธาเลื่อมใสในอุโบสถที่ตนรักษา ท่านจึงเปรียบการรักษาอุโบสถเช่นนี้ว่า เหมือนคนรับจ้างเลี้ยง โค (นายโคบาล) เวลาเช้าไปรับฝูงโคมาจากเจ้าของแล้ว ก็ต้อนไป เที่ยวหากิน เวลาเย็นก็ไล่มาส่งเจ้าของ ได้ค่าจ้างไปวันหนึ่ง ๆ แล้ว คิดว่า พรุ่งนี้เราจะพาโคไปเลี้ยงที่นั้น มะรืนเราจะพาโคไปเลี้ยงที่โน้น หญ้าน้ำที่นั่นดี ที่โน่นไม่ดี ทำอยู่อย่างนี้เสมอ แต่ไม่เคยได้บริโภครส อันเกิดจากโค มีนมสดและเนยใส เป็นต้น การรักษาอุโบสถอย่างนี้ เรียกว่า โคปาลอุโบสถ – อุโบสถเหมือนคนเลี้ยงโค
อริยอุโบสถนั้น เมื่อสมาทานแล้ว ก็ไม่คุยนอกเรื่องพระศาสนา มีแต่การฟังธรรม สนทนาธรรม หรือไหว้พระสวดมนต์ ไม่พูดคําที่เป็นเหตุให้ทะเลาะวิวาทกัน ถ้าเวลาเหมาะควรเจริญกรรมฐาน ทั้งในขั้นสมถะและวิปัสสนา เพื่อทำใจของตนให้สงบ และผ่องใส เนื่องจาก มีศีลเป็นพื้นฐานดีแล้ว เป็นการรักษาอุโบสถที่ประเสริฐหรืออุโบสถแบบพระอริยเจ้า
ดังนั้น อุบาสกอุบาสิกา ควรรักษาอุโบสถแบบพระอริยเจ้า คืออริยอุโบสถ เพราะได้คุณค่าของการรักษามาก อย่ารักษาอุโบสถแบบนายโคบาลเลย เพราะได้คุณค่าน้อย
อานิสงส์ของศีลอุโบสถ
ศีลอุโบสถนี้ มีผลมากกว่าศีล ๕ เพราะนอกจากจะเว้น จากบาปแล้ว ยังงดเว้นจากสิ่งที่กันจิตไม่ให้ขึ้นสู่ระดับสูง คือระดับ สมาธิอีกด้วย เพราะศีล ๘ ที่นอกจากศีล ๕ ล้วนแต่เป็นศีลหรือ เป็นวัตรปฏิบัติที่ยกจิตให้ขึ้นสู่ระดับสูง โดยเฉพาะกันตัวราคะ คือ ตัวกามฉันท์ไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะได้ป้องกันทางเดินหรือทางเกิด ของนิวรณ์ข้อนี้ได้หลายอย่าง ตามหลักที่บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า เป็นต้นทรงกำหนดไว้หรือบัญญัติไว้
อานิสงส์ของศีลได้พูดไปมากแล้ว แต่ในตอนนี้จะได้พูดถึง ศีลอุโบสถมีอานิสงส์มากอย่างไร
ศีลอุโบสถ มีผลมากกว่าศีล ๕ ดังกล่าวแล้ว เพราะเป็นศีลที่ทำจิตย่างขึ้นสู่สมาธิได้เร็วขึ้น อีกประการหนึ่ง เป็นศีลที่ทำให้ เบากายเบาใจ ไม่ต้องวุ่นวายในเรื่องอาหารมื้อเย็น ทำให้ตัวเบา ไม่ ต้องขวนขวายในการแต่งตัว และไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ก่อ ให้เกิดกิเลส เช่น การฟ้อนรํา ขับร้อง เป็นต้น
ศีลอุโบสถนี้ แม้จะรักษาเพียงครึ่งวัน ก็ได้ผลเป็นอันมากดังเรื่องลูกจ้างของอนาถปิณฑิกเศรษฐีเป็นตัวอย่าง ซึ่งกล่าวไว้ใน อรรถกถาธรรมบท ภาคที่ ๑ ในเรื่อง นางสามาวดี นํามากล่าวไว้ในที่นี้ เพื่อให้เห็นคุณค่าของ การรักษาศีลอุโบสถเพิ่มขึ้น เรื่องโดยย่อมีอยู่ว่า
สามเศรษฐีกับดาบส
ในสมัยที่พุทธกาล ในเมืองโกสัมพี มีเศรษฐี ๓ คน คือ โฆสก เศรษฐี กุกกุฏเศรษฐี ปาวาริกเศรษฐี เศรษฐีเหล่านี้ เมื่อวัสสุปนายิกา (วันเข้าพรรษา) ใกล้เข้ามาแล้ว เห็นดาบส ๕๐๐ มาจากหิมวันต ประเทศกําลังเที่ยวไปเพื่อภิกษาในพระนครก็เลื่อมใส จึงนิมนต์ ให้นั่ง ให้ฉันแล้ว รับปฏิญญาให้อยู่ในสำนักของตนตลอด ๔ เดือน แล้ว ให้ปฏิญญาเพื่อต้องการแก่อันมาอีก ในสมัยที่ชุมด้วยฝน (ฤดูฝน) แล้วส่งไปจำเดิมแต่นั้น
แม้ดาบสทั้งหลาย อยู่ในหิมวันตประเทศตลอด ๘ เดือนแล้ว จึงอยู่ในสำนักของเศรษฐีเหล่านั้นตลอด ๔ เดือน ดาบสเหล่านั้น เมื่อมาจากหิมวันตประเทศในเวลาอื่น เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งในราว ป่า จึงนั่งที่โคนต้นไทรนั้น บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้า คิดว่า “เทวดาผู้สิงอยู่ในต้นไม้นี้ จักมิใช่เทวดาผู้ต่ำศักดิ์ จักเป็น เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่ทีเดียว จึงมีที่ต้นไทรนี้ เป็นการดีหนอ ถ้าหาก เทวราชนี้ จึงให้น้ำดื่มแก่หมู่ฤษี”
เทวราชนั้นได้ถวายน้ำดื่มแล้ว ดาบสคิดถึงน้ำอาบ เทวราช ได้ถวายน้ำอาบแม้นั้น ต่อจากนั้นดาบสผู้เป็นหัวหน้า ก็คิดถึงโภชนะ เทวราชก็ถวายโภชนะแม้นั้น ลำดับนั้นดาบสนั้นได้มีความปริวิตกว่า “เทวราชนี้ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดแล้ว เออหนอ เราพึงเห็นเทวราช นั้น” เทวราชนั้น ชําแรกลำต้นไม้แสดงตนแล้ว ดาบสทั้งหลายถาม เทวราชนั้นว่า “ท่านเทวราช ท่านมีสมบัติมาก สมบัตินี้ท่านได้แล้ว เพราะทำกรรมอะไรหนอ”
เทวราช ตอบว่า “ขออย่าซักถามเลย พระผู้เป็นเจ้า” ดาบสกล่าว่า “จงบอกมาเถิด ท่านเทวราช” เทวราชนั้นละอายอยู่ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ เป็นกรรมเล็กน้อย จึงไม่กล้าจะบอก แต่เมื่อดาบสเหล่านั้นรบเร้าบ่อย ๆ เข้า ก็กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง” ดังนี้แล้ว จึงเล่าว่า
ประวัติเทวดา
ได้ยินว่า เทวราชนั้น เป็นคนเข็ญใจคนหนึ่ง แสวงหาการงาน จ้างอยู่ ได้การงานจ้างในสำนักของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ก็อาศัยการงาน จ้างนั้นเลี้ยงชีวิต ต่อมา เมื่อถึงวันอุโบสถวันหนึ่ง อนาถปิณฑิกเศรษฐี มาจากวัดแล้ว ถามว่า “ในวันนี้ใคร ๆ ได้บอกความเป็นวันอุโบสถ แก่ลูกจ้างคนนั้นแล้วหรือยัง ?” คนในบ้านตอบว่า “ข้าแต่นาย ยัง ไม่ได้บอก” อนาถปิณฑิกเศรษฐี กล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจง หุงอาหารเย็นไว้สำหรับเขา” คราวนั้น คนเหล่านั้นก็หุงข้าวสุก แห่งข้าวสารกอบหนึ่งไว้เพื่อชายนั้น ชายนั้น ทำงานในป่าตลอดวัน กลับมาบ้านในเวลาเย็น เมื่อเขาคดข้าวให้ ก็ยังไม่บริโภคโดยพลันก่อน ด้วยคิดว่า “เราเป็นผู้หิวแล้ว ในวันอื่น ๆ ความโกลาหลใหญ่ ย่อมมี ในเรือนนี้ว่า ขอท่านจงให้ข้าว ขอท่านจงให้แกง ขอท่านจงให้กับ ในวันนี้ ทุกคนเป็นผู้เงียบเสียง นอนแล้วพากันคิดอาหารไว้เพื่อเรา คนเดียวเท่านั้น นี้เป็นอย่างไรหนอ?” จึงถามว่า “คนที่เหลือบริโภค กันแล้วหรือ?” คนทั้งหลายตอบว่า “ไม่บริโภคหรอกคุณ”
ชายคนนั้นถามว่า “เพราะเหตุไรกัน ?”
คนทั้งหลายตอบว่า “ในเรือนนี้ เขาไม่หุงอาหารในเย็นวันอุโบสถ” คนทุกคนย่อมเป็นผู้รักษาอุโบสถ โดยที่สุด แม้เด็กที่ยัง ดื่มนม ท่านมหาเศรษฐีก็ให้บ้วนปาก ให้ใส่ของมีรสหวาน ๔ ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ใส่ในปากทำให้เป็นผู้รักษาอุโบสถ เมื่อประทีปซึ่งระคนด้วยน้ำมันหอม สว่างอยู่ เด็กเล็กและเด็กใหญ่ ทั้งหลาย ไปสู่ที่นอนแล้วย่อมสาธยายอาการ ๓๒ แต่ว่าพวกเรามิได้ ทำสติไว้ เพื่อจะบอกความที่วันนี้เป็นวันอุโบสถแก่ท่าน เพราะนั้น พวกเราจึงหุงข้าวไว้เพื่อท่านคนเดียว ท่านจงรับประทานอาหารเถิด” ชายรับจ้างพูดว่า “ถ้าการที่เราเป็นผู้รักษาอุโบสถในบัดนี้ เป็นการถูกต้องแล้ว แม้เราก็พึงเป็นผู้รักษาอุโบสถ
คนทั้งหลายพูดว่า “เศรษฐีย่อมรู้เรื่องนี้”
ชายรับจ้างพูดว่า “ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงถามท่านเศรษฐี” คนเหล่านั้น ไปถามเศรษฐีแล้ว เศรษฐีกล่าวอย่างนี้ว่า “ชายนั้น ไม่บริโภคในบัดนี้ บ้วนปากแล้วอธิษฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย จักได้ อุโบสถกึ่งหนึ่ง”
ฝ่ายชายรับจ้างฟังคํานั้นแล้ว ก็ได้กระทำตามนั้น เมื่อเขา หิวแล้ว เพราะทำงานมาตลอดทั้งวัน ลมกำเริบขึ้นในร่างกายเขา เขาเอาเชือกผูกท้องไว้ จับที่ปลายเชือกแล้วกลิ้งเกลือกอยู่ เศรษฐีฟังพฤติกรรมนั้นแล้ว ให้คนถือคบเพลิง และของมีรสหวาน ๔ ชนิด ไปสู่สำนักของชายนั้น ถามว่า เป็นอย่างไรพ่อคุณ ?”
ชายรับจ้างตอบว่า “นาย ลมกำเริบแก่กระผม”
เศรษฐีพูดว่า “ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงลุกขึ้นเคี้ยวกินเภสัช”
ชายรับจ้างพูดว่า “นาย แม้ท่านทั้งหลายรับประทานแล้วหรือ?”
เศรษฐีพูดว่า “ความไม่สบายของพวกเราไม่มี เจ้าเคี้ยวกิน เสียเถิด”
เขากล่าวว่า “นาย ข้าพเจ้าเมื่อรักษาอุโบสถกรรม ไม่อาจ เพื่อรักษาอุโบสถกรรมทั้งสิ้นได้ แม้ในอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่งของข้าพเจ้า อย่าได้เป็นของพร่องเลย” พูดแล้วก็ไม่ปรารถนาเพื่อจะเคี้ยวกิน ชายนั้น แม้ถูกเศรษฐีกล่าวอยู่ว่า “อย่าทำอย่างนี้เลยพ่อคุณ ก็ไม่ปรารถนาแล้ว พอรุ่งอรุณ เขาก็ได้ถึงแก่กรรม เหมือนดอกไม้ที่ เหี่ยวแห้งไปฉะนั้น เขาได้ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ที่ต้นไทรนั้น เพราะเหตุ นั้น เทวดาครั้นกล่าวเนื้อความนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “เศรษฐีนั้นเป็นผู้ นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือ พระสงฆ์ว่าเป็นของเรา สมบัตินี้ ข้าพเจ้าได้แล้ว ด้วยผลอันไหลออก แห่งอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอาศัยเศรษฐีนั้นกระทำแล้ว”
เพราะฉะนั้น ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะเห็นได้แล้ว ศีลทุกประเภท มีผลมีอานิสงส์มากเพียงไร แม้แต่เพียงศีลอุโบสถที่รักษาครึ่งวัน ก็ทำให้คนงานของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี เกิดเป็นเทวดาผู้มีสมบัติและ อำนาจมาก ทุกคนจึงไม่ควรดูหมิ่นว่า การรักษาศีลแม้เพียงเล็กน้อย ตนจะไม่ได้รับผล แท้ที่จริง ผลของศีลมีมากเสมอ ดังเรื่องของคนงานของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีเป็นตัวอย่าง จึงควรที่ท่านสาธุชนทั้ง หลาย ได้รักษาศีลด้วยกันทุกคน อย่างน้อยก็ศีล ๕ เพราะนําประโยชน์ มาให้เป็นอันมากดังกล่าวแล้ว
ตอนที่ ๑๐
ศีลของฆราวาส (ต่อ)
ในสีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีล ตอนที่ ๑๐ นี้ จะได้พูดถึง เรื่องศีลของฆราวาสต่อจากตอนที่ ๙
ในศีลของฆราวาส ๔ ประการนั้น ศีล ๕ และศีล ๘ หรือ ศีลอุโบสถได้อธิบายมาแล้วในตอนที่แล้ว ในตอนนี้จะได้พูดถึงศีลของฆราวาสอีก ๒ อย่าง คือ
๑. ศีลในองค์มรรค
๒. ศีลกรรมบถ
ศีลในองค์มรรค
ในอริยมรรค อันเป็นทางนําไปสู่ความสิ้นทุกข์ คือ นิโรธหรือนิพพานนั้น มีองค์ ๘ คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาเห็นชอบ ได้แก่เห็นอริยสัจ ๔
๒.สัมมาสังกัปปะ ดําริชอบ ได้แก่ ดําริ ๓ ประการ คือ ดําริจะออกจากกาม ๑ ดําริในการไม่พยาบาท ๑ ดําริในการไม่เบียดเบียน ๑
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔ อย่าง
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓ อย่าง
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ คือเว้นจากการเลี้ยงชีพในทาง ที่ผิด
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือสัมมัปปธาน ๔ ได้แก่ เพียรละชั่ว ๒ อย่าง และเพียรทำความดี ๒ อย่าง
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐาน ๔
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔ มรรคมีองค์ ๘ นั้น ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญานั่น เอง คือ
มรรค ๒ ข้อแรก คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นปัญญา มรรค ๓ ข้อกลาง คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นศีล
มรรค ๓ ข้อสุดท้าย คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมา สมาธิ เป็นสมาธิ
ดังนั้น ศีลในองค์มรรคก็คือ การเว้นจากวจีทุจริต ๔ อันได้แก่ พูดเท็จ พูดคําหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ การเว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติผิดในกาม อันรวมการดื่ม น้ำเมาเข้าในข้อนี้ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่ใคร่ที่ชอบเหมือนกัน และ งดเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น ค้าขายอาวุธ ค้าขายยาพิษ ค้าขายยาเสพติดให้โทษ ค้าขายทาส ค้าขายสัตว์ที่จะนําไปฆ่าเป็นอาหาร ค้าขายเนื้อสัตว์ และเลี่ยงภาษี เป็นต้น รวมเป็นศีล ๘ ประการ ในองค์มรรค ๓ ข้อ เรียกว่า อาชีวัฏฐมกศีล – ศีลมีอาชีวะ เป็นข้อที่แปด เพราะเมื่อเว้นจากวจีทุจริต ๔ และกายทุจริต ๓ จึง รวมเป็น ๗ เมื่อเพิ่มการเลี้ยงชีพชอบเข้าไปอีกหนึ่ง เรียกชื่อว่า ศีลมีอาชีวะเป็นข้อที่แปด”
การรักษาศีลประเภทนี้ เรียกว่ารักษาศีล ๘ เช่นกัน แต่เป็นศีล ๘ ในองค์มรรค ไม่ใช่ศีล ๘ ที่รักษากันโดยทั่วไป
ศีล ๘ ในองค์มรรคหรือศีลในองค์มรรคนี้ รักษาง่ายกว่าศีล ๘หรือง่ายกว่าศีลอุโบสถ เพราะอยู่กับคู่ครองของตนก็ได้รับประทานอาหารในเวลาวิกาลก็ได้ ฟ้อนรําขับร้อง ประโคมเครื่องดนตรี ดูการละเล่นต่าง ๆ ก็ได้ ทาแป้งแต่งตัว ประพรมน้ำหอม เป็นต้นก็ได้ นอนหรือนั่งบนที่นอนสูงหรือที่นอนใหญ่ก็ได้ เป็นเพียงแต่ต้องระวัง เรื่องวาจาเพิ่มขึ้น เพราะในศีล ๕ หรือศีล ๘ นั้น ห้ามพูดเท็จ เท่านั้น ส่วนพูดคําหยาบ พูดส่อเสียด และพูดเพ้อเจ้อ ถ้าล่วงเข้าไปไม่ถึงกับ ศีลขาด แต่ก็ทำให้ศีลเศร้าหมอง ไม่บริสุทธิ์ไปได้ แม้ศีลไม่ขาด ผู้รักษาศีลก็ควรสังวรเช่นกัน เพราะถ้าล่วงเข้าแล้วก็เป็นบาป เพราะ เป็นวจีทุจริต แต่ในศีลในองค์มรรคห้ามวจีทุจริต ๔ ประเภทนี้ ศีลขาดทั้งสิ้น และที่ต้องระวังเพิ่มขึ้นก็คือการเลี้ยงชีพในทางทุจริต เพราะล่วงเข้าแล้วศีลก็ขาด
แต่อย่างไรก็ตาม ศีลในองค์มรรคนี้ รักษาได้ง่ายกว่าการรักษา ศีล ๘ หรือศีลอุโบสถ เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันในประเทศไทยเรา อาจารย์กรรมฐานบางท่านจึงให้ศิษย์ของตนรักษาศีลในองค์มรรค เพราะสะดวกกว่า และเป็นไปเพื่อความสงบสุข ทั้งเป็นพื้นฐานในการเจริญภาวนาได้เช่นกัน
ศีลกรรมบถ
กรรมบถ แปลว่า ทางแห่งการทำกรรม คําว่า “กรรม” แปลว่า “การกระทำ” กรรมจึงมีทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว ดังนั้น ทาง แห่งการทำกรรมคือกรรมบถ จึงมี ๒ อย่าง คือ
๑. อกุศลกรรมบถ ทางแห่งการทำอกุศล คือทำชั่ว มีอยู่ อย่าง เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐
๒. กุศลกรรมบถ ทางแห่งการทำดี ซึ่งมีอยู่ ๑๐ อย่างเช่นกัน ผู้ที่จะรักษาศีลกรรมบถ จะต้องเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ เมื่อเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ ก็คือ รักษาศีลกรรมบถ ๑๐ ประการนั่นเอง
ศีลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ
๑.เว้นจากกายทุจริต ๓ คือ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ และประพฤติ ผิดในกาม ซึ่งท่านรวมการเว้นจากการดื่มน้ำเมาเข้าในศีลข้อนี้ด้วย
๒. เว้นจากวจีทุจริต ๔ คือ พูดเท็จ พูดคําหยาบ พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ
๓.เว้นจากมโนทุจริต ๓ คือ เว้นจากพยาบาทปองร้ายเขา เว้นจากโลภอยากได้ของเขา และเว้นจากเห็นผิดจากทํานองคลองธรรม
เป็นที่น่าสังเกตว่า ปกติศีลโดยทั่วไปรักษาเพียงกายกับวาจา เท่านั้น เพียงแต่คิดทางใจ แม้จะคิดทำชั่ว เช่น คิดลักทรัพย์ คิด ฆ่าสัตว์ ศีลก็ไม่ขาด แต่ศีลในกรรมบถนั้น เว้นจากการประพฤติผิด ทางใจด้วย ที่เรียกว่าเว้นจากมโนทุจริต แม้แต่คิดคือเห็นผิดไปแล้ว ศีลก็ขาดเช่นกัน ฉะนั้น ศีลกรรมบถจึงรักษาได้ยากกว่าศีล ๕ ศีล ๘
หรือศีลอุโบสถ
ฉะนั้น เพื่อความเข้าใจในศีลกรรมบถให้ชัดขืน จะต้องทำความเข้าใจในเรื่องมโนทุจริต และมโนสุจริตในพระพุทธศาสนา
มโนทุจริต มี ๓ อย่าง คือ
๑. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา
๒. พยาบาท คิดปองร้ายเขา
๓. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทํานองคลองธรรม
ในเรื่องมโนทุจริต ต้องทำความเข้าใจให้ชัด มิฉะนั้นแล้วจะรักษาศีลประเภทนี้ไม่ถูกหรือไม่เป็น
“อภิชฌา – โลภอยากได้ของเขา” หมายถึง อยากจะลักขโมย ฉ้อโกงของเขาให้มาเป็นของเรา โดยทางที่ทุจริต ถ้าเพียงแต่คิด อยากได้ว่า ถ้าของคนนั้น เป็นของเราก็คงจะดี แต่ไม่มีไถยจิตคิด จะลักขโมยหรือจะฉ้อโกง แย่งชิง เพียงแต่คิดอย่างนี้ กรรมบถยัง ไม่ขาด ถ้าคิดจะขโมย ฉ้อโกงเขาเมื่อไร กรรมบถก็ขาดเมื่อนั้น
“พยาบาท – คิดปองร้ายเขา” หมายถึง คิดจะฆ่าคนอื่น สัตว์อื่น หาใช่เพียงคิดไม่พอใจ เมื่อคิดจะฆ่าจะล้างผลาญคนอื่น สัตว์อื่นเมื่อไร ศีลกรรมบถที่ขาดเหมือนกัน
“มิจฉาทิฏฐิ – ความเห็นผิดจากทํานองคลองธรรม”
ความเห็นผิดจากทํานองคลองธรรมอันเป็นมิจฉาทิฏฐิที่เข้าขั้น เป็นกรรมบถนั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ ๒ คือ
๑.เรื่องนั้นตรงกันข้ามกับเรื่องที่มิจฉาทิฏฐิบุคคลนั้นยึดถือ
๒.เรื่องนั้นปรากฏว่าไม่เป็นเหมือนอย่างที่มิจฉาทิฏฐิบุคคลนั้นยึดถือเอา
องค์ประกอบของมิจฉาทิฏฐิ ๒ ประการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์มงคลทีปนี แต่พิจารณาดูแล้วเข้าใจยาก แต่ใน อรรถกถาอัฏฐสาลินี ท่านกล่าวไว้อย่างชัดเจน ว่า
“ในมิจฉาทิฏฐินั้น กรรมบถย่อมขาดด้วยทิฏฐิ ๓ ประการ คือ (๑) นัตถิกทิฏฐิ – ความเห็นว่าไม่มี (๒) อเหตุกทิฏฐิ – ความเห็น ว่าไม่มีเหตุ และ (๓) อกิริยทิฏฐิ – ความเห็นว่าไม่เป็นอันทํา หาได้ ขาดด้วยทิฏฐิอื่นไม่”
ดังนั้น ในที่นี้ ขอให้ทําความเข้าใจเรื่องทิฏฐิ ๓ ประการนี้ เพื่อจะได้เข้าใจอกุศลกรรมบถข้อสุดท้ายคือมิจฉาทิฏฐิได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทิฏฐิ ๓
ทิฏฐิ แปลว่า ความเห็น ถ้าเห็นถูก เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ถ้า เห็นผิด เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ
มิจฉาทิฏฐินั้นมีหลายชนิด คือ มิจฉาทิฏฐิ ๒ ก็มี มิจฉาทิฏฐิ ๓ ก็มี มิจฉาทิฏฐิ ๑๐ ก็มี มิจฉาทิฏฐิ ๒๐ ก็มี และมิจฉาทิฏฐิ ๖๒ ก็มี
ในที่นี้ จะพูดถึงมิจฉาทิฏฐิ ๓ ก่อน คือ
๑.อริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
มิจฉาทิฏฐิข้อที่ ๑ ความเห็นของคนบางคนว่า การกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งที่จัดว่าชั่ว ถ้าไม่มีคนอื่นรู้ คนอื่นจับไม่ได้ ไม่มี คนลงโทษก็เท่านั้น ต่อเมื่อมีคนจับได้และลงโทษต่างหากจึงให้โทษ ส่วนการกระทำที่จัดว่าดี ถ้าไม่มีคนรู้ ไม่มีคนชม ไม่มีคนให้รางวัล ก็เท่านั้น ต่อเมื่อมีคนให้บําเหน็จบํานาญต่างหากจึงให้คุณ นี้จัดเป็น อริยทิฏฐิ – ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ คือเห็นว่า บาปหรือบุญที่ คนทำแล้วก็ไม่เป็นอันทำ ชื่อว่าปฏิเสธกรรม เป็นทิฏฐิของเจ้าลัทธิ คนหนึ่ง ชื่อ ปูรณกัสสปะในสมัยพุทธกาล แม้ในปัจจุบันคนที่มีความคิดเห็นเช่นนี้ก็มีอยู่
มิจฉาทิฏฐิข้อที่ ๒ ความเห็นของคนบางคนว่า คนเราจะได้ ดีหรือได้ชั่วก็ตาม คราวที่จะเคราะห์ดีหรือเคราะห์ร้าย ถึงคราวเคราะห์ ดีก็ดีเอง ทำอะไรก็มีคนชม ช่วยสนับสนุนชุบเลี้ยง ลาภยศเกิดขึ้น ตามกัน ถึงคราวเคราะห์ร้าย ทำอะไรก็มีคนติ เข้าขัดขวางลาภยศ ความ คิดเห็นเช่นนี้ จัดเป็นอเหตุกทิฏฐิ – ความเห็นว่าไม่มีเหตุ พวกที่มี ความเห็นเช่นนี้ ชื่อว่าปฏิเสธทั้ง ๒ อย่าง คือ ปฏิเสธกรรม และผล ของกรรม เพราะพวกนี้เชื่อว่าคนจะได้ดีก็ดีเอง จะได้ชั่วก็ชั่วเอง ไม่ มีเหตุไม่มีปัจจัย เหตุปัจจัยในเรื่องสุข ในเรื่องทุกข์ ในเรื่องความดี ในเรื่องความชั่วไม่มีเท่ากับไม่เชื่อบุญไม่เชื่อบาปนั่นเอง ความเห็น เช่นนี้เป็นทิฏฐิของมักขลิโคสาล ซึ่งเป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล คนประเภทนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยในโลกปัจจุบัน
มิจฉาทิฏฐิข้อที่ ๓ ความเห็นของคนบางคนว่า สัตว์บุคคล ไม่มี ธาตุต่างหากมาประชุมกัน เกื้อกูลกันและกันหรือทำร้ายกัน บุญบาปไม่มี ธาตุอย่างหนึ่งถึงกันกับธาตุอย่างหนึ่งต่างหาก เช่น ฝนทำต้นไม้ให้สดชื่นผลิดอกออกผล จะจัดว่าฝนได้บุญหรือ ไม่ เผาต้นไม้ให้ตาย จะจัดว่าไฟได้บาปหรือ ความเห็นเช่นนี้ จัดเป็น นัตถิกทิฏฐิ – ความเห็นว่าไม่มี คือ เห็นว่าขาดสูญนั่นเอง พวกที่มีความเห็นเช่นนี้ ชื่อว่า ปฏิเสธผลของกรรม หรือปฏิเสธวิบาก เมื่อ ปฏิเสธผลก็เท่ากับปฏิเสธเหตุเช่นกัน ทิฏฐิเช่นนี้ เป็นของอชิตเกส กัมพลซึ่งเป็นเจ้าลัทธิคนหนึ่งในสมัยพุทธกาล พวกนี้ถือว่าตายแล้วสูญ อันขัดต่อหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดในพระพุทธศาสนา คนประเภทนี้ก็มีอยู่ไม่น้อยในโลกปัจจุบัน
รวมความว่า ถ้าใครมีความเห็นเช่นนี้ คือ
๑.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำบาปบุญ ทำก็ไม่ถือว่าทำ
๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุไม่มีผล คนจะได้ดี
ก็ได้ดีเอง จะชั่วก็ชั่วเอง
๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี มันเกิดขึ้นตามกฎธรรมชาติ เท่านั้นเอง ชื่อว่าปฏิเสธทั้งสองอย่าง คือ ปฏิเสธกรรมและวิบาก
ผู้ใดมีความคิดเห็นเช่นนี้ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ผู้ที่งดเว้น จากสิ่งเหล่านี้จึงถือว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ จึงถือว่ารักษาศีลกรรมบถฝ่ายมโนกรรม
มิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ อย่างนี้เป็นนิยามิจฉาทิฏฐิ คือมิจฉาทิฏฐิ ที่ดิ่ง แนบแน่น คําว่า นิยามิจฉาทิฏฐิ คือมิจฉาทิฏฐิที่ดิ่ง มีโทษมาก มีอันตรายมาก ห้ามสวรรค์ ห้ามนิพพาน เป็นกรรมบถที่แรงมากกว่า อนันตริยกรรมเสียอีก เพราะให้โทษอย่างไม่มีกำหนด เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสไว้ในคัมภีร์เอกนิบาต อังคุตตรนิกายว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นความประพฤติอย่างอื่น แม้สักอย่างเดียว ที่จะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐิเลย ภิกษุทั้งหลาย มิจฉาทิฏฐิมีโทษร้ายแรงอย่างยิ่ง”
เพราะฉะนั้น ใครรักษาศีลข้อนี้ คือเป็นสัมมาทิฏฐิขึ้นมาได้ก็เป็นทางที่ประเสริฐ ถ้าใครเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วก็สามารถจะทำคุณประโยชน์ได้มาก
อกุศลกรรมบททั้ง ๑๐ ประการนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าโทษมาก ดังที่พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
“ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวว่ากายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นอรณียกิจ คือสิ่งที่ไม่ควรทำโดยส่วนเดียว อานนท์ เมื่อบุคคล กระทำทุจริต มีกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต เรากล่าวว่า เป็นอรณียกิจโดยส่วนเดียว เขาจึงได้รับโทษดังต่อไปนี้ คือ
๑) แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองได้
๒) ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วก็ติเตียนได้
๓) ชื่อเสียงอันชั่วย่อมกระฉ่อนไป
๔) ย่อมหลงตาย
๕. เมื่อตายแล้วไปตกในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ควรทำ ดัง พุทธภาษิตที่ว่า
อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะกรรมชั่ว ย่อมเผาผลาญ (ทำให้เดือดร้อน) ในภายหลังได้ น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ.บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลังกรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี.
นี้คืออกุศลกรรมบถ ถ้าใครทำแล้วเป็นบาป นําไปสู่นรก นําไปสู่คติที่ชั่ว เดือดร้อนทั้งในปัจจุบันและอนาคต แต่คนที่รักษาศีล นี้ก็คือเว้นจากอกุศลกรรมบถ ก็เป็นกุศลกรรมบถขึ้นมา กุศลกรรมบถ ทางใจด้วย แต่ถ้าใครรักษาได้แล้วจะมีผลดีมากทีเดียว แล้วผลก็ย่อม ดังกล่าวแล้ว รักษายากกว่ารักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เพราะต้องรักษา ได้ตรงกันข้ามกับอกุศลกรรมบถ คือ แม้ตนเองก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วก็สรรเสริญ ชื่อเสียงอันดีย่อมกระฉ่อนไป ย่อมไม่ หลงตาย เมื่อตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
อานิสงส์ของการรักษาศีลกรรมบถ
การรักษาศีลกรรมบถ หรือการประพฤติกุศลกรรมบถ – ทางแห่งการทำความดี มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ซึ่งท่านกล่าวไว้ใน คัมภีร์ต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนาหลายแห่ง โดยเฉพาะในอรรถกถา ขุททกปาฐะ แห่งคัมภีร์ขุททกนิกาย แสดงไว้ค่อนข้างละเอียดมาก แต่ในที่นี้จะรวบรวมอานิสงส์หรือประโยชน์ของการประพฤติตาม
กุศลกรรมบถมากล่าวไว้ เพื่อชี้ให้เห็นคุณค่าของกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ
๑. การเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีอานิสงส์ ๙ ประการ คือ
๑.มีร่างกายสมบูรณ์
๒. มีรูปพรรณสัณฐานงดงาม
๓. มีกําลังกายดี
๔. มีกําลังปัญญาไว
๕. เป็นคนองอาจ
๖. ไม่ทำลายตนหรือถูกผู้อื่นทำลาย
๗. ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
๘. มีบริวารมาก
๙. มีอายุยืน
๒. การเว้นจากการลักทรัพย์ มีอานิสงส์ ๖ ประการ คือ
๑.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๒. มีชีวิตไม่ฝืดเคือง
๓. ไม่มีความอดอยาก
๔. ย่อมได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. มีความเจริญก้าวหน้าในการค้าขาย
๖. ไม่มีความพินาศด้วยภัยพิบัติ มีอัคคีภัย เป็นต้น
๓.การเว้นจากการประพฤติผิดในกาม มีอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
๑. มีคนรักนิยมนับถือมาก
๒. ไม่มีคนคอยปองร้าย
๓.มีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์
๔. ไม่มีความอดอยากยากจน
๕. ไม่ต้องเกิดเป็นสตรี (ถ้าไม่ปรารถนา)
๖. ไม่เกิดเป็นกะเทย
๗. เกิดเป็นบุรุษในตระกูลสูง
๘. ได้รับเกียรติอยู่เสมอ
๙. มีร่างกายสมบูรณ์
๑๐. ไม่มากไปด้วยความวิตกกังวล
๑๑.ไม่ต้องพลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
๔.การเว้นจากการพูดเท็จ มีอานิสงส์ ๘ ประการ คือ
๑.เป็นคนพูดเสียงไพเราะชัดเจน
๒. มีฟันเรียบร้อยดี
๓. มีกลิ่นปากหอม
๔. มีไอตัวสนิท (ไม่มีกลิ่นตัว)
๕. มีดวงตาสมส่วน
๖. มีปกติพูดจาด้วยความจริงใจ
๗. มีกิริยาท่าทางสง่าผ่าเผย
๘. มีจิตใจมั่นคง
๕. การเว้นจากการพูดส่อเสียด มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นคนไม่ติเตียนตนเอง
๒. มีปกติรับฟังคําพูดจริง
๓. บัณฑิตย่อมยกย่องสรรเสริญ
๔. มีความสามัคคีกับมิตรเสมอ
๖. การเว้นจากการพูดคําหยาบ มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑.เป็นคนสมบูรณ์ด้วยทรัพย์
๒. มักจะได้ยินเสียงเป็นที่น่าพอใจ
๓.มีกายวาจาเรียบร้อย
๔. เวลาตายมีสติสมบูรณ์
๗. การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑. เป็นคนมักพูดเป็นธรรม
๒. ไม่วิกลจริต
๓. มีอำนาจวาสนาดี
๔. มีความพอใจในคําพูดของตนเสมอ
๘. การเว้นจากการโลภอยากได้ของเขา มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑.สมบูรณ์ด้วยทรัพย์และคุณความดี
๒. เกิดในตระกูลสูง
๓.ได้รับคําสรรเสริญอยู่เสมอ
๔. มีลาภสักการะสมบูรณ์
๙. การเว้นจากการไม่พยาบาทปองร้ายเขา มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑.เป็นคนมีรูปงาม
๒. ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. มีอายุยืน
๔. ตายตามอายุขัย
๑๐. การเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม มีอานิสงส์ ๔ ประการ คือ
๑.เป็นคนอยู่ใกล้ชิดพระธรรมเสมอ
๒. มีปัญญาดี
๓.เกิดในตระกูลมีความรู้
๔. เป็นผู้มีฐานะทัดเทียมคนที่มีฐานะดี
ส่วนโทษของการประพฤติล่วงกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการ อันเป็นการทำอกุศลกรรมบถ ก็มีนัยตรงกันข้ามกับอานิสงส์ของการ บําเพ็ญกุศลกรรมบถ ดังกล่าวมาข้างต้นนี้
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ท่านสาธุชนทั้งหลายย่อมเห็นชัดแล้วว่า กุศลกรรมบถ – ทางแห่งการทำความดี ทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เป็นประจำตลอดไป เพราะก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ให้คุณค่าแก่ผู้ปฏิบัติตามมากเพียงไร จึงจัดเป็นกุศลกรรมที่ควรบําเพ็ญ โดยส่วนรวมเป็นอย่างมาก
ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า
“กตญฺจ สุกตํ เสยฺโย, การทำดีนั่นแล ดีกว่า” และตรัสว่า
“ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนในภายหลัง
กรรมดีนั่นแลดีกว่า”
เพราะฉะนั้น จึงขอให้ทุกคนตั้งใจสมาทานศีล ซึ่งก่อให้เกิด คุณประโยชน์ทั้งแก่ตนและแก่ผู้อื่น รวมทั้งแก่ประเทศชาติเป็นอันมาก และเป็นพื้นฐานในการบําเพ็ญสมาธิให้ได้ผลดีเพิ่มขึ้น ไม่เสียทีที่เกิด มาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา
ตอนที่ ๑๑
ทุจริตให้ผลเป็นความทุกข์ทั้งสิ้น
ความทุกข์ความเดือดร้อนทั้งสิ้น ส่วนการทำดีไม่ว่าข้อใดย่อมได้รับ ขึ้นชื่อว่าการประพฤติล่วงศีลไม่ว่าข้อใด ย่อมก่อให้เกิด ผลดีทั้งสิ้น ในข้อนี้ มีเรื่อง โฆสกะเศรษฐี เป็นตัวอย่าง ซึ่งกล่าวไว้ ในอรรถกถาธรรมบท แห่งคัมภีร์ขุททกนิกาย ว่า
ประวัติโฆสกเศรษฐี ๑
ในสมัยหนึ่ง ได้เกิดทุพภิกขภัยขึ้นในแคว้นอัลลกัปปะ มีชายคนหนึ่งนามว่า โกตุหลัก ไม่อาจจะเป็นอยู่ได้ จึงพาภรรยาผู้มี บุตรอ่อน นามว่า กาลี จัดแจงเสบียงออกไปแล้ว ด้วยมุ่งหมายว่า “จะไปหากินที่เมืองโกสัมพี” สองสามีภรรยานั้น เดินทางไปเสบียง ที่เตรียมไว้ก็หมด ถูกความหิวครอบงำแล้ว ไม่สามารถจะนําเด็กไปได้
ครั้งนั้น สามีจึงกล่าวกะภรรยาว่า “ถ้าเรามีชีวิตอยู่ เราก็จะได้ ทิ้งเขาเสียที่นี่เถิด” ธรรมดาว่า ดวงใจของมารดาอ่อนโยน เพราะฉะนั้น นางจึงพูดกับสามีว่า “ดิฉันไม่อาจทิ้งลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ บอกว่า ได้ดอก” สามีก็พูดว่า “แล้วเราจะทำอย่างไร ?” ฝ่ายภรรยาก็“เราเปลี่ยนกันอุ้มลูกก็แล้วกัน”
มารดาก็ยกลูกขึ้นประหนึ่งพวงดอกไม้ ในวาระของตน กกไว้ ที่อก อุ้มไปแล้ว ก็เปลี่ยนให้สามีอุ้มบ้าง เวทนามีกําลังแม้กว่า ความหิว บังเกิดแก่ชายผู้เป็นสามีนั้น ในที่ซึ่งเขารับเด็กผู้เป็นลูกนั้นแล้ววางลง เขาก็พูดกะภรรยาบ่อยๆ ว่า “หล่อน เรามีชีวิตอยู่จักได้ ลูกอีก ทิ้งมันเสียเถิด” แม้ภรรยาก็ห้ามเขาไว้ตั้งหลายครั้ง แล้วก็เฉยเสีย
เด็กถูกเปลี่ยนกันตามวาระ เหนื่อยอ่อนเลยนอนหลับอยู่ในมือ ของบิดา ผู้เป็นสามี รู้ว่าลูกชายนั้นหลับ จึงปล่อยให้มารดาเดินไป ข้างหน้าก่อน แล้วเอาเด็กนอนไว้บนใบไม้ลาด ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง แล้วก็เดินตามไป มารดาเหลียวกลับดู ไม่เห็นลูก จึงถามว่า “ลูก ของเราไปไหน ?” ฝ่ายสามีก็บอกว่า “ฉันให้เขานอนใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง”
ภรรยาก็พูดขึ้นว่า “พี่ อย่าทำให้ฉันฉิบหายเลย ฉันปราศจาก ลูกเสียแล้ว ไม่อาจเป็นอยู่ได้ พี่นําลูกฉันมาเถิด” ดอกคร่ำครวญแล้ว
ครั้งนั้น ชายผู้เป็นสามี จึงกลับไปเอาเด็กนั้นมาแล้ว แม้ลูกก็ตายเสียแล้วในระหว่างทาง นายโกตุหลัก ทั้งบุตรในฐานะมี ประมาณเท่านี้ จึงถูกเขาทอดทิ้ง ๗ ครั้ง ในระหว่างภพ ด้วยผลแห่งกรรมนี้
ขึ้นชื่อว่าบาปกรรมนี้ อันบุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่า “น้อย”สองสามีภรรยาก็ได้เดินทางไปถึงตระกูลของคนเลี้ยงโค ในเมืองโกสัมพีแห่งแคว้นวังสะของพระเจ้าอุเทน
ก็ในวันนั้น มีการทำขวัญแม่โคนมของนายโคบาล ในเรือนของ นายโคบาล พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งมาฉันเป็นนิตย์ นายโคบาลนั้น เขาจัดแจงไว้เป็นอันมาก นายโคบาลเห็น ๒ สามีภรรยานั้นมา จึงถามว่า นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว จึงได้ทำการมงคล ข้าวปายาส “ท่านมาจากไหน” ทราบเรื่องแล้ว เป็นคนผู้มีใจกรุณา จึงกระทำความ สงเคราะห์ ๒ สามีภรรยานั้นด้วยการให้ข้าวปายาสกับเนยใสแก่ทั้งสามีภรรยาเป็นอันมาก
ภรรยาจึงกล่าวกะสามีว่า “พี่ เมื่อพี่มีชีวิตอยู่ ฉันก็ชื่อว่ามี ชีวิตอยู่ พี่ท้องพร่องมานาน จงบริโภคตามความต้องการ” พูดแล้ว จึงวางข้าวปายาสไว้เบื้องหน้าสามีพร้อมกับเนยใส ตนเองบริโภคเนย ใสเหลวแต่น้อยเท่านั้น ส่วนนายโกตุหลิกบริโภคมากไป ไม่อาจตัด ความอยากในอาหารได้ เพราะตนหิวมาตั้ง ๗-๘ วัน นายโคบาลครั้น ให้ข้าวปายาสแก่ ๒ ผัวเมียแล้ว ตนเองก็เริ่มบริโภคบ้าง
นายโกตุหลักนั่งแลดูนายโคบาลอยู่ เห็นก้อนข้าวปายาสที่นาย โคบาลให้แก่นางสุนัขที่นอนอยู่ใต้ตั่ง จึงคิดว่า “นางสุนัขตัวนี้มีบุญ จึงได้โภชนะเช่นนี้เนืองนิตย์” ตกกลางคืน นายโกตุหลักนั้น ไม่สามารถ ให้ข้าวปายาสย่อยได้ จึงตายไปเกิดในท้องของนางสุนัขตัวนั้น ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเผาศพแล้ว ก็ทำการรับจ้างอยู่ในบ้าน ของนายโคบาลนั่นเอง ได้ข้าวสารทะนานหนึ่ง หุงแล้ว เอาใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า “ท่านเจ้าขา ขอกุศลอันนี้ จงถึงแก่ทาสของท่านเถิด” แล้วคิดว่า “ควรเราจะอยู่ในที่นี้แหละ พระผู้ เป็นเจ้าย่อมมาในที่นี้เนืองนิตย์ ไทยธรรมจักมีหรือไม่ก็ช่างเถิด เราไหว้อยู่ ทำการขวนขวายอยู่ ทำใจให้เลื่อมใสอยู่ทุกวัน จักประสบบุญมาก” คิดได้อย่างนี้แล้ว นางจึงทำการรับจ้างอยู่ในบ้านนั้นนั่นเอง
เวลาผ่านไปประมาณ ๖-๗ เดือน นางสุนัขตัวนั้นก็คลอดลูกออกมาตัวหนึ่ง นายโคบาลจึงให้น้ำนมของแม่โคนมตัวหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น ไม่นานเท่าไรนัก ลูกสุนัขก็เติบใหญ่ ครั้งนั้น พระปัจเจก พุทธเจ้า เมื่อฉันก็โยนก้อนข้าวแก่ลูกสุนัขก้อนหนึ่งเสมอ เพราะ อาศัยก้อนข้าว สุนัขนั้นจึงได้มีความรักใคร่ในพระปัจเจกพุทธเจ้า นายโคบาลเองก็ไปสู่ที่บํารุง (ไปเยี่ยม) พระปัจเจกพุทธเจ้าวันหนึ่ง ครั้งเนืองนิตย์ นายโคบาลนั้น เมื่อเดินไปยังที่อยู่ของพระปัจเจก พุทธเจ้า ก็เอาไม้ตีที่พุ่มไม้และพื้นดินในที่ซึ่งมีเนื้อร้าย ในระหว่างทาง พร้อมกับส่งเสียงว่า “สุ สุ” ๓ ครั้ง ให้เนื้อร้ายหนีไปแล้ว แม้ลูก สุนัขตัวนั้นก็ไปด้วย
วันหนึ่ง นายโคบาลกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า “ท่านผู้เจริญ วันใด กระผมไม่มีโอกาสว่าง วันนั้นกระผมจักส่งสุนัขตัวนี้มา ขอ พระผู้เป็นเจ้าพึ่งมาด้วยเครื่องหมายคือสุนัขที่กระผมส่งมาเถิด” ตั้งแต่ นั้นมา ในวันที่ไม่มีโอกาส นายโคบาลนั้น ก็ส่งสุนัขไปว่า “เจ้าจงไป จงนําพระผู้เป็นเจ้ามา” ด้วยคําเดียวเท่านั้น สุนัขก็วิ่งไปถึงที่ที่นายดี ๓ พุ่มไม้และพื้นดินก็เท่าขึ้น ๓ ครั้ง รู้ว่าเนื้อร้ายหนีไปแล้วด้วยเสียงนั้นไปถึงที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ชําระกายแต่เช้าตรู่ เข้าไปยัง บรรณศาลาซึ่งนั่งอยู่แล้ว เมื่อถึงประตูบรรณศาลา จึงเห่าขึ้น ๓ ครั้ง ให้ท่านรู้ว่าตนมาแล้ว ก็นอนหมอบอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระปัจเจก
พุทธเจ้ากําหนดเวลาออกไปแล้ว สุนัขก็เดินเห่าไปข้างหน้า พระปัจเจก พุทธเจ้าเมื่อจะทดลองสุนัขจึงทำเป็นเดินไปทางอื่นเสีย ที่นั่นสุนัขจึงไปยืนเห่าขวางหน้าของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไว้ แล้วนําไปสู่ทางเดิม
ต่อมา ในกาลวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า เดินไปสู่ทางอื่น แม้สุนัขจะยืนขวางห้ามอยู่ข้างหน้าก็ไม่กลับ เอาเท้ากระตุ้นสุนัขแล้ว ก็เดินไป สุนัขรู้ว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่กลับ จึงไปคาบชายผ้านุ่ง (สบง) ฉุดมา นําท่านสู่ทางเดิม สุนัขนั้นได้ยังความรักเป็นอันมากให้เกิดขึ้นแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้
ต่อมาในกาลอื่น จีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้าเก่าแล้ว นายโคบาลจึงได้ถวายผ้าสำหรับทำจีวรแก่ท่าน พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงกล่าวกับนายโคบาลนั้นว่า “ผู้มีอายุ ธรรมดาว่าการทำจีวร บุคคล ผู้เดียวทำได้ยาก อาตมาไปสู่สถานสบายแล้วจักทำได้” นายโคบาลก็พูดว่า “ท่านผู้เจริญ นิมนต์ทำที่นี่เถิด” พระปัจเจก พุทธเจ้าจึงพูดว่า “ไม่อาจทำได้ดอก” นายโคบาลก็พูดขึ้นว่า “ท่าน ผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ท่านอย่าไปอยู่ที่อื่นให้นานนัก” สุนัขได้ยืนฟังคําของคนทั้ง ๒ นั้นอยู่เหมือนกัน
พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวกะนายโคบาลว่า “จงหยุดเถิดอุบาสก” ให้นายโคบาลกลับแล้วตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้า ต่อภูเขาคันธมาทน์ ในเทือกเขาหิมาลัย สุนัขแลดูพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เหาะขึ้นไปกลางอากาศ ยืนเห่าอยู่ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ลับคลองจักษุไป หัวใจของมันก็แตกทำลายลงด้วยความอาลัยรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า
สุนัขไปเกิดเป็นโฆสกเทพบุตร
ธรรมดาว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนั้น เป็นสัตว์มีชาติซื่อตรงไม่คดโกง ส่วนมนุษย์ใจคิดไปอย่าง ปากพูดไปอย่าง ไม่ตรงกัน เพราะ เหตุนั้นแล นายเปสสะผู้เป็นบุตรของนายควาญช้าง จึงกล่าวว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธปัญจกคือมนุษย์นี้ รกชัฏ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธปัญจก คือ สัตว์ของเลี้ยงนี้ตื้น”
สุนัขนั้นตายแล้วไปเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสร ๑ พันแวดล้อม ได้เสวยสมบัติใหญ่ ก็เพราะเป็นสัตว์มีความเห็นตรงและไม่คดโกงนั่นเอง
เมื่อเทพบุตรนั้นกระซิบใกล้หูของใครๆ เสียงก็ดังไปไกลได้ ๑๖ โยชน์ ส่วนเสียงพูดโดยปกติย่อมกลบ
เทวนครทั้งสิ้น ซึ่งมีประมาณ หมื่นโยชน์ เพราะเหตุนั้นเอง เทพบุตรนั้น จึงได้นามว่า “โฆสก เทพบุตร”
มีคําถามว่า “นี้เป็นผลของอะไร ?” คําตอบก็คือ เป็นผลของ การเห่าด้วยความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า
โฆสกเทพบุตรนั้น ดำรงอยู่ในเทพนครนั้นไม่นานก็เคลื่อน (จุติ)
เหตุที่ทำให้เทพบุตรเคลื่อน ๔ อย่าง
จริงอยู่ เทพบุตรทั้งหลาย เคลื่อน (จุติ) จากเทวโลก ด้วย เหตุ ๔ อย่าง คือ
๑. เพราะสิ้นอายุ
๒. เพราะสิ้นบุญ
๓. เพราะสิ้นอาหาร
๔. เพราะโกรธ
ในเหตุ ๔ อย่างนี้ เทพบุตรองค์ใด ทำบุญกรรมไว้มาก เทพบุตร องค์นั้นเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุก็เกิดในเทวโลกชั้นสุด ขึ้นไป อย่างนี้ชื่อว่า เคลื่อนเพราะสิ้นอายุ
เทพบุตรองค์ใด ทำบุญไว้น้อย บุญของเทพบุตรนั้นสิ้นไปเสีย ในระหว่างเหมือนธัญชาติ (ข้าวเปลือก) ที่บุคคลใส่ไว้ในฉางหลวง เพียง ๔-๕ ทะนาน หมดไปไวเพราะมันน้อย เทพบุตรนั้นทำกาละเสีย ในระหว่าง อย่างนี้ชื่อว่า เคลื่อนเพราะสิ้นบุญ
เทพบุตรบางองค์ มักบริโภคกามคุณ ไม่บริโภคอาหาร เพราะ การหลงลืมสติ มีกายเหนื่อยอ่อน สิ้นชีวิต อย่างนี้ชื่อว่า เคลื่อนเพราะ สิ้นอาหาร
เทพบุตรบางองค์ ไม่อดทนสมบัติของผู้อื่น โกรธเคืองแล้วจึง ทำกาละ อย่างนี้ชื่อว่า เคลื่อนเพราะความโกรธ
โฆสกเทพบุตรนี้ มัวบริโภคกามคุณอยู่ หลงลืมสติ จึงเคลื่อน เพราะสิ้นอาหาร ครั้นเคลื่อนแล้วก็ไปเกิดเป็นลูกของหญิงงามเมืองใน กรุงโกสัมพี ในวันคลอด นางถามทาสีว่าลูกตนเป็นชายหรือหญิง เมื่อนางทาสีตอบว่า “ลูกชาย เจ้าค่ะ” จึงบอกให้นางทาสีเอาไปทิ้ง ด้วยคําว่า“เจ้าจงเอาทารกนี้ใส่กระด้งแล้วเอาไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ ธรรมดาว่าหญิงงามเมืองทั้งหลายเลี้ยงเฉพาะแต่ลูกผู้หญิง ไม่เลี้ยง ลูกชาย เพราะเชื้อสายจะสืบไปได้ก็ด้วยลูกหญิง
กาบ้าง สุนัขบ้าง ต่างพากันจับกลุ่มแวดล้อมเด็กไว้ด้วยผลแห่งการเห่า อันเกิดจากความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้า ในสมัยที่เขาเกิดเป็นสุนัข สัตว์ตัวหนึ่งก็ไม่อาจเข้าใกล้ได้ ในขณะนั้น คนผู้หนึ่ง ออกไปนอกบ้านเห็นการจับกลุ่มของกาและสุนัข เกิดความสงสัยจึงเดินไปดู เห็นทารกเข้าก็ได้เกิดความรักเหมือนดังลูก แล้วจึงนําไปสู่เรือน ด้วยดีใจว่า เราได้ลูกชายแล้ว
ในเวลานั้น เศรษฐีชาวเมืองโกสัมพี ไปสู่ราชตระกูล (ไปเฝ้าพระราชา) พบปุโรหิต (เทียบเท่าตำแหน่งประธานองคมนตรี) เดินมา แต่พระราชวัง จึงถามว่า “ท่านอาจารย์ วันนี้ท่านได้ตรวจตราดูดาวฤกษ์ อันเป็นเหตุเคราะห์ดี เคราะห์ร้ายแล้วหรือ”
ปุโรหิตตอบว่า “จ้ะ ท่านมหาเศรษฐี กิจอะไรอื่นของพวกเรา ไม่มี” เศรษฐีถามว่า “อะไรจะเกิดขึ้นแก่บ้านเมืองนี้ครับ ท่านอาจารย์ ปุโรหิตตอบว่า “อย่างอื่นไม่มี แต่เด็กที่เกิดในวันนี้ จะได้เป็นเศรษฐีผู้ประเสริฐ
(ผู้ยิ่งใหญ่) ในเมืองนี้”
ขณะนั้น ภรรยาของเศรษฐีมีครรภ์แก่ ฉะนั้น เศรษฐีจึงให้ คนใช้กลับไปที่บ้านเพื่อตรวจดูว่า ภรรยาตนคลอดบุตรหรือยัง พอทราบ ว่ายังไม่คลอด เมื่อเฝ้าพระราชาเสร็จแล้ว ก็รีบกลับบ้านแล้วเรียก หญิงคนใช้ชื่อกาลีมาแล้ว ให้ทรัพย์ ๑ พันเพื่อให้ไปพาเอาเด็กที่ เกิดวันนี้มา นางกาลีตรวจตราไปถึงบ้านนั้น เห็นเด็กแล้ว จึงถามหญิง แม่บ้านว่า “เด็กเกิดเมื่อไร” เมื่อหญิงนั้นตอบว่า “เกิดวันนี้” จึงพูดว่า จงให้เด็กนี้แก่ฉัน ประมูลราคาแล้วให้ทรัพย์ ๑ พัน จากนั้นได้นําเด็ก ไปนอนให้เศรษฐี เศรษฐีคิดว่า ถ้าลูกเราเกิดเป็นหญิง ตำแหน่งเศรษฐี ไม่ตกแก่ลูกเราเป็นแน่ เมื่อลูกเราเกิดเป็นชาย เราจักฆ่ามันเสีย เมื่อ คิดตกลงใจเช่นนี้แล้ว จึงให้รับเด็กนั้นไว้ในเรือน
ต่อมา ภรรยาของเศรษฐีนั้น คลอดบุตรเป็นชาย พอผ่านไป ๒-๓ วัน เศรษฐีจึงคิดว่า เมื่อไม่มีเจ้าเด็กนี้ ลูกชายของเราก็จัด ตำแหน่งเศรษฐี จึงควรที่เราจักฆ่ามันเสีย จึงเรียกนางกาลีมาแล้วกล่าว ว่า “เจ้าจงไป ในเวลาที่พวกโคออกจากดอก เจ้าจงเอาเด็กให้นอน ขวางไว้ที่กลางประตูคอก แม่โคทั้งหลาย จักเหยียบมันให้ตาย แต่เจ้าต้องรู้ว่า โคเหยียบมันหรือไม่เหยียบแล้วจึงมา”
นางกาลีนั้น พาเด็กนั้นไปแล้ว พอนายโคบาลเปิดประตูคอก เท่านั้น ก็เอาเด็กนั้นวางไว้ตามที่เศรษฐีสั่ง โคอุสภะซึ่งเป็นจ่าฝูง ใน วันอื่น ๆ ออกภายหลังโคทั้งปวง แต่วันนี้ออกไปก่อน ได้ยืนคร่อม ทารก ในระหว่างเท้าทั้ง ๔ แม่โคหลายร้อยตัว ต่างก็พากันเบียดเสียด ออกด้านข้างของโคอุสภะออกไป แม้นายโคบาลก็คิดว่า เจ้าโคตัวนี้ เมื่อก่อน ออกทีหลังโคทุกตัว แต่วันนี้ ออกไปก่อนโคทั้งหมด แล้ว ยืนนิ่งอยู่ที่ประตูคอก นั่นจะมีเหตุอันใดนะ จึงเดินไปดูเห็นเด็กนอนอยู่ ภายใต้ท้องโคนั้น เกิดความรักเสมือนบุตร จึงนำกลับบ้านด้วยคิดว่า เราได้ลูกชายแล้ว
นางกาลีกลับบ้านไปแล้ว เศรษฐีถามจึงเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง ท่านเศรษฐีก็กล่าวว่า “เจ้าจงไปให้ทรัพย์ ๑ พันแล้วนํามันกลับมาอีก” นางกาลีให้ทรัพย์แก่นายโคบาล ๑ พันแล้วได้นํากลับมาอีก
นางกาลีนําโฆสกะไปให้เกวียนทับ
เศรษฐีกล่าวกับนางกาลีว่า “แม่กาลี ในเมืองนี้มีพวกเกวียน ๕๐๐ เล่ม ลุกขึ้นแต่เช้ามืดไปค้าขาย เจ้าจงเอาเด็กนี้ไปให้นอนไว้ที่ทางเกวียน พวกโคจักเหยียบมันหรือล้อเกวียนจักตัดตัวมัน พอรู้เรื่องของมันแล้ว จึงกลับมา” นางกาลีนั้นนําเด็กนั้นไปแล้ว ให้นอนอยู่ที่ทางเกวียน
ในเวลานั้นหัวหน้าเกวียน ได้ไปข้างหน้า ครั้งนั้น พวกโคของ เขาถึงที่นั่นแล้ว ต่างพากันสลัดแอกเสีย แม้จะถูกหัวหน้าเกวียน ยกแอกขึ้นใส่เข้าตามเดิมแล้วขับไปตั้งหลายครั้ง ก็ไม่เดินไปข้างหน้า เมื่อหัวหน้าเกวียนพยายามอยู่กับโคทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้จนสว่าง เขาจึงคิดว่า โคทั้ง ๒ พากันทำเหตุนี้เพราะอะไร จึงตรวจตราดูทางเห็น ทารกแล้วก็คิดว่า “กรรมของเราหนักหนอ” มีความยินดีว่าเราได้ลูก ขายแล้ว จึงนําเด็กนั้นไปสู่บ้านตน
นางกาลีกลับบ้านไปแล้วถูกเศรษฐีถาม จึงบอกความเป็นไปนั้น เศรษฐีก็บอกว่า “เจ้าจงไปให้ทรัพย์แก่เขา ๑ พันแล้ว จงนําเด็กนั้น กลับมาอีก นางกาลีกระทำตามนั้นแล้วนําเด็กนั้นกลับมาอีก
นางกาลีนําโฆสกะไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ
เศรษฐีกล่าวกะนางกาลีนั้นว่า “บัดนี้เจ้าจงนํามันไปยังป่าช้า ผีดิบ (คือป่าช้าที่เขาค้างหรือทิ้งศพไว้โดยไม่ได้เผา) แล้วเอานอน ไว้ในระหว่างพุ่มไม้ มันจักถูกสัตว์มีสุนัขป่าเป็นต้นกัดกิน หรือถูก อมนุษย์ประหารตายในที่นั้น เจ้าต้องรู้ว่ามันตายแล้วหรือไม่ตายก่อนจึงกลับมา”
นางกาลีนั้น นําเด็กนั้นไปให้นอนอยู่ที่ป่าช้าผีดิบแล้ว ได้ยืน อยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง สุนัขบ้าง กาบ้าง อมนุษย์บ้าง ไม่อาจเข้าใกล้ได้
มีคําถามว่า “ก็มารดาบิดาและบรรดาพี่น้องเป็นต้น ใคร ๆ ชื่อว่าผู้รักษาของเด็กนั้น ไม่มีมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วใครรักษาตัวเด็กนั้นไว้ ?”
ข้อนี้ท่านตอบไว้ว่า “กรรมคือการเห่าเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในพระปัจเจกพุทธเจ้า ในชาติที่เกิดเป็นสุนัขได้รักษาเด็กไว้”
ครั้งนั้น นายอชบาล (คนเลี้ยงแพะ) คนหนึ่ง ต้อนแม่แพะ หลายแสนตัวไปหากิน เดินไปข้างป่าช้าแห่งนั้น แม่แพะตัวหนึ่ง เคี้ยวกินใบไม้ เข้าไปสู่พุ่มไม้เห็นทารกแล้ว จึงคุกเข่าให้นมแก่ทารก แม้นายอชบาลจะทำเสียงว่า “เห เห” ก็ไม่ยอมออกไป เขาคิดว่า จักเอาไม้ตีไล่มันออกไป จึงเข้าไปสู่พุ่มไม้ เห็นแม่แพะคุกเข่าให้ ทารกน้อยกินนมอยู่ จึงเกิดความรักในทารกเหมือนบุตร จึงพาเอา ทารกไปบ้าน ด้วยคิดว่า “เราได้ลูกชาย” นางกาลีก็เห็นเหตุการณ์อยู่ โดยตลอด จึงกลับไปบอกเศรษฐีอีก พอเศรษฐีถามก็เล่าเรื่องให้ฟัง ทั้งหมด เศรษฐีให้เงินอีก ๑ พัน เพื่อนําเด็กทารกกลับมาอีก นางกาลี ก็ได้ทำตามนั้น
นางกาลีนําโฆสกะไปโยนเหว
ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะนางทาสีว่า “แม่กาลี เจ้าจงเอาเด็ก นี้ไป ขึ้นสู่ภูเขาซึ่งเป็นที่ทิ้งโจร แล้วโยนมันลงไปในเหว มันกระทบ ท้องภูเขา ก็จักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยเอง เจ้ารู้ว่ามันตายแล้วหรือไม่ ตายจึงกลับมา” นางกาลีก็ได้ทำตามนั้น นางขึ้นสู่ยอดภูเขาแล้ว โยน เด็กลงมา ก็ที่ท้องภูเขานั้นมีพุ่มไม้ไผ่ใหญ่ พุ่มกระพังโหมหนาทึบได้ คลุมเบื้องบนพุ่มไผ่นั้นไว้ เมื่อทารกตกลงมา จึงตกลงบนพุ่มไม้นั้นเหมือนตกลงบนผ้าขนสัตว์
ในวันนั้น หัวหน้าช่างสาน ต้องการไม้ไผ่ เขาไปกับลูกชายเริ่มตัดพุ่มไม้นั้น เมื่อพุ่มไม้ไหวเด็กก็ร้องขึ้น เขาจึงพูดว่า “เหมือน ไปบ้านด้วยคิดว่า “เราได้ลูกชายแล้ว”
นางกาลีเห็นเหตุการณ์นั้นจึงนําความไปบอกแก่เศรษฐีอีก เศรษฐีให้เงินโดยทํานองนั้น แล้วนําเด็กมาอีก
ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว
เมื่อเศรษฐีทำกรรมนี้ ๆ อยู่ เด็กก็เติบใหญ่ เขาได้มีชื่อว่า “โฆสกะ” นายโฆสกะนั้นปรากฏแก่เศรษฐีประหนึ่งว่าหนามแทงตา เศรษฐีไม่อาจจะดูเด็กนั้นตรงๆ ได้ ครั้งนั้น เศรษฐีตรองหาอุบาย จะฆ่านายโฆสกะนั้น คิดอุบายได้แล้ว จึงไปสู่สำนักของนายช่าง หม้อผู้เป็นสหายของตน แล้วถามว่า “เมื่อไรท่านจะเผาเตา ?” เมื่อ เขาตอบว่า “พรุ่งนี้” จึงกล่าวว่า “ถ้ากระนั้น ท่านจงเอาทรัพย์ ๑ พัน นี้ไว้ แล้วทำงานให้ฉันสักอย่างหนึ่ง”
นายช่างหม้อถามว่า “งานอะไรท่าน” เศรษฐีก็กล่าวว่า “ฉันมี บุตรชายอยู่คนหนึ่ง จักส่งมันมายังสำนักของท่าน เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านจงให้มันเข้าไปในห้อง เอามีดที่คมตัดให้เป็นท่อนใหญ่ท่อนน้อย เอาใส่ตุ่มแล้วเผาในเตา ทรัพย์ ๑ พันนี้เป็นรางวัลของท่าน ในภายหลัง ฉันจักทำสิ่งที่ควรทำ (สมนาคุณ) แก่ท่านอีก
นายช่างหม้อพูดว่า “ได้ครับท่าน”
ในวันรุ่งขึ้น เศรษฐีจึงเรียกนายโฆสกะมาแล้วกล่าวว่า “ลูก เมื่อวานนี้ พ่อสั่งงานช่างหม้อไว้อย่างหนึ่ง เจ้าไปยังสำนักของเขา แล้วพูดอย่างนี้ว่า “ได้ยินว่า ท่านจงทำการงานที่คุณพ่อของผมสั่งไว้เมื่อวานนี้ให้สำเร็จเถิด” พูดแล้วจึงได้ส่งนายโฆสกะไป
นายโฆสกะนั้น ก็ได้ไปบ้านช่างหม้อตามคำสั่งของท่านเศรษฐี
ฝ่ายลูกชายของเศรษฐี กําลังเล่นคลี (การแข่งขันอย่างหนึ่ง ซึ่งขี่ม้าตีลูกด้วยไม้) กับพวกเด็กอยู่ เห็นนายโฆสกะเดินไปในที่นั้น จึงเรียกนายโฆสกะนั้นแล้ว ถามว่า “พี่ไปไหน?” เมื่อนายโฆสกะ บอกว่า “เอาข่าวของคุณพ่อไปสำนักของนายช่างหม้อ” จึงพูดว่า“ฉันจักไปที่นั้นเอง เด็กเหล่านี้ชนะฉันหลายคะแนนแล้ว พี่จงชนะ
เอาคะแนนคืนให้ฉัน”
นายโฆสกะพูดว่า “พี่กลัวคุณพ่อ”
ลูกเศรษฐีพูดว่า “อย่ากลัวเลยพี่ ฉันจักนําข่าวนั้นไปเอง พวกเด็กหลายคนชนะฉันแล้ว พี่จงชิงชัยเอาคะแนนให้ฉัน จนกว่า ฉันจะกลับมานะ” กล่าวกันว่า นายโฆสกะเป็นคนฉลาดในการเล่นคลี เพราะฉะนั้น ลูกชายของเศรษฐีจึงได้หน่วงเหนี่ยวนายโฆสกะนั้นไว้อย่างนั้น
ฝ่ายนายโฆสกะพูดกับลูกชายของเศรษฐีว่า “ถ้ากระนั้นจงไป บอกกับนายช่างหม้อว่า ทราบว่า เมื่อวานนี้ คุณพ่อผมสั่งให้ท่าน ทำการงานอย่างหนึ่งไว้ ท่านจงจัดการงานนั้นให้สำเร็จเถิด” เมื่อพูด เช่นนี้แล้วจึงได้ส่งลูกเศรษฐีไป
ลูกชายของเศรษฐีไปสำนักของนายช่างหม้อแล้ว ได้กล่าวตามนั้น ครั้งนั้น นายช่างหม้อ ได้ฆ่าลูกชายของเศรษฐีตามคำสั่งโดยทํานองนั้น
ฝ่ายนายโฆสกะเล่นคลีอยู่ครึ่งวัน พอตกเย็นก็กลับบ้าน เมื่อ เศรษฐีเห็นเขาแล้ว จึงถามว่า “ไม่ได้ไปหรือลูก” ก็แจ้งความถึงเหตุ
ที่ตนไม่ได้ไปและเหตุที่น้องชายไปให้ทราบ เศรษฐีฟังคํานั้นแล้วจึง ร้องลั่นว่า “อย่าได้ฆ่าเลย” ปานประหนึ่งว่ามีโลหิตเดือดพล่านอยู่ ในสรีระทั่งสิ้น ประคองแขนคร่ำครวญอยู่ว่า “ช่างหม้อผู้เจริญ อย่าให้เราฉิบหายเสียเลย อย่าให้เราฉิบหายเลย” พูดแล้วจึงได้รีบไปยังสำนักของนายช่างหม้อ
นายช่างหม้อเห็นเศรษฐีมาอยู่โดยอาการอย่างนั้น จึงพูดว่า “นาย ท่านอย่าได้ทำเสียงดังไป การงานของท่านสำเร็จแล้ว” เศรษฐี นั้น ถูกความเศร้าโศกเปรียบดังภูเขาใหญ่ท่วมทับแล้ว ได้รับความ โทมนัสมีประมาณไม่น้อย เหมือนบุคคลผู้ประทุษร้ายต่อคนที่ไม่ ประทุษร้าย ได้รับโทษอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๑๐ อย่าง
อุบายใหม่ของเศรษฐี
แม้เช่นนั้น เศรษฐีก็ยังไม่อาจมองดูนายโฆสกะนั้นตรงๆ ได้อีก ครุ่นคิดหาอุบายว่า “ทำอย่างไร เราจะฆ่ามันเสียได้” มองเห็นอุบาย ว่า “เราจักส่งมันไปยังสำนักของคนเก็บส่วยใน ๑๐๐ บ้านของเรา ให้มันตายเสีย” คิดได้ดังนี้แล้ว จึงเขียนหนังสือไปถึงคนเก็บส่วย นั้นว่า “ผู้นี้เป็นลูกชั่วชาติของเรา ฆ่ามันเสียแล้วจงโยนลงไปใน หลุมคูถ เมื่อทำการนี้เสร็จแล้ว ฉันจักรู้สิ่งที่จะตอบแทนแก่ท่านลุง ในภายหลัง” พูดดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า “ลูกโฆสกะ คนเก็บส่วยของ พ่อมีอยู่ที่บ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน เจ้าจงนําเอาจดหมายฉบับนี้ไปให้เขา”พูดแล้วจึงเอาจดหมายผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา
ก็นายโฆสกะนั้น อ่านหนังสือไม่ออก เพราะตั้งแต่เขาเป็นเด็ก เศรษฐีก็ครุ่นคิดฆ่าเขาเสมอ แต่ไม่อาจฆ่าได้ จักให้เขาเรียนหนังสือได้อย่างไร นายโฆสกะนั้น ผูกจดหมายฆ่าตัวเองไว้ที่ชายผ้า ตามที่กล่าวมานี้ เมื่อจะออกเดิน จึงพูดว่า “คุณพ่อผมไม่มีเสบียงทาง”
เศรษฐีพูดว่า “เจ้าไม่ต้องมีกิจห่วงด้วยเสบียงทาง ในบ้านชื่อ โน้นในระหว่างทาง พ่อมีสหายเป็นเศรษฐี เจ้าจงไปกินอาหารเช้าที่เรือนเขาแล้ว จงเดินต่อไป”
นายโฆสกะนั้นรับว่า “ครับ” ไหว้บิดาแล้ว เดินออกไปถึงบ้าน นั้น ถามถึงเรือนท่านเศรษฐี เดินไปพบภรรยาของเศรษฐี เมื่อนางถามว่า “เจ้ามาจากไหน” จึงตอบว่า “มาจากในเมืองครับ” ภรรยาเศรษฐีถาม อีกว่า “เจ้าเป็นลูกใคร?” นายโฆสกะตอบว่า “ผมเป็นลูกของเศรษฐี ผู้เป็นสหายของท่านครับ คุณแม่” ภรรยาเศรษฐีถามว่า “เจ้าชื่อ โฆสกะหรือ ?” จึงตอบว่า “ครับ คุณแม่” นางจึงเกิดความรักขึ้น เสมือนลูก แม้ในขณะที่ตนเห็นเท่านั้น
ความรักเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ
เศรษฐีมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง นางมีอายุ ราว ๑๕-๑๖ ปี รูปร่าง สะสวย น่าพึงใจ เศรษฐีมอบหญิงรับใช้ไว้คนหนึ่งเพื่อรักษานาง แล้วให้อยู่ในห้องพิเศษ ที่พื้นชั้นบนของประสาท ๓ ชั้น ในขณะนั้น ลูกสาวเศรษฐีใช้หญิงคนใช้ไปตลาด ครั้งนั้น ภรรยาเศรษฐีเห็นนางทาสี นั้นแล้วจึงถามว่า “จะไปไหน ?” นางตอบว่า “ข้าแต่แม่เจ้า ดิฉัน ไปด้วยกิจรับใช้ของธิดาของท่าน” จึงกล่าวว่า “เจ้าจงมาทางนี้ก่อน งดการรับใช้ไว้ จงลาดตั้ง ล้างเท้า ทาน้ำมัน ปูที่นอนให้บุตรของเรา ก่อน จึงทำการรับใช้ในภายหลัง” นางได้ทำตามคำสั่งแล้ว
ครั้งนั้น ลูกสาวของเศรษฐีได้ดุหญิงรับใช้เพราะมาช้า ที่นั้นหญิงรับใช้จึงพูดขึ้นว่า “อย่าเพิ่งโกรธฉันเลย บุตรของเศรษฐีชื่อโฆสกะมาแล้ว ดิฉันทำสิ่งนี้แก่เขาแล้วไปตลาดแล้วจึงมา” แค่ฟังชื่อ ว่า “โฆสกะ” เท่านั้น ธิดาของเศรษฐีเกิดความรักเฉือนผิวหนัง จดเยื่อในกระดูก
ลูกสาวเศรษฐีแปลงสาสน์
แท้จริง ลูกสาวเศรษฐีนั้นเคยเป็นภรรยาของนายโฆสกะใน เวลาที่เขาเกิดเป็นนายโกตุหลัก นางได้ถวายข้าวสุกทะนานหนึ่งแก่ พระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยอานุภาพแห่งผลทาน จึงมาเกิดในตระกูล เศรษฐีนี้ เพราะเหตุนี้เอง ความรักในปางก่อน ได้ท่วมทับจึงยึดลูกสาว เศรษฐีนั้นไว้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
“ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ อย่างนี้คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในชาติปางก่อน ๑ (บุพเพสันนิวาส) ด้วยการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนอุบล (อาศัยเปลือก ตมและน้ำเกิดในน้ำฉะนั้น”
ทีนั้น นางจึงถามหญิงสาวใช้นั้นว่า “เดี๋ยวนี้เขาอยู่ที่ไหนจ๊ะแม่”
สาวใช้บอกว่า “เขานอนหลับอยู่บนที่นอน เจ้าค่ะ”
ธิดาเศรษฐีถามอีกว่า“เขาถืออะไรไว้ในมือบ้างหรือ ?”
สาวใช้ตอบว่า “มีหนังสืออยู่ที่ชายพกฉบับหนึ่งค่ะ”
ธิดาเศรษฐีคิดว่า “นั่นจะเป็นหนังสืออะไรนะ ?”
ขณะที่นายโฆสกะหลับอยู่นั้น ทั้งมารดาบิดาแลไม่เห็น จึงลงไปสู่สำนักของเขา แก้เอาหนังสือนั้นออกมาแล้วเข้าไปห้องของตน ปิดประตู เปิดหน้าต่าง อ่านหนังสือ เพราะนางฉลาดในอักษรสมัย แล้วคิดว่า “ตายจริง คนโง่ ผูกหนังสือสำหรับฆ่าตัวที่ชายผ้าแล้ว เที่ยวไป ถ้าเราไม่เห็นหนังสือนี้เสียก่อน เห็นที่เขาต้องตายเป็นแน่แท้” จึงฉีกหนังสือฉบับนั้นทิ้งไป แล้วเขียนขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง ตาม ถ้อยคําของเศรษฐีว่า “ลูกชายของข้าพเจ้านี้ชื่อ โฆสกะ จงนําเครื่อง บรรณาการมาจากบ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน ทำมงคลกับบุตรสาวเศรษฐี ในชนบทนี้ ให้ปลูกเรือนขึ้น ๒ ชั้น ในท่ามกลางบ้านที่อยู่ของตน ทำการรักษาอย่างแข็งแรง ด้วยเครื่องล้อมคือกําแพงและเครื่องล้อม คือบุรุษ และจงส่งข่าวไปให้ข้าพเจ้าว่า “การนี้ และการนี้ ฉันทำสำเร็จ แล้ว” เมื่อท่านทำการงานอย่างนี้แล้ว ฉันจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่ท่านลุงในภายหลัง”
ครั้นเขียนเสร็จแล้ว นางจึงพับจดหมายนั้นแล้วเอาไปผูกไว้ที่ชายผ้าของนายโฆสกะตามเดิม
นายโฆสกะได้ภรรยา
นายโฆสกะนอนหลับตลอดวัน ลุกขึ้นบริโภคอาหารแล้ว ก็หลีกไป ในวันรุ่งขึ้น เขาไปสู่บ้านนั้นแต่เช้าตรู่ แลเห็นนายเสมียน ทำกิจอยู่ในบ้าน นายเสมียนเห็นนายโฆสกะนั้นแล้ว จึงถามว่า นายเสมียนจึงถามว่า “หนังสือเพื่อการอะไร เจ้าจง “อะไรพ่อคุณ” นายโฆสกะนั้นกล่าวว่า “คุณพ่อของผมส่งหนังสือ มาถึงท่าน” บอกมา” รับเอาหนังสือแล้วอ่านดูก็มีความพอใจ จึงกล่าวกะคหบดี ทั้งหลายว่า “ผู้เจริญทั้งหลาย ขอเชิญท่านดูความรักใคร่ในเราของนายเรา ท่านเศรษฐีส่งบุตรชายมายังสำนักของเราด้วยแจ้งว่า “จงทำ มงคลแก่บุตรคนโตของเรา” พวกท่านจงรีบเอาไม้เป็นต้นมาเร็ว แล้วให้ปลูกเรือนมีประการดังกล่าวในท่ามกลางบ้าน ให้นําเครื่องบรรณาการมาแต่บ้าน ๑๐๐ หลังนำลูกสาวของเศรษฐีในชนบทมา กระทำมงคลแล้วจึงส่งข่าวไปแก่เศรษฐีว่า “การนี้ และการนี้ ข้าพเจ้าทำสำเร็จแล้ว”
เศรษฐีเสียใจจนเกิดโรค
เมื่อได้ฟังข่าวนั้น ความเสียใจอย่างใหญ่หลวงบังเกิดแก่ เศรษฐีแล้วว่า “เราให้ทำสิ่งใด สิ่งนั้นไม่สำเร็จ สิ่งใดมิให้ทำ สิ่งนั้น กลับสำเร็จ” ความเศร้าโศกนั้น กับความเศร้าโศกถึงบุตร เป็นอัน เดียวกัน ทำความร้อนในท้องให้เกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิดโรคอติสาร (โรคลงแดง)
แม้ลูกสาวของเศรษฐี ก็บังคับพวกคนว่า “ถ้าว่าใครๆ มาจาก สำนักของเศรษฐี ถ้ายังไม่บอกแก่เราแล้ว อย่าได้บอกแก่บุตรเศรษฐี ก่อน”
แม้มหาเศรษฐีเล่าก็คิดว่า “บัดนี้ เราจะไม่ยอมให้บุตรชั่วชาติ คนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติเรา” จึงบอกนายเสมียนคนหนึ่งว่า “ลุง ฉันปรารถนาจะพบบุตรของฉัน ท่านจงส่งคนรับใช้ไปคนหนึ่ง ให้เรียกบุตรของฉันมา” เขารับคําแล้วจึงได้ส่งคนใช้ไป ฝ่ายลูกสาว ของเศรษฐี ทราบว่าบุรุษนั้นมายืนอยู่ที่ประตู ให้เรียกเขามาแล้วถาม ว่า “อะไร พ่อ” คนรับใช้บอกว่า “เศรษฐีไม่สบาย อยากพบลูกชาย”ธิดาเศรษฐีกล่าวว่า “พ่อเศรษฐียังมีกําลังดีอยู่หรือ ?”
คนรับใช้บอกว่า “ยังมีกําลังดีอยู่ บริโภคอาหารได้”
นางก็ไม่ให้สามีทราบ แล้วให้ที่อยู่ อาหารและที่พักแก่คนใ นั้น แล้วพูดกําชับว่า “ท่านจงไปในเวลาที่ฉันส่งไป อยู่ที่นี่ก่อนเถอะ”
ฝ่ายมหาเศรษฐีได้กล่าวกะนายเสมียนอีกว่า “ลุง ท่านยังไม่ ส่งหนังสือไปให้บุตรของฉันอีกหรือ ?” นายเสมียนบอกว่า “ส่งไปแล้ว แต่คนที่ไปแล้วยังไม่กลับมา” เศรษฐีพูดว่า “ถ้ากระนั้น ท่าน ส่งผู้อื่นไปอีก” นายเสมียนก็ส่งไปตามคำสั่งนั้น ลูกสาวของเศรษฐีปฏิบัติกับคนใช้นั้นอีกเหมือนกับที่ปฏิบัติกับคนใช้คนก่อน
ในกาลนั้น โรคของเศรษฐีหนักแล้ว ภาชนะหนึ่งเข้า ภาชนะ หนึ่งออก (กินเข้าไปแล้วก็ถ่ายหรืออาเจียนออกมาหมด) เศรษฐีจึงถามนายเสมียนอีกว่า “ลุง ท่านยังไม่ได้ส่งหนังสือไปถึงบุตรของเรา หรือ ?” นายเสมียนตอบว่า “ส่งไปแล้วนาย แต่คนใช้ยังไม่กลับมา” เศรษฐีจึงให้ส่งคนไปอีก
ลูกสาวเศรษฐีถามถึงเหตุการณ์นั้นแม้กับบุรุษคนที่ ๓ นั้นแล้ว คนใช้บอกว่า “ข้าแต่นาย เศรษฐีป่วยหนักตัดอาหาร เห็นจะต้องตายเป็นแน่”
ลูกสาวเศรษฐีจึงคิดว่า “บัดนี้เป็นเวลาที่เขาควรไปได้” จึงบอกแก่สามีว่า “ทราบว่า คุณพ่อของท่านป่วย” เมื่อเขากล่าวว่า “พูดอะไร ?” จึงพูดว่า “ความไม่สำราญมีแก่บิดาของท่าน
นายโฆสกะพูดว่า “บัดนี้ฉันควรทำอย่างไร ?”
นางจึงบอกว่า “เราจักถือเครื่องบรรณาการจากบ้านสวย ๑๐๐ บ้านไปเยี่ยมท่าน”
ครั้งนั้น ลูกสาวเศรษฐีพูดกะนายโฆสกะผู้เป็นสามีนั้นว่า“บิดาของท่านถอยกําลัง เมื่อเราถือเอาเครื่องบรรณาการนี้ไป จักเป็นการเนิ่นช้า ขอท่านจงให้ขนบรรณาการนี้กลับเถิด” จึงส่งบรรณาการ นั้นทั้งหมดไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนแล้วพูดอีกว่า “พี่ ท่านจึง ยืนข้างเท้าของบิดาท่านไว้ ดิฉันจักยืนเหนือศีรษะ” เมื่อเข้าไปสู่เรือน แล้ว นางก็บังคับพวกคนของตนว่า “พวกท่าน จงถือเอาการรักษาทั้งข้างหน้าและหลังเรือนไว้
เศรษฐีถึงแก่อนิจกรรม
ในขณะนั้น เศรษฐีนอนหงายแล้ว ส่วนนายเสมียนเมื่อนวดเท้า ของเศรษฐีอยู่ ได้เห็นลูกของเศรษฐีมาแล้วจึงบอกว่า “นาย บุตรของ ท่านมาแล้ว” เศรษฐีถามว่า “เขาอยู่ที่ไหน?” นายเสมียนบอกว่า “เขายืนอยู่ปลายเท้า”
ครั้งนั้นเศรษฐีเห็นบุตรชายแล้ว จึงให้เรียกนายเสมียนมาแล้ว ถามว่า “ในเรือนของฉันมีทรัพย์อยู่เท่าไร ?” เมื่อนายเสมียน บอกว่า “มีอยู่ ๔๐ โกฏิเท่านั้น แต่เครื่องอุปโภคบริโภคและบ้าน นา สัตว์ ๒ เท้า สัตว์ ๔ เท้า ยานพาหนะ มีอยู่จำนวนเท่านี้ ๆ” จึงใคร่จะพูดว่า “ฉันไม่ให้ทรัพย์มีประมาณเท่านี้แก่เจ้าโฆสกะ บุตรของฉัน” แต่กลับพูดว่า “ฉันให้
ลูกสาวเศรษฐีฟังคํานั้นแล้วคิดว่า “เศรษฐีนี้ เมื่อพูดพึงพูดคํา อะไรอื่น” เป็นเหมือนเร่าร้อนด้วยความโศก สยายผมร้องไห้กล่าวว่า คุณพ่อ พูดอะไรนี่ พวกเราฟังคําของท่านแบบนี้ พวกเราไม่มีบุญหนอ” พูดแล้วจึงเอาศีรษะทุบเข้าที่กลางอกของเศรษฐี ล้มลงเอาศีรษะกลิ้งเกลือกอยู่ที่ท่ามกลางอกของเศรษฐี แสดงอาการคร่ำครวญจนเศรษฐีไม่อาจพูดได้อีก แม้เศรษฐีก็ได้ถึงแก่กรรมในขณะนั้นนั่นเอง
พระเจ้าอุเทนประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่นายโฆสกะ
ชนทั้งหลายฟังว่า “เศรษฐีตายแล้ว” จึงไปกราบทูลพระเจ้า อุเทน ๆ จึงทรงให้ทำฌาปนกิจสรีระของเศรษฐีแล้ว ตรัสถามว่า“ก็ลูกชายหรือลูกหญิงของเศรษฐีนี้มีอยู่หรือ ?”
ชนทั้งหลายกราบทูลว่า “มีอยู่พระเจ้าข้า ลูกชายของเศรษฐี นั้นชื่อว่า โฆสกะ เศรษฐีนั้นมอบหมายทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่ นายโฆสกะแล้วถึงแก่อนิจกรรม พระเจ้าข้า” พระราชาทรงให้เรียก นายโฆสกะมาแล้ว ก็ในวันนั้นฝนตกที่พระลานหลวง มีน้ำขังอยู่ใน ที่นั้น นายโฆสกะเดินไปด้วยหวังว่าจักเฝ้าพระราชา
พระเจ้าอุเทนทรงเปิดพระแกลทอดพระเนตรดูนายโฆสกะนั้นเดินมาอยู่ ทรงเห็นเขากระโดดน้ำที่ลานหลวงเดินมา จึงตรัสถามเขา ซึ่งมาถวายบังคมแล้วกําลังยืนอยู่ว่า “พ่อ เจ้าชื่อโฆสกะหรือ ?” เขา กราบทูลว่า “ถูกแล้วพระเจ้าข้า” ทรงปลอบเขาว่า “เจ้าอย่าเสียใจ ว่าบิดาของเราถึงแก่อนิจกรรมแล้ว เราจักให้ตำแหน่งเศรษฐีแก่เจ้าเอง เมื่อตรัสแล้วจึงส่งนายโฆสกะนั้นกลับด้วยพระดํารัสว่า “จงไปเถิดพ่อ” และในขณะนั้น พระราชาได้ประทับยืนทอดพระเนตรดูเขาซึ่งไปอยู่ เขาไม่กระโดดน้ำ ณ ที่ที่เขากระโดดในเวลาที่มา แต่ได้ค่อย ๆ ลงไป
ครั้งนั้น พระราชา ได้ตรัสสั่งให้เรียกนายโฆสกะนั้นมาจากที่นั้นแล้วตรัสถามว่า “เพราะเหตุไรกันนะ พ่อ ท่านเมื่อมาสู่สำนักของเรา จึงกระโดดน้ำมาแล้ว เมื่อไปเดี๋ยวนี้ลงไปแล้ว จึงค่อย ๆ เดินไป”
นายโฆสกะกราบทูลว่า “เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า ข้าพระข้าพระพุทธเจ้ายังเป็นเด็กในขณะนั้นนี้ชื่อว่าเป็นเวลาเล่น ก็ในกาลบัดนี้ ได้รับทราบเรื่องการรับตำแหน่งจากพระองค์แล้ว เพราะฉะนั้น การที่ข้าพระองค์ไม่เที่ยวไปเหมือนกาลก่อนแล้วค่อย ๆไป จึงควรในเดี๋ยวนี้”
พระราชาทรงสดับคํานั้นแล้ว จึงดําริว่า “ชายผู้นี้มีปัญญา เราจักให้ตำแหน่งเศรษฐีแก่เขาในบัดนี้” เมื่อตรัสเช่นนี้แล้ว จึง พระราชทานโภคะที่บิดาเขามีมาแล้ว ได้ประทานตำแหน่งเศรษฐีพร้อม ด้วยสรรพวัตถุ ๑๐๐ อย่างแก่เขา
จากเรื่องโฆสกเศรษฐีนี้ ให้แง่คิดแก่ท่านสาธุชนหลายอย่าง เกี่ยวกับชีวิตของบุคคล อันเป็นไปตามกฎแห่งกรรมที่ตนทำไว้เอง ทั้ง ในชาตินี้และในชาติที่ล่วงมาแล้ว การขาดศีลโดยมีจิตประทุษร้าย ต่อคนอื่น มุ่งฆ่าผู้อื่น ย่อมส่งผลร้ายแก่ผู้นั้นมากเพียงไร แต่การตั้ง อยู่ในศีลธรรม ย่อมทำให้บุคคลปลอดภัยและประสบความสำเร็จ
ในชีวิตมากเพียงไร
ฉะนั้น คนที่เชื่อบุญบาป จึงมั่นคงในศีล ตั้งใจทแต่ความดี หลีกหนีความชั่ว และมุ่งทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วตามหลักพระพุทธศาสนา.
ตอนที่ ๑๒
โทษของการขาดศีล
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้พูดถึงโทษของ การขาดศีล โดยเฉพาะการขาดศีล ๕ ว่ามีโทษร้ายแรงอย่างไร โดย การขาดศีลข้อที่หนึ่ง พร้อมกับมีตัวอย่างประกอบ อันมีหลักฐาน จากคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ
ในตอนต้นนี้จะขอพูดรวม ๆ ในด้านโทษของการขาดศีล ทั้ง ๕ ข้อก่อน เพราะผู้ที่ขาดศีล ๕ ย่อมนําความเดือดร้อนมาให้แก่ ตนเองทั้งในชาตินี้และชาติต่อไป ทั้งก่อความทุกข์ ความเดือดร้อน ให้แก่ผู้อื่น คือ ทั้งแก่ประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวมได้เป็น อันมาก ทุกคนจึงควรทราบถึงผลที่ร้ายแรงของการขาดศีล ๕ เพื่อ จะได้ละเว้นให้ห่างไกลจากการประพฤติผิดศีล ๕ ให้มากที่สุดเท่าที่ จะทำได้ เพราะหากประพฤติผิดเข้าแล้ว ย่อมก่อทุกข์ให้แก่ตนเอง และสังคมส่วนรวมอย่างแน่นอน อันเป็นการสร้างความทุกข์ ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองในภายหลังพระพุทธองค์จึงตรัสเตือนไว้ว่า
“อกตํ ทุกฺกฏํ เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกฏํ
ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า เพราะความชั่วย่อม
เผาผลาญเอาในภายหลังได้”
ผู้ขาดศีล ๕ เมื่อว่าตามความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่มี ๓ ประเภท คือ
๑.คนที่ไม่งดเว้นจากการล่วงศีล ๕ แต่ก็ไม่ทำความชั่วอันใด คนเช่นนี้ ก็ถือว่าไม่มีศีล และชื่อว่าขาดศีลได้เหมือนกัน เพราะ ไม่ได้มีเจตนางดเว้นจากการทำลายศีล ที่เรียกว่า ไม่มีปัญจเวรวิรัติ คือ เจตนางดเว้นจากการล่วงศีล แต่ก็ไม่ได้เป็นบาป เพราะไม่ได้ล่วงศีล แต่ก็ไม่ได้บุญเพราะไม่มีเจตนาที่จะรักษาศีล แม้จะมีอายุยืนก็ถือว่า ขาดทุน เพราะอยู่อย่างไม่มีศีล เหมือนวัวควาย แม้มันจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ แต่มันก็ไม่มีศีล เพราะมันไม่มีเจตนาที่จะงดเว้น ที่ เรียกว่า “วิรัติเจตนา” ถือว่ามีชีวิตที่เกิดมาเป็นมนุษย์อย่างขาดทุน เสียชาติเกิดตามหลักพระพุทธศาสนา
๒. คนที่ไม่สมาทานศีล แต่ประพฤติล่วงศีล ๕ คนเช่นนี้ ก็สร้างความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตนและผู้อื่น และย่อมได้รับ ผลบาปจากการประพฤติล่วงศีลเช่นกัน แม้ไม่สมาทานศีล แต่ก็ได้รับ แต่บาปอย่างเดียว ส่วนบุญไม่ได้เลย เพราะไม่มีเจตนางดเว้นศีล ๕ ข้อใดข้อหนึ่ง
๓. คนที่สมาทานศีล ๕ แล้วประพฤติล่วงศีลข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อ หรือทุกข้อ คนเช่นนี้ ย่อมได้ทั้งบุญและบาป คือเขา ย่อมได้บุญอันเกิดจากการรับศีลหรือสมาทานศีล ตราบเท่าที่ศีลข้อ นั้นๆ หรือทั้ง ๕ ข้อยังไม่ขาด และเขาย่อมได้บาปเมื่อประพฤติผิดข้อใดข้อหนึ่งหรือทั้ง ๕ ข้อ
ในคนทั้ง ๓ ประเภทนี้ คนประเภทแรกย่อมไม่ได้รับทั้ง ผลของบุญและบาป เพราะเขาไม่ทำความดีและไม่ทำความชั่ว
คนประเภทที่ ๒ ย่อมไม่ได้บุญอันใดเลย เพราะเขาไม่ได้ สมาทานศีลข้อใดเลย แต่ได้รับแต่บาปอย่างเดียว เพราะประพฤติผิดศีล ๕
คนประเภทที่ ๓ ย่อมได้ทั้งบุญทั้งบาป เพราะเขาได้ทำทั้งบุญทั้งบาป
โทษของการผิดศีลข้อหนึ่ง
โทษของการผิดศีลข้อหนึ่ง คือ การฆ่าคนฆ่าสัตว์ โดยตรงก็ คือ ถ้าบาปมากก็ทําให้เกิดในอบายภูมิ คืออาจจะเกิดในนรก เกิดเป็น เปรต เกิดเป็นอสุรกาย (ผี) หรือเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เมื่อกลับมา เกิดเป็นมนุษย์อีก เศษกรรมยังเหลืออยู่ ทำให้เขาเกิดมาอายุสั้น หรือ ถูกฆ่าตาย หรือไม่มีใครฆ่าก็ฆ่าตนเอง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสผลของ การผิดศีลข้อหนึ่งไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตร” แห่งคัมภีร์มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสตอบปัญหาของสุภมาณพ บุตรของโตเทยยพราหมณ์ ซึ่งมาทูลถามปัญหาเรื่องกฎแห่งกรรม ๗ คู่ ๑๔ ข้อ แต่ในที่นี้ จะยกเฉพาะปัญหาคู่ที่ ๑ ที่ทูลถามว่า “ทําไม บางคนอายุสั้น บางคนอายุยืน” ว่า
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า “ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคน ในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำปาณาติบาต เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหารไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต เมื่อเขาตายไป ก็จะเข้าถึงอบาย ทุคติวินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากเขาตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเกิดเป็น มนุษย์ ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีอายุสั้น ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต ฯ
ดูก่อนมาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง อาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เมื่อเขาตายไป ก็จะเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้ อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุยืน ดูก่อนมาณพ ปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อมีอายุยืนนี้ คือ ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจาก ปาณาติบาต วางอาชญา วางศาตราได้ มีความละอาย ถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่”
การประพฤติผิดศีลทั้ง ๕ ข้อ มีโทษร้ายแรงไม่เท่ากัน
ในจำนวนศีลทั้ง 4 ข้อนั้น แต่ละข้อมีโทษร้ายแรงไม่เท่ากัน กล่าวคือ การผิดศีลข้อ ๕ คือ การดื่มสุราเมรัย รวมทั้งของเสพติด ร้ายแรงให้โทษต่าง ๆ เช่น เฮโรอิน และยาม้าหรือยาบ้า เป็นต้น มีโทษมาก เพราะเป็นเหตุให้ประพฤติผิดศีลข้ออื่นๆ ได้ เช่น เมื่อ ดื่มสุราเมาแล้วอาจจะประพฤติผิดศีลข้อหนึ่ง คือ ฆ่าคนก็ได้ อาจจะผิดศีลข้อสอง คือลักทรัพย์ก็ได้ อาจจะประพฤติผิดศีลข้อ ๓ คือ ประพฤติผิดในกามก็ได้ หรืออาจจะผิดศีลข้อ ๔ คือ พูดเท็จก็ได้เสียทั้งสุขภาพ ทรัพย์สมบัติและศีลธรรม และเสียแม้กระทั่งชีวิต เพราะผิดศีลข้อนี้
การผิดศีลข้อหนึ่ง คือ ฆ่าสัตว์” มีโทษหนักกว่าการผิดศีลข้อ อื่น ๆ เพราะสามารถทำอนันตริยกรรม เช่น ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าพระอรหันต์ได้
อนันตริยกรรม
อนันตริยกรรม แปลว่า “กรรมหนัก คือ กรรมที่ทำเข้าแล้ว ไม่มีกรรมอื่นใด ไม่ว่าดีหรือชั่วมาแทรกในระหว่างได้ ต้องไปนรก อย่างเดียว อนันตริยกรรม มี ๕ อย่าง คือ
๑. ฆ่ามารดา
๒. ฆ่าบิดา
๓. ฆ่าพระอรหันต์
๔. ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๕. ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้พระโลหิตห้อ
อดีตกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
อนันตริยกรรม เช่น การฆ่ามารดาบิดา แม้จะได้รับผลกรรม ในนรกแล้ว เมื่อกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมยังเหลืออยู่ ก็ยังถูก ฆ่าตายถึง ๑๐๐ ชาติ เรื่องนี้ มีเรื่องพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวก ฝ่ายซ้ายของพระพุทธองค์เป็นตัวอย่าง ดังมีเรื่องบันทึกไว้ในอรรถกถา ธรรมบท” แห่งคัมภีร์ขุททกนิกาย ดังต่อไปนี้
ในสมัยหนึ่ง ในปัจฉิมโพธิกาล พวกเดียรถีย์ประชุมกัน ปรารภ ว่า “ท่านผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า เพราะเหตุไร ลาภ สักการะจึงเกิดขึ้นเป็นอันมากแก่พระสมณโคดม ?”
เดียรถีย์พวกหนึ่งกล่าวว่า “พวกข้าพเจ้าไม่ทราบ ส่วนพวกท่านทราบหรือ ?
เดียรถีย์ที่รู้เรื่องก็พากันตอบว่า “ขอรับ พวกข้าพเจ้า ทราบ ลาภและสักการะเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระเถระรูปหนึ่ง ชื่อ มหาโมคคัลลานะ เพราะพระเถระนั้นไปเทวโลก ถามกรรมที่พวก เทวดาทำแล้ว ก็กลับมาบอกกับพวกมนุษย์ว่า “ทวยเทพทำกรรมชื่อนี้ ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้” แม้ไปนรก ก็ถามกรรมของหมู่สัตว์ที่เกิด ในนรกแล้วกลับมาบอกพวกมนุษย์ว่า “พวกเนรยิกสัตว์ทำกรรมชื่อนี้ ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนี้” พวกมนุษย์ได้ฟังถ้อยคําของพระเถระนั้น แล้ว ย่อมนําลาภสักการะเป็นอันมากไปถวาย ถ้าพวกเราจักสามารถ ฆ่าพระเถระนั้นได้แล้ว ลาภและสักการะนั้นก็จักเกิดแก่พวกเรา
เดียรถีย์เหล่านั้น ต่างรับรองว่า อุบายนี้ใช้ได้ ทุกคนเป็นผู้มี ฉันทะอันเดียวกัน (มีความเห็นเป็นเอกฉันท์) ตกลงกันว่า พวกเรา จักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ฆ่าพระเถระนั้นเสีย จึงเที่ยวชักชวน อุปัฏฐากของตน ได้ทรัพย์พันกหาปณะ ให้เรียกหมู่โจรมาแล้วสั่งว่า พระเถระชื่อมหาโมคคัลลานะอยู่ที่ตำบลกาฬศิลา พวกเจ้าไปในที่นั้น แล้ว จงฆ่าพระเถระเสีย แล้วได้ให้ค่าจ้างไป
พวกโจรรับคําเพราะความโลภในทรัพย์ ตั้งใจว่า พวกเราจักฆ่า พระเถระ แล้วไปล้อมที่อยู่ของพระมหาโมคคัลลานะไว้ พระเถระทราบความที่ตนถูกพวกโจรเหล่านั้นล้อมไว้ จึง ออกไปทางช่องลูกกุญแจด้วยอำนาจฤทธิ์แล้วหลีกไปเสีย ในวันนั้น พวกโจรไม่ได้เห็นพระเถระ วันรุ่งขึ้นจึงไปอีก
พระเถระก็ทราบอีก จึงทำลายมณฑลช่อฟ้าเหาะไปทางอากาศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ในเดือนแรกก็ดี เดือนท่ามกลางก็ดี พวกโจรก็ไม่อาจ จับพระเถระได้ แต่เมื่อถึงเดือนสุดท้าย พระเถระทราบภาวะคือการ ชักมาแห่งกรรมที่ตนได้ทำไว้ จึงมิได้หลบหนี เพราะกรรมที่ฆ่าบิดามารดาในกาลก่อน
พวกโจรไปจับพระเถระแล้ว ก็ทุบจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย ประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก แล้วจึงเหวี่ยงศพท่านไปหลัง พุ่มไม้ ด้วยคิดว่า ตายแน่แล้ว จึงหลีกไปเสีย
พระเถระคิดว่า เราเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้วจักปรินิพพาน จึงประสานอัตภาพด้วยเครื่องประสานคือฌาน ทำให้มั่นคงแล้ว ไป สำนักของพระศาสดาทางอากาศ ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า “ข้าพระองค์จักปรินิพพาน พระเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า “เธอจักปรินิพพานหรือ โมคคัลลานะ แล้วจะปรินิพพานที่ไหน”
พระเถระกราบทูลว่า “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักปรินิพพาน จะไปสู่ตำบลกาฬศิลาแล้วปรินิพพานที่นั่น”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “โมคคัลลานะ ถ้ากระนั้น เธอกล่าว ธรรมแก่เราแล้วจึงค่อยไป เพราะนับแต่นี้ไปเราไม่พบสาวกผู้เช่นเธออีก”
พระเถระกราบทูลว่า “ข้าพระองค์จักทำอย่างนั้น พระเจ้าข้า” แล้วถวายบังคมพระศาสดา โดยการเหาะขึ้นไปบนอากาศ แผลงฤทธิ์ มีประการต่าง ๆ อย่างพระสารีบุตรแผลงฤทธิ์ในวันปรินิพพาน แล้วกล่าวธรรม ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปสู่ป่ากาฬศิลา แล้ว ปรินิพพาน
ถ้อยคําเล่าลือกันว่า “ข่าวว่า พระมหาโมคคัลลานะถูกพวกโจร ฆ่าเสียแล้ว” ได้กระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป
พระเจ้าอชาติศัตรู ทรงแต่งตั้งจารบุรุษไปเพื่อต้องการสืบเสาะ หาพวกโจร ขณะนั้นพวกเหล่าโจรก็พากันดื่มสุราในโรงดื่มสุรา โจร คนหนึ่ง ได้ถองหลังโจรคนหนึ่งให้ล้มลง โจรที่ถูกกองนั้น ขู่ตะคอก โจรนั้นแล้วพูดว่า “เฮ้ย อ้ายหัวดื้อ ทําไมจึงถองหลังกูวะ” โจร คนหนึ่งบอกว่า “เฮ้ย ไอ้โจรชั่วร้าย ก็พระมหาโมคคัลลานะ จึงลงมือ ดีก่อนหรือ” โจรอีกคนพูดว่า “ก็มึงไม่รู้หรือว่าพระมหาโมคคัลลานะลูกกูดีเอง”
เมื่อพวกโจรพากันอวดอ้างสรรพคุณตนเองอยู่นั้น จารบุรุษ ของพระราชาก็จับโจรเหล่านั้นทั้งหมดไว้ได้ แล้วกราบทูลแก่พระเจ้าอชาติศัตรู พระองค์จึงทรงรับสั่งให้เรียกพวกโจรนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า “พวกเจ้าฆ่าพระเถระหรือ ?” พวกโจรกราบทูลว่า “พระเจ้าข้า” พระราชาจึงตรัสถามอีกว่า “แล้วใครใช้พวกเจ้ากันเล่า?” พวกโจรก็กราบทูลว่า “พวกสมณะเปลือย พระเจ้าข้า”
พระราชาทรงรับสั่งให้จับสมณะเปลือยประมาณ ๕๐๐ แล้วให้ฝังไว้ในหลุมประมาณเพียงสะดือที่พระลานหลวง รวมกับโจรทั้ง ๕๐๐ คน ให้กลบด้วยฟางแล้วก่อไฟ ครั้นทรงทราบว่าถูกไฟไหม้แล้ว จึงรับสั่งให้ไถด้วยไถเหล็ก ทำพวกนั้นทั้งหมดให้เป็นท่อนเล็กท่อนน้อย รับสั่งให้ทำการเสียบหลาวโจร ๔ คน
พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรม ก็ปรารภเรื่องนี้ขึ้นมาว่า “น่าสังเวชจริง พระมหาโมคคัลลานะ มรณภาพไม่สมควรแก่ตน”
พระศาสดา เสด็จมาแล้วตรัสถาม ได้ความว่า พวกภิกษุกําลัง ปรารภกันถึงเรื่องของพระมหาโมคคัลลานะ แล้วพระองค์จึงตรัสต่อว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ มรณภาพไม่สมควรแก่อัตภาพนี้เท่านั้น แต่เธอถึงมรณภาพสมควรแท้ แก่กรรมที่เธอได้ทำไว้ในกาลก่อน พวกภิกษุพากันอ้อนวอนทูลถามถึงบุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ พระพุทธองค์จึงตรัสอดีตนิทานอย่างพิสดาร ว่า
บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ
ในอดีตกาล กุลบุตรผู้หนึ่ง เป็นชาวเมืองพาราณสี ทำกิจ ต่าง ๆ มีการตําข้าวและหุงต้ม เลี้ยงดู ปรนนิบัติ บิดามารดา ด้วยตนเอง
ต่อมา มารดาบิดาของเธอ พูดว่า “ลูกเอ๋ย เจ้าผู้เดียวเท่านทำงานทั้งในเรือน ทั้งในป่า ย่อมลําบาก มารดาบิดาจักนําหญิงสาว คนหนึ่งมาให้เจ้า” เขาห้ามไว้ว่า “คุณแม่คุณพ่อครับ อย่าเลย ผม ไม่ต้องการหญิงสาวเช่นนั้นดอก ผมเท่านั้นจักบํารุงท่านทั้ง ๒ เอง ตราบเท่าที่ท่านยังมีชีวิตอยู่” ก็ถูกมารดาบิดาอ้อนวอนอยู่อย่างนั้นบ่อยๆ เข้า จึงนําหญิงสาวมาให้เขา
หญิงนั้น บํารุงแม่และพ่อตัวอยู่ได้เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น ภายหลัง ก็ไม่อยากเห็นท่านทั้ง ๒ อีก จึงบอกกับสามีว่า “ฉันไม่ อาจอยู่ในที่แห่งเดียวกับมารดาบิดาของเธอ” พูดแล้วก็ติเตียนต่าง ๆ สามีก็ยังไม่เชื่อถ้อยคําอยู่นั่นเอง วันหนึ่งขณะสามีไปนอกบ้าน นางก็ถือเอาปอ ก้านปอ และฟองข้าวยาคู ไปเรี่ยราดไว้ในที่นั้นๆ ให้รกรุงรังเลอะเทอะ สามีมาแล้วก็ถามว่า “นี้อะไรกัน” ก็บอกว่า “นี้ เป็นกรรมของคนแก่ผู้บอดทั้งสองเหล่านี้ แกทั้งสองเที่ยวทำเรือน ทั่วทุกแห่งให้สกปรก ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่งเดียวกันกับแกทั้ง ๒ นั้นได้”
เมื่อหญิงนั้นบ่นพร่ำอยู่อย่างนั้น ท่านผู้มีบารมีที่ได้บําเพ็ญไว้ แล้วแม้เห็นปานนั้น ก็แตกกับมารดาบิดาได้ เขาพูดว่า “เอาเถอะ ฉันจักรู้กรรมที่ควรทำแก่ท่านทั้ง ๒”
หลังจากพูดแล้ว เขาก็ได้เชิญมารดาบิดาให้บริโภคอาหารแล้ว ก็ชักชวนว่า “ข้าแต่พ่อและแม่ พวกญาติในที่ชื่อโน้น หวังการมา ของท่านทั้ง ๒ อยู่ ผมจักพาไปในที่นั้น”
จึงให้พ่อและแม่ทั้ง ๒ ขึ้นสู่ยานน้อยแล้วพาไป ในเวลาถึงกลางดง จึงลวงว่า “คุณพ่อขอรับ ขอพ่อจงถือเชือกไว้ โคทั้ง ๒ จักไปด้วยสัญญาแห่งปฏัก ในที่นี้มีพวกโจรซุ่มอยู่ ผมจะลงไปก่อน”แล้วก็มอบเชือกไว้ในมือของบิดา ลงไปแล้ว ได้เปลี่ยนเสียงทำให้เป็นเสียงพวกโจรซุ่มอยู่
มารดาบิดาได้ยินเสียงนั้น ก็เข้าใจว่า “พวกโจรซุ่มอยู่จริง” จึงกล่าวว่า “ลูกเอ๋ย แม่และพ่อแก่แล้ว เจ้าจงรักษาเฉพาะตัวเจ้าให้พ้นภัยเถิด”
เขาทำเสียงดุจโจร แล้วทุบตีมารดาบิดา แม้ผู้ร้องอยู่อย่างนั้น ให้ตาย ทิ้งไว้ในดง แล้วกลับไป
พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะนั้น แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ ทำกรรมประมาณเท่านี้ ไหม้ในนรกหลายแสนปี ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตีอย่างนั้น ถึงความตายสิ้น ๑๐๐ อัตภาพ โมคคัลลานะได้มรณะอย่างนี้ ก็พอ สมควรแก่กรรมของตนเองแท้ ส่วนพวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับพวกโจร ๕๐๐ คน ประทุษร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้ถึงความตาย ที่เหมาะแก่กรรมของเขาเหมือนกัน ด้วยว่า บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อ บุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อมถึงความพินาศฉิบหายด้วยเหตุ ๑๐ ประการ เป็นแท้” เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรงตรัสภาษิตพระคาถา เหล่านี้ว่า
“ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ได้รับเวทนากล้า ๑ ความเสื่อมทรัพย์ ๑ ความสลายแห่งสรีระ (ตาย) ๑ความขัดข้องแต่พระราชา ๑ การถูกกล่าวคู่อย่าง ร้ายแรง ๑ ความย่อยยับแห่งเครือญาติ ๑ ความเสียหายแห่งโภคะทั้งหลาย ๑ อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่า ย่อมไหม้เรือนของเขา ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะ กายแตก (เมื่อตายไป) ย่อมเข้าถึงนรก”
จากเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ปาณาติบาต – การขาดศีลข้อหนึ่งมีโทษ มากเพียงไร โดยเฉพาะโทษของอนันตริยกรรม แม้เพียงเศษของกรรม ก็ยังทำให้พระมหาโมคคัลลานะ แม้เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ยังถูกฆ่าตายถึง ๑๐๐ ชาติ แม้พวกโจรรวมทั้งพวกเดียรถีย์ที่จ้างพวกโจร ก็ได้รับกรรมสมกับกรรมที่ตนได้ทำไว้ทั้งสิ้น
ฉะนั้น เมื่อเห็นโทษของการผิดศีลข้อนี้แล้ว บัณฑิตพึงเว้น จากปาณาติบาตเสีย แล้วตั้งใจสมาทานศีลเป็นประจำ ให้สมกับเป็น พุทธศาสนิกชน ผู้เชื่อกฎแห่งกรรม
ตอนที่ ๑๓
โทษของการลักทรัพย์
ในสีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีล ในตอนนี้ จะได้พูดถึงโทษของการประพฤติผิดศีลข้อที่ ๒
คนผิดศีลข้อสอง คือ การลักทรัพย์ ย่อมก่อความทุกข์ยาก เดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นอันมากแม้ในปัจจุบัน เช่น เป็น ที่เกลียดชังของคนทั้งหลาย แม้แต่ในหมู่ญาติพี่น้อง ไม่มีคนดี คนใดอยากคบเป็นมิตร เสียชื่อเสียงทั้งแก่ตนเอง วงศ์ตระกูล และ แก่คนที่ตนไปคบหรือพึ่งพาอาศัย ทำให้ถูกทำร้าย หรือติดคุกหรือ ถูกประหารชีวิต ทำให้ตั้งตัวได้ยาก เพราะไม่มีใครอยากให้ทำงานหรืออยากให้อยู่ใกล้ เป็นเหตุก่อเวรและก่อความทะเลาะวิวาทฆ่าฟัน ทำให้ถูกปลดหรือถูกไล่ออกจากงานที่ตนทำอยู่ ถ้าเป็นนักบวชก็ถูกไล่ให้สึก เพราะผิดศีลข้อนี้
ผู้ผิดศีลข้อนี้ เมื่อตายจากโลกนี้ไป ก็ไปเกิดในอบายภูมิ เช่น กำเนิดแห่งสัตว์เดรัจฉาน และนรก เป็นต้น หากว่าหมดเวรหมด กรรมในอบายภูมิแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลือ อยู่ ก็ทำให้เขาถูกโกงกินถูกปล้นหรือถูกขโมย หรือแย่งชิง ฉ้อโกง เพราะทำกรรมเช่นนี้ไว้ ฉะนั้น นักปราชญ์ผู้เห็นโทษของการขาดศีล จึงเว้นขาดจากอทินนาทาน
เพื่อให้เห็นโทษของการผิดศีลข้อนี้ชัด จะยกเรื่อง เปรตผู้เป็น พระญาติของพระเจ้าพิมพิสารเป็นตัวอย่าง ซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถา ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ๑ แห่งคัมภีร์ปรมัตถทีปนี
เรื่องเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร
เรื่องเปรตผู้เป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารนี้ เท่าที่ทราบ ท่านกล่าวไว้ในที่มาหลายแห่ง เช่น อรรถกถาธรรมบท ภาคที่ ๑ เรื่อง สญชัย ในคัมภีร์มงคลทีปนี กถาว่าด้วยการเลี้ยงมารดาบิดา แต่ใน ที่นี้จะได้กล่าวในอรรถกถาเปตวัตถุ แห่งคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ความ พิสดารในเรื่องนี้มีอยู่ว่า
ในกัปที่ ๕๒ แต่ภัททกัปนี้ ได้มีนครหนึ่งชื่อว่า กาสี พระราชา ทรงพระนามว่า ชัยเสน ทรงครองราชสมบัติในพระนครนั้น พระองค์ ได้มีพระราชเทวีทรงพระนามว่า สิริมา พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางแล้วตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ พระเจ้าชัยเสนเกิดความเห็นแก่ตัวขึ้นว่า “บุตรของเรา ออกมหาภิเนษกรมเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระธรรม เป็นของเรา พระสงฆ์ก็เป็นของเรา” ทรงอุปัฏฐากด้วยพระองค์เอง ทุก ๆ กาล ไม่ทรงให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่น
พี่น้อง ๓ พระองค์ ผู้ต่างมารดากัน เป็นพระกนิษฐภาดาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า พากันคิดว่า “ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะ บุคคลผู้เดียว และพระบิดาของพวกเราก็ไม่ยอมให้โอกาสแก่ชนเหล่า อื่นเลย ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์”
พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า “เอาเถิด พวกเรา จะทำอุบายสักอย่างหนึ่งให้ได้” พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้น ได้สร้าง สถานการณ์ชายแดน ประหนึ่งว่า เกิดการปั่นป่วน แต่นั้น พระราชา ทรงสดับว่า แถบชายแดนเกิดความปั่นป่วน จึงได้ส่งพระโอรสทั้ง ๓ พระองค์ไปปราบปัจจันตชนบท พี่น้อง ๓ พระองค์เหล่านั้นไปปราบ ให้ปัจจันตชนบทสงบแล้วกลับมา พระราชาทรงพอพระทัย ได้ประทาน พรว่า “พวกลูกปรารถนาสิ่งใด ก็จงถือเอาสิ่งนั้นเถิด”
พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์นั้น กราบทูลว่า “ข้าพระองค์ปรารถนา จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า”
พระราชาตรัสว่า “เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้านี้เสีย เธอจงเลือก เอาอย่างอื่นเถิด”
พี่น้อง ๓ พระองค์นั้นกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์ไม่ต้อง การสิ่งอื่น”
พระราชาตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงกําหนดเวลามาแล้วถือเอาเถิด”
พี่น้อง ๓ พระองค์กราบทูลว่า “ขอ ๖ ปี ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี ๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน จนกระทั่งขอเพียง๓ เดือน ด้วยประการฉะนี้”
ในกาลนั้น พระราชาได้ทรงอนุญาตว่า “จงถือเอาเถิด”
พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี พระภาคเจ้า จงทรงรับการอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนนี้แก่ข้าพระองค์เถิด”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับด้วยดุษณีภาพ พี่น้อง ๒ พระองค์ นั้น จึงส่งลิขิตไปถึงนายเสมียนในชนบทของตนว่า “พวกเราจึง อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือนนี้ ขอท่านจงจัดแจงสัมภาระสำหรับอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่างเริ่มตั้งแต่วิหาร (วัด) ไป”
นายเสมียนนั้นได้จัดแจงทุกอย่างแล้ว ส่งลิขิตตอบไป พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น ต่างนุ่งผ้ากาสายะ พร้อมกับบุรุษ ๑,๐๐๐ คน ผู้ทําการขวนขวาย ได้พากันอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ โดยเคารพ นําไปยังชนบท มอบถวายวิหารให้อยู่จำพรรษา
บุตรคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เป็นภัณฑาคาริกของพี่น้อง ๒ พระองค์ นั้น พร้อมด้วยภริยา เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส เขาได้ถวายทาน ภัตรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานโดยเคารพ นายเสมียน ในชนบท พาเขาไปพร้อมกับชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน ได้ให้ ทานเป็นไปโดยเคารพเทียว ในคนเหล่านั้น ชาวชนบทบางพวก ได้ เกิดขัดใจกันขึ้น เขาเหล่านั้น จึงพากันทำอันตรายแก่ทาน พากันกิน ไทยธรรมด้วยตนเอง และเอาไฟเผาโรงครัว
ราชบุตรทั้งหลายผู้ปวารณาแล้วก็พาก้นทำสักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้เบื้องหน้า แล้วกลับมาหาบิดาตามเดิม
บรรดาท่านเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปแล้วก็ ปรินิพพาน ส่วนราชบุตร เสมียนในชนบท และผู้เป็นภัณฑาคาริก ผู้ขัดใจกัน ก็พากันเกิดในนรก เมื่อชนทั้ง ๒ พวกนั้น จากสวรรค์เข้า พร้อมด้วยบริษัททำกาละแล้ว ก็ไปบังเกิดในสวรรค์ตามลำดับ เหล่าชน ถึงสวรรค์ จากนรกถึงนรก ด้วยอาการอย่างนี้ ผ่านไป ๙๒ กัป
ครั้นในภัทรกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนาม ว่า กัสสปะ คนผู้ขัดใจกันเหล่านั้นเกิดในพวกเปรต ในกาลนั้น พวกมนุษย์พากันให้ทานอุทิศเพื่อประโยชน์แก่พวกเปรตผู้เป็นญาติของตน ว่า “ขอทานที่ให้นี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติของพวกเราเถิด” เปรต เหล่านั้น ได้เสวยสมบัติ ลำดับนั้น คนผู้ขัดใจกันที่มาเกิดเป็นเปรต ได้เห็นดังนั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พวกข้าพระองค์จึงได้สมบัติเห็นปานนี้หรือไม่หนอ ?”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า “บัดนี้ ท่านยังไม่ได้ แต่ในอนาคต จักมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าโคตม ในกาลแห่งพระผู้ มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จักมีพระราชาทรงพระนามว่าพิมพิสาร ใน ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วจักอุทิศแก่พวกท่าน พวกท่านจักได้ ๙๒ กัปแต่ภัทรกัปนี้ พระองค์ได้เป็นญาติของพวกท่าน พระองค์ได้ถวายทานแต่พระพุทธเจ้าแล้วจักอุทิศแก่พวกท่าน พวกท่านจักได้ในกาลนั้น”
ได้ยินว่า เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสแล้วอย่างนี้ พระดํารัสนั้น ได้เป็นเหมือนตรัสแก่พวกเปรตเหล่านั้นว่า จักได้ในวันพรุ่งนี้
ครั้นพุทธันดรหนึ่งผ่านไป พระผู้มีพระภาคของพวกเราทรงอุบัติขึ้นแล้ว ราชบุตรทั้ง ๓ แม้เหล่านั้น พร้อมด้วยบุรุษ ๑,๐๐๐ คน จุติจากเทวโลกแล้ว เกิดในสกุลพราหมณ์ ในมคธรัฐ พากันบวช เป็นฤาษีตามลำดับ ได้เป็นชฎิล ๓ ณ ๓ พี่น้อง ณ คยาสีสประเทศ นายเสมียนในชนบท ได้เป็นพระเจ้าพิมพิสาร คฤหบดีบุตรผู้เป็น ขุนคลัง ได้เป็นเศรษฐี ชื่อว่าวิสาขะ ภริยาของคฤหบดีบุตรนั้น ได้เป็น ธิดาของเศรษฐี นามว่าธรรมทินนา ฝ่ายคนนอกนั้นบังเกิดเป็นบริวารของพระราชานั่นเอง
พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของพวกเรา ก็ทรงอุบัติขึ้นในโลกล่วง ไป ๗ สัปดาห์ ก็เสด็จมายังกรุงพาราณสีโดยลำดับ ทรงประกาศ ธรรมจักร ทรงแนะนําตั้งต้นแต่พระปัญจวัคคีย์ จนถึงชฎิล ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน แล้วได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ ก็ใน บรรดาชนเหล่านั้น พระองค์ทรงให้พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เข้าไปเฝ้าใน วันนั้นนั่นเอง พร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดีชาวอังคะและมคธะ ๑๑๐,๐๐๐ คน ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ลำดับนั้น พระราชา ทรงนิมนต์ด้วยภัตเพื่อเสวยพระกระยาหารในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงรับ แล้วในวันที่ ๒ อันท้าวสักกะจอมเทพผู้แปลงเพศเป็นมาณพน้อยนําเสด็จไป ชมเชยด้วยพระคาถาเป็นต้นอย่างนี้ว่า
“พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกพระองค์แล้ว ผู้พ้น วิเศษแล้ว ผู้มีวรรณะเพียงดังว่าลิ่มทองสิงค์ พร้อม ด้วยปุราณชฎิล ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้พ้นวิเศษแล้ว ได้เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์
จึงเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ทรงรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ ส่วนพวกเปรตเหล่านั้น ได้พากันยืนล้อมด้วยหวังใจว่า “บัดนี้พระราชาจักอุทิศแก่พวกเรา บัดนี้พระราชาจักอุทิศ”
พระราชาทรงถวายทานแล้ว ทรงดําริเฉพาะสถานที่ประทับอยู่ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ” จึงไม่ได้อุทิศทานนั้นแก่ใคร ๆ
พวกเปรตเมื่อไม่ได้ทานนั้น อย่างนั้น ก็สิ้นหวัง ในเวลากลาง คืนจึงพากันส่งเสียงร้องอันน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ใกล้พระราชนิเวศน์ พระราชาทรงถึงความสังเวชอันน่าสะพึงกลัว น่าหวาดเสียว เมื่อราตรี ผ่านไปจึงได้กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าพระองค์ได้สดับ เสียงเห็นปานนี้ จักมีเหตุอะไรแก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “อย่าทรงกลัวเลย มหาบพิตร จักไม่มีความชั่วร้ายใด ๆ แก่พระองค์ อนึ่ง ญาติก่อนเก่าของพระองค์ ที่เกิดในพวกเปรต ญาติเหล่านั้นหวังจะพบเฉพาะพระองค์แต่ผู้เดียว ถึงพุทธันดรหนึ่ง ท่องเที่ยวไปด้วยหวังใจว่า “พระองค์ถวายทาน แด่พระพุทธเจ้าแล้ว จักอุทิศส่วนบุญแก่เราทั้งหลาย เพราะเมื่อพระองค์ทรงถวายทานในวันวานแล้วมิได้อุทิศ พวกเปรตเหล่านั้น จึงพากันสิ้นหวัง ส่งเสียงร้องเห็นปานนั้น”
พระราชาตรัสถามว่า “เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้นจะพึงได้รับหรือ พระเจ้าข้า?”
พระศาสดาตรัสว่า “ได้ มหาบพิตร”
พระราชากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดรับทานของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันนี้ ข้าพระองค์จักอุทิศแก่พวกเปรตเหล่านั้น” พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ
พระราชาเสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้จัดแจงมหาทานแล้ว พระราชนิเวศน์ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งบนอาสนะที่บรรจง ให้กราบทูลกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยัง จัดไว้ เปรตเหล่านั้นไปด้วยหวังว่า “วันนี้ พวกเราจะพึงได้อะไร เป็นแน่” แล้วได้พากันยืนอยู่ในที่ต่าง ๆ มีภายนอกฝาเรือนเป็นต้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงกระทำโดยที่พวกเปรตเหล่านั้นทั้งหมดมาปรากฏแด่พระราชา
พระราชาเมื่อจะทรงหลั่งน้ำทักษิโณทก” จึงอุทิศว่า “ทานที่ข้าพเจ้าให้นี้ จงสำเร็จแก่พวกญาติเถิด”
ในบัดดลนั้นเอง สระโบกขรณีอันดารดาษด้วยกลุ่มดอกกมลได้บังเกิดแก่พวกเปรต เปรตเหล่านั้นพากันอาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ได้สงบระงับความกระวนกระวาย ความลําบาก และความกระหาย ได้เป็นผู้มีสีดั่งทองคํา
พระราชา ถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว และของบริโภคแล้วอุทิศ ให้ ขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคู ของเคี้ยว และอาหารอันเป็นทิพย์ก็ บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น เปรตเหล่านั้นพากันบริโภคข้าวยาคูเป็นต้นนั้น แล้ว ก็ได้เป็นผู้มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า
ลำดับนั้น พระองค์ได้ถวายผ้าและเสนาสนะแล้วอุทิศให้ เครื่องประดับมีชนิดต่าง ๆ เช่น ผ้า ปราสาท เครื่องลาด และที่นอน เป็นต้น อันเป็นทิพย์ ได้บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น สมบัติทั้งปวงของ เปรตเหล่านั้นได้ปรากฏแก่พระราชา โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอธิษฐานไว้
พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ทรงพอพระทัยยิ่งนัก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสวยพระกระยาหารแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เพื่อจะทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้ตรัสติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่า
“เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝา ที่ตรอก กําแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู
เมื่อข้าว น้ำ ของกิน ของบริโภคเป็นอันมาก เขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น
ระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย
เหล่าชนผู้อนุเคราะห์ ย่อมให้น้ำและโภชนะ อันสะอาดประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล ดุจทานที่มหาบพิตร ทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนา อุทิศว่าขอทานนี้แลจงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลาย ของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุขเถิด
ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาประชุม ในที่นั้น เมื่อข้าวและน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนา โดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะเหตุแห่งญาติ เหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้นจงมีชีวิตอยู่ยืนนาน การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และทายกทั้งหลายผู้ให้ก็ไม่ได้ผล
เพราะว่าในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มี โครักขกรรม ไม่มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อ การขายด้วยเงิน เปรตทั้งหลายผู้ไปในปิตติวิสัยนั้น ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้
น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม ฉันใดทานอันญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จแก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน
กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่ท่านทำแล้ว ในกาลก่อนว่า “ญาติ มิตรและสหายได้ให้สิ่งของ แก่เราแล้ว ได้ช่วยทำกิจของเรา” เมื่อระลึกได้ดังนี้ ก็พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย
ความเศร้าโศก หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควร ทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น ไม่เป็นไปเพื่อ ประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรง อยู่โดยปรกติธรรมดา
อันทักษิณานี้แล ที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน
ญาติธรรม มหาบพิตรได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาบพิตรทรงกระทำแล้ว และกําลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมีประมาณไม่น้อย มหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว”
จากข้อความทั้งหมดในตอนนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า การผิดศีล ข้อ ๒ โดยเฉพาะกินของสงฆ์นั้น มีโทษร้ายแรงเพียงไร เปรตผู้เป็น พระญาติของพระเจ้าพิมพิสาร สร้างบาปด้วยอทินนาทานเป็นต้นไว้ ไปตกนรกเสียเป็นเวลานาน แล้วมาเกิดเป็นเปรตเสวยทุกขเวทนา อยู่เป็นเวลานาน นับเป็นพุทธันดร
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสเตือนไว้ว่า “กรรมใดทำแล้ว นําความเดือนร้อนมาให้ในภายหลัง กรรมนั้นไม่ดีเลย”
ตอนที่ ๑๔
โทษของการประพฤติผิดในกาม
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้พูดถึงโทษของ การประพฤติผิดในกาม โดยจะได้ยกข้อความจากพระไตรปิฎกมาชี้ ให้เห็นถึงโทษของการผิดศีลข้อนี้ ที่น่าสนใจมากถึง ๒ เรื่อง มาให้เห็นเป็นตัวอย่าง
คนประพฤติผิดในศีลข้อ ๓ คือ ประพฤติผิดในกาม ย่อม สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนและครอบครัวเป็นอันมาก ดังที่ปรากฏ ให้เห็นอยู่มากในปัจจุบัน เช่น ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บติดตามมา เป็นอันมาก เพราะการสำส่อนทางเพศ เช่น กามโรค และที่ร้ายแรง มากในปัจจุบันคือ โรคเอดส์ และยังนําเชื้อมาติดแก่คู่ครองและลูก อีกด้วย ทำให้ตายเมื่ออายุยังไม่ควรตาย เพราะโรคภัยไข้เจ็บอันเกิด มาจากกาม นอกจากนี้ยังทำให้ครอบครัวแตกแยก ทำให้ลูกต้องแยกกันอยู่ เพราะพ่อแม่แยกกัน ก่อความช้ำใจให้คู่ครองของตน อย่างยิ่ง และมีเป็นจำนวนมากที่ต้องแยกทางกันอยู่หรือหย่าร้าง กันเลย ทำให้ครอบครัวขาดความสงบสุข และมีบ่อยครั้งที่ถึงกับ ทุบตีกันหรือฆ่ากัน หรือจ้างวานให้คนอื่นฆ่าคนที่แย่งคู่รักของตน และที่สำคัญมาก คือ ทำให้มนุษย์สำส่อนในทางกามมากขึ้น บางครั้งหรือในที่หลายแห่งมองดูแล้วไม่ต่างอะไรกับสัตว์ดิรัจฉาน เพราะ ปรากฏว่า พ่อบางคนข่มขืนลูก หรือบางคนก็ฉุดคร่าหญิงที่ตนเอง ต้องการเอาตามความปรารถนาของตน ซึ่งก่อความเจ็บช้ำน้ำใจให้ เจ้าตัวและพ่อแม่พี่น้องของเขาอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการฆ่าฟันและ ล้างผลาญกันตามมาเพราะเหตุแห่งกาม
คนที่ประพฤติผิดในกาม เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดในอบาย เช่น นรก อยู่เป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าเคย เป็นชายก็จะมาเกิดเป็นหญิง และเกิดเป็นกะเทยก็มีมาก อย่างที่ปรากฏ อยู่ในปัจจุบัน และแม้มาเกิดเป็นหญิงแล้วก็ยังถูกข่มขืน เพราะเหตุ แห่งเศษกรรมชั่วที่ตนเคยทำไว้ และได้รับความลําบากเป็นอันมาก ดังเรื่องนางภิกษุณี ชื่อ อิสิทาสีเถรี” อันปรากฏอยู่ในคัมภีร์เถรีคาถา นับเป็นเรื่องที่แปลกและน่ากลัวมาก ถึงโทษของการประพฤติผิดใน กาม ดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้แต่งเป็นคาถานําเรื่อง ๓ คาถา แล้วกล่าว พระนางอิสิทาสีได้ตอบปัญหาที่ถูกถามว่า บวชทําไม ? ด้วยคาถาถึง ๔๐ คาถา อันจับใจผู้ใคร่ธรรมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งปรากฏ อยู่ในพระไตรปิฎก เถรีคาถา จัตตาฬิสนิบาต ว่า
“ภิกษุณี ๒ รูป เป็นผู้ทรงคุณธรรม เป็น กุลธิดาในศากยสกุล ในนครอันมีชื่อว่าโกสุม คือ เมืองปาตลีบุตร เดี๋ยวนี้อันเป็นดินแดนที่รุ่งเรือง ในภิกษุณี ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งชื่ออิสิทาสี รูปหนึ่งชื่อโพธิ์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ยินดีในการ เพ่งฌาน เป็นพหูสูต เป็นผู้กําจัดกิเลสได้แล้ว ภิกษุณีทั้ง ๒ รูปนั้น ไปเที่ยวบิณฑบาตกลับมา แล้วทำภัตกิจเสร็จล้างบาตรแล้ว นั่งพักสบาย อยู่ในที่อันสงัด ต่างสนทนาถามตอบต่อกัน ด้วย การสนทนากันอย่างน่าฟัง ดังต่อไปนี้ พระโพธิเถรีถามว่า
“พระแม่เจ้าอิสิทาสี พระแม่เจ้าเป็นที่น่า เลื่อมใส แม้วัยของท่านก็ยังไม่เสื่อม ก็พระแม่เจ้า เห็นโทษอะไรจึงยินดีในเนกขัมมะ (การออกบวช)”
พระอิสิทาสี เป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม ในที่สงบเมื่อถูกถามอย่างนี้ จึงได้กล่าวตอบอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระแม่เจ้าโพธิ์ ขอพระแม่เจ้า จงฟังเรื่องที่ดิฉันเข้ามาบวช
ต่อไปนี้เป็นคําตอบ
โยมบิดาของดิฉันอยู่ในบุรีอันประเสริฐชื่อว่า อุชเชนี เป็นเศรษฐีผู้สำรวมแล้วด้วยศีล ดิฉัน เป็นธิดาผู้เดียวของท่าน ซึ่งเป็นที่รักที่ชอบใจ และเป็นผู้อันท่านเอ็นดู ในเวลาที่ดิฉันเจริญวัยแล้ว เศรษฐีผู้มีรัตนะ (เงินทอง) มาก เป็นสกุลอันอุดม คนหนึ่งในเมืองสาเกต มาขอดิฉันเป็นสะใภ้ โยม บิดาได้ยกดิฉันให้เป็นสะใภ้ของเศรษฐีนั้น
ดิฉันได้ไปสู่สำนักมารดาและบิดาของสามี ทำการนอบน้อมด้วยเศียรเกล้า ไหว้เท้าท่านทั้ง ๒ ทุกเช้าเย็น ท่านทั้ง ๒ สอนดิฉันอย่างไร ดิฉันก็ทำอย่างนั้น
พี่หญิงน้องหญิง พี่ชายน้องชาย หรือบ่าวไพร่ ของสามีดิฉัน ไม่ว่าคนใด ดิฉันเห็นแล้วแม้ครั้ง เดียว ก็มีความยําเกรง ต้องลุกให้นั่งเมื่อเขามาถึง
ดิฉันต้อนรับด้วยข้าวน้ำและของเคี้ยวซึ่งเป็นของที่เขาจัดหาไว้ที่เรือน และสิ่งใดควรแก่ ผู้ใด ก็ให้สิ่งนั้นแก่ผู้นั้น
ดิฉันลุกขึ้นแต่เช้าเข้าไปยังเรือนสามี ล้างมือ ล้างเท้าที่ธรณีประตูแล้ว ประนมมือเข้าไปกราบ สามี จัดหาหวี เครื่องผัดหน้า ยาหยอดตา แว่น ส่องหน้า มาตบแต่งสามีเสียเองเหมือนสาวใช้
ดิฉันหุงข้าวต้มแกงเอง ล้างภาชนะเอง มารดาบํารุงบำเรอบุตรน้อยคนเดียว ฉันใด ดิฉันก็บำเรอสามี ฉันนั้น
ดิฉันมีความจงรักภักดี มีความประพฤติอันยอดยิ่ง ทำการงานอันหญิงพึงทำทุกอย่าง ไม่ มีความถือเนื้อถือตัว ขยันไม่เกียจคร้าน สมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ สามีก็ยังโกรธ
สามีของดิฉันพูดกะมารดาและบิดาของเขาว่า ฉันจักลาไป จักไม่อยู่ร่วมกับนางอิสิทาสี ฉันไม่ควรอยู่ร่วมในเรือนหลังเดียวกับนางอิสิทาสี มารดาบิดาของเขาจึงห้ามว่า
“ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าพูดอย่างนั้นเลย นางอิสิทาสี เป็นบัณฑิตฉลาดรอบคอบ ขยันไม่เกียจคร้าน ไฉนจึงไม่ชอบใจเจ้าละลูก
สามีพูดว่า
“นางอิสิทาสีไม่ได้เบียดเบียนอะไรฉันเลย แต่ว่าฉันไม่อยากอยู่ร่วมกับนางอิสิทาสีเท่านั้น ฉันไม่อยากเห็น ไม่ต้องการ ฉันจักลาบิดามารดา ไปละ”
และบิดาของสามีของดิฉันฟังคําของเขาแล้ว ได้ถามดิฉันว่า “เจ้าทำผิดอะไร สามีของเจ้าจะ ละทิ้งเจ้าเช่นนี้ เจ้าจงบอกสิ่งที่เจ้าได้ทำตามจริงเถิด”
ดิฉันตอบว่า
“ดิฉันไม่ได้ทำผิดอะไร ทั้งไม่ได้ทำให้เขา เดือดร้อนอะไร และไม่ได้ดูหมิ่นอะไร ดิฉันจัก อาจกล่าวคําชั่วหยาบอะไรอันเป็นเหตุให้สามีโกรธดิฉันได้เล่า”
มารดาและบิดาของสามีเสียใจ ได้ถูกทุกข์ ครอบงำเหมือนกัน แต่หวังจักรักษาบุตรไว้ จึง ได้นําดิฉันกลับไปส่งคืนให้โยมบิดาของดิฉันที่เรือน
ดิฉันเป็นหญิงหม้าย มีรูปสวยเที่ยวไป : หลังโยมบิดาของดิฉัน ได้ยกดิฉันให้แก่กุลบุตร ผู้มีทรัพย์สมบัติน้อยกว่าสามีเก่าครึ่งหนึ่ง โดย สินสอดครึ่งหนึ่งแห่งสินสอดที่เศรษฐีคนเก่าได้หมั้นดิฉัน
ดิฉันอยู่ที่เรือนของสามีคนที่สองนั้นเดือนหนึ่ง ต่อมาเขาได้ขับดิฉันผู้บํารุงบำเรออยู่ดังนางทาสี ประพฤติตัวดีมีศีลออกจากเรือนของเขาอีก โยมบิดาของดิฉันบอกกะบุรุษคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้ ฝึกจิต ผู้ฝึกตนแล้ว ผู้เที่ยวขอทานอยู่ว่า “เจ้าจง ทิ้งผ้าขี้ริ้วและหม้อเสีย จงมาเป็นลูกเขยของเราเถิด”
เขาอยู่กับดิฉันได้ครึ่งเดือน ก็บอกโยมบิดา ของดิฉันว่า “ท่านจงให้ผ้าขี้ริ้ว หม้อ และ กระเบื้องขอทานแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปเที่ยวขอทานอีก”
ต่อจากนั้น โยมบิดามารดากับพวกหมู่ญาติ งดิฉันทั้งหมดพากันถามคนขอทานนั้นว่า“สิ่งใดที่เจ้าทำไม่สำเร็จในที่นี้ ขอเจ้าจงรีบบอก เร็ว ๆ เขาจักทำสิ่งนั้น ๆ ให้เจ้า”
เมื่อโยมบิดามารดาและพวกญาติดิฉันพูดอย่างนี้แล้ว คนขอทานนั้นจึงตอบว่า “เราอาจทำ
ตัวของเราให้เป็นไทได้โดยแท้ แต่ข้าพเจ้าไม่ต้องการอยู่ร่วมเรือนหลังคาเดียวกับนางอิสิทาสี
ได้”
โยมบิดาของดิฉันปล่อยให้เขาไป ดิฉันผู้เดียวคิดว่าจักลาโยมมารดาโยมบิดาไปตาย หรือไปบวช ดีกว่า ต่อจากนั้น พระแม่เจ้าชินทัตตาผู้ทรงไว้ซึ่งวินัย เป็นพหูสูต มีศีลสมบูรณ์ มาเที่ยว บิณฑบาตที่สกุลโยมบิดาของดิฉัน
ดิฉันเห็นท่านจึงลุกไปจัดอาสนะของดิฉัน ถวายท่าน และเมื่อท่านนั่งเสร็จแล้ว ดิฉันกราบ เท้าและถวายโภชนาหารแก่ท่าน
ดิฉันเลี้ยงดูท่านด้วยข้าว น้ำ ของเคี้ยว และ สิ่งที่จัดไว้ในเรือนให้อิ่มหนำแล้ว จึงกราบเรียนว่า “พระแม่เจ้า ดิฉันปรารถนาจะบวช” ลำดับนั้น โยมบิดาบอกกะดิฉันว่า “ลูกเอ๋ย ขอเจ้าจงอยู่ประพฤติธรรมในเรือนนี้เถิด และ เจ้าจงเลี้ยงดูสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายด้วยข้าวน้ำเถิด”
ครั้งนั้น ดิฉันประนมอัญชลีร้องไห้พูดกะโยม บิดาว่า “ขอคุณพ่อจงอนุญาตลูกเถิด ลูกจักทำกรรม (ชั่ว) ที่ทำมาแล้วให้หมดไป
ครั้งนั้น โยมบิดาพูดกะดิฉันว่า “ขอเจ้าจง บรรลุโพธิญาณและธรรมอันประเสริฐ และจงได้ นิพพานที่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทรงทำให้แจ้งแล้ว”
ดิฉันไหว้โยมบิดามารดาและพวกญาติทั้ง ปวง แล้วออกบวชได้ ๗ วัน ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ ดิฉันระลึกชาติหนหลังของตนได้ ๗ ชาติ วิบากแห่งกรรมอันชั่วช้าใด ซึ่งเป็นผลให้เกิด ความไม่พอใจแก่สามี ดิฉันจะบอกวิบากแห่ง กรรมนั้นแก่ท่าน ขอท่านจงมีใจเป็นหนึ่งแน่นอน ฟังวิบากแห่งกรรมนั้นเถิด
เมื่อก่อน ดิฉันเป็นนายช่างทองมีทรัพย์มาก อยู่ในนครเอรกกัจฉะ เป็นคนมัวเมาเพราะความ มัวเมาด้วยความเป็นหนุ่ม ได้คบชู้ภรรยาของ บุคคลอื่น
ดิฉันจุติจากชาตินั้นแล้ว ต้องหมกไหม้อยู่ ในนรกตลอดกาลนาน ครั้นพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ไปเกิดในท้องแห่งนางวานร
พอคลอดได้ ๗ วัน วานรใหญ่ที่เป็นนายฝูง ก็กัดอวัยวะสืบพันธุ์ของดิฉันเสีย นี่เป็นผลกรรม ของดิฉันที่ได้คบชู้ภรรยาของชายอื่น
ดิฉันจุติ (ตาย) จากกำเนิดวานรนั้นแล้วมา เกิดในท้องนางแพะตาบอดทั้งขาก็วิ่งในแคว้น สินธุ อยู่มาได้ ๑๒ ปี ก็ถูกเด็กตัดอวัยวะสืบพันธุ์เสีย
ต่อมาเป็นโรคถูกหมู่หนอนฟอนที่อวัยวะสืบพันธุ์นี้เพราะโทษที่ดิฉันคบชู้ภรรยาของชายอื่น
ดิฉันจุติจากกำเนิดแพะนั้นแล้ว ไปเกิดในท้อง แม่โคของพ่อค้าคนหนึ่ง เป็นลูกโคมีขนแดง เหมือนสีครั่ง เมื่อล่วงได้ ๑๒ เดือน ก็ถูกตอน
ดิฉันถูกเขาใช้เทียมไถและเป็นเกวียน ต่อมา เป็นโคตาบอด เป็นโคกระจอก เป็นโคขี้โรค นี่เพราะโทษที่ดิฉันคบชู้ภรรยาของชายอื่น ดิฉันจุติจากกำเนิดโคนั้นแล้ว ไปเกิดในเรือน ของนางทาสีในถนน จะเป็นหญิงก็ไม่ใช่ เป็นชาย ก็ไม่เชิง (เป็นกะเทย) นี่เพราะโทษที่ดิฉันคบชู้ภรรยาของชายอื่น
ดิฉันมีอายุได้ ๓๐ ปีก็ถึงแก่กรรมแล้วมาเกิด เป็นลูกหญิงในสกุลช่างสานเสื่อ เป็นสกุลขัดสน มีทรัพย์น้อย ถูกแต่เจ้าหนี้รุมทวงอยู่เป็นนิตย์
ต่อมาเมื่อหนี้พอกพูนมากขึ้น พ่อค้าเกวียน คนหนึ่งมาริบทรัพย์สมบัติแล้ว ฉุดเอาดิฉันลง จากเรือนแห่งสกุล
ภายหลังที่ดิฉันมีอายุครบ ๑๖ ปี บุตรของ พ่อค้าเกวียนนั้นมีชื่อว่า คิริทาส ได้เห็นดิฉัน เป็นสาวกําลังรุ่น มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่ขอไปเป็นภรรยา
แต่นายคิริทาสนั้นมีภรรยาอื่นอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนมีศีลทรงคุณสมบัติ ทั้งมียศ รักใคร่สามีเป็นอย่างดียิ่งดิฉันบังคับนายศิริทาสให้ขับไล่ภรรยาของตน สามีทุกคนได้หย่าร้างดิฉันผู้บํารุงเหมือน นางทาสีไป
นี่ผลแห่งการคบชู้ภรรยาของชายอื่น และ การบังคับสามีให้ขับไล่ภรรยาตน ที่สุดแห่งบาป กรรมนั้นดิฉันทำเสร็จแล้ว ๆ
ในคัมภีร์อรรถกถา ปรมัตถทีปนี ได้อธิบายสรุปประวัติของ พระเถรีรูปนี้ว่า
“พระเถรีแม้รูปนี้ ได้สร้างบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ ก่อนๆ เป็นผู้ชายมาในภพนั้นๆ สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่ง พระนิพพาน ในภพที่ ๒ (คือก่อนจากชาตินี้ไป ๒ ชาติ) นับแต่ จริมภพ (ชาติสุดท้ายที่ท่านเกิด) ก็ได้ทำปรทาริกกรรม (เป็นชู้กับ ภรรยาผู้อื่น) โดยนิสัยที่ไม่ดีตายไปบังเกิดในนรก ต้องหมกไหม้อยู่ใน นรกนั้นตั้งหลายร้อยปี
จุติจากนรกนั้นแล้วไปบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ๓ ชาติ
จุติจากนั้นแล้วไปบังเกิดเป็นกะเทยในท้องของนางทาสี
จุติจากนั้นก็ไปบังเกิดเป็นลูกสาวช่างทำเกวียนที่ขัดสนคนหนึ่ง เจริญวัยแล้วลูกชายของนายกองเกวียนคนหนึ่ง ชื่อ คิริทาสก็เอาเป็นภริยา นําไปบ้าน ภริยาเดิมของนายคิริทาสก็มี เป็นคนมีศีลมีกัลยาณธรรม ลูกสาวช่างทำเกวียนนั้นปกติชอบริษยาภริยาเดิมนั้นก็ทำให้สามีกับภริยาเดิมเกลียดกัน นางอยู่ในบ้านนั้นจนตลอดชีวิตจนตาย
ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ไปบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีผู้พรั่งพร้อม ด้วยสมบัติ ได้รับยกย่องด้วยคุณมีตระกูล ถิ่นและสีลาจารวัตร เป็น ต้น ในกรุงอุชเชนี นางมีนามว่า อิสิทาสี (อันเป็นชาติสุดท้ายที่เรียกว่าจริมภพ)
ครั้นเจริญวัยบิดามารดาก็มอบให้แก่บุตรเศรษฐีคนหนึ่งที่มีตระกูล ถึงพร้อมด้วยรูปร่าง วัยและสมบัติ เป็นต้น ทัดเทียมกัน นางอิสิทาสีนั้น ก็เป็นปติเทวดา (ปฏิบัติสามีดังเทวดา) ในเรือนของ สามีนั้น อยู่ได้เพียงเดือนเดียว ด้วยผลกรรมของนาง สามีเกิดเบื่อหน่าย ก็นํานางออกไปจากเรือน เรื่องนั้นทั้งหมดรู้กันได้จากบาลีแห่งเดียว เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้ไม่เป็นที่สนใจของสามีนั้น ๆ
นางก็เกิดสลดใจ (ในชีวิตอันแสนจะลำเค็ญ ทั้ง ๆ ที่ตนเอง ก็มีรูปสวย บิดาก็ร่ำรวยและเกิดในสกุลสูง ก็ยังประสบวิบากกรรม เห็นปานนี้) จึงขออนุญาตบิดาแล้ว ก็บวชในสำนักพระชินทัตตาเถรี เจริญวิปัสสนา ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ (บวชได้ ๗ วัน ก็ได้บรรลุวิชชา ๓ พร้อมกับระลึกชาติหนหลังของ ตนได้ ๗ ชาติ) ยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผล และสุขในนิพพาน
วันหนึ่งนางเที่ยวบิณฑบาตในกรุงปาฏลีบุตรหลังจากนั้นแล้ว ก็กลับจากบิณฑบาต นั่งบนพื้นทรายใกล้แม่น้ำคงคามหานที ถูก พระเถรีสหายของตน ชื่อว่า โพธิเถรี ถามถึงบุรพปฏิบัติก่อนบวช นางจึงตอบให้ทราบดังข้อความที่บันทึกไว้ในเถรีคาถา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ ที่นํามาชี้แจงให้ทราบแล้ว
เรื่องนางอิสิทาสีเถรีนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า การประพฤติผิดในกาม ก็พิจารณาไป ย่อมได้รู้ชัดว่า ข้อความในพระไตรปิฎกที่ท่านเล่าให้ฟัง มีโทษร้ายแรงเพียงไร ผลของมันช่างทารุณโหดร้ายสิ้นดี เมื่ออ่านดู ตอนนี้ช่างไพเราะ น่าศึกษายิ่ง ทำให้น่าเห็นใจและสังเวชใจต่อผลกรรม ที่พระเถรีรูปนี้ได้รับ แต่ชีวิตของท่านจบลงด้วยคุณค่าอันสูงส่ง คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพราะกรรมดีที่เคยสั่งสมไว้ในอดีตและเพราะความ เพียรพยายามในปัจจุบันของท่าน
โลหกุมภีชาดก ๑
เพื่อจะชี้ให้เห็นโทษของการประพฤติผิดในกามให้ชัดยิ่งขึ้นจะได้นําโลหกุมภีชาดก และในบาลีโกศลสังยุตประกอบกัน มาแสดง ให้ทราบดังต่อไปนี้
ในอดีตกาล เมื่อมนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุยืน ๒ หมื่นปี พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก เสด็จเที่ยว จาริกไปเพื่อสอนเวไนยสัตว์ พร้อมด้วยพระอรหันตสาวก ๒ หมื่นรูป ได้เสด็จไปถึงกรุงพาราณสี ชาวกรุงพาราณสีรวมกัน ๒ คนบ้าง ๓ คน บ้าง มากกว่าบ้าง จัดถวายอาคันตุกทาน (ทานคือถวายแก่พระผู้เดินทางมา)
ในกาลนั้น มีบุตรเศรษฐี ๔ คน มีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ เป็นสหาย กัน ได้ปรึกษากันว่า “ในเรือนของพวกเรามีทรัพย์มาก พวกเราจักทำ อะไรด้วยทรัพย์นั้น” แต่ไม่มีใครที่จะคิดทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่งเลย
ในที่สุด บุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คนนั้น จึงตกลงกันไปหาหญิง มาบำเรอตนในกาม ด้วยการให้ทรัพย์แก่หญิงเหล่านั้น เพราะพวกตน คุ้มครอง หวงแหน ได้กระทำด้วยความร่าเริงใจ ได้กระทำกรรมชั่ว มีทรัพย์มาก จึงได้ประพฤติผิดในมาตุคาม (หญิง) ที่ชนเหล่าอื่นรักษา เป็นอันมาก ส่งทรัพย์เพื่อบำเรอหญิงรูปงาม กระทำปรทาริกกรรม (ผิดต่อภรรยาของคนอื่น) เป็นเวลา ๒ หมื่นปี เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอเวจีมหานรกทั้ง ๔ คน
เขาเหล่านั้นไหม้อยู่ในมหานรก” สิ้นพุทธันดรหนึ่ง (ระยะกาล ระหว่างพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งกับองค์หนึ่ง ในที่นี้หมายถึงระยะกาล ที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ เสื่อมไปแล้ว จนถึงกาลที่พระพุทธเจ้าของเราทรงอุบัติขึ้นในโลก) เมื่อตายคือจุติจาก อเวจีมหานรกแล้ว ก็มาบังเกิดในโลหกุมภีนรก (นรกหม้อทองแดง)อันเป็นอุสสทนรก ๒ (นรกย่อย) ด้วยเศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ ซึ่ง นรกนี้ลึก ๖๐ โยชน์ จมลงในนรกนั้นไหม้ในน้ําแสบอันเดือดปุดเป็น ฟอง เป็นเวลา ๓ หมื่นปี เมื่อขึ้นมาข้างบน เห็นปากหม้อโดยกาล ประมาณ ๓ หมื่นปี เช่นกัน คิดว่า “เมื่อไรหนอ พวกเราทั้ง ๔ จักพ้น ทุกข์เสียที” (ได้พบกันที่ปากหม้อครู่หนึ่ง)
แม้อยากกล่าวคาถา ๔ คาถาให้บริบูรณ์ก็ไม่สามารถทำอย่าง นั้นได้ จึงได้กล่าวตนละหนึ่งอักษร อันเป็นอักษรแรกในคําเริ่มต้นคาถา ของคาถาทั้ง ๔ ว่า “ทุ ส น โส” เท่านั้น แล้วก็จมลงไปยังก้นหม้อทองแดงนั้นอีก
ในสัตว์นรกทั้ง ๔ ตนนั้น สัตว์ที่กล่าว ๆ อักษร แล้วจมลงไป ปรารถนาจะกล่าวให้เต็มคาถา ว่า
“ทุชฺชีวิตมชีวิมฺหา เยสํ โน น ททามฺห เส
วิชฺชมาเนสุ โภเคสุ ทีปํ นากมฺห อตฺตโน.
เราทั้งหลายเหล่าใด เมื่อทรัพย์ทั้งหลายมีอยู่ ไม่ได้ให้ ทาน ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกเราเหล่านั้น จัดว่ามีชีวิต อยู่ชั่วช้า.”
สัตว์นรกตัวที่กล่าวว่า ส อักษร แล้วจมลง ปรารถนาจะกล่าว ว่า
“สฏฐิ วสสสหสฺสาน ปริปุณณานิ สพฺพโส
นิรเย ปจฺจมานาน กทา อนฺโต ภวิสฺสติ
เมื่อเราทั้งหลายถูกไฟไหม้อยู่ในนรกสิ้น ๖ หมื่นปี บริบูรณ์โดยประการทั้งปวง เมื่อไร จักสิ้นสุดเสียที
สัตว์นรกตัวที่กล่าว น อักษรแล้วจมลง ปรารถนาจะกล่าวว่า
นตฺถิ อนฺโต กุโต อนฺโต น อนฺโต ปฏิทิสฺสติ
ตทา หิ ปกตํ ปาปํ มา ตุยฺหญฺจ มาริสา.
ที่สุดย่อมไม่มี ที่สุดจักมีแต่ที่ไหน ที่สุดจักไม่ปรากฏ เพื่อนยากเอ๋ย เพราะว่า เราและท่านได้ทำบาปไว้แล้ว ในกาลนั้น”
สัตว์นรกตัวที่กล่าว โส อักษรแล้วจมลง ปรารถนาจะกล่าวว่า
“โสหํ นูน อิโต คนฺตฺวา โยนี ลทฺธาน มานุสี
วทญฺญู สีลสมฺปนฺโน กทามิ กุสลํ พหุํ
เรานั้นไปจากที่นี่แล้ว (พ้นจากนรกนี้แล้ว) ได้ไป เกิดเป็นมนุษย์แล้ว จักเป็นผู้รู้ถ้อยคําที่ยาจกล่าว ถึงพร้อมด้วยศีล ทำกุศลให้มากแน่แท้
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งแคว้นโกศล ทรงสดับเสียงของสัตว์นรกเหล่านั้นในเวลากลางคืน แล้วตกพระทัย ใน วันที่ ๒ จึงเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดา ที่วัดพระเชตวัน ทูลเล่าเรื่อง ที่ได้ทรงสดับให้ทรงทราบ พระศาสดาทรงถือเอาเรื่องที่พระเจ้าปเสน ทิโกศลทูลให้ทรงทราบนั้นเป็นเหตุ จึงทรงแสดงโลหกุมภีชาดก ใน ทุติยวรรค แห่งจตุกกนิบาต
จากเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า โทษของการประพฤติผิดในกามมีโทษ ร้ายแรงมากเพียงไร ทำให้บุตรของเศรษฐีทั้ง ๔ คน ต้องไปตกอเวจี มหานรก พ้นจากมหานรกนั้นแล้วยังมาเกิดในโลหกุมภีนรก อันเป็น นรกย่อยอีก ต้องทุกข์ทรมานในโลหกุมภีนรกนั้นถึง ๖ หมื่นปี ก็ยัง ไม่รู้ว่า บาปกรรมที่ทำไว้จักสิ้นสุดลงได้อย่างไร
ฉะนั้น ผู้กลัวบาปกรรม จึงควรเว้นการประพฤติผิดศีลข้อนี้ แล้วมาสมาทานศีล ๕ เป็นประจำ ก็ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัย ไม่ว่าในชาตินี้หรือชาติไหนก็ตาม.
ตอนที่ ๑๕
โทษของการพูดเท็จ
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้พูดถึงโทษของการพูดเท็จ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบให้เห็นชัดว่า การพูดหลอกลวงใส่ความผู้อื่นมีโทษมากเพียงไร
คนที่ผิดศีลข้อสี่ คือ พูดเท็จหลอกลวงคนอื่น ย่อมสร้างความ เดือดร้อนให้แก่ตนและคนอื่น ในปัจจุบัน เช่น ไม่มีใครอยาก เชื่อถือ และเป็นที่เกลียดชังของคนอื่น โดยเฉพาะกับคนที่ตนเอง ไปหลอกลวง หรือพูดใส่ร้ายเขา บางคนถึงกับถูกฟ้องร้องในศาล เพราะพูดเท็จหรือแจ้งความเท็จ ต้องเสียเงินเสียทองในการดำเนินคดีในศาล บางรายก็ถูกปรับหรือติดคุกได้ เพราะโทษที่ไปปลอมแปลงเอกสารหรือใส่ความคนอื่นเขา
คนที่มักพูดมุสานี้ เมื่อตายจากโลกนี้ไป ถ้าโทษนั้นมากพอ ก็อาจจะเกิดในอบายภูมิ เช่น เกิดในนรก เป็นต้น ถ้าเขามาเกิด เป็นมนุษย์ เศษกรรมที่ยังเหลืออยู่ก็ทำให้เขาถูกใส่ความ แล้วมักจะ ได้ฟังแต่เรื่องไม่จริง เพราะกรรมที่ตนทำไว้มาให้ผล
ผลกรรมที่รุนแรงของการพูดเท็จ อาจทำให้ได้รับโทษ ร้ายแรงถึงแผ่นดินสูบ แล้วส่งให้ไปเกิดในมหานรกได้ ดังมีเรื่องนางจิญจมาณวิกา ซึ่งกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาคที่ ๓ เป็นตัวอย่าง
เรื่องนางจิญจมาณวิกา๑
ความพิสดารว่า ในปฐมโพธิกาล” เมื่อสาวกของพระทศพล (พระพุทธเจ้า) มีจำนวนมากหาประมาณมิได้ (นับไม่ถ้วน) เมื่อพวก ของพระพุทธเจ้าแผ่ไปกว้างขวางมากแล้ว ลาภสักการะเป็นอันมาก เทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิ (สำเร็จมรรคผล) เมื่อพระคุณ ได้เกิดขึ้น พวกเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ตกอับมาก เป็นเหมือนแสงหิ่งห้อยในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นผู้เสื่อมจากลาภสักการะ (เป็นอยู่ด้วยความลําบากเพราะมีลาภน้อย) พวกเดียรถีย์ เหล่านั้น ยืนกลางถนน แม้ประกาศให้พวกคนทั้งหลายทราบทั่วกัน ว่า “พระสมณโคดมเท่านั้นหรือ เป็นพระพุทธเจ้า แม้พวกเราก็ เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน (คือเป็นผู้ตรัสรู้เหมือนกัน) ทานที่ให้แก่ สมณโคดมเท่านั้นหรือมีผลมาก ทานที่ให้แก่พวกเราก็มีผลมากเช่นกัน ขอให้ท่านทั้งหลายจงให้ทาน จงทำความนับถือแก่เราทั้งหลายบ้าง”
พวกเดียรถีย์แม้จะพยายามโฆษณาตัวเองอย่างไร ก็ยังเสื่อมจากลาภสักการะอยู่นั่นเอง จึงจัดประชุมกันในที่ลับว่า “พวกเราพึง ทำความเสียหายให้เกิดแก่สมณโคดมให้ได้ โดยให้พวกคนทั้งหลาย ได้ทราบทั่วกัน จะพึงทำให้พระองค์เสื่อมจากลาภสักการะโดยอุบาย อะไรกันดี”
ในครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี (ปัจจุบันเมืองนี้ชาวเมืองเรียกว่า ศราวัสติ ตามสําเนียงภาษาสันสกฤต แต่ปัจจุบันเป็นเมืองร้างเสียแล้ว) มีนางปริพาชิกาคนหนึ่ง (นักบวชประเภทเร่ร่อน แต่บางพวกมีอาราม ของตนเหมือนกัน) ชื่อ จิญจมาณวิกา เป็นผู้เลอโฉม มีความงาม เป็นเลิศ เสมือนนางฟ้าทีเดียว กล่าวกันว่า นางมีรัศมีออกจากกายด้วย
นางจิญจมาณวิการับอาสาพวกเดียรถีย์
ครั้งนั้น ได้มีเดียรถีย์ผู้มีหัวเฉียบแหลมอยู่คนหนึ่ง กล่าวออก อุบายต่อที่ประชุมลับนั้นว่า “พวกเราอาศัยนางจิญจมาณวิกา ทำอุบายให้สมณโคดมเสียชื่อเสียงแล้วเสื่อมจากลาภสักการะได้ อุบายนี้ได้รับการรับรองจากการประชุมลับครั้งนั้นว่า “อุบายนี้เข้าที”
ต่อมาวันหนึ่ง นางจิญจมาณวิกา ได้ไปสู่อารามของพวกเดียรถีย์ เมื่อพบหน้าพวกเดียรถีย์ก็ยกมือไหว้ตามธรรมเนียมที่เคยปฏิบัติมา แล้วก็ยืนนิ่งอยู่ พวกเดียรถีย์ไม่ยอมพูดกับนาง เพื่อให้ได้ผลตามอุบาย ที่วางไว้
นางคิดอยู่ในใจว่า เราผิดอะไรนะ ที่ครั้งนี้พระคุณเจ้าไม่ยอม พูดกับเรา แม้จะพูดถึง ๓ ครั้งว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันไหว้ก็ ไม่ได้รับคําตอบ นางจะถามว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลาย ดิฉันมีความผิด อะไรหรือ ทําไม ท่านทั้งหลายจึงไม่ยอมพูดกับดิฉัน”
พวกเดียรถีย์เห็นได้ที่สมตามอุบายที่วางไว้ จึงพูดว่า “น้องหญิง ถ้าเจ้าต้องการให้เราทั้งหลายมีความสุขแล้วละก็ จงทำให้สมณโคดม เสียชื่อเสียงให้ได้ แล้วทำให้พระองค์เสื่อมจากลาภสักการะ ด้วยอาศัยอุบายของเจ้าเอง”
นางจิญจมาณวิกา ได้ฟังดังนั้นจึงพูดว่า “ตกลง พระคุณเจ้า ทั้งหลาย เรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของดิฉันเอง” พูดแล้วก็จากไป แล้ว ห่มผ้ามีสีดุจแมลงค่อมทอง มีดอกไม้และของหอมติดมือไป เดินทาง มุ่งหน้าสู่วัดพระเชตวัน อันเป็นวัดที่อนาถปิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑ กิโลเมตร แต่นางเดินออกจากเมืองในเวลาที่ชาวเมือง สาวัตถีพากันฟังธรรม เสร็จแล้วเดินทางออกจากวัดพระเชตวันมุ่งหน้า ไปยังเมืองสาวัตถีในเวลาเย็น โดยทำเป็นประจำเช่นนี้นับแต่นั้นมา เพราะนางเป็นผู้ฉลาดในมารยาหญิง
เมื่อมีผู้ถามว่า “นางจะไปไหนในเวลานี้” จึงพูดว่า “ท่าน ทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไรในที่ที่ฉันไป” นางไปพักอยู่ที่วัดของ เดียรถีย์อันอยู่ในที่ใกล้วัดพระเชตวัน
พอเวลาเช้าตรู่ พวกอุบาสกออกจากพระนคร ด้วยหวังว่าจะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นางก็ทำทีเหมือนอยู่ในวัดพระเชตวันเดินเข้าสู่พระนคร
เมื่ออุบาสกคนหนึ่งซึ่งกําลังเดินทางจากพระนครเข้าไปยังวัด พระเชตวัน เห็นนางกําลังเดินมา จึงถามว่า “ท่านอยู่ที่ไหน” นางตอบว่า “ท่านทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไรด้วยที่ที่ฉันอยู่”
พอเวลาผ่านไป ๑-๒ เดือน เมื่อถูกถามอีก นางจึงพูดว่า“เราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกับพระสมณโคดม ในวัดพระเชตวัน คําพูดของนางทำความสงสัยให้เกิดแก่ปุถุชนทั้งหลายว่า “ “เรื่องที่นางพูดนี้จริงหรือหนอ”
พอเวลาผ่านไป ๓-๔ เดือน นางเอาท่อนผ้าพันท้องแสดงเพศ ของหญิงมีครรภ์ (คือแสดงให้คนทั้งหลายเห็นว่าตนเองมีครรภ์ เพราะ มีท้องโตขึ้น) ทำให้พวกคนโง่เห็นว่า นางตั้งครรภ์ขึ้นเพราะอยู่ร่วมกับพระสมณโคดม
พอเวลาผ่านไปอีกถึง ๘-๙ เดือน นางเอาไม้กลมผูกไว้ที่ท้อง และห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและหลังเท้าด้วยไม้คางโค ทำให้มีอาการบวมขึ้น ทำให้เหมือนมีร่างกายบอบช้ำ
ในวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ากําลังทรงแสดงพระธรรม อยู่บนธรรมาสน์ที่ประดับแล้ว ในเวลาเย็น นางก็ไปสู่ธรรมสภา (อยู่ด้านหน้าพระคันธกุฎีไปทางทิศพายับประมาณ ๑ เส้น) ยืนตรง พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า “มหาสมณะ พระองค์ดีแต่แสดง ธรรมแก่มหาชนเท่านั้น เสียงของพระองค์ไพเราะ พระโอษฐ์ของ พระองค์สนิท ส่วนหม่อมฉัน อาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ขึ้นครบ กำหนดแล้ว พระองค์ไม่ทรงทราบ เรือนเป็นที่คลอดของหม่อมฉัน ไม่ทรงประทานเครื่องบริหารครรภ์มีเนยใสและน้ำมัน เป็นต้น เมื่อ พระองค์ไม่ทรงกระทำเองแล้ว ก็ไม่ตรัสบอกพระเจ้าโกศล หรือท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา คนใดคนหนึ่งแม้บรรดาอุปัฏฐากทั้งหลายว่า ท่านจงทำกิจที่ควรทำแก่นางจิญจมาณวิกานี้ พระองค์ทรงรู้แต่อภิรมย์เท่านั้น ไม่ทรงรู้การบริหารครรภ์” นางเป็น เหมือนจับก้อนคูถปาดวงจันทร์ฉะนั้น ด่าพระตถาคตเจ้าในท่ามกลางบริษัท
พระตถาคตเจ้า ทรงงดการแสดงพระธรรมเทศนาเสียในขณะ เมื่อจะทรงบันลือเยี่ยงอย่างสีหะ (สิงโต) จึงตรัสว่า “น้องหญิง คําที่เจ้าพูดมาแล้ว จะจริงหรือไม่เราและเจ้าเท่านั้นย่อมรู้ นางจิญจมาณวิกาจึงทูลว่า “ใช่แล้วสมณะ ข้อนั้นเกิดขึ้นแล้ว โดยความที่พระองค์และหม่อมฉันเท่านั้นทราบ”
เทพบุตรทำลายกลอุบายของนางจิญจมาณวิกา
ขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะเทวราชแสดงอาการร้อน ท้าวเธอทรงใคร่ครวญอยู่ก็ทรงทราบว่า “นางจิญจมาณวิกา กําลัง ด่าพระตถาคตด้วยคําเท็จ” ทรงทราบความหมดแล้ว จึงทรงดําริว่า “เราจักชําระเรื่องนี้ให้หมดจด” แล้วจึงเสด็จมาพร้อมกับเทพบุตร ๔ องค์ เทพบุตรทั้งหลายแปลงเป็นหนูกัดเชือกที่ผูกไว้ที่ท่อนไม้กลม ด้วยการแทะทีเดียวเท่านั้น ลมได้เพิกชายผ้าห่มขึ้น ไม้กลมพลัดตกลง บนหลังเท้าของนางจิญจมาณิกานั้น ทำให้ปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างของนางแตก
มนุษย์ทั้งหลายผู้อยู่ในเหตุการณ์ครั้งนั้นก็พากันพูดว่า “แนะอีนางกาลกัณณี เจ้าด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” จึงพากันถ่มน้ำลายลงบนศีรษะนาง มีมือถือก้อนดินและท่อนไม้ฉุดลากนางออกจากวัดพระเชตะวัน
นางจิญจมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ
เมื่อเวลาที่นางจิญจมาณวิกาล่วงคลองพระเนตร (พ้นสายตา)ของพระตถาคตไปแผ่นดินใหญ่แตกแยกออกให้ช่องแล้ว (ถูกแผ่นดินสูบ) เปลวไฟตั้งขึ้นจากอเวจี นางจิญจมาณวิกานั้นไปเกิดใน อเวจีมหานรกอันร้อนแรง เป็นเหมือนห่มผ้ากัมพล (ผ้าขนสัตว์) ที่ตระกูลให้ ลาภสักการะของพวกเดียรถีย์เสื่อมหนักขึ้น แต่กลับเจริญแก่พระทศพลมากยิ่งขึ้น
ในวันรุ่งขึ้นพวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า “ผู้มีอายุ ทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ควรทักษิณา อันเลิศ ผู้มีคุณอันยิ่งอย่างนี้ด้วยคําไม่จริงจึงถึงความพินาศ”
พระศาสดาได้เสด็จไปยังธรรมสภาแล้ว ได้ตรัสถามว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?” เมื่อภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลว่า “เรื่องนางจิญจมาณวิกา” พระองค์จึงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกา ด่าเราด้วยเรื่องไม่จริง ถึง ความพินาศแล้ว ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน นางด่าเรา ด้วยคําไม่จริง ก็ถึงความพินาศแล้วเหมือนกัน” ครั้นตรัสดังนี้แล้ว พระองค์ก็ได้ตรัสมหาปทุมชาดก ในนวกนิบาตให้พิสดาร ซึ่งผู้ประสงค์ จะทราบรายละเอียดก็ไปค้นหาอ่านได้ ในอรรถกถาชาดก
พระศาสดาครั้นทรงประกาศเนื้อความนี้แล้ว จึงตรัสว่า “ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม อันคนผู้ทิ้งความสัตย์ อันเป็นธรรม อันเอกเสียแล้ว มาตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้ไม่เชื่อโลกหน้า (คือไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด) จะไม่ทำ ย่อมไม่มี จึงตรัสพระคาถาว่า
“บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอันเอกเสียแล้ว ผู้มักกล่าวเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว
ไม่พึงทำ ย่อมไม่มี”
ในพระพุทธภาษิตข้างต้นนี้ยืนยันว่า ความสัตย์นั้นเป็นธรรมอันเอกเพราะเป็นของประเสริฐ ถ้าผู้ใดล่วงความสัตย์ คือชอบพูด มุสาเสียแล้ว จะไม่ทำชั่วนั้นไม่มี คือ คนพูดเท็จสามารถทำบาป อย่างอื่นได้มาก เพราะทอดทิ้งธรรมเอกเสียแล้ว
พระพุทธองค์ทรงเอาชนะนางจิญจมาณวิกาได้ด้วยสันติวิธีดังบทสวดในพุทธชัยมงคลคาถา อันเป็นชัยชนะของพระพุทธองค์ ในคาถาที่ ๕ ในชัยชนะ ๘ ครั้งของพระพุทธองค์ ว่า
“กตฺวาน กฏฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา
จิญฺจาย ทุฏฺฐวจนํ ชนกายมชฺเฌ
สนฺเตน โสมวิธินา ชิตวา มุนินฺโท
ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยมงฺคลานิ.
แปลความว่า พระจอมมุนี (พระพุทธเจ้า) ได้ทรงชนะ
การกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ผู้ทําอาการประหนึ่งมีครรภ์ เพราะทำ
ท่อนไม้กลมไว้ที่ท้อง (ให้ดูเหมือนว่ามีท้อง)
ด้วยวิธีอันงดงาม คือความสงบ (ด้วยสันติวิธีอันสง่างาม)
ขอชัยมงคล ทั้งหลาย จงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพุทธชยมงคลนั้น
เรื่องเปรตผู้เคยเป็นผู้พิพากษาโกง ๑
การพูดเท็จนี้ ไม่ใช่ให้โทษในชาตินี้อย่างเดียว ผลของบาปกรรม ข้อนี้ยังทำให้ตกในอบายภูมิ เช่น เกิดในนรกหรือเกิดเป็นเปรต เป็น ต้นอีกด้วย ดังเรื่องเปรตผู้เคยเป็นผู้พิพากษาโกงเป็นตัวอย่าง ซึ่ง กล่าวไว้ในคัมภีร์เปตวัตถุ ขุททกนิกาย ซึ่งในที่นี้ได้ขยายความตามนัย แห่งอรรถกถาปรมัตถทีปนี้ด้วย เพราะในพระบาลีพระไตรปิฎกกล่าว ไว้เฉพาะคาถาเท่านั้น แต่ในอรรถกถาได้ขยายความให้เข้าใจชัดยิ่งขึ้น
เมื่อพระศาสดา ทรงประทับอยู่ที่วัดพระเวฬุวัน ได้ทรงปรารภ เปรตผู้เคยเป็นผู้พิพากษาโกง ได้ตรัสพระคาถาบาลี ว่า กิริฎี กายุรี เป็นต้น
กล่าวกันว่า ในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา : อยู่นั้น ในครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ และอังคะ ทรงเสด็จไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ลัฏฐิวัน (สวนตาล หนุ่ม) เชิงภูเขา ปัพภารบรรพต อันอยู่ทางทิศใต้ของกรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยบริวาร ๑๒ นหุต (หนึ่งแสนสองหมื่นคน) พระพุทธองค์ ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ พระเจ้าพิมพิสารทรงสำเร็จ พระโสดาบันพร้อมด้วยบริวาร ๑๑ นหุต (หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคน) อีก ๑ นหุต ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์
นับแต่นั้นมา พระเจ้าพิมพิสาร ทรงรักษาอุโบสถ เดือนละ ๖ วัน มนุษย์ชาวเมืองเป็นอันมาก พากันรักษาศีลอุโบสถตามท้าวเธอ วันหนึ่ง พระราชาตรัสถามพวกมนุษย์ที่มายังสำนักของพระองค์ว่า“พวกเธอเข้าจำอุโบสถ (รักษาอุโบสถ) หรือว่าไม่ได้เข้าจำ”ในบรรดา คนเหล่านั้น มีผู้พิพากษาคนหนึ่งชอบพูดส่อเสียด เป็นคนหลอกลวง รับสินบน ไม่กล้าพูดว่า ตนเองไม่ได้รักษาอุโบสถ แต่กลับพูดว่าข้าพระองค์รักษาอุโบสถ พระเจ้าข้า”
ในครั้งนั้น สหายของเขาจึงพูดกับเขาซึ่งออกมาจากที่เฝ้า พระราชาว่า “สหาย วันนี้ ท่านเข้าจำอุโบสถหรือ” เขาตอบเพื่อนไปว่า “เพื่อนเอ๋ย เพราะความกลัว ผมจึงกราบทูลไปอย่างนั้น ต่อ พระพักตร์พระราชา แต่แท้ที่จริง ผมไม่ได้เข้าจำอุโบสถกับเขาเลย”
ต่อจากนั้น สหายของเขาจึงพูดกับผู้พิพากษาโกงนั้นว่า “ถ้าเป็น เช่นนั้น อันดับแรก เธอจงรักษาอุโบสถครึ่งวันในวันนี้ ขอให้เธอจง สมาทานองค์อุโบสถเถิด”
เขารับคําของสหายนั้นแล้ว กลับไปเรือนของตน ไม่ยอมบริโภค อาหาร บ้วนปากแล้วอธิษฐานอุโบสถ เข้าจำอยู่ (รักษาอยู่) ในตอนกลางคืนถูกลูกศรคือความหิวอันเกิดจากกําลังลมเป็นต้นเสียดแทง เนื่องจากท้องว่าง เข้าไปตัดอายุสังขาร (ถึงแก่กรรม) เขาจุติไปเกิด เป็นเวมานิกเปรต ในท้องภูเขา
เพราะว่าเขาได้วิมานและได้ทิพยสมบัติเป็นอันมาก ซึ่งมีนางเทพอัปสรหนึ่งหมื่นเป็นบริวาร เพราะเหตุเพียงได้รักษาศีลอุโบสถ เพียงครึ่งคืน แต่เพราะเหตุที่เขาเคยเป็นผู้พิพากษาโกง และเพราะเป็น คนชอบพูดส่อเสียด เขาจึงจิกกินเนื้อที่หลังของตนเอง
ในครั้งนั้น ท่านพระนารทะ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นเปรต นั้นเข้า จึงได้ถามด้วยคาถา ๔ คาถาว่า
“ตัวท่านทัดทรงดอกไม้ ใส่ชฎา สวมกําไร ทองคํา ลูบไล้ด้วยคุณจันทน์ มีสีหน้าผ่องใส งดงาม ดุจสีพระอาทิตย์ตอนอุทัย มาบนอากาศ มีนางฟ้า หนึ่งหมื่นเป็นบริวาร บํารุงบำเรอท่าน นางฟ้าเหล่านั้น ล้วนสวมกำไลทองคํา นุ่งห่มผ้าอันขลิบด้วยทองคํา ท่านเป็นผู้มีอานุภาพมาก มีรูปงามเป็นที่ให้เกิดขนลุก แก่ผู้พบเห็น แต่ท่านจิกกินเนื้อหลังของตนเป็นอาหาร
ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจา ใจหรือเพราะผลของกรรมอะไร (ที่ท่านได้ทำไว้) ท่าน จึงจิกเนื้อหลังของตนเองกินเป็นอาหาร
เปรตนั้นได้ตอบพระเถระว่า
“ข้าพเจ้าได้ประพฤติทุจริต ด้วยการพูดส่อเสียด พูดเท็จ และพูดหลอกลวง เพื่อความฉิบหายแก่ตนใน มนุษยโลก ข้าพเจ้าไปยังบริษัทในมนุษยโลกนั้น เมื่อถึง เวลาควรจะพูดความจริง ก็ทิ้งเหตุผลเสีย ประพฤติ คล้อยตามอธรรม ผู้ใดประพฤติทุจริต เช่น การพูด ส่อเสียด เป็นต้น ผู้นั้นย่อมจิกเนื้อหลังของตนกิน เหมือนข้าพเจ้าจิกกินเนื้อหลังของตนกินในวันนี้
ข้าแต่ท่านนารทะ ทุกข์ที่ข้าพเจ้าได้รับอยู่นี้ ท่านได้เห็นเองแล้ว ชนเหล่าใดเป็นคนฉลาด มีความ อนุเคราะห์ชนเหล่านั้นพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า ท่าน อย่าพูดส่อเสียด และอย่าพูดเท็จ อย่าเป็นผู้มีเนื้อหลังของตนเป็นอาหารเลย”
จากทั้ง ๒ เรื่องที่ยกมาเป็นตัวอย่างของการผิดศีล เพราะการพูดเท็จนี้ ย่อมชี้ให้เห็นว่า การพูดเท็จมีโทษมากเพียงไร ยิ่งรุนแรงมาก คือการใส่ความหรือหักราญประโยชน์ของคนอื่นมาก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งต่อท่านผู้มีคุณสูงอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บาปก็ยิ่งมาก ถึงขั้นแผ่นดินสูบแล้วไปเกิดในนรก ดังเรื่องนางจิญจมาณวิกาเป็น ตัวอย่าง แม้พูดโกหกในการพิพากษาความก็ทำให้มาเกิดเป็นเปรตได้ แม้จะเป็นเวมานิกเปรต แต่ต้องเสวยทุกข์ เพราะการพูดชั่วเป็นเหตุ
ดังนั้น ท่านผู้เห็นโทษของมุสาวาท จึงพูดแต่คําสัตย์จริง เพราะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น และงดเว้นการพูดทุจริต ให้ห่างไกล เพราะเห็นโทษของการล่วงศีลข้อนี้ ดังตัวอย่างที่นํามา แสดงให้เห็นแล้ว
ตอนที่ ๑๖
โทษของการดื่มน้ำเมา
ในสีลกถา ตอนที่ ๑๖ นี้ จะพูดถึงโทษของการผิดศีลข้อ ๕ คือ การดื่มน้ำเมา อันมีโทษมากกว่าการผิดศีลข้ออื่น ๆ
การดื่มน้ำเมามีโทษมาก และจัดเป็นอบายมุขข้อหนึ่งใน อบายมุข ๖ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัส เป็นทางแห่งความเสื่อม ความฉิบหาย คือ
๑. ดื่มน้ำเมา
๒. เที่ยวกลางคืน
๓. เที่ยวดูการละเล่น
๔. เล่นการพนัน
๕. คบคนชั่วเป็นมิตร
๖. เกียจคร้านทำการงาน
อบายมุข ทางแห่งความฉิบหาย ๖ ประการนี้ แต่ละข้อล้วน แต่นําความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้มากทั้งสิ้น ซึ่งพระพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ในสิงคาลกสูตร แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค๑ แต่ในที่นี้จะย้ำเฉพาะโทษของการดื่มน้ำเมาเท่านั้น เพราะเป็นการผิดส่วนอีก ๕ อย่าง ถ้าใครประพฤติเข้าแล้วเป็นการประพฤติผิดศีลธรรม แล้ว ย่อมประสบความหายนะล่มจมทั้งสิ้น ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ก็ไม่มีทางเจริญได้ เพราะสร้างความเสื่อมความฉิบหายให้แก่คนและ ก่อความทุกข์ร้อนให้แก่คนอื่นด้วย
อบายมุขที่ก่อความเสื่อมความย่อยยับแห่งทรัพย์สมบัติมาก อย่างหนึ่ง ที่ควรเว้นเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนั้นคือ “การเล่นการพนัน”
ผู้ติดการพนันเหมือนคนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว
คนฉลาดในการดำเนินชีวิตและหวังความเจริญก้าวหน้าแก่ตนและส่วนรวม ย่อมเว้นอบายมุขทุกประเภท อันเป็นทางแห่งความเสื่อม ให้ห่างไกล เหมือนคนกลัวยาพิษ ระวังไม่ให้ยาพิษถูกต้องตนฉะนั้น เช่น การพนันเป็นตัวอย่าง คนติดการพนันสำคัญการพนันผิดไป เหมือนคนเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เพราะมีแต่ทางเสื่อม ความล่มจม โดยส่วนเดียว และไม่มีใครร่ำรวยได้นานเพราะการพนัน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เว้นสิ่งเหล่านี้โดยเด็ดขาด
นักปราชญ์ชี้โทษของการพนันไว้ว่า “คนที่หวังความร่ำรวย จากการพนัน เหมือนคนที่หวังร่มเงาจากเมฆ เงินที่ได้มาจากการ พนันหมดไว เหมือนปลูกพืชล้มลุก ส่วนเงินที่ได้มาจากความขยัน หมั่นเพียรอยู่ได้นาน เหมือนการปลูกไม้ยืนต้น”
สุภาษิตปักษ์ใต้ กล่าวถึงโทษของการพนันไว้อย่างเห็นได้ชัดว่า
“ถูกโจรอุกสิบครั้งยังเหลือบ้าน โลกไฟผลาญไหม้สิ้นเท่ดินเหลือ การพนันปอไพ่ใครไม่เบื่อ หมดไม่เหลือทรัพย์สินกินลูกเมีย”
แปลเป็นภาษาไทยภาคกลางได้ความว่า
“ถูกโจรปล้นสิบครั้งยังเหลือบ้าน ถูกไฟผลาญไหม้สิ้นที่ดินเหลือ การพนันทุกอย่างใครไม่เบื่อ หมดไม่เหลือทรัพย์สินกินลูกเมีย”
การดื่มน้ำเมามีโทษร้ายแรงกว่าอบายมุขทุกข้อ
การดื่มน้ำเมา จัดเป็นอบายมุข-ทางแห่งความเสื่อมข้อแรก และมีโทษร้ายแรงกว่าอบายมุขทุกข้อ แม้ในนายแพทย์ปัจจุบันก็ยอม รับว่า การดื่มสุรามีโทษกว่ายาเสพติดทุกชนิด เพราะก่อให้เกิดผลร้าย ตามมาอีกเป็นอันมากจากสุราเป็นต้นเหตุ แม้อุบัติเหตุรถยนต์ซึ่งเกิดมาก ทางตำรวจก็ยืนยันว่าเกิดมาจากการดื่มสุราสาเหตุถึง ๒๐ เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในตอนเย็นของทุกวัน จะเห็นได้ชัดใน เทศกาลใหญ่ๆ ที่มีวันหยุดหลายวัน เช่น วันสงกรานต์และวัน ขึ้นปีใหม่ มีอุบัติเหตุรถยนต์เพราะเมาสุรา
การดื่มน้ำเมา หมายถึงการเสพของมึนเมาให้โทษทุกชนิดรวมทั้ง เมรัย เบียร์ เฮโรอีน ผงขาว และยาม้าหรือยาบ้า เป็นต้น เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเมาจนขาดสติ หรือให้มีสติยับยั้งลดน้อยลง ซึ่งพระบาลีในศีลข้อนี้ คือ
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกขาปทํ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าของดเว้นจากเหตุเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือ ดื่มกินเหล้าและเครื่องดองที่เป็นของมึนเมาทั้งปวง
คําว่า “เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทคือดื่มกินเหล้าและเครื่อง ดองที่เป็นของมัวเมาทั้งปวง – สุราเมรยมชฺช – ปมาทฏฺฐานา” หมาย ถึง สิ่งใดก็ตามถ้าดื่มกิน ดมหรือฉีดเข้าไปสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดมึนเมา ประมาท อยู่ในข้อห้ามในศีลข้อนี้ทั้งสิ้น ในบาลีท่านยกเอา มาแต่สุราและเมรัย เพราะมีดื่มกินกันในสมัยพุทธกาล แต่ในปัจจุบัน มีของมึนเมาก่อให้เกิดความประมาทขาดสติอย่างอื่นเกิดขึ้นมาก เช่น เฮโรอีน ผงขาว และยาม้าหรือยาบ้า เป็นต้น ใครเสพเข้าก็ถือว่า ผิดศีลข้อนี้ด้วย เพราะก่อให้เกิดการมึนเมาแล้วทำให้เกิดความประมาท ขาดสติเช่นเดียวกัน เช่น เฮโรอีนและยาม้าหรือยาบ้า ที่ร้ายแรงมาก ทำให้คนในชาติเสียคนจนถึงกับฉิบหายไปมากอย่างที่ทราบกันอยู่ รัฐบาลจึงต้องใช้กําลังปราบยาบ้านี้อย่างเดียวหมดเงินไปมาก นับเป็นพันล้านในปัจจุบัน เพราะคนในชาติจำนวนมากตกเป็นทาสของยานี้ ทอดทิ้งศีลธรรมอันดีงามของพระพุทธศาสนา นับเป็นเรื่องที่น่าสังเวช สลดใจ และน่ากลัวอย่างยิ่ง ในความร้ายแรงของการที่คนในชาติ ตกเป็นทาสของยานี้ ซึ่งคนทุกชาติในโลก พยายามหาทางป้องกัน ไม่ให้สิ่งเลวร้ายนี้เกิดขึ้นแก่ลูกหลานและประชาชนในชาติของตน ถึงกับรัฐบาลในประเทศนั้นๆ ต้องทุ่มงบประมาณอย่างมหาศาลในการ ปราบปรามการระบาดของยาฆ่าตัวตายประเภทนี้ อย่างที่ทราบกันอยู่
การดื่มน้ำเมาเป็นทางแห่งความฉิบหายอย่างหนึ่งของชีวิตเพราะมีโทษมากถึง ๖ ประการ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในสิงคาลกสูตรปาฏิกวรรค แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย เช่นกัน คือ
๑.เสียทรัพย์
๒. ก่อความทะเลาะวิวาท
๓. เกิดโรค
๔. ถูกติเตียน
๕. ไม่รู้จักอาย
๖. ทอนกําลังปัญญา
เสียทรัพย์ เพราะว่า เมื่อติดเหล้าแล้วก็ต้องซื้อมาดื่มเป็น ประจำ และบางครั้งก็ต้องซื้อเลี้ยงเพื่อนด้วย เงินที่หมดไปเพราะเหล้า มีมาก ทำให้ชีวิตขาดแคลน ทำให้ครอบครัวลําบาก และที่สำคัญ คือ ต้องเสียทรัพย์ในการรักษาตัวเมื่อเกิดโรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรค ตับแข็ง เป็นต้น และเสียทรัพย์มาก คือ เมื่อเมาขับรถชนคน หรือ ชนรถอื่นๆ หรือพาตน ครอบครัว หรือคนโดยสารบาดเจ็บ ล้มตาย บางคนถึงกับต้องสิ้นเนื้อประดาตัว เพราะต้องเสียเงินมาก อันเกิดจาก การเมาในขณะขับรถ
ก่อความทะเลาะวิวาท ปกติมนุษย์ถ้าไม่เมาแล้วก็ไม่อยาก ทะเลาะกับใคร แต่พอเหล้าเข้าปาก เกิดเมาขึ้นมาแล้วก็ชอบก่อความ ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นแม้แต่กับคนใกล้ชิด บางคนเมื่อเมามากลืมตัว ถึงกับฆ่าพ่อฆ่าแม่ หรือฆ่าเพื่อน และญาติพี่น้อง เมื่อเมามากเข้า ไม่กลัวใคร ขาดสติยับยั้ง เห็นช้างเท่าหมู ท้าตีท้าต่อยกับใครต่อใคร ไม่เลือกหน้า บางครั้งก็ทำให้เกิดบาดเจ็บหรือล้มตายขึ้น อาจจะต้อง ติดคุก ติดตะราง เพราะทะเลาะวิวาทกัน อันเนื่องมาจากการดื่มเหล้าเป็นเหตุ
เกิดโรค คนที่ดื่มสุราจัดมักจะมีโรคต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก เช่น โรคพิษสุราเรื้อรัง และโรคตับแข็ง เป็นต้น ฉะนั้นคนดื่มสุราจัด จึงมักเกิดโรคต่าง ๆ มาก และอาจจะตายก่อนวัยอันสมควร เพราะ ดื่มสุราจัดเป็นเหตุ
ถูกติเตียน คนที่ดื่มสุราจนเมามายมักลืมตัว ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ พูดสิ่งที่ไม่ควรพูด บางทีก็เดินแก้ผ้า หรือนอนแก้ผ้า หรือนอนข้างถนน แบบคนเสียสติลืมตัวเอง ลืมยศ ลืมตำแหน่ง และชื่อเสียงวงศ์ตระกูล จึงเป็นที่ดูหมิ่นและติเตียน ของคนทั้งหลาย แม้แต่เด็กๆ หรือลูกหลาน ก็ยังรังเกียจ เพราะลดฐานะจากความเป็นคนปกติ กลายมาเป็นคน เสียสติ ไม่รู้ว่าตนพูดหรือทำอะไรลงไปบ้าง
ไม่รู้จักอาย มนุษย์เราเมื่อเมาเข้าแล้ว ก็ไม่รู้จักว่าอะไรควร หรือไม่ควร ทำให้เสียชื่อเสียงตัวเอง และวงศ์ตระกูล ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือผิดปกติจากคนทั้งหลาย จึงทำให้หมดยางอาย ไม่รู้จักอาย เสีย ชื่อเสียงเป็นอันมาก เพราะสุราเป็นเหตุ
ทอนกําลังปัญญา คนดื่มสุราจัดหรือดื่มสุราเป็นประจำ ทำให้ สมองเสื่อม ความจําเสื่อม ยังไม่ทันแก่เฒ่ามาก ก็มักจะจำอะไร ไม่ค่อยได้ สมรรถภาพของสมองและสติปัญญาซึ่งแต่เดิมเคย คล่องแคล่ว ก็กลับเสื่อมลงมาก และมักจะหลงเมื่อใกล้ตาย เพราะ เหตุที่ผิดศีลข้อนี้
โทษของการดื่มเหล้าทั้ง ๖ ประการนี้ กล่าวถึงโทษปัจจุบัน เท่านั้น หาได้พูดถึงโทษในอนาคตไม่ ถ้ากล่าวถึงผลในอนาคตนับว่า ร้ายมาก คือเมื่อตายแล้วก็เกิดในนรก จะตกอยู่นานเพียงใดก็แล้วแต่กรรมชั่วที่ทำไว้มากหรือน้อย เมื่อกลับมาเกิดในโลกมนุษย์ เศษกรรมชั่วที่ยังเหลือทำให้คนนั้นเกิดมาเป็นคนปัญญาอ่อน ในปัจจุบัน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ในประเทศไทยเราประเทศเดียว ปรากฏว่า มีเด็ก ปัญญาอ่อนประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ กว่าคน นับว่าเป็นสถิติที่น่าคิดและ น่ากลัว นอกจากนี้แล้ว ผลของการดื่มสุราทำให้เกิดเป็นใบ้หรือสติ ไม่สมประกอบหรือเป็นคนวิกลจริต ซึ่งก็มีมากเพิ่มขึ้นตามการเพิ่ม ของพลเมืองในปัจจุบัน
เรื่องหลานอนาถปิณฑิกเศรษฐี
กล่าวกันว่า ในเมืองสาวัตถี หลานของท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ผลาญเงิน ๔๐ โกฏิ อันเป็นของมารดาบิดาให้ฉิบหาย ด้วยการใช้จ่าย สิ้นเปลืองไปเพราะการดื่มสุรา แล้วได้ไปยังสำนักของเศรษฐี แม้ อนาถปิณฑิกเศรษฐีก็ให้ทรัพย์เขาหนึ่งพันกหาปณะ ด้วยสั่งว่า “เจ้าจงทำการค้าขาย”
เขาได้ผลาญทรัพย์นั้นให้หมดไปแล้วได้ไปพบท่านอนาถ ปิณฑิกเศรษฐีอีก ท่านเศรษฐีได้ให้เงินเขาอีก ๕๐๐ กหาปณะ เมื่อ เขาผลาญทรัพย์นั้นให้หมดไปแล้วมาหาท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐีอีก ท่านเศรษฐีจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบ และไสคอไล่เขาผู้ทําผ้า สาฎกนั้นให้สิ้นไปแล้วมาหาอีกให้ออกพ้นไป
เขาเป็นคนอนาถา ได้อาศัยชายคาเรือนคนอื่นเป็นอยู่หลับนอน ในที่สุดก็ได้ถึงแก่กรรม คนทั้งหลายลากศพไปทิ้งไว้นอกเมือง
ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัด พระเชตวัน กราบทูลเล่าประวัติทั้งหมดของหลานนั้นถวายพระศาสดา พระองค์ทรงสดับแล้ว ตรัสว่า “ในกาลก่อน เราเอง ในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ อุบัติเป็นท้าวสักกเทวราช แม้ให้หม้ออันสามารถ ดลบันดาลสมบัติอันสัตว์พึงปรารถนาทุกอย่าง ก็ยังไม่ให้บุรุษใดอิ่มหนำ ได้ ท่านจักยังบุรุษนั้นให้อิ่มหนำได้อย่างไร” ตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสภัทรกูฏเภทกชาดก ว่า
ในอดีตกาล ณ กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นเศรษฐี มีทรัพย์ฝังไว้ในดินประมาณ ๔๐ โกฏิ๑ ทำบุญทั้งหลายมีการให้ทาน เป็นต้น เมื่อตายจากโลกมนุษย์ก็จุติไปเกิดเป็นท้าวสักกเทวราชบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
พระโพธิสัตว์มีบุตรชายอยู่คนเดียวเท่านั้น เมื่อบิดาเขาถึงแก่ กรรมแล้ว เขาให้ปลูกปะรําสำหรับดื่มสุรา มีมหาชนห้อมล้อมดื่ม สุรากัน เขามอบทรัพย์ให้แก่คนทั้งหลายที่ตนชอบใจครั้งละหนึ่งพัน ทุกคน สำหรับคนทั้งหลายที่ทำการกระโดดเต้น การระบำ ฟ้อนรํา และ ขับร้อง เป็นต้น ถึงความเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลง กินเนื้อ เป็นต้น หมกมุ่นในมหรสพมีการฟ้อนรํา ขับร้องและประโคม เป็นต้น มัวเมาประมาทในชีวิต เที่ยวใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายอยู่ ผลาญ ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ รวมทั้งทรัพย์สินสมบัติทั้งหมดที่ตนมีอยู่ให้หมดสิ้นไป
ต่อมาไม่นานนัก เขาก็กลายเป็นคนตกยาก กําพร้า นุ่งผ้าเก่า
เดินเร่รอนไป ตามประสาคนตกยาก
ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบความที่เขาเป็นคนตกยาก จึงเสด็จลงมาเพราะความรักในบุตร ทรงพระราชทานหม้อสมบัติ คือ หม้อที่ ให้สมบัติที่สัตวโลกจะพึงต้องการทุกอย่าง แล้วตรัสว่า “ลูก หม้อนี้ จะไม่แตกโดยวิธีใด เจ้าจงรักษามันไว้โดยวิธีนั้น ด้วยว่าเมื่อเจ้ายังมี หม้อนี้อยู่ ชื่อว่าทรัพย์หมดไปไม่มีเลย เจ้าจงอย่าประมาท” (คือ จงรักษาหม้อนี้ไว้ให้ดี) ตรัสแล้วก็เสด็จไปสู่ทิพยวิมานของพระองค์เช่นเดิม
บุตรเศรษฐีนั้น เที่ยวเมาสุราอยู่ เพราะเป็นนักเลงสุรา ต่อมา วันหนึ่ง เขาเมาสุราได้เดินไปพลางพร้อมกับโยนหม้อขุมทรัพย์นั้นขึ้น ไปในอากาศ แล้วก็รับ คราวหนึ่งรับพลาดไป เพราะเหตุแห่งความเมา หม้อนั้นตกลงมายังพื้นดินแตกไปแล้ว
นับแต่นั้น เขาเป็นคนตกยากเข็ญใจอีก นุ่งผ้าเก่า ถือกระเบื้อง ขอทาน เที่ยวอาศัยนอนตามริมชายคาบ้านของคนอื่น ในที่สุดก็ตายจากไปอย่างอนาถา
พระศาสดา ครั้นทรงนําอดีตนิทานนี้มาตรัสแล้ว เมื่อจะทรง แสดงธรรมแก่ท่านเศรษฐี ได้ตรัสพระคาถา ๓ คาถา ในภัทรก เภทกชาดก๑ ในปัญจมวรรค แห่งติกนิบาต ว่า
“นักเลง (สุรา) นั้นได้หม้อชื่อ กูฏ ที่ให้สมบัติอัน สัตว์จึงใคร่ทุกอย่างแล้ว ยังตามรักษาไว้ได้เพียงใด เขา พึงได้ความสุขเพียงนั้น เมื่อใดเขาเมาและเซ่อ แล้ว ทำลายหม้อนั้นเสีย เพราะความประมาท เมื่อนั้น เขาบางคราวเป็นคนเปลือย บางคราวนุ่งผ้าเก่า เป็นคนเขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
บุคคลใดได้ทรัพย์แล้ว ย่อมใช้สอยด้วยความ ประมาท บุคคลนั้นมีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน ในภายหลังเหมือนนักเลง (สุรา) ทำลายหม้อแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง
เมื่อพิจารณาเห็นถึงโทษของการผิดศีลข้อ ๕ คือ การดื่ม น้ำเมาและของเสพติดให้โทษว่ามากอย่างนี้แล้ว ผู้มีปัญญาที่เชื่อบุญ เชื่อบาปตามหลักพระพุทธศาสนา ก็พึงเว้นจากการผิดศีลข้อนี้ให้ห่าง ไกล เพราะให้แต่โทษอย่างเดียว ทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งทรัพย์สิน สมบัติ และเกียรติยศชื่อเสียง ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ทั้งชาตินี และชาติต่อไป ทั้งเป็นการทำลายศีลธรรม หันหลังให้แก่คําสอนของ พระพุทธเจ้า แม้ปฏิญาณตนว่าเป็นชาวพุทธ ก็หาได้เป็นชาวพุทธที่ แท้จริงไม่ เพราะไม่ทำตามคําสอนของพระพุทธเจ้า แม้เพียงศีลธรรม ขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ แม้จะอ้างว่าดื่มไปเพื่อสังคม และ เพื่อนฝูง หรือแม้เพื่อทำงานได้สะดวกในการติดต่อกับคนประเภท ต่าง ๆ ก็อ้างไม่ขึ้น เพราะผู้ที่ไม่ดื่มเหล้าและเสพของเสพติดเหล่านี้ ก็ติดต่อประสานงานกับคนทั้งหลายได้เช่นกัน และยังได้พบกัลยาณมิตรคือคนดี ในการเป็นตัวอย่างและแนะนําการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องอีกด้วย
ฉะนั้น ท่านสาธุชน เมื่อพิจารณาผลเสียของอบายมุขทุก ประเภทและการประพฤติผิดศีลห้าแล้ว ก็พึงดำรงค์มั่นอยู่ในศีล เพราะศีล ๕ เป็นเบื้องต้น เป็นที่พึ่ง เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย เป็นเกราะเป็นอาวุธเป็นเครื่องประดับที่ประเสริฐและเป็นประธานของกุศลธรรมทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว
ตอนที่ ๑๗
เทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมาน
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้กล่าวถึงเทพบุตร และเทพธิดาผู้ได้วิมาน เพราะเคยรักษาศีลไว้ในสมัยที่เกิดเป็นมนุษย์ เพื่อชี้ให้เห็นว่า การรักษาศีลหาใช่ให้ความสุขในโลกนี้เท่านั้นไม่ แต่ ยังส่งผลให้ได้รับความสุขในเทพวิมานหลังจากตายจากโลกนี้ไปแล้วอีกด้วย
ในคัมภีร์ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ ได้กล่าวถึงเทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมานไว้ถึง ๘๕ ราย อันแสดง ให้เห็นว่าใครทำกรรมอย่างไรไว้ในสมัยที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ เมื่อเขา ตายแล้ว ทำให้ไปเกิดในวิมานบนสวรรค์ มีรูปร่าง มีรัศมี และมี ทรัพย์สมบัติรวมทั้งบริวารสวยงามและยิ่งใหญ่เพียงไร
เรื่องส่วนใหญ่ เป็นเรื่องที่พระมหาโมคคัลลานเถระ ผู้มีฤทธิ์ มากกว่าพระภิกษุทั้งปวงในบรรดาพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า เมื่อไปเยี่ยมสวรรค์ได้พบเทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมานนั้น ๆ แล้ว ได้ถามปัญหาว่า ทำบุญอะไรไว้จึงได้วิมานเช่นนี้ แต่บางเรื่องเป็นการ ถามของท้าวสักกเทวราช จอมเทพชั้นดาวดึงส์ และบางเรื่องเป็นการ ถามของพระมหากัจจายนะ พระอรหันตสาวกผู้มีความเป็นเลิศในการขยายธรรมย่อให้พิสดาร มีคําตอบของผู้ถูกถามเป็นราย ๆ ไป แต่ก็มี บางรายที่เทพบุตรมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลเล่าความในอดีตของตนก็มี
เรื่องเหล่านี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้นํามาบันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ เรื่องวิมานวัตถุ แต่เป็นรูปของฉันทลักษณ์ ซึ่งเป็นคาถาล้วน คือเป็นรูปคําร้อยกรอง ไม่ใช่ร้อยแก้ว สันนิษฐาน ว่าการบันทึกออกมาเป็นรูปร้อยกรองคือคําฉันท์ทั้งหมดนั้นก็เพื่อจำง่าย ในการท่องจำหรือในการทรงจำ แต่ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาของวิมานวัตถุ ท่านขยายความออกเป็นร้อยแก้ว ฉะนั้น ในการบรรยายเรื่องนี้ จึงนําเอาข้อความในคัมภีร์อรรถกถาวิมานวัตถุ มาประกอบด้วย
ในคัมภีร์วิมานวัตถุ ส่วนใหญ่กล่าวถึงเทพธิดาผู้ได้วิมาน มีเรื่องของเทพบุตรน้อยมาก และผู้ที่ได้วิมานนั้นก็เกิดจากบุญประเภท ต่าง ๆ มีทั้ง ทาน ศีล และภาวนา หรือการตั้งอยู่ในคุณธรรม เช่น การไม่โกรธบ้าง เป็นต้น แต่ในที่นี้ จะได้กล่าวถึงเทพธิดาผู้ได้วิมาน เพระเหตุที่ได้รักษาศีล จึงไปบังเกิดบนสวรรค์ได้สมบัติในวิมานนั้นอันเป็นการย้ำถึงอานิสงส์ของการรักษาศีลเป็นสำคัญ โดยนํามากล่าวเพียง ๔ เรื่องเท่านั้น เพื่อให้เห็นเป็นตัวอย่างของผู้ทําความดี ตาม หลักพระพุทธศาสนา
ปฐมปติพพตาวิมาน๑
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี ในสมัยนั้น ในเมืองสาวัตถีนั้น มีสตรีผู้หนึ่งเป็นผู้ปฏิบัติ สามี คล้อยตามสามี อดทนเชื่อฟังโอวาทของสามีโดยเคารพ แม้โกรธ ก็ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่พูดคําหยาบ พูดแต่เรื่องจริง มีความเชื่อและ ความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย และให้ทานตามควรแก่ทรัพย์สมบัติ ต่อมา นางเกิดมีโรคบางอย่างเกิดขึ้น ก็ได้ถึงแก่กรรม เมื่อตายไปก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์
ต่อมา พระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวจาริกไปในเทวโลก ได้พบ นางเทพธิดาองค์นั้น ซึ่งกําลังเสวยสมบัติใหญ่อยู่ จึงเข้าไปใกล้ เทพธิดาองค์นั้น ซึ่งมีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร มีอัตภาพประดับ ด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้ไหว้ใกล้เท้าพระเถระแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง
พระมหาโมคคัลลานะ เมื่อจะถามบุญกรรมที่นางได้ทำไว้จึงกล่าวว่า (ต่อไปนี้เป็นข้อความจากพระไตรปิฎก)
“ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่าน มีวิมานอันมีนกกระเรียน นกยูงทอง หงส์และ นกดุเหว่า๒ ซึ่งล้วนเป็นทิพย์ เที่ยวส่งเสียง ไพเราะชุมนุมกันอยู่ วิมานนี้เต็มไปด้วยดอกไม้ หอมชื่นใจ วิจิตรไปด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ แวดล้อมไปด้วยเทพบุตรและเทพธิดา
ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านอยู่ใน วิมานนั้น ซึ่งเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์สำแดงรูปแปลก ๆ
จำนวนมาก นางอัปสรเหล่านั้น ฟ้อนรํา ขับร้อง อยู่รอบข้าง ให้ท่านบันเทิงอยู่
ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็ได้ เทพฤทธิ์ ครั้งเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ (รัศมีกาย) ของท่านจึงได้สว่างไปทั่วทิศ เทพธิดานั้นถูกพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว ก็มีใจยินดี ได้ตอบปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูก ถามว่า
ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดิฉันได้เป็น ผู้ปฏิบัติซื่อตรงต่อสามี ไม่ประพฤตินอกใจ ถนอม น้ำใจสามี เหมือนกับมารดาถนอมบุตร แม้ดิฉัน จะโกรธก็ไม่พูดคําหยาบ เว้นจากการพูดเท็จ ดำรงมั่นอยู่ในความสัตย์ ยินดีในการให้ทาน ชอบอุทิศตนสงเคราะห์ผู้อื่น มีใจเลื่อมใส เมื่อ บริจาคข้าวและน้ำได้ถวายทานอันไพบูลย์โดย เคารพ เพราะบุญนั้นดิฉันจึงมีรัศมีอย่างนี้ เพราะ บุญนั้นผลจึงสำเร็จแก่ดิฉัน ดิฉันจึงมีอานุภาพ รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสว ไปทั่วทุกทิศ
จากเรื่องปฐมปติพพุตาวิมานนี้ ชี้ให้เห็นว่า นางเทพธิดา องค์นี้ได้วิมาน ก็เพราะบุญที่ได้ทำไว้ในสมัยที่ยังเป็นมนุษย์ คือ มีสัจจะ ไม่พูดคําหยาบ ไม่โกรธ ไม่นอกใจสามี ชอบให้ทาน และชอบอุทิศ ตนสงเคราะห์ผู้อื่น และเมื่อให้ทานก็ให้ด้วยความเลื่อมใส และให้ โดยความเคารพ นางจึงได้รับผลเป็นอันมากในวิมานนั้น
ฉัตตมาณวกวิมาน ๑
ต้นเหตุของฉัตตมาณวกวิมานนี้มีอยู่ว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัยนั้น มีมาณพพราหมณ์ชื่อฉัตตะ เป็นบุตรที่ได้มา โดยยากของพราหมณ์คนหนึ่ง ในเสทัพยนคร มาณพนั้นเจริญวัยแล้ว บิดาได้ส่งไปอุกกัฏฐนครเพื่อเรียนมนต์และฐานวิชาทั้งหลายในสำนักของพราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ ไม่นานนักก็สำเร็จการศึกษาในศิลปพราหมณ์ เพราะเป็นคนมีปัญญาและไม่เกียจคร้าน
เขาพูดกับอาจารย์ว่า “กระผมศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน อาจารย์แล้ว กระผมจะให้ทักษิณาค่าบูชาครู (ค่าเล่าเรียน) แก่ท่าน อาจารย์อย่างไร ?”
อาจารย์กล่าวว่า “ธรรมดาทักษิณาค่าบูชาครู ต้องพอเหมาะ แก่ทรัพย์สมบัติของอันเตวาสิก (ศิษย์) เธอจงนํากหาปณะ (เงิน) มาพันหนึ่ง”
ฉัตตมาณพกราบอาจารย์กลับไปเสตัพยนคร ไหว้บิดามารดาท่านทั้งสองก็ชื่นชมยินดีกระทำปฏิสันถารต้อนรับเขาบอกความนั้นแก่บิดาว่า “โปรดให้ของที่ควรจะให้แก่กระผมเถิด กระผมจักให้ค่า
บูชาครูในวันนี้และจะกลับมา”
บิดามารดากล่าวกะเขาว่า “ลูก วันนี้ค่ำแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไป” แล้วนํากหาปณะทั้งหลายออกมาผูกเป็นห่อแล้ววางไว้
พวกโจรรู้เรื่องนั้น จึงไปแอบอยู่ในป่าชัฏแห่งหนึ่งในทางที่ ฉัตตมาณพจะไปด้วยคิดว่า “จักฆ่ามาณพแล้วชิงเอากหาปณะทั้งหลายเสีย”
เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลกอยู่ ทรงเห็นว่า “ฉัตตมาณพจะดำรงอยู่ในสรณะ และศีล เขาจักถูกพวกโจรฆ่าตายแล้วไปบังเกิดในเทวโลก เขาจักมาจากเทวโลกพร้อมทั้งวิมาน และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นจะบรรลุธรรม”
เมื่อทรงทราบอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปก่อนได้ประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่งในทางเดินของมาณพ
มาณพถือเอาทรัพย์ค่าบูชาอาจารย์ไปจากเสตัพยนครมุ่งหน้า ไปอุกกัฏฐนคร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในระหว่างทาง จึงเข้าไปเฝ้าแล้วยืนอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “เธอจักไปไหน”
เขากราบทูลว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์จักไปอุกกัฏฐนครเพื่อให้ทักษิณาค่าบูชาครูแก่โปกขรสาติพราหมณ์ ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เธอรู้สรณะ ๓ และ
ศีล ๕ หรือ” เมื่อมาณพกราบทูลว่า “ข้าพระองค์ไม่รู้สรณะ ศีล ๕ เหล่านั้นว่ามีและเป็นเช่นไร” จึงทรงประกาศผลานิสงส์ของ การถึงสรณะและการสมาทานศีล ๕ ว่า ผลนี้เป็นเช่นนี้”
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “มาณพ เธอจงเรียนวิธีถึงสรณะ ก่อน” มาณพทูลขอว่า “สาธุ ข้าพระองค์จักเรียน ขอพระองค์โปรด ตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า”
เมื่อทรงแสดงวิธีถึงสรณะโดยประพันธ์เป็นคาถา สมควรแก่ อัธยาศัยของมาณพนั้น พระองค์จึงได้ตรัสคาถา ๓ คาถาว่า (ข้อความ ต่อไปนี้มาจากพระไตรปิฎก)
“บรรดาศาสดาทั้งหลายผู้สั่งสอนอยู่ ผู้ใด เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา ผู้ทํากิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละ และวิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ
เธอจงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่ หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะซื่อตรง จําแนกไว้ดีนี้ เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวายในท่าน เหล่าใดว่ามีผลมาก ท่านเหล่านั้น คือ อริยบุคคล สี่คู่ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดงธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้ เป็นสรณะ”
เมื่อมาณพมีจิตเลื่อมใส ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายด้วยจิตที่ เกิดขึ้น (เพียงระลึกถึง และตั้งใจแต่ไม่ได้เปล่งวาจา) ไปว่า “ข้าพเจ้าเข้าถึงสรณะ” โดยกำหนดคุณพระรัตนตรัย และตั้งอยู่ในศีล ทั้งหลาย ด้วยอธิษฐานศีล ๕ ตามนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ นั่นเอง ขณะที่เขากําลังเดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยตามนัยนั้นนั่นเองพวกโจรก็กรูกันเข้ามาที่หนทาง มาณพไม่ใส่ใจ (ไม่สังเกตดู) พวก โจรเหล่านั้น เดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอย่างเดียว
โจรคนหนึ่งยืนซ่อนอยู่ในระหว่างพุ่มไม้ ได้ใช้ธนูยิงเขาด้วย ลูกศรอาบยาพิษอย่างฉับพลัน ทำให้เขาสิ้นชีวิต แล้วยึดห่อกหาปณะ หลีกไปพร้อมกับพวกสหายของตน
ฝ่ายมาณพตายไปบังเกิดในวิมานทอง ๓๐ โยชน์ ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ เป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น มีนางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม มีอัตภาพประดับด้วยเครื่องประดับมีภาระ ๖๐ เล่มเกวียน รัศมีของ วิมานนั้นแผ่ไปกว่า ๒๐ โยชน์
ครั้งนั้น พวกมนุษย์ชาวเสทัพยนครเห็นมาณพถึงแก่กรรมแล้ว จึงไปเสพยนคร บอกแก่บิดามารดาของมาณพนั้น พวกชาวบ้าน อุกกัฏฐะก็ไปอุกกัฏฐนคร บอกแก่โปกขรสาติพราหมณ์
บิดามารดา ญาติมิตรของฉัตตมาณพ และโปกขรสาติพราหมณ์ พร้อมด้วยบริวาร มีน้ําตาไหลอาบหน้าร้องไห้ ก็ได้ไปเสทัพยนคร
ชาวเสตัพยนคร ชาวอุกกัฏฐนครและชาวอิจฉานังคละส่วนมาก ก็ได้ประชุมกัน
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดําริว่า “เมื่อเราไป ฉัตตมาณพ เทพบุตรจะมาพบเรา เราจักให้เขาผู้มาแล้วกล่าวถึงกรรมที่ทำไว้ ให้ ทำผลกรรมให้ประจักษ์ แล้วเราจักแสดงธรรม มหาชนก็จักบรรลุธรรม ด้วยอาการอย่างนี้”
ครั้นมีพระดําริแล้ว พระองค์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ได้เสด็จเข้าไปยังเสทัพยนครนั้น ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรังสีมีรัศมี ๖ ประการ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง
ครั้งนั้น แม้ฉัตตมาณพเทพบุตรตรวจดูสมบัติของตนทบทวน เหตุแห่งสมบัตินั้น เกิดความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้ามาก คิดว่า “เราจักไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และไหว้ภิกษุสงฆ์ในบัดนี้ และจักทำคุณพระรัตนตรัยให้ปรากฏแก่มหาชน”
เทพบุตรอาศัยความเป็นผู้กตัญญู กระทำบริเวณป่านั้น ทั้งหมดให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน มาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน ปรากฏองค์ให้เห็นพร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ เข้าไปหมอบถวายบังคม ด้วยเศียรเกล้า แทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยืน ประคองอัญชลีอยู่ มหาชนเห็นดังนั้นมีความประหลาดอัศจรรย์ ว่า “นี้ใครกันหนอ เทวดาหรือพรหมพากันเข้าแวดล้อมพระผู้มี พระภาคเจ้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำบุญกรรมที่เทพบุตรนั้น กระทำไว้ให้ปรากฏ จึงได้ตรัสถามเทพบุตรนั้นว่า (ข้อความต่อไปนี้ มาจากพระไตรปิฎก)
“พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ ก็ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะ (ดาวฤกษ์เดือนสอง) ก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มีรัศมีสว่างมาก ไม่มี ที่เปรียบ
ท่านเป็นใคร จากดาวดึงส์มาสู่แผ่นดิน มี รัศมีเกิน ๒๐ โยชน์ ตัดรังสีพระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน วิมานของท่าน งามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก มีดอก บุณฑริกางาม เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย งามไม่น้อย คลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจากละออง ธุลี สว่างไสวอยู่ในอากาศ เหมือนดวงอาทิตย์
วิมานของท่านบริบูรณ์ด้วยเหล่านางอัปสร ผู้ทรงผ้าแดงและผ้าเหลือง หอมตลบด้วยกฤษณา ประยงค์และจันทน์ มีองค์และรัศมีเปล่งปลั่ง ดั่งทอง เหมือนท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวทั้งหลาย
ทวยเทพและเทพธิดาในวิมานนี้มาก มาก หลาย หลากวรรณะ มีอาภรณ์ประดับด้วยดอกไม้ มีใจ ดี มีกรองทอง นุ่งห่มด้วยอาภรณ์ที่เป้นทอง โชยกลิ่นหอมลอยไปตามลม นี้เป็นผลแห่งการสำรวมอะไร
ท่านเกิดในวิมานนี้ด้วยผลแห่งกรรมอะไรและท่านได้วิมานนี้โดยวิธีใด ท่านถูกเราถามแล้ว เชิญบอกตามสมควรแก่วิธีนั้นด้วยเถิด”
ลำดับนั้น เทพบุตรได้ทูลตอบปัญหาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
“พระศาสดาเสด็จมาพบมาณพในทางนี้ ด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงอนุเคราะห์ ได้ตรัสสอน แล้ว ฉัตตมาณพฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็น รัตนะอันประเสริฐ ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักกระทำตามพระองค์ตรัสสอนว่า เธอจงเข้าถึง พระชินวรผู้ประเสริฐ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตาม พระดํารัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ ตรัสสอนว่าจงอย่าฆ่าสัตว์ อย่าประพฤติกรรม ไม่สะอาดต่าง ๆ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ ความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลายเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตาม พระดํารัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ ตรัสสอนว่า อย่าเป็นผู้มีความสำคัญของที่เจ้าของ มิได้ให้ แม้ที่ชนอื่นรักษาไว้ ว่าเป็นของควร ถือเอา
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตาม พระดํารัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ ตรัสสอนว่า อย่าได้ล่วงเกินภริยาของคนอื่นที่ คนอื่นรักษา นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ประเสริฐ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระ ดํารัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้กล่าวเรื่องจริงเป็นเท็จ ผู้มี ปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญมุสาวาทเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตาม พระดํารัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ ตรัสสอนว่า จงงดเว้นน้ำเมา ซึ่งเป็นเครื่องให้คน ปราศจากสัญญานั้นทั้งหมด
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตาม พระดํารัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว ข้าพระองค์นั้นถือสิกขาบท ๕ (ศีล) ใน ศาสนานี้ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคตได้ไปยังทางสองแพร่ง ท่ามกลางพวกโจร พวกโจร เหล่านั้นฆ่าข้าพระองค์ ที่ทางนั้น เพราะโภคะเป็นเหตุ
ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลนี้เพียงเท่านี้ กุศล อื่นนอกจากนั้นของข้าพระองค์ไม่มี ด้วยกรรมอันสุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชาว ไตรทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา
ขอพระองค์โปรดดูผลแห่งการสำรวมชั่ว ขณะครู่หนึ่ง ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควร ซึ่งเหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ คนเป็นอันมากผู้มี กรรมต่ำทรามเพ่งดูข้าพระองค์ ก็นึกกระหยิ่ม
โปรดดูเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ และถึง ความสุขด้วยเทศนาเล็กน้อย ก็เหล่าสัตว์ผู้ที่ ฟังธรรมของพระองค์ติดต่อกันเหล่านั้น เห็นที จะสัมผัสพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมเป็นแน่
กรรมที่ทำแม้น้อย ก็มีวิบากใหญ่ไพบูลย์เพราะธรรมของพระตถาคตแท้ๆ
โปรดดูเถิด เพราะเป็นผู้ใต้ทำบุญไว้ ฉัตมาณพจึงเปล่งรัศมีสว่างตลอดแผ่นปฐพี เหมือนดังดวงอาทิตย์
คนพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า กุศลเป็น อย่างไร พวกเราจะประพฤติกุศลอะไร พวกเรา นั้นได้ความเป็นมนุษย์แล้ว พึงปฏิบัติมนุษยธรรม มีศีลกันอยู่อีกทีเดียว
พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก ทรง อนุเคราะห์อย่างนี้ เมื่อข้าพระองค์ถูกโจรฆ่า ชิงทรัพย์ยังกลางวันแสก ๆ อยู่เลย
ข้าพระองค์นั้นเป็นผู้เข้าถึงพระผู้มีพระ นามอันเป็นสัจจะ ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์ เถิด พวกข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ละกามราคะ อนุสัย คือ ภวราคะ และโมหะ ละได้ขาด ชนเหล่านั้น ย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือเกิดอีก เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เย็นสนิทแล้ว”
เทพบุตรตั้งอยู่ในความเป็นผู้กตัญญู เมื่อแสดงความไม่อิ่ม ด้วยดีด้วยการเข้าไปใกล้ และด้วยการฟังธรรม จึงกล่าวคํานั้นทั้งหมดด้วยประการฉะนี้
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเทพบุตรและบริษัทที่ประชุมกันในที่นั่น แล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา ทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตสงบ จึงประกาศพระธรรมเทศนาที่ทรงยกขึ้น แสดงเอง (อริยสัจ) จบเทศนา เทพบุตรและบิดามารดาตั้งอยู่ในโสดา ปัตติผลและมหาชนหมู่ใหญ่ได้ตรัสรู้ธรรม
เทพบุตร เมื่อประกาศความที่ตนถึงกระแสอริยะแล้ว จับ เอายอดเทศนาด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วแสดงความนับถือแก่ภิกษุสงฆ์ลาบิดามารดาแล้วกลับเทวโลกอย่างเดิม
แม้พระศาสดาทรงลุกจากพุทธอาสน์แล้วเสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
บิดามารดาของมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ และมหาชน ทั้งหมด ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันกลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปพระวิหารเชตวัน ตรัสวิมานนี้โดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังพรรณนามาฉะนี้
จากเรื่องในฉัตตมาณวกวิมานนี้ ชี้ให้เห็นว่า ฉัตตมาณพไม่เคย ทำกุศลอันใดมาก่อน แต่ได้ถึงไตรสรณคม และรักษาศีลที่พระพุทธเจ้า ตรัสสอน โดยไม่ต้องเปล่งวาจาอันใดเลย ทำให้เลื่อมใสและตั้งมั่นในพระรัตนตรัยและศีลห้าเท่านั้น เมื่อตายไปก็ไปบังเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ทันที เหมือนคนหลับแล้วตื่นขึ้น ได้วิมานอันสวยงามแวดล้อมไปด้วยเทพอัปสรเป็นจำนวนมาก และทรัพย์สมบัติอันยิ่งใหญ่ในสวรรค์นั้น
ทั้งเมื่อครั้งลงมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยบริวาร ได้ ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน พร้อม ด้วยบิดามารดา และโปกขรสาติพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ แต่การที่ถูก ฆ่าตายนั้น คงเป็นเพราะกรรมเก่าอย่างใดอย่างหนึ่งในอดีตดลบันดาลมา ในพระบาลีพระไตรปิฎกและในอรรถกถาก็ไม่ได้กล่าวไว้ว่าเคย ทำกรรมอันใดไว้ จึงทำให้ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษถึงแก่ความตาย
แต่เพราะความกรุณาของพระศาสดาที่มาโปรด ทำให้มาณพนั้นได้เข้าถึงไตรสรณคมและศีล และเพราะการเข้าถึงพระรัตนตรัยและ การมีศีลนี้เอง ทำให้ฉัตตมาณพไปอุบัติในสวรรค์และได้สมบัติเป็น อันมาก ในเทวโลกนั้น
ฉะนั้นนักปราชญ์จึงยึดพระไตรสรณคมและศีลไว้ประจำตลอดชีวิต เพราะมีคุณค่าเป็นอันมาก ดังกล่าวแล้ว.
ตอนที่ ๑๘
เทพบุตรและเทพธิดาผู้ได้วิมาน (ต่อ)
สีลกถา-การพรรณนาเรื่องศีลในตอนนี้ จะได้กล่าวถึงเทพบุตร และเทพธิดาผู้ได้วิมานต่อจากตอนที่แล้ว เพื่อแสดงผลหรืออานิสงส์ ของการรักษาศีลให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ด้วยตัวอย่างที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งกล่าวไว้ในวิมานวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ ขอเชิญท่านสาธุชนที่สนใจได้อ่านตรองตามไปก็จะเพิ่มความเชื่อมั่นในผลของการทำความดี เช่น การรักษาศีล เป็นต้น ตามหลักพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
อุตตราวิมาน๑
อุตตราวิมาน (วิมานของนางอุตตรา) มีกล่าวรายละเอียด ไว้ในอรรถกถาวิมานวัตถุ เรื่องของนางอุตตรานี้ ก็มีกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท ภาค ๖ เช่นกัน
นางอุตตราเป็นบุตรสาวของปุณณเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ซึ่ง เดิมเป็นครอบครัวที่ยากจน รับจ้างทำนา อาศัยราชคหเศรษฐี มีด้วยกัน ๓ คน คือ นายปุณณะ ผู้เป็นบิดา มารดา และนางสา ซึ่งเรื่องนี้กล่าวรายละเอียดไว้แล้วในเรื่องปุณณเศรษฐี ในหนังสือ อนุปุพพิกถาทีปนี เล่ม ๑ ว่าด้วยทานกอก-กาพรรณนาการให้สาม ผู้ประสงค์จะรู้รายละเอียดก็ขอให้เปิดหนังสือนั้น ในเรื่องปูนขุ่นเศรษฐี อันเป็นตอนที่ ๑๒ ของหนังสือนั้น
ในที่นี้จะกล่าวถึงประวัติของนางอุตตรา หลังที่บิดาได้เป็นเศรษฐีแล้วเพราะกรรมดลบันดาลให้พบทองคําเป็น ในนาที่ได้ใจไปแล้ว เพราะเหตุที่ได้ถวายทานแก่ทักขิณะบุคคล ผู้เลิศ คือพระสารีบุตร ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ในครั้งนั้น
ปุณณเศรษฐีนั้นให้ปลูกเรือน ตรงบ้านเศรษฐีเก่าที่พระเจ้า พิมพิสารทรงพระราชทานให้ จึงได้รวมงานและบ้าน ฉัตรตำแหน่งเศรษฐีเป็นงานเดียวกัน ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงอนุโมทน ทานได้ตรัสอนุปุพพิกถาแก่เขา เมื่อจบธรรมกถา ท่านเศรษฐี ภรรยา และธิดาของเขาคือนางอุตตรา รวม ๓ คนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน
นางอุดตราได้เป็นสะใภ้ของราชคหเศรษฐี
ต่อมา ราชคหเศรษฐีผู้ซึ่งปุณณเศรษฐีและครอบครัวเคย อาศัยในบ้านทำงาน ได้สู่ขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้บุตรของตน ถูก ปุณณเศรษฐีปฏิเสธ จึงกล่าวว่า “อย่าทำอย่างนี้เลย ท่านอาศัยเราอยู่ ตลอดเวลาเท่านี้จึงได้สมบัติ จงให้ธิดาของท่านแก่บุตรของเราเถิด” ปุณณเศรษฐีนั้นกล่าวว่า “พวกท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ (ไม่ได้นับถือ พระพุทธศาสนา) ธิดาของเราเว้นพระรัตนตรัยเสีย ก็อยู่ด้วยไม่ได้ เราจึงไม่ให้ธิดาแก่บุตรของท่าน”
ครั้งนั้น กุลบุตรทั้งหลายมีเศรษฐีและคฤหบดีเป็นต้นเป็นอัน – พากันอ้อนวอนปุณณเศรษฐีนั้นว่า “ท่านอย่าทำลายความเป็น ไมตรีกับราชคหเศรษฐีนั้นเลย โปรดให้ธิดาแก่เขาเถิด” ปุณณเศรษฐี นั้นรับคําของคนเหล่านั้น แล้วได้ให้ธิดาในดิถีเพ็ญเดือน ๘
ครั้งนั้น ตั้งแต่มีสามี อุตตรานั้นไม่ได้เข้าไปหาภิกษุหรือภิกษุณี หญิงรับใช้ที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ตนว่า “บัดนี้ในพรรษายังเหลืออยู่เท่าไร” ถวายทานหรือฟังธรรมเลย เมื่อเวลาล่วงไป ๒ เดือนครึ่ง จึงถาม หญิงรับใช้จึงตอบว่า “ครึ่งเดือน เจ้าค่ะแม่เจ้า” อุตตรานั้นจึงส่งข่าว บอกบิดามารดาว่า “เหตุไรบิดามารดาจึงจับลูกขังไว้ในเรือนจำอย่างนี้ บิดามารดาเฆี่ยนตีฉัน ประกาศให้เป็นทาสของคนอื่นเสียยังจะดีกว่า ไม่ควรให้แก่สกุลมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้ ตั้งแต่ดิฉันมาแล้ว ก็ไม่ได้ทำบุญ แม้สักอย่างหนึ่ง เช่น ได้พบพระภิกษุเป็นต้นเลย”
คราวนั้น บิดาของนาง ได้ประกาศความเสียใจว่า ธิดาของเรา ตกทุกข์จึงส่งทรัพย์ไป ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ และส่งข่าวไปว่า “ใน นครนี้มีโสเภณีชื่อสิริมา รับทรัพย์วันละพันทุกวัน จงเอาทรัพย์นี้นํา นางมามอบแก่สามีแล้ว จงทำบุญตามชอบใจของตนเถิด” นางอุตตรา ก็กระทำอย่างนั้น
เมื่อสามีเห็นนางสิริมาจึงถามว่า “นี้อะไรกัน” จึงกล่าวว่า “พี่ท่าน สหายของฉันจะปรนนิบัติท่านตลอดครึ่งเดือนนี้ ส่วนดิฉัน ประสงค์จะให้ทานฟังธรรมตลอดกึ่งเดือนนี้
สามีของนางอุตตราเห็นนางสิริมานั้นมีรูปงาม ก็เกิดความ สิเนหาจึงรับคําว่า “ดีแล้ว”
นางอุตตราได้โอกาสทําบุญ
ฝ่ายนางอุตตรานิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดอย่าไปที่อื่น โปรดรับ อาหารในที่นี้นี่แหละตลอดครึ่งเดือนนี้” นางถือเอาปฏิญญาของ พระศาสดาแล้วดีใจว่า “ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจักได้บํารุงพระศาสดา และฟังธรรมจนถึงวันมหาปวารณา” จึงสั่งพวกสาวใช้ทั้งหลายว่า “พวกเจ้าจงต้มข้าวต้มอย่างนี้ จงหุงข้าวสวยอย่างนี้ จงทอดขนม อย่างนี้” พูดแล้วก็เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัวใหญ่
ลำดับนั้น สามีของนาง หันหน้ามองดูไปทางโรงครัวใหญ่ ด้วยคิดว่า “พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา” ยืนใกล้หน้าต่างตรวจดูว่า “หญิงโง่คนนั้นกําลังเที่ยวทำอะไรอยู่” เห็นนางนั้นมอมแมมด้วย เหงื่อเปรอะเปื้อนด้วยเขม่าเที่ยวจัดแจงอยู่อย่างนั้น จึงคิดว่า “โอ หญิงโง่ ไม่ได้เสพสิริสมบัติในฐานะเช่นนี้ กลับเที่ยวปลื้มใจอยู่ว่าจักบํารุงเหล่าสมณะหัวโล้น” จึงหัวเราะแล้วลับไป
เมื่อสามีนั้นลับไปแล้ว นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ สามีของ นางอุตตราคิดว่า “ท่านผู้นี้เห็นอะไรกันนะจึงหัวเราะ” จึงมองไปทาง หน้าต่างนั้นเช่นเดียวกัน จึงได้เห็นนางอุตตราก็คิดว่า “เขาเห็นหญิง นี้เองจึงหัวเราะ และเขาคงมีความเสน่หากับหญิงผู้นี้แน่”
นางสิริมาหึงนางอุตตราเอาเนยใสเดือดรด
ได้ยินว่า นางสิริมานั้นเป็นหญิงภายนอก อยู่เสวยสมบัตินั้น ในเรือนนั้นครึ่งเดือน ไม่รู้ความที่ตนเป็นหญิงภายนอก สำคัญว่าตน เป็นเจ้าของบ้าน นางจึงผูกอาฆาตในนางอุตตรา โดยคิดว่า “เราจะก่อทุกข์แก่มัน” คิดดังนี้แล้วก็ลงจากปราสาทเข้าไปยังโรงครัวใหญ่คว้ากระบวยตักเนยใสที่เดือดในที่ทอดขนมแล้วเดินตรงไปข้างหน้านางอุตตรา
นางอุตตราเห็นนางสิริมากําลังเดินมา จึงแผ่เมตตาไปยังนางว่า “สหายของเราได้ทำอุปการะแก่เรา จักรวาลก็ยังแคบเกินไป พรหมโลก ก็ยังต่ำเกินไป สหายของเรามีคุณยิ่งใหญ่ ถึงเราก็อาศัยนางจึงได้ ให้ทานและฟังธรรม ถ้าเรามีความโกรธในสหายผู้นี้ เนยใสนี้จงลวกเรา ถ้าเราไม่มีความโกรธ เนยใสก็จงอย่าลวกเราเลย”
แม้เนยใสที่เดือดซึ่งนางสิริมาราดลงบนศีรษะของนางอุตตรานั้น ก็เป็นประหนึ่งเนยใสเย็น
ขณะนั้น นางสิริมาคิดว่าเนยใสนี้คงจักเย็น จึงเอากระบวย ตักใหม่ถือเดินมา พวกทาสีของนางอุตตราเห็นก็ตะคอกตวาดไปว่า “เฮ้ย อีหญิงชาติชั่ว จึงไม่ควรจะราดเนยที่เดือดบนศีรษะเจ้านาย ของข้า” พูดแล้วต่างก็ลุกขึ้นรุมตบถีบจนนางสิริมาล้มลง นางอุตตราแม้จะห้ามก็ห้ามไม่ได้
ครั้งนั้น นางอุตตรายืนคร่อมอยู่ข้างบนนางสิริมา พร้อมกับ ห้ามทาสีทุกคนแล้วพูดว่า “เหตุไร ท่านจึงทำกรรมหนักเช่นนี้” ให้ โอวาทนางสิริมาแล้วก็ให้นางอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วทาด้วยน้ำมันยาที่เคี่ยวถึงร้อยครั้ง
นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา
ขณะนั้นนางสิริมารู้สึกว่าตนเป็นหญิงภายนอกจึงคิดว่า “เราราดเนยใสที่เดือดบนศีรษะหญิงผู้นี้ เพราะเหตุเพียงสามีเขาหัวเราะกระทำกรรมหนักเสียแล้ว นางไม่สั่งทาสีจับเรา แม้เวลาที่พวกทาสี ทำร้ายเราก็ยังห้ามปรามทาสีทุกคน ได้กระทำสิ่งที่ควรทำแก่เราอย่าง แท้จริง ถ้าเราไม่ขอขมานาง ศีรษะของเราก็คงจะแตก ๗ เสี่ยง” เมื่อคิดได้ดังนี้แล้ว จึงหมอบลงใกล้เท้านางอุตตรา แล้วกล่าวว่า“แม่นาย โปรดอดโทษแก่ดิฉันเถิด”
นางอุตตรากล่าวว่า “เราเป็นธิดามีบิดา เมื่อบิดาของเราอดโทษนี้ เราก็จะอดโทษให้”
นางสิริมาถามว่า “ข้อนั้นเอาเถิด แม่นาย ดิฉันจะขอโทษต่อ ปุณณเศรษฐีบิดาของท่าน”
นางอุตตราพูดว่า “ปุณณเศรษฐีเป็นบิดาในวัฏฏะ” ของข้าพเจ้า แต่เมื่อบิดาในวิวัฏฏะของข้าพเจ้าอดโทษให้แล้ว ข้าพเจ้าก็จะอดโทษ”
นางสิริมาถามว่า “ก็ใครเล่าเป็นบิดาในวิวัฏฏะของท่าน”
นางตอบว่า “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
นางสิริมากล่าวว่า “ดิฉันไม่คุ้นกับพระองค์ ดิฉันจะทำอย่างไรเล่า?”
นางอุตตรากล่าวว่า “พรุ่งนี้ พระศาสดาจักทรงพาภิกษุสงฆ์ เสด็จมาที่นี้ ขอเธอจงถือสักการะตามแต่จะได้มาในที่นี้แหละ แล้ว ขอให้พระองค์งดโทษเถิด”
นางสิริมาขอให้พระศาสดาอดโทษ
นางสิริมากล่าวว่า “ดีละแม่นาย” แล้วก็ลุกขึ้นไปเรือนของตน สั่งหญิงรับใช้ ๕๐๐ คน จัดแจงของเคี้ยวของกินและกับข้าวต่างๆรุ่งขึ้นก็ถือสักการะนั้นมายังเรือนของนางอุตตรา ไม่อาจจะวางของลง ในบาตรของภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขได้ จึงได้ยืนอยู่ นางอุตตราก็รับของนั้นมาทั้งหมดแล้วจัดการให้
ครั้นพระศาสดาเสวยเสร็จ ฝ่ายนางสิริมาพร้อมกับบริวารก็ หมอบลงแทบเบื้องบาทพระศาสดา ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถาม นางว่า “เจ้ามีความผิดอะไร”
นางสิริมากราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อวันวาน ข้าพระองค์กระทำกรรมชื่อนี้ ขณะนั้นสหายของข้าพระองค์จึงห้าม เหล่าทาสีที่จะทำร้ายข้าพระองค์ ได้กระทำอุปการะแก่ข้าพระองค์ โดยแท้ ข้าพระองค์นั้นสํานึกรู้คุณของนางจึงขอขมานาง แต่นางกล่าว กะข้าพระองค์ว่า เมื่อพระองค์งดโทษ นางจึงจักงดโทษให้”
พระศาสดาตรัสถามว่า “อุตตรา ได้ยินว่าอย่างนี้จริงหรือ”
นางอุตตราทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงพระเจ้าข้า วาน นี้หญิงสหายของหม่อมฉันได้ราดเนยใสเดือดบนศีรษะของหม่อมฉันเจ้าค่ะ”
พระศาสดาตรัสถามว่า “เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าคิดอย่างไร ?”
นางอุตตราทูลว่า “หม่อมฉันคิดอย่างนี้ว่า จักรวาลแคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำเกินไป หญิงสหายของหม่อมฉันมีคุณยิ่งใหญ่ ด้วยว่า หม่อมฉันอาศัยนางจึงได้ให้ทานและฟังธรรม หากว่าหม่อมฉันมี ความโกรธต่อนาง ขอเนยใสนี้จงลวกหม่อมฉัน ถ้าไม่มีความโกรธขอเนยใสอย่าลวก แล้วก็แผ่เมตตาไปยังนาง เจ้าค่ะ”
พระศาสดาตรัสว่า “ดีละ ดีละ อุตตรา การชนะความโกรธ อย่างนี้สมควร ก็ธรรมดาว่าผู้มักโกรธพึ่งชนะด้วยการไม่โกรธ (ตอบ) ผู้ค่าพึ่งชนะด้วยการไม่ด่า (ตอบ) ผู้บริภาษ (ตัดพ้อ) จึงชนะด้วย การไม่บริภาษ (ตอบ) ผู้ตระหนี่พึ่งชนะได้ด้วยการให้ทรัพย์สิ่งของ ของตน ผู้พูดเท็จพึ่งชนะด้วยการพูดจริง” เมื่อทรงแสดงความข้อนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
“พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะความไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะความ ตระหนี่ด้วยการให้ พึ่งชนะผู้พูดเท็จ ด้วย คําจริง.
เมื่อจบคาถาก็ได้ตรัสกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ (อริยสัจ ๔) เมื่อ จบสัจจะ นางอุตตราก็ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล สามี พ่อผัว แม่ผัว กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล แม้นางสิริมาพร้อมกับบริวาร ๕๐๐ ก็ได้เป็นโสดาบัน
ต่อมา นางอุตตราตายไปก็บังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งนั้น ท่าน พระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวจาริกตามนัยที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น พบนางอุตตราเทวธิดา จึงถามด้วยคาถาว่า (ต่อไปนี้เป็นข้อความ จากพระไตรปิฎก)
“ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสง สว่างไปทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะ บุญอะไร รัศมีกายของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะ บุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน
ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ ถามท่าน ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร ไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง อย่างนี้ และรัศมีกายของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ
เทวดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว ก็มีใจยินดี จึงตอบปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกซักถามว่า
เมื่อครั้งดิฉันอยู่ครองเรือน ไม่มีความริษยา ความตระหนี่และการตีเสมอ ดิฉันไม่เป็นคนมักโกรธ อยู่ในโอวาทของสามี เป็นผู้ไม่ประมาท เป็นนิจในวันอุโบสถ
ดิฉันถืออุโบสถประกอบไปด้วยองค์ ๘ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ดิฉันสำรวมในศีลทุกเมื่อ มีความระมัดระวัง ชอบให้ทาน จึงครองวิมานอยู่
ดิฉันเว้นขาดจากปาณาติบาต มุสาวาทอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร และเว้นไกลจากการดื่มน้ำเมา
ยินดีในสิกขาบท ๕ (ศีล ๕) รอบรู้อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระยศ ผู้มีพระจักษุ ดิฉันนั้นมียศมีเกียรติ เสวยบุญของเพราะตน มีความสุข มีอนามัยก็ด้วยศีลของตนเอง เพราะบุญนั้น รัศมีของดิฉันจึงเป็นเช่นนี้ บุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน และโภคทรัพย์ อันเป็นที่รักแห่งใจทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดิฉัน
ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอ บอกแก่ท่านว่า ดิฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง อย่างนี้ และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ
อุตตราเทพธิดา สั่งความพระมหาโมคคัลลานะว่า “ท่าน ผู้เจริญ ขอท่านพึงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย เศียรเกล้า ตามคําของดิฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อว่า อุตตรา ถวายบังคมพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ ท ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์เลย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงพยากรณ์ ดิฉันไว้ในสามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ) อันใดอันหนึ่ง เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดิฉันไว้ในสกทาคามิผลแล้ว
จากเรื่องของนางอุตตราตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสำเร็จเป็น พระอริยบุคคลขั้นสกทาคามี แล้วจุติไปอุบัติเป็นเทพธิดามีรัศมี สวยงาม มีทิพยสมบัติมาก มีอานุภาพมากในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ ชี้ให้เห็นว่า นางได้สั่งสมบุญไว้มากเพียงไร มีจิตใจสูงส่งเพียงไร และมั่นคงในพระพุทธศาสนาเพียงไร ในฐานะเป็นอริยสาวิกาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสมัยที่เป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก
แม้นางจะเป็นธิดาคนเดียวของปุณณเศรษฐี ผู้เคยเป็นคนจนรับจ้างไถนาของราชคหเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ไม่มีแม้ กระทั่งบ้านเป็นที่อาศัยของตนเอง ต้องอาศัยบ้านของท่านเศรษฐี นับว่าชีวิตเบื้องต้นเกิดมาตกยากลำเค็ญมาก
แต่นางได้บิดามารดาที่ใฝ่ใจในพระพุทธศาสนา แม้จะยากจน ก็ไม่ทอดทิ้งการทำบุญทำทาน แม้ในวันนักขัตฤกษ์ ชาวบ้านชาวเมือง เขาไปเที่ยวกันอย่างสนุกสนานในงานประจำปีของบ้านเมือง แต่ก็ ไม่ยอมไปเที่ยวงาน ยังคงรับจ้างไถนา ไม่ยอมหยุดงาน เพราะยากจน
เหตุที่ครอบครัวของนางร่ำรวยจนเป็นเศรษฐี ก็เพราะบิดา ของนางได้ถวายไม้ชําระฟันและกรองน้ำฉันใส่บาตรถวายพระสารีบุตรเถระ ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติในวันนั้น ขณะที่เขากําลังไถนาอยู่ และ มารดาของนางก็ได้ถวายภัตตาหารแก่พระเถระในวันนั้นเช่นกัน ทำให้ครอบครัวนี้เป็นเศรษฐีขึ้นในวันเดียว
นางอุตตรา แม้เมื่ออยู่กับสามีผู้เป็นบุตรของราชคหเศรษฐี ก็ไม่ทอดทิ้งการทำบุญในพระศาสนา เพราะการช่วยเหลือของบิดาจึงได้มีโอกาสทำบุญถวายทานแด่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายตลอดเวลาถึงเดือนใกล้ออกพรรษา นางได้รักษาศีลอุโบสถและถวาย ทานเป็นอันมาก สมกับที่เป็นอริยสาวิกาผู้มั่นคงในพระรัตนตรัย ทั้ง ซื่อสัตย์ต่อสามี และเป็นที่รักใคร่ของทุกคนในบ้าน แม้แต่คนใช้
นางเป็นคนกตัญญูสูง รู้บุญคุณของคนที่มีบุญคุณแก่ตน แม้ถูกนางสิริมาริษยาถึงกับเอาน้ำเนยใสร้อนราดลงบนศีรษะก็ไม่ผูกโกรธยังแผ่เมตตาให้แก่นางเสียอีก ยังห้ามพวกทาสีของตนไม่ให้ทำร้ายนางสิริมา ซ้ำยังให้อภัยและรักษาอาการฟกช้ำแก่นางสิริมาที่ถูกทุบตีให้เสียอีก เป็นการชนะคนโกรธด้วยการไม่โกรธตอบ ชนะคนไม่ดี ด้วยการทำดีตอบ นับว่าจิตใจของนางประเสริฐแท้ นับเป็นตัวอย่างที่ ดีเลิศของผู้ประพฤติธรรม สมกับเป็นอุบาสิกา ผู้เป็นอริยสาวิกาโดยแท้
โสณทินนาวิมาน๑
เรื่องโสณทินนาวิมานนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิมานวัตถุ แต่ท่าน ขยายความออกไปจนกล่าวถึงเหตุเกิดของเรื่องนี้ไว้ ในคัมภีร์อรรถกถาปรมัตถทีปนี ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้น อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อโสณทินนา ในเมืองนาลันทา มีศรัทธา เลื่อมในพระรัตนตรัย บํารุงภิกษุทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ มี นิจศีลอันบริสุทธิ์ดี เข้ารักษาแม้อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
นางโสณทินนานั้น ได้ความสะดวกในการฟังธรรม เมื่อเพิ่มพูน กัมมัฏฐานในสัจจะ ๔ อยู่ ก็ได้เป็นโสดาบัน เพราะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ต่อมา นางเป็นโรคชนิดหนึ่งแล้วก็ถึงแก่กรรมไปเกิดในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้สอบถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถา ๓ คาถาว่า (ต่อไปนี้เป็นข้อความจากพระไตรปิฎก)
“ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมี ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ ดำรงอยู่เหมือนดาว ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติ ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมา ขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญ อะไรไว้ และเพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ
เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถาม แล้วก็มีใจยินดี ได้ตอบปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูก ถามว่า
ชนชาวเมืองนาลันทา รู้จักดิฉันว่าโสณทินนา ดิฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา เป็นผู้ สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานเสมอ ดิฉันมีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีปเครื่องอุปกรณ์ แก่พระอริยะผู้ปฏิบัติตรง
ดิฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ วัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ดิฉันรักษาอุโบสถ เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีล ทุกเมื่อ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกล จากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจาก มุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา ดิฉันเป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ (ศีล ๕) มีปัญญาเฉลียวฉลาดในอริยสัจ
ดิฉันเป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระ จักษุ และพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดิฉัน จึงมีรัศมีเช่นนี้ อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน และ โภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ดิฉัน ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอ บอกแก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดิฉันได้กระทำ บุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง อย่างนี้ และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ” เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า การที่นางโสณทินนา ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ และได้วิมานอันเพียบพร้อมด้วยสมบัติเป็นอันมาก ก็เพราะในสมัยที่ เป็นมนุษย์ นางได้ให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีลอุโบสถ ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์
ใครก็ตาม ถ้าได้ทำบุญกุศลเช่นนี้ ก็ย่อมพบความสุข ความ รุ่งเรืองในชีวิต ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ทั้งย่อมบันเทิงในสวรรค์ แม้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ก็ย่อมเพียบพร้อมด้วยความสุข และ สิริสมบัติเป็นอันมาก อย่างแน่นอน
ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า
“ผู้ที่ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ตายจากโลกนี้ไปแล้วก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิง ในโลกทั้งสอง เขาย่อมบันเทิงว่า เราได้ทำบุญไว้ แล้วไปสู่สุคติแล้วก็ย่อมบันเทิงยิ่งขึ้น.”
ตอนที่ ๑๙
อนาคาริยวินัย
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีล ในตอนที่ ๑๕ นี้ จะได้พูดถึง ศีลของบรรพชิตหรือนักบวช ที่เรียกว่า “อนาคาริยวินัย”
ศีลกับวินัยอันเดียวกันนั่นเอง ถ้าพูดโดยทั่วไปท่านเรียกว่า “ศีล” แต่ถ้าพูดแยกให้ละเอียดออกไป ศีลนั้นท่านเรียกว่า “วินัย” เช่น พระสงฆ์มีวินัย ก็คือพระสงฆ์มีศีลนั่นเอง
วินัย คือ อุบายเครื่องแนะนํา คือนําคนให้มีระเบียบ เป็น คนดีน่าเคารพ น่านับถือ เพราะมีระเบียบวินัยดี แม้แต่ทหาร ตำรวจ หรือข้าราชการ ก็ต้องมีวินัยของตน ๆ เหมือนกัน ขาดระเบียบวินัย ก็วุ่นวาย เดือดร้อน ฉะนั้น วินัยจึงทำตนหรือสังคมให้เรียบร้อยให้ สงบสุข
พระพุทธเจ้าทรงวางระเบียบวินัยไว้สำหรับพุทธศาสนิกชน ทุกคนให้ทุกคนได้มีระเบียบวินัย เพื่ออยู่กันอย่างสงบสุข และเพื่อ ส่งเสริมให้การปฏิบัติสมาธิและปัญญาได้ผลดีโดยตรงอีกด้วย
วินัยของพระพุทธเจ้าก็คือกฎหมายของชาวพุทธนั่นเอง ผู้มีวินัย ก็คือมีศีลนั่นเอง ผู้ไม่มีวินัยก็คือผู้ไม่มีศีล
วินัยคือศีลที่ปฏิบัติถูกต้องดีแล้ว จัดเป็นมงคลชีวิตอย่างหนึ่ง ในมงคล ๓๘ ประการ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมงคลสูตร คาถาที่ ๔ ว่า
พาหุสจฺจญฺจ สิปฺปญฺจ วินโย จ สุสิกฺขิโต
สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ.
การได้รับการศึกษาเล่าเรียนมาก ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว (ปฏิบัติถูก) ๑ วาจาสุภาษิต ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นมงคล (คือความเจริญก้าวหน้าของชีวิต) อย่างสูงสุด
วินัยทางพระพุทธศาสนา ท่านแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน
๒. อนาคาริยวินัย วินัยของบรรพชิตหรือวินัยของนักบวชผู้ไม่ครองเรือน
อาคาริยวินัย วินัยของฆราวาสหรือคฤหัสถ์ก็คือศีลของคฤหัสถ์ นั่นเอง ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ๆ ที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่กล่าว ถึงศีลของคฤหัสถ์ แต่ในตอนนี้ จะได้กล่าวถึงศีลของบรรพชิต ที่เรียกว่า “อนาคาริยวินัย” โดยเฉพาะ
แท้ที่จริง ในอนุปุพพิกถา คือธรรม ๕ ประการที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงไปตามลำดับ คือ ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และ อานิสงส์ของการออกบวช ตรัสแก่ฆราวาสโดยเฉพาะ เพราะมุ่งแสดง แก่คฤหัสถ์ – ผู้ครองเรือนเท่านั้น เพื่อฟอกจิตให้สูงขึ้นตามลำดับ แล้วจบลงด้วยทรงแสดงอริยสัจ ๔ แม้ศีลไม่ได้ตรัสถึงศีลของบรรพชิต ทรงมุ่งแต่ศีลของคฤหัสถ์เท่านั้น
แต่ในตอนนี้ ที่ได้นําศีลของบรรพชิตที่เรียกว่า อนาคาริยวินัย มากล่าวไว้ด้วย ใน ๒ ตอนสุดท้ายของหนังสือนี้ ก็เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนที่เป็นคฤหัสถ์ได้ทราบถึงศีลหรือวินัยของบรรพชิต และเพื่อจะได้มีส่วนช่วยเหลือบรรพชิตให้ได้รับความสะดวกในการ ในหลักใหญ่ ๆ ที่ควรทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องต่อบรรพชิต รักษาศีลของตน เพื่อความเจริญมั่นคงในพระศาสนา ในฐานะที่เป็น พุทธศาสนิกชน ผู้หวังความเจริญมั่นคงของพระพุทธศาสนา
บรรพชิต – นักบวชในพระพุทธศาสนา ท่านเรียกว่า สหธรรมิก คือ ผู้ประพฤติธรรมของพระพุทธเจ้าร่วมกัน มี ๕ จําพวก คือ
๑.ภิกษุ
๒. ภิกษุณี
๓. นางสิกขมานา
๔. สามเณร
๕. สามเณรี
ในปัจจุบัน สหธรรมิกทั้ง ๕ ประเภทนั้น ยังเหลืออยู่ ๒ ประเภทเท่านั้น ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท คือ ภิกษุและสามเณร ส่วนฝ่ายสตรี คือ นางภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรี ได้หมด เชื้อสายไปนานแล้ว
การที่นางภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรี ในพระพุทธ ศาสนาฝ่ายเถรวาท ๑ ได้หมดเชื้อไปก็เพราะขาดพระอุปัชฌาย์ จึงบวชไม่ได้ เดี๋ยวนี้ คนไทยบางคน หรือชาวต่างประเทศบางคน ถ้า ต้องการบวชเป็นนางภิกษุณี ก็ต้องไปบวชในสงฆ์จีน แต่ผู้หญิงที่จะ บวชเป็นนางภิกษุณีได้ ต้องบวชในคณะสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายภิกษุ สงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์ ก็เมื่อพระอุปัชฌาย์ของนางภิกษุณีที่ เรียกว่า “ปวัตตนี” หมดเชื้อสายไปนานแล้ว จะเอาจากนิกายอื่น พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทโดยเฉพาะพระสงฆ์ไทยไม่ยอมรับ ถ้าไปบวช มาจากฝ่ายมหายาน พระสงฆ์ฝ่ายเถรวาทก็ไม่ยอมรับภิกษุฝ่าย มหายานว่ามีศีล ๒๒๗ ครบบริบูรณ์เหมือนฝ่ายเถรวาท เพราะสงฆ์ ฝ่ายมหายานนั้นประพฤติพระวินัยแปลกออกไปเป็นอันมาก เช่นในบางประเทศ เขาไม่ถือศีล ๒๒๗ แต่ไปถือศีล พระโพธิสัตว์ ๓๕ ข้อ จนถึงกับมีครอบครัวได้ เช่น ในประเทศญี่ปุ่น พระมี ครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ ถ้านางภิกษุณีไปบวชมากับพระเหล่านั้น ไทยเราก็ไม่ยอมรับ เพราะถือว่าไปบวชมากับผู้ไม่มีศีล ๒๒๗ ฉะนั้นจึงไม่ยอมรับ
ในสมัยพุทธกาล หรือในสมัยที่ยังมีนางภิกษุณีอยู่นั้น สหธรรมิก ๕ ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร และ สามเณรี
พระภิกษุมีศีล ๒๒๗ ส่วนนางภิกษุณีมีศีล ๓๑๑ ข้อ ทําไมศีลของนางภิกษุณีจึงมีมากกว่าของภิกษุ เพราะสตรีมีเรื่องจุกจิก มากกว่าผู้ชาย ถ้าไม่มีข้อบังคับไว้ สังฆมณฑลจะไม่สงบเรียบร้อย อันจะทำให้สังฆมณฑลเสื่อมไปได้ง่ายด้วย ดังนั้น เพื่อความเรียบร้อย และเพื่อความมั่นคงแห่งสังฆมณฑล นางภิกษุณีจึงต้องมีศีลมากกว่าพระภิกษุ
พระพุทธองค์ไม่ประสงค์จะให้นางภิกษุณีเข้ามาบวชง่ายๆเพราะถ้าบวชเข้ามาง่าย ๆ จะทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมไว จึง ต้องมีข้อจํากัดไว้มาก ทั้ง ๆ ที่พระองค์ทรงตั้งปณิธานไว้ที่เรียกว่า ทรงปลงอายุสัง ขาราธิษฐานไว้แล้ว หลังจากการตรัสรู้ใหม่ สมัย เมื่อพระองค์เสวยวิมุตติสุขอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธในสัปดาห์ที่ ๒(ตามนัยอรรถกถาบอกว่าเป็นสัปดาห์ที่ ๕) โดยพระองค์ทรงตั้งพระทัย ไว้ว่า “ถ้าบริษัททั้ง ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่ แพร่หลายมั่นคง และยังไม่อาจจะแก้ปรับปวาท (การกล่าวคู่ของ ฝ่ายอื่น) ได้ตราบใด เราจักไม่เข้าสู่นิพพานตราบนั้น”
การที่ทรงปลงอายุสังขาราธิษฐานหรือทรงตั้งปณิธานเช่นนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่า พระพุทธองค์ทรงต้องการให้มีนางภิกษุณีขึ้นในสังฆมณฑลตั้งแต่ก่อนประกาศพระศาสนาแล้ว ไม่ใช่ไม่ต้องการ ดังที่บางท่านเข้าใจกัน เพราะถ้าไม่ต้องการแล้ว จะทรงตั้งปณิธาน ให้มีบริษัท ๔ ในครั้งนั้นไว้ทําไม แต่ที่ไม่ทรงอนุญาตให้นางภิกษุณี เข้ามาบวชง่าย ๆ เพราะต้องการให้บวชอย่างมีเงื่อนไข คือ ครุธรรม ๘ ประการ มิฉะนั้นแล้ว พระศาสนาจะเสื่อมได้ไว
เพราะฉะนั้น เมื่อนางมหาปชาบดีโคตมีทรงยอมรับครุธรรม ๘ ประการ โดยไม่ก้าวล่วงตลอดชีวิต ได้บวชเป็นนางภิกษุณีแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
“ดูก่อนอานนท์ หากมาตุคาม (สตรี) จักไม่ได้ออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์ (พระศาสนา) จักตั้งอยู่ได้นาน พระสัทธรรมจึงดำรงอยู่ได้นาน ๑,๐๐๐ ปีแต่เพราะมาตุคามออกบวชเป็นบรรพชิตในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่นานทั้งพระ สัทธรรมก็จักตั้งอยู่เพียง ๕๐๐ ปี
ดูก่อนอานนท์ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ที่มีหญิงมาก ชายน้อย ตระกูลนั้นถูกพวกโจรกําจัดได้ง่าย แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวช เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูก่อนอานนท์ ขยอก (หนอนชนิดหนึ่งกินต้นข้าว) ลงใน นาข้าวสาลีที่สมบูรณ์ นาข้าวสาลีนั้นไม่ตั้งอยู่ได้นาน แม้ฉันใด มาตุคามได้ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้นย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นาน ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูก่อนอานนท์ เพลี้ยลงในไร่อ้อยที่สมบูรณ์ ไร่อ้อยนั้น ไม่ตั้งอยู่ได้นาน แม้ฉันใด มาตุคามออกบวชในพระธรรมวินัยใด พรหมจรรย์ในธรรมวินัยนั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่นาน ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนอานนท์ บุรุษกั้นสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลออก แม้ฉันใด เราบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ ไม่ให้นางภิกษุณีก้าวล่วง ตลอดชีวิตไว้ก่อน ฉันนั้นเหมือนกัน”
มีข้อที่น่าสังเกตหรือน่าพิจารณาอยู่ในพระพุทธดํารัส เปรียบเทียบของพระพุทธองค์ ในโคตมีสูตร” คือ ถ้าสตรีไม่ได้เข้ามา บวชเป็นนางภิกษุณีในพระพุทธศาสนา พรหมจรรย์คือพระศาสนา จะตั้งอยู่ได้นานถึง๑,๐๐๐ ปี แต่ถ้านางภิกษุณีเข้ามาบวชแล้วพระศาสนาจะดำรงอยู่เพียง ๕๐๐ ปีความหมายของตัวเลข ๑,๐๐๐ ปีและ ๕๐๐ ปี ของพุทธพจน์ในพระสูตรคืออะไร ?
ถ้าเป็นจริงตามความหมายที่เข้าใจกันนั้น พระพุทธศาสนาก็คงหมดไปนานแล้ว เพราะนางภิกษุณีก็เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา แล้ว แต่พระศาสนาก็ยังดำรงอยู่ถึง ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่เกิดมี นางภิกษุณีขึ้นในพุทธศาสนาแล้ว ก็เพราะความหมายในพระพุทธพจน์ ข้างต้นนั้น เป็นเพียงสมมติตัวเลขขึ้นเท่านั้นเอง เพื่อเปรียบเทียบ ให้เข้าใจ คือ ถ้าพระศาสนาจะดำรงอยู่ ๑,๐๐๐ ปี ถ้านางภิกษุณี เข้ามาบวชแล้ว พระศาสนาก็จะมีอายุลดลงครึ่งหนึ่ง คือมีอายุเพียง ๕๐๐ ปี แต่ถ้าหากว่าพระศาสนาจะมีอายุสักหมื่นปี เมื่อมีนางภิกษุณี บวชเข้ามา พระศาสนาก็จะมีอายุ ๕,๐๐๐ ปี แต่ถ้าตั้งสมมติอีกว่า ถ้าพระศาสนาจะมีอายุ ๑ แสนปี เมื่อมีนางภิกษุณีบวชเข้ามา พระศาสนาก็จะมีอายุเพียง ๕ หมื่นปี เป็นต้น
เมื่อไม่เข้าใจสมมติตัวเลขก็ผิดกันไปใหญ่ ตามความคิดเห็น ของพระอาจารย์ทางพระพุทธศาสนาในรุ่นหลัง
ในสมัยแรก ๆ สันนิษฐานว่า พุทธศาสนิกชนที่ทราบพุทธพจน์ ก็จะคิดว่า พระศาสนาจะมีอายุเพียง ๕๐๐ ปีจริง ๆ เพราะนางภิกษุณี เข้ามาบวชแล้ว แต่เมื่อล่วงเลย ๕๐๐ ปีไปแล้ว พระอรรถกถาจารย์ จึงตีความหมาย ๑,๐๐๐ ปี เป็น เป็น ๑๐,๐๐๐ ปี และขยาย ๕๐๐ ปี เป็น ปี ๕,๐๐๐ ปี แล้วมีความเชื่อถือกันเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันว่า พระศาสนาจะมีอายุเพียง ๕,๐๐๐ ปี
เพราะฉะนั้น ในประเทศไทยเราหรือทั่วโลก เมื่อพุทธศาสนา ล่วงไปได้ ๒,๕๐๐ ปี จึงมีการฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือกึ่งพุทธกาลขึ้น
แท้ที่จริง อายุพระพุทธศาสนาไม่ถึงถึงอะไรเลย เพราะ พระพุทธเจ้าทรงวางครุธรรม ๘ ประการ กันความเสื่อมไว้แล้ว เหมือนบุรุษกันสระใหญ่ไว้ก่อน ไม่ให้น้ำไหลออกฉะนั้น
ความจริง ศาสนาจะเสื่อมหรือเจริญขึ้นอยู่กับบริษัททั้ง ๔ ว่า ยังปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างถูกต้องอยู่มากน้อยหรือไม่เพียงใด เท่านั้น ดังพระพุทธภาษิตยืนยัน ในมหาปรินิพพานสูตร” ว่า
“อิเม จ สุภทฺท ภิกฺขู สมฺมา วิหเรยฺยุํ, อสุญฺโญ โลโก อรหนฺเตหิ อสฺส – ดูก่อนสุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้พึงปฏิบัติชอบอยู่ (ตราบใด) โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย (ตราบนั้น)”
ฉะนั้น แม้นางภิกษุณีเข้ามาบวชในพระศาสนาแล้วก็ตาม พระศาสนาก็ยังดำรงมั่น ตราบเท่าที่ชาวพุทธยังปฏิบัติตามอริยมรรค มีองค์ ๘ อยู่ แต่ถ้าชาวพุทธทอดทิ้งอริยมรรคมีองค์ ๘ เมื่อใด พระพุทธศาสนาก็สูญไปจากโลกเมื่อนั้น แต่ถ้ายังปฏิบัติตามอริยมรรค ถูกต้องอยู่ตราบใด พระพุทธศาสนาก็จะดำรงมั่นอยู่ในโลกตราบนั้นเพราะแม้นางภิกษุณีเข้ามาบวชในพระศาสนา พระผู้มีพระภาคก็ทรง วางครุธรรมป้องกันไว้แล้ว
นางสิกขมานาถือศีล ๑๐ เช่นเดียวกับศีลของสามเณรหรือ สามเณรี เป็นเพียงแต่ว่าต้องรักษาศีล ๖ ข้อแรก ไม่ให้ขาดเลยเป็น เวลา ๒ ปี จึงจะบวชเป็นนางภิกษุณีได้ ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งใน ๖ ข้อนั้น ต้องเริ่มต้นใหม่
ศีลของสามเณร
สามเณรหรือสามเณรไม่ใช่ถือศีล ๑๐ ข้อแต่เพียงอย่างเดียวดังที่เข้าใจกันทั่วไป ศีล ๑๐ ของสามเณรนั้น คือ ศีลที่รับในวันบวช ๑๐ ข้อ แต่เมื่อบวชแล้ว สามเณรต้องรักษาศีลถึง ๑๐๐ ข้อ คือ
๑. นาสนังคะ ๑๐
๒. ทัณฑกรรม ๑๐
๓. อัชณาจาร ๕
๔. อนาจาร ๒๕
ศีล ๑๐
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการเสพเมถุน
๔. เว้นจากการพูดเท็จ
๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมา
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
๗. เว้นจากการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่น ที่เป็นข้าศึกต่อบุญกุศล
๘. เว้นจากการแต่งและประดับร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม เครื่องทา เครื่องย้อมผัดผิวให้งาม
๙. เว้นจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงและใหญ่
๑๐. เว้นจากการรับเงินทอง
นาสนังคะ ๑๐
๑.ฆ่าสัตว์ ๖. ติเตียนพระพุทธเจ้า
๒. ลักทรัพย์ ๗. ติเตียนพระธรรม
๓. เสพเมถุน ๘. ติเตียนพระสงฆ์
๔. พูดเท็จ ๙. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
๕.ดื่มน้ำเมา ๑๐. ข่มขืนนางภิกษุณี
ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าประพฤติล่วงหรือขาดข้อใดข้อหนึ่ง ข้ออื่น ๆ ที่เหลือก็ขาดหมด จะต้องขอศีลใหม่
ทัณฑกรรม ๑๐
ทัณฑกรรม คือ การลงโทษ ถ้าทำผิดเข้าแล้วต้องถูกทำโทษ เช่น ให้กวาดวัด ให้ล้างส้วม หรือให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ พระสั่งลงโทษตามระเบียบ ถ้าทำทัณฑกรรมแล้ว ศีลบริสุทธิ์ เหมือนเดิม ทัณฑกรรม ๑๐ ก็คือ
๑ – ๕ คือ การประพฤติล่วงศีล๑๐ เฉพาะ ๕ ข้อสุดท้าย
๖. ขัดลาภภิกษุ
๗. ทำความหายนะให้ภิกษุ
๘. ทำไม่ให้ภิกษุอยู่สบาย
๙. ด่าว่าภิกษุ
๑๐.ยุยงให้ภิกษุแตกกัน
อัชฌาจาร ๕
อัชฌาจาร คือ ความเศร้าหมองของศีล ได้แก่การประพฤติ ล่วงอาบัติ ๕ ข้อแรกของอาบัติสังฆาทิเสส ๑๓ ของพระภิกษุ คือ
๑.แกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน
๒. จับต้องกายหญิงด้วยความกำหนัด
๓.มีความกำหนัดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง
๔. มีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม
๕.ชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน
อนาจาร ๗๕
อนาจาร คือ ความประพฤติไม่เหมาะสม คือไม่ควรแก่เพศ และภาวะของบรรพชิต ได้แก่ เสขิยวัตร ๒๕ ของพระภิกษุนั้นเอง ผู้ประสงค์จะทราบรายละเอียดโปรดดูได้ในวินัยบัญญัติ หนังสือนวโกวาท
มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อย เข้าใจว่าสามเณรมีศีลแค่ ๑๐ ข้อ เท่านั้น แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะถ้ามีศีลแค่ ๑๐ ขอ ข้อ สามเณรที่มีศีลมากกว่าฆราวาสผู้ถือศีล ๘ เพียงข้อเดียว เพราะ ในศีลของสามเณรได้แยกศีล ๘ ของคฤหัสถ์ข้อที่ ๗ ออกเป็น ๒ ข้อ ซึ่งเพิ่มมาจากศีลของคฤหัสถ์เพียงข้อเดียว คือการไม่จับต้อง เงินทอง หรือถ้าสามเณรมีเพียงศีล ๑๐ ก็สามารถนุ่งกางเกง หรือ เป็นอยู่แบบฆราวาสได้ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะสามเณร มีศีลหรือสิกขาบทถึง ๑๐๐ ข้อ นอกจากนี้ก็ยังถือศีลจำนวนมาก ที่มานอกพระปาฏิโมกข์คล้ายกับพระภิกษุสงฆ์ด้วย เช่น ห้ามนั่งกางเกง ห้ามไว้ผมยาว และเล่นอย่างเด็ก เป็นต้น เพราะสามเณร ตามความหมายของศัพท์ก็คือ เชื้อสายของสมณะ ผู้สงบคือพระภิกษุนั่นเอง
ทัณฑกรรมของสามเณร ถ้าประพฤติล่วงเข้าข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อแล้ว ไม่ขาดจากความเป็นสามเณร แต่เป็นทัณฑกรรม คือต้องถูกลงโทษ เช่น ให้กวาดวัด หรือล้างส้วม เป็นต้น ศีลจึงจะบริสุทธิ์ หรือขอศีลเสียใหม่ก็ได้
ทัณฑกรรมนี้ ในวัดโสมนัสวิหารวางกฎไว้แน่นอน คือ ให้ สามเณรขอทัณฑกรรมเดือนละ ๒ ครั้ง ทุกวันโกนใหญ่ (คือวันโกน ของวันพระ ๑๔ ค่ำ หรือวันพระ ๑๕ ค่ำ) เพื่อให้ศีลบริสุทธิ์ เมื่อ พระเถระสั่งลงทัณฑกรรมแล้วสามเณรรูปนั้นต้องไปทำทัณฑกรรม เช่น ตัดหญ้าหรือกวาดวัด หรือล้างส้วม เป็นต้น ศีลจึงจะบริสุทธิ์ได้ แต่ถ้าศีลในฝ่ายนาสนั่งคะขาดไป จะทำทัณฑกรรมแทนไม่ได้ เพราะ ขาดจากความเป็นสามเณรไปแล้ว ต้องขอศีลใหม่เท่านั้นเอง แต่วัด ต่าง ๆ นิยมให้สามเณรต่อศีลทุก ๑๕ วัน เพื่อศีลจะได้บริสุทธิ์ เพราะ ศีลของสามเณรย่อมขาดง่าย เนื่องจากอายุยังน้อยอยู่ ฉะนั้น เพื่อความ บริสุทธิ์ สามเณรจึงต้องต่อศีลทุก ๑๕ วัน หรือทุกครั้งที่ศีลขาด แม้สามเณรีก็รักษาศีลเช่นเดียวกับสามเณร
ในปัจจุบัน ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แม้จะไม่มีนาง ภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรี แต่ก็มีแม่ชีเข้ามาแทนที่ และ ที่นิยมบวชชั่วคราวกันมาก คือ บวชเนกขัมมะ หรือที่เรียกกันว่า บวชชีพราหมณ์ ก็สามารถทำหน้าที่แทนนางภิกษุณี นางสิกขมานา และสามเณรีได้ ถ้าหากว่าบวชด้วยศรัทธาและปฏิบัติหน้าที่ของตนจริง ๆ ทั้งไม่ต้องรักษาศีลมากเหมือนนางภิกษุณีด้วย จะมีความ คล่องตัวในการเป็นอยู่มากกว่า เพราะครองเพศเป็นนักบวชคือโกนหัว และนุ่งขาวห่มขาว อันเป็นสัญลักษณ์ของผู้บริสุทธิ์ ทั้งมีโอกาส บรรลุมรรคผลได้เช่นเดียวกันกับพระภิกษุและสามเณร เพราะแม้แต่ ผู้ครองเพศฆราวาส ยังไม่ได้บวชก็ยังบรรลุมรรคผลได้ เช่น พระยสะ ก็สำเร็จพระอรหันต์ก่อนบวช พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา ก็สำเร็จพระอรหันต์ก่อนนิพพานในเพศของฆราวาส
ฉะนั้น ใครก็ตาม ไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ ถ้ามุ่งปฏิบัติตาม อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ศีล สมาธิ และปัญญาแล้ว ย่อมงดงาม น่าเคารพ น่านับถือ พบความสงบสุขในชีวิตเพิ่มขึ้น และเป็นไป เพื่อความสิ้นทุกข์ในที่สุดอย่างแน่นอน.
ตอนที่ ๒๐
ศีลของพระภิกษุ
สีลกถา – การพรรณนาเรื่องศีล ในตอนที่ ๒๐ นี้ จะได้กล่าว ถึงศีลของพระภิกษุโดยเฉพาะ เพื่อการพรรณนาเรื่องศีลนี้สมบูรณ์ เพราะหากพูดถึงศีลของฆราวาสอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงศีลของ บรรพชิต ก็เหมือนกับว่า พูดให้ฆราวาสรู้เพียงฝ่ายเดียว เพราะใน การบรรยายเรื่องศีลที่เรียกว่า “สีลกถา” นั้น ในเบื้องต้นก็ได้พูดถึง ความสำคัญของศีลรวมกัน ทั้งศีลของบรรพชิตและศีลของคฤหัสถ์ เป็นเพียงแต่ว่า ในหนังสือนี้จะย้ำศีลของคฤหัสถ์เป็นส่วนใหญ่ เท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อมุ่งให้พุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ได้เข้าใจเรื่องการ รักษาศีล เห็นความสำคัญของศีลและพากันรักษาศีลให้มากขึ้น อันจะ สร้างความสงบสุขแก่ตัวผู้ปฏิบัติและสังคมโดยส่วนรวมมากขึ้น สมตามจุดมุ่งหมายของพระธรรมหมวดนี้ คือ “อนุปุพพิกถา” ที่ พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่คฤหัสถ์เท่านั้น เพื่อฟอกจิตให้สูงขึ้น ตามลำดับ เพื่อรับพระธรรมเทศนาสูงขึ้น คือ อริยสัจ ๔ อันเป็นจุด มุ่งหมายที่แท้จริงของพระธรรมเทศนา “อนุปุพพิกถา”
จุดมุ่งหมายในการเขียนหรือในบรรยายอนุปุพพิกถานี้ ก็เพื่อ ให้ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้ทราบทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่มุ่งแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อทราบและเข้าใจชัดแล้วจะได้ปฏิบัติและแนะนําผู้อื่นได้ดีเพิ่มขึ้นอันเป็นการสร้างความมั่นคงและความสงบสุขให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาได้ส่วนหนึ่ง แม้คฤหัสถ์ก็ควรทราบเรื่อง ศีลของบรรพชิตบ้างตามสมควร เพื่อได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้องกับ พระภิกษุสามเณรผู้ต้องรักษาศีลในพระศาสนา หรือเพื่อว่า เมื่อตน ออกบวชบ้างก็จะได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องศีลในพระพุทธศาสนา ในระดับต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ทั้งจะปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นอีกด้วย
หนังสือนี้ แม้ภิกษุสามเณรเองก็ควรอ่าน เพื่อประดับความรู้ ของตน และเพื่ออบรมสั่งสอนผู้อื่น ฉะนั้นในตอนที่ ๑๙ และตอนที่ ๒๐ ของหนังสือนี้ จึงบรรยายถึงศีลของบรรพชิตเป็นสำคัญ
วินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนาทีเดียว ถ้าวินัยขาดแล้ว อย่างอื่นก็ขาดหมด เพราะฉะนั้น ในบรรดาคําสอนของพระพุทธเจ้า ท่านยกวินัยขึ้นก่อนว่า พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม ในสมัย สังคายนาร้อยกรองคําสอนของพระพุทธเจ้าก็ยกวินัยขึ้นก่อน เพราะ ถ้าวินัยขาดแล้วอย่างอื่นก็ขาดหมด เหมือนกับต้นไม้ ถ้ารากแก้ว ขาดแล้วก็ต้องตาย ถ้าพระสงฆ์ไม่มีเสียแล้ว พุทธศาสนาก็เสื่อม ไปได้ง่ายที่สุด เพราะว่าเมื่อพระสงฆ์ไม่มีวินัยแล้วก็เป็นชาวบ้านไป
ฉะนั้น ในสมัยหนึ่ง พระสารีบุตรได้มานั่งในที่หลีกเร้น พิจารณาอยู่ว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้าที่ล่วงลับมาแล้วสมัยก่อน ทั้ง ๖ พระองค์ ศาสนาของพระองค์ยั่งยืนนานเหมือนกันหรือต่างกันเมื่อคิดอย่างนี้แล้วก็เข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ศาสนาของพระ พุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วนั้น ยั่งยืนเหมือนกันหรือต่างกัน” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ต่างกัน” คือศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สิกขี วิปัสสี และเวสสภู ๓ องค์นี้ไม่ยั่งยืน เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ๓ พระองค์นี้ไม่บัญญัติพระวินัยแล้วไม่มีการสวดพระปาฏิโมกข์ จึง ทําให้ศาสนานี้เสื่อมไว พระที่อยู่ในยุคหลัง พอหมดจากยุคที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์แล้วก็ไม่มีใครที่จะรักษาธรรมเนียมที่ดีเอาไว้ศาสนาก็หมดไป
ศาสนาของพระพุทธเจ้าอีก ๓ พระองค์ คือ กกุสันธะ โกนา คม และกัสสปะ ทั้ง ๓ องค์นี้ยังยืนอยู่ได้นาน เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระวินัยและสวดปาฏิโมกข์
พระสารีบุตรจึงทูลถามว่า “เหตุที่จะให้พระศาสนาดำรงอยู่ หรือศาสนาเสื่อมไปนั้น เพราะอะไร ?” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ศาสนา จะดำรงอยู่ได้นานก็เพราะมีการบัญญัติพระวินัยและมีการสวดพระ ปาฏิโมกข์” พระสารีจึงทูลว่า “สมควรแล้ว พระองค์จะทรงบัญญัติ พระวินัยเสีย แล้วจะให้พระสงฆ์ได้สวดพระปาฏิโมกข์” พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “สารีบุตร ตอนนี้ยังไม่สมควรก่อนที่จะบัญญัติพระวินัย” คือ ในสมัยนั้นพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นพระอริยบุคคล คืออย่างน้อยก็เป็น โสดาบัน อย่างสูงก็เป็นพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัส ว่า “สมัยนี้ยังไม่ใช่โอกาสที่สมควรจะบัญญัติพระวินัย ตราบใดที่ อาชวัฏฐานิยธรรม คือ ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ คือการประพฤติ ผิดเสื่อมเสียยังไม่เกิดขึ้นในหมู่สงฆ์หนึ่ง ตราบใดที่หมู่สงฆ์ยังไม่แผ่ กว้างขวางหนึ่ง ถ้าทั้งสองอย่างนี้ยังไม่เกิดขึ้น ก็ยังไม่สมควรที่จะบัญญัติ พระวินัย แต่เมื่อใดเกิดความเสื่อมเสียในหมู่สงฆ์ขึ้นและหมู่สงฆ์ แผ่กว้างขวางมากขึ้น นั่นแหละเหมาะแล้วที่จะบัญญัติพระวินัย”
จุดมุ่งหมายของการบัญญัติพระวินัย
ในที่สุดเมื่อพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยจริง ๆ พระองค์ตรัสว่า จุดมุ่งหมายในการบัญญัติพระวินัยนั้นมีอยู่ ๑๐ อย่าง ที่เรียก ว่า วัตถุประสงค์ในการบัญญัติพระวินัย คือ
๑.เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ คือเพื่อให้สงฆ์รับว่าดีจึงบัญญัติ ไม่ใช่ว่าบัญญัติไป โดยที่พระสงฆ์ไม่ยอมรับ คือให้ประชุมสงฆ์ก่อน ว่าดีหรือไม่ดี ให้ยอมรับแล้วจึงบัญญัติ ไม่เหมือนกฎหมายบ้านเมือง บางฉบับ ประชาชนจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ เขาออกก่อนแล้ว แต่ ของพระพุทธเจ้านั้นประชุมก่อนโดยถามพระสงฆ์ว่าดีหรือไม่ดี ถ้าตอบว่าดีจึงทรงบัญญัติ
๒. เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์ คือเพื่อให้พระสงฆ์ได้อยู่ อย่างผาสุก ถ้ามีการบัญญัติพระวินัยแล้วพระสงฆ์จะได้อยู่ผาสุกยิ่งขึ้น
๓.เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก หมายความว่า พระรูปไหนที่ ประพฤติเสื่อมเสีย ก็ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อข่มบุคคลเช่นนั้นเสีย
๔. เพื่อความผาสุกของภิกษุสงฆ์ที่มีศีลดีงาม คือพระรูปใด ที่มีศีลดีงามก็ไม่ถูกรบกวนจากพระอื่นที่ประพฤติเสื่อมเสีย ก็อยู่ได้ อย่างสงบสุข จึงทรงบัญญัติพระวินัยก็เพื่อความผาสุกของพระสงฆ์ ที่ปฏิบัติดีงาม
๕. เพื่อปิดกั้นอาสวะทั้งหลายที่จะบังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะว่ากิเลสที่จะบังเกิดขึ้นในปัจจุบัน พอรักษาศีลแล้วกิเลสก็เกิดขึ้น ไม่ได้ เพราะถูกกันเอาไว้
๖. เพื่อกําจัดอาสวะทั้งหลายที่จะพึงบังเกิดในอนาคต หมายความว่า กิเลสที่จะเกิดขึ้นในวันต่อ ๆ ไป เมื่อรักษาพระวินัย ปิดกั้นไว้ พระวินัยก็กั้นไม่ให้กิเลสกำเริบขึ้น และปิดกั้นกิเลสที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
๗. เพื่อความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส คือคนไหน ที่ยังไม่เลื่อมใส เห็นภิกษุสงฆ์มีศีล มีอาจาระเรียบร้อย ก็เกิดความ เลื่อมใสในพุทธศาสนาขึ้น
๘.. เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว คนไหน ถ้าเห็นพระสงฆ์มีความประพฤติดีประพฤติชอบ ก็ยิ่งเลื่อมใสเพิ่มขึ้น
๙. เพื่อความมั่นคงของพระสัทธรรม หมายความว่า พระ ศาสนาจะรุ่งเรืองอยู่ได้นานก็เพราะอาศัยการบัญญัติพระวินัยนี้เอง ถ้าขาดพระวินัยเสียแล้ว พระศาสนาก็อยู่ไม่ได้
๑๐. เพื่ออนุเคราะห์แก่พระวินัย หมายความว่า เพื่อจะให้ ระเบียบ กฎเกณฑ์อันดีงามมีขึ้นในหมู่สงฆ์ ให้วินัยนี้ได้ตั้งอยู่มั่นคงได้นาน
นี้คือประโยชน์ของการบัญญัติพระวินัย ๑๐ ประการ ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงบัญญัติพระวินัย จึงทำให้ภิกษุสงฆ์มีลักษณะที่น่า เคารพ น่าเลื่อมใส และมีศีลที่บริสุทธิ์ ซึ่งจะย่างขึ้นสู่สมาธิและปัญญา ได้ตามหลักการของพระพุทธศาสนา
สีลสิกขา ๒ ของพระภิกษุ
คําว่า “สิกขา” ในพระพุทธศาสนา ก็คือการอบรมศึกษาหรือการลงมือปฏิบัติตามคําสอนของพระพุทธเจ้า
สิกขามี ๓ ประการ หรือเรียกว่า ไตรสิกขา ได้แก่
๑. สีลสิกขา การศึกษาอบรมในเรื่องศีล
๒. จิตตสิกขา การศึกษาอบรมในเรื่องสมาธิ
๓. ปัญญาสิกขา การศึกษาอบรมในเรื่องปัญญา
สิกขาข้อแรก คือ สีลสิกขา อันเป็นสิกขาเบื้องต้นของ พรหมจรรย์ ที่เรียกว่า อาทิพรหมจาริกา สิกขา ก็คือสิกขาบทนั้นเอง ฉะนั้น ศีลข้อหนึ่งก็คือสิกขาบทข้อหนึ่ง
สิกขาของภิกษุที่เรียกว่า “สีลสิกขา” นั้น มี ๒ อย่าง คือ
๑. อาทิพรหมจริยกา สิกขา คือ สิกขาบทหรือศีลอันเป็น เบื้องต้นของพรหมจรรย์ ได้แก่ศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์ ๒๒๗ เว้นเสขิยวัตร ๒๕
๒. อภิสมาจาริยกา สิกขา คือ ศีลที่เกี่ยวกับมรรยาท ได้แก่ เสขิยวัตร ๒๕ และศีลที่มานอกพระปาฏิโมกข์ทั้งหมด อันพระภิกษุ จะพึงศึกษาปฏิบัติมีจำนวนมาก แม้ไม่ได้บ่งว่ามีจำนวนเท่าไร แต่ เมื่อศึกษาก็จะรู้ได้ว่า สิ่งใดที่ทำแล้วไม่เหมาะสมกับสมณะ สิ่งนั้น ก็ไม่ควรทำ เพราะเป็นอาบัติหรือขาดศีลทั้งสิ้น เช่น การกระโดด หรือการวิ่ง หรือการนุ่งห่มแบบฆราวาส เป็นต้น แต่ก็มีอยู่เป็นจำนวน มากเหมือนกับที่ท่านบ่งไว้ในพระวินัยนอกพระปาฏิโมกข์ ว่าอะไรบ้าง ที่พระภิกษุไม่ควรทำ ถ้าล่วงเข้าก็เป็นอาบัติ แต่ศีลประเภทนี้ไม่มี อาบัติหนัก อย่างสูงมีเพียงอาบัติถุลลัจจัยเท่านั้น
ปาริสุทธิศีล ๔
ศีลของพระภิกษุ ที่จัดไว้เป็นหมวดชัดเจนมี ๔ ประเภท คือ
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ได้แก่ศีล ๒๒๗
๒. อินทรียสังวรศีล ศีลคือการสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือการเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ
๔. ปัจจยปัจจเวกขณศีล ศีลคือการพิจารณาปัจจัย
๑. ปาฏิโมกขสังวรศีล คือ ศีลในพระปาฏิโมกข์ ปกติว่า ศีลที่พระสงฆ์ปฏิบัติอยู่นั้น ไม่ใช่มาในพระปาฏิโมกข์อย่างเดียว ศีลที่นอกจากพระปาฏิโมกข์ก็มี ศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์ก็มี ๒๒๗ แต่ศีลที่มานอกพระปาฏิโมกข์นั้นมีจำนวนมาก เรียกว่านับไม่ถ้วนก็ได้ มีคําถามว่า ถ้านับไม่ถ้วน พระสงฆ์จะรู้ได้อย่างไรว่าผิดศีล หรือไม่ คําตอบก็คือ สิ่งใดก็ตามที่พระสงฆ์ทำแล้วไม่เหมาะสม ก็ผิดศีลทั้งนั้น อย่างพระวิ่งก็ไม่เหมาะ นุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์ก็ไม่เหมาะ คือทำอะไรที่ไม่เหมาะสมผิดศีลทั้งสิ้น ศีลประเภทนี้เป็นศีลที่มา นอกพระปาฏิโมกข์ ซึ่งท่านเรียกศีลประเภทนี้ว่า อภิสมาจาร หรือ อภิสมาจารึกศีล ส่วนศีลที่มาในพระปาฏิโมกข์นั้นมีอยู่ ๒๒๗ ซึ่ง พระสงฆ์ท่านจะต้องรักษาศีลเหล่านี้
เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธศาสนาในประเทศไทยของเราพระสงฆ์นั้นรักษาศีลได้บริสุทธิ์ที่สุดในโลก ไม่มีประเทศใดในโลก ที่พระสงฆ์รักษาศีลได้บริสุทธิ์เท่าประเทศไทย เท่าที่เคยสังเกตและ ได้ศึกษามา เพราะประเทศไทยนั้นมีการย้ำในเรื่องศีลมาก โดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มีการกวดขันเรื่องศีลมากขึ้นจนเกิดเป็น คณะธรรมยุตขึ้น
ศีลของพระหรือวินัยของพระนั้นเป็นกองอาบัติ คือ ถ้าหาก ประพฤติผิดศีลก็จะต้องอาบัติ อาบัติแปลว่า “การต้อง” คือต้อง โทษตามที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ อาบัติทั้งหมดมีอยู่ ๗ กอง คือ
๑. ปาราชิก ทำให้ขาดจากการเป็นพระ
๒. สังฆาทิเสส ต้องเข้าแล้วต้องอยู่กรรม
ส่วนอาบัติอีก ๕ กองต่อไป ต้องเข้าแล้วแสดงอาบัติก็พ้นจาก อาบัติได้ คือ อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ และอาบัติทุพภาษิต
ในบรรดาอาบัติของพระเหล่านี้ ปาราชิกมีอยู่ ๔ ข้อ ภิกษุ ประพฤติผิดเข้าแล้วขาดจากความเป็นพระทันที ไม่มีทางที่จะคืนความเป็นพระได้แล้ว เปรียบเหมือนตาลยอดด้วน
สังฆาทิเสสมี ๑๓ ข้อ ประพฤติล่วงเข้าแล้ว ต้องอยู่กรรม เหมือนต้องโทษจําคุก ปาจิตตีย์ ท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ที่ต้องเข้าแล้วต้องสละสิ่งของ
๒. สุทธิกปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ที่ต้องเข้าแล้วไม่ต้องสละสิ่งของ
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ที่ต้องเข้าแล้วต้องสละสิ่งของนั้น มีอยู่๓๐ ข้อ
สุทธิกปาจิตตีย์ ปาจิตตีย์ที่ต้องเข้าแล้วไม่ต้องสละสิ่งของ เช่น พูดโกหก ก็เป็นปาจิตตีย์ ไม่ต้องสละสิ่งของก็แสดงอาบัติได้เลย สุทธิกปาจิตตีย์ หรือเรียกเฉย ๆ ว่าปาจิตตีย์ มีทั้งหมด ๙๒ ข้อ
ปาฏิเทสนียะมีอยู่ ๔ ข้อ
เสขิยวัตรซึ่งต้องเข้าแล้วเป็นอาบัติทุกกฏ มีอยู่ ๗๕ ข้อ เสขิยวัตรนีเป็นมรรยาทเกี่ยวกับการปฏิบัติ เช่น เรื่องการฉัน และการแสดงธรรม เป็นต้น
รวมความว่า อาบัติทั้ง ๗ กองนี้ ถ้าย่อแล้วก็มีเพียง ๓ เท่านั่น คือ
๑.อย่างหนัก ต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นพระ เหมือนโทษ ประหารชีวิต ได้แก่อาบัติปาราชิก ๔
๒. อย่างกลาง ต้องเข้าแล้วต้องอยู่กรรม เหมือนนักโทษติดคุก ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส ๑๓
๓. อย่างเบา ต้องเข้าแล้วต้องแสดงความผิดต่อภิกษุอื่น เหมือน กับโทษปรับ ได้แก่ อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติ ถุลลัจจัย อาบัติทุกกฏ และทุพภาษิต
ในอาบัติของพระเหล่านี้ ชาวบ้านทั่วไปถ้าไม่ได้ศึกษาก็ไม่ทราบ เมื่อไม่ทราบบางครั้งก็ทำให้พระต้องอาบัติเหมือนกัน เช่น อาบัติ ห้ามจับต้องเงินทอง พระสงฆ์นี้พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ มิให้จับต้อง เงินทอง จะรับเองก็ดี ใช้คนอื่นให้รับก็ดี เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าจะให้บริสุทธิ์ก็ต้องแสดงอาบัติ จะพ้นจากอาบัติข้อนี้ได้ต้องสละเงิน นั้นแก่ผู้อื่นเสีย ให้ใครไปก็ได้ ถ้าไม่สละเสียเอามาซื้อของบริโภค ต้องเป็นอาบัติทุกกฏทุกคํากลืน ถ้านําไปซื้อจีวรห่มก็เป็นอาบัติทุก กฎทุกครั้งที่ห่ม ถ้ามาซื้อยารักษาโรคก็เป็นอาบัติทุกครั้งที่กลืนกินยาเข้าไป
ในปัจจุบันเงินทองเป็นสิ่งจําเป็น เมื่อห้ามไม่ให้พระจับต้อง ก็คงลําบาก แต่เมื่อเป็นพระสงฆ์แล้วก็ต้องปฏิบัติตามพระวินัย ฉะนั้นความลําบากเพราะวินัยข้อนี้จึงเป็นของธรรมดา เพราะผู้ที่เขาปฏิบัติ อยู่ได้โดยไม่ต้องอาบัติเหล่านี้ก็มีอยู่มาก เพราะพระสงฆ์ที่ท่านบริสุทธิ์ ผู้มุ่งปฏิบัติก็มีมากเช่นกัน
จุดมุ่งหมายของพระพุทธเจ้าที่บัญญัติไม่ให้พระจับต้องเงินทอง ก็คือ
ประการที่ ๑ เพื่อจะไม่ให้ไปติดในเรื่องทรัพย์สมบัติ เพราะ ออกบวชแล้ว ไม่มุ่งให้ติดในทรัพย์สมบัติ อันก่อให้เกิดกิเลส มุ่งสะสมแบบฆราวาส
ประการที่ ๒ เพื่อไม่ให้เป็นเหตุกังวลในการรักษา เพราะมีความ กังวลในการรักษา ทำให้เป็นห่วง ซึ่งไม่ต่างจากผู้ครองเรือน
ประการที่ ๓ เพื่อไม่ให้เป็นที่จ้องปองร้ายของผู้ร้าย เพราะ บางทีเขามาแย่งชิงทรัพย์จากพระ ทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และโดย เฉพาะที่สำคัญมากก็คือ การจับต้องเงินทองนั้นเป็นความเศร้าหมอง ของพรหมจรรย์ ทำให้ศีลไม่บริสุทธิ์
เดี๋ยวนี้ชาวไทยเราบางคนหรือไม่น้อย นําเงินทองมาถวาย พระ พระบางองค์ก็รับ เมื่อรับแล้วก็ต้องอาบัติ เมื่อต้องอาบัติแล้ว ถ้าไม่สละ อาบัตินั้นก็แสดงไม่ตก เพราะฉะนั้น เมื่อพระไปบิณฑบาต ถ้าเราเข้าใจ ก็อย่าไปถวายเงินแก่พระหรือสามเณร ถ้าไปถวายเงินทอง พระต้องอาบัติ สามเณรก็ศีลขาด เราได้บุญเหมือนกันแต่บุญมันน้อย เพราะพระหรือสามเณรนั้นศีลน้อยลงเสียแล้ว ถ้าเราจะถวายปัจจัย แก่ท่านก็ต้องทำเป็นใบปวารณา แล้วก็มอบปัจจัยแก่ไวยาวัจกร ซึ่ง ไม่ผิดพระวินัย เราผู้รู้จักพระวินัยแล้วถวายเป็นใบปวารณา ถ้าถวาย เป็นใบปวารณาแล้วมอบเงินให้แก่ลูกศิษย์หรือคนวัดหรือไวยาวัจกรของท่าน ท่านจะไปจัดการอย่างไรกับปัจจัยนั้นก็เรื่องของท่าน ขอให้เราบริสุทธิ์ก็ใช้ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วพระสงฆ์ที่มีศีลบริสุทธิ์นั้น ท่านจะสังวรในเรื่องศีลทุกข้อมาก
กาลิก ๔
อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องศีลของ พระ โดยเฉพาะเรื่องกาลิก กาลิก คืออะไร ? กาลิก ได้แก่ของที่นํา มาฉัน ของที่นํามาฉันทุกอย่าง ต้องรับประเคนทั้งสิ้น เว้นไว้แต่น้ำ กับไม้ชําระฟัน ๒ อย่างนี้เท่านั้นไม่ต้องประเคน นอกนั้นต้องประเคน ทั้งสิ้น กาลิกมีอยู่ ๔ อย่าง คือ
ยาวกาลิก ของที่รับประเคนแล้วฉันได้เช้าชั่วเที่ยง อย่าง พวกอาหาร นม ผลไม้ รับประเคนแล้วฉันได้เช้าชั่วเที่ยงเท่านั้น ถ้า เรานําของกินเหล้านี้ไปถวายพระตอนเย็น เราประเคนให้ท่าน ท่าน รับประเคนแล้วเอาไปฉันตอนเช้าเป็นอาบัติ เพราะฉันของค้างคืน เพราะฉะนั้น ถ้าเรานําของฉันเหล่านี้ไปถวายท่าน แม้ถวายตอนเช้า ถ้าของมาก เราต้องการให้เก็บไว้ในวันต่อไป ก็แบ่งถวายเสียบางส่วน อย่าถวายไปทั้งหมด ถ้าถวายไปทั้งหมด ท่านรับไปแล้วเอามาฉัน ไม่หมด ที่เหลือก็ฉันในวันต่อไป ท่านเป็นอาบัติ เรียกว่า ฉันของที่ เก็บไว้ค้างคืน เดี๋ยวนี้พระบางรูปก็มีวิธีเพื่อให้ปลอดจากอาบัติ คือ เมื่อรับประเคนแล้ว ก็มอบให้เด็กไปเสีย พอเด็กจับต้องก็ถือว่า ขาดประเคนไปแล้ว แต่ถ้าหากว่าเราเข้าใจพระวินัยแล้วก็บอกว่า “ของนี้ไม่ต้องประเคน ประเคนเฉพาะของที่ฉันได้ในเช้าชั่วเที่ยงนี้เท่านั้น”
ยามกาลิก คือ ของที่รับประเคนแล้วฉันได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง
ได้แก่น้ำผลไม้คั้น ที่เรียกว่า “น้ำอัฏฐบาน” เดิมมีอยู่ ๘ ชนิด
๑. น้ำมะม่วง
๒. น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
๓.น้ำกล้วยมีเม็ด
๔. น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
๕. น้ำมะซาง
๖. น้ำลูกจันทน์หรือองุ่น
๗. น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
๘. น้ำเง่าอุบล (รากบัว)
ฉะนั้น น้ำผลไม้คั้นท่านจึงเรียกว่า “น้ำอัฏฐบาน” “อัฏฐ แปลว่า “แปด” ปานะหรือบาน แปลว่า “น้ำดื่ม” อัฏฐบาน คือ น้ำดื่ม ๘ ชนิด เดิมเกิดจากน้ำดื่ม ๘ ชนิด ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เท่านั้น เช่น น้ำมะม่วง น้ำลิ้นจี่ เป็นต้น ต่อมาภายหลัง ผลไม้ อื่น ๆ ก็อนุโลมใช้ได้ แต่มีข้อแม้ว่า ผลไม้ที่เอามาคั้นเอาน้ำทำเป็น น้ำดื่มได้ในเวลาวิกาลนั้น จะต้องไม่โตกว่าผลมะตูม ทั้งไม่สุกด้วยไฟ
แต่ถ้าผลไม้นั้น โตกว่าผลมะตูม เช่น สับปะรด ส้มโอ แตงโม ทุเรียน และมะพร้าว เป็นต้น จะเอามาทำเป็นน้ำอัฏฐบาน ไม่ได้ เพราะเป็นมหาผล-ผลไม้ใหญ่
น้ำอัฏฐบานทุกชนิด ไม่ใช่ภิกษุคั้นเอง ต้องให้สามเณรหรือคฤหัสถ์คั้นให้ เมื่อรับประเคนแล้วฉันได้ ๑ วัน คือคืนหนึ่ง กับวันหนึ่ง หรือ ๒๔ ชั่วโมงเท่านั้น หากปล่อยให้ล่วงเลย ๒๔ ชั่วโมงไป พระภิกษุเอามาฉันไม่ได้ เป็นอาบัติ และน้ำผลไม้ที่ล่วง ๒๔ ชั่วโมงไปแล้ว ก็มักจะเสีย จึงทรงอนุญาตไว้เพียงวันหนึ่งกับ คืนหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง น้ำผลไม้สุกด้วยไฟ แม้ลูกไม่โต คือแม้ ไม่ใช่เป็นมหาผลก็ใช้ไม่ได้ เช่น ลูกลำไยที่ต้มสุกเอาแต่น้ำมา หรือ ลูกมะพร้าวก็ใช้ไม่ได้ เพราะเป็นมหาผล แต่ลูกมะตูมที่ผ่านหรือ นั่นเอาแต่เปลือกมาตากให้แห้ง แล้วเอามาต้มใส่น้ำตาล อย่างนี้ เอามาฉันได้ แต่ไม่ใช่น้ำอัฏฐบาน หากแต่เป็นเหมือนนําตัวยามาต้ม และผสมน้ำตาล เหมือนใบชาหรือกาแฟใส่น้ำตาล จัดเป็นเครื่องดื่ม ผสม คือ ยา (ยาวชีวิก) กับน้ำตาล (สัตตาหกาลิก) แต่เมื่อรับประเคน ไปแล้ว เนื่องจากไปผสมกับน้ำตาล ซึ่งท่านเรียกในพระวินัยว่า “กาลิกระคน” เมื่อรับประทานแล้ว ก็สามารถเก็บไว้ได้ ๗ วัน
สัตตาหกาลิก ของที่รับประเคนแล้วฉันได้ ๗ วัน กาลิก ประเภทนี้ จัดเป็นเภสัชหรือยาที่ทรงอนุญาตพิเศษ คือ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นพระภิกษุบางรูปเป็นโรคผอมเหลือง จึงทรงพิจารณาว่า มียาหรือเครื่องดื่มประเภทใดบ้างที่แก้โรคผอม เหลืองนี้ได้ จึงทรงทราบว่า เภสัช ๕ ชนิด คือ เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำมัน และน้ำอ้อย แก้โรคผอมเหลืองได้ พระองค์จึงทรงอนุญาต ให้ภิกษุทั้งหลายฉันเภสัชทั้ง ๕ นี้ได้ แต่ไม่ควรเก็บไว้เกิน ๗ วัน หลังจากรับประเคนแล้ว เพราะถ้าเก็บไว้นานจะเป็นการสั่งสมของกิน ไป และอาจจะเสียได้ แต่เมื่อฉันก็ต้องฉันเป็นยา ถ้าพระรูปใดไม่ฉันเป็นยา เช่น ฉันเพื่ออิ่ม หรือเพื่อกันหิว เป็นอาบัติทุกกฏ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เป็นยาที่เรียกว่า เภสัชทั้ง ๕ แต่ฉันได้ ๗ วัน เพราะของทั้ง ๕ ประการนี้ ซึมเข้าไปสู่ร่างกายเป็นอาหารด้วย และเป็นยาด้วย จึงเป็นกาลิกที่ทรงอนุญาตพิเศษให้ฉันเป็นยา
ยาวชีวิก รับประเคนแล้วฉันได้ตลอดชีวิต ได้แก่ยาทุกชนิด พวกยาทุกชนิดเมื่อรับประทานแล้วก็ฉันได้ตลอดไป (ตลอดอายุของยา)
๒. อินทรียสังวรศีล ศีลคือการสำรวมอินทรีย์
อินทรีย์ คือความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตน การสำรวมอินทรีย์ คือการสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ออกไป ข้างนอก โดยทำหน้าที่ของตน คือ ตาเป็นใหญ่ในการดู หูเป็นใหญ่ ในการฟัง จมูกเป็นใหญ่ในการดมกลิ่น ลิ้นเป็นใหญ่ในการลิ้มรส กายเป็นใหญ่ในการสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ใจเป็นใหญ่ในการรับอารมณ์ทางใจ
ศีลข้อนี้เป็นตัวสนับสนุนในการฝึกสมาธิได้ดีมาก เพราะใน การฝึกสมาธิ หากขาดศีลข้อสำรวมนี้เสียแล้ว การฝึกก็จะไม่ได้ผล เพราะจิตชอบฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่มากระทบ เช่น ถ้าไม่ สำรวมตา มองโน้น มองนี้ มองซ้าย มองขวา ศีลข้อนี้ก็ขาด หรือ ได้ยินเสียงทางหู เราก็ต้องสำรวม ถ้าไม่สำรวมปล่อยจิตให้ไปตาม เสียงที่มากระทบ จิตก็ไม่สงบ ก็จะเกิดกิเลสขึ้น ก็ถือว่าขาดศีลข้อนี้ แล้ว แม้ในการสำรวมอายตนะภายในอีก ๔ อย่าง ก็เช่นเดียวกัน มี ความสำคัญต่อการปฏิบัติมาก โดยเฉพาะการสำรวมใจ เพราะเท่ากับ ว่าเป็นการสำรวมทุกอย่าง การสำรวมใจสำคัญที่สุด เพียงแต่เราสำรวมใจ รักษาใจเพียงอย่างเดียว อย่างอื่นก็ชื่อว่าสำรวมรักษาหมด
ท่านเปรียบเทียบเหมือนเมืองในสมัยโบราณ ถ้าปิดประตู พระนครมั่นคงแล้ว แม้ประตูบ้าน ประตูห้องจะไม่ปิด โจรที่จะเข้า ปล้นเมืองก็เข้าไม่ได้ คนเราก็เหมือนกัน ถ้าสำรวมใจได้อย่างเดียว แล้ว แม้ไม่สำรวมตา ไม่สำรวมหู ไม่สำรวมจมูก ไม่สำรวมลิ้น ไม่ สำรวมกาย ก็ชื่อว่าสำรวมหมดแล้ว เพราะใจเป็นหัวหน้าในการกระทำทุกอย่าง
๓.อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือการเลี้ยงชีพในทางสุจริต
ศีลของพระข้อนี้ หมายถึงการเลี้ยงชีวิตด้วยการไม่ผิดศีล ดังที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไว้ เช่น การค้าขาย การรับใช้ชาวบ้าน การประจบประแจงชาวบ้าน หรือเป็นหมอดูหรือเป็นหมอยา หรือ ทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพ อย่างนี้ถือว่าผิดศีล ผิดอาชีพของพระ เพราะ พระจะต้องได้อาหารมาจากบิณฑบาต หรือจตุปัจจัยที่มีผู้ถวาย ตาม กําลังศรัทธา ถ้ามีชีวิตแบบชาวโลก เช่น ค้าขาย เป็นต้น ก็ถือว่า ผิดศีลข้อนี้ เป็นมิจฉาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพที่ไม่บริสุทธิ์
๔. ปัจจยปัจจเวกขณศีล ศีลคือการพิจารณาปัจจัย ๔
พระในพระพุทธศาสนานั้น พระเมื่อจะบริโภคปัจจัย ๔ คือ จีวร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค จะต้องพิจารณา เสียก่อนจึงจะบริโภคใช้สอย ถ้าบริโภคโดยขาดการพิจารณา ปล่อย ให้ล่วงวันหนึ่งคืนหนึ่งไปแล้ว ถือว่าเป็นอาบัติ และตั้งอยู่ในฐานะ เป็นหนี้ชาวบ้าน ดังนั้น พระภิกษุจึงต้องพิจารณาปัจจัยทั้ง ๔ ทุกวัน ที่เรียกว่า “ปัจจเวกขณ์” ในการทำให้ศีลข้อนี้บริสุทธิ์ ตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้
ฉะนั้น จึงขอให้ท่านผู้สนใจในการปฏิบัติทั้งหลาย ได้ศึกษา เรื่องศีลของพระสงฆ์ให้ถูกต้อง ในการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์หรือ ถวายปัจจัย ๔ เป็นต้น ต่อพระสงฆ์ได้ถูกต้อง ถ้าหากว่าได้เข้าใจศีล ในพระพุทธศาสนาได้ดีพอสมควรแล้ว ก็จะรักษาศีลได้ผลดียิ่งขึ้น เป็นเหตุนําความสุขความเจริญมาแก่ตนและส่วนรวมได้มากแม้การปฏิบัติธรรมที่สูงขึ้น โดยเฉพาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ก็จะ ดำเนินไปได้ด้วยดี ก่อให้เกิดผลดีเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน.
ตอนที่ ๒๑
พุทธศาสนสุภาษิต เรื่อง ศีล
สีลกยา – การพรรณนาเรื่องศีล ในตอนที่ ๒๑ นี้ ได้นําพุทธศาสนสุภาษิตจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระไตรปิฎก อันเป็นพุทธภาษิต จะสาวกภาษิต ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณ เด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ การประสิทธิประสาทความเจริญแห่งวิชาการทางพระพุทธศาสนา ไว้ในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑-๒-๓ อันเป็น หลักสูตรการศึกษาธรรมของทางคณะสงฆ์ไทย โดยอัญเชิญมากล่าวไว้ตอนสุดท้ายนี้ เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและปฏิบัติสำหรับตนผู้อื่นได้ดีและสะดวกเพิ่มขึ้น เพราะได้นํามารวบรวมไว้อย่างเพียงพอ ต่อการศึกษาอบรมในด้านศีลในพระพุทธศาสนา
๑.
สีลํ ยาว ชรา สาธุ. ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา. – สํ.ส. ๑๕/๕๐
๒.
สุขํ ยาว ชรา สีลํ. ศีลนําสุขมาให้ตราบเท่าชรา ขุ.ธ๒๕/๕๙
๓.
สีลํ กิเรว กลฺยาณํ. ท่านว่าศีลนั่นเทียว เป็นความดี.
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๔. สีล โลเก อนุตฺตรํ. ศีลเป็นเยี่ยมในโลก.
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
๕. สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ, ศีลจึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
นัย- ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘
๖. สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร. ความสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นการดี.
สํ.ส. ๑๕/๑๐๖ ขุ.ธ. ๒๕/๖๔
๗. สญฺญาโต เวรํ น จียติ. เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น.
ที.มหา. ๑๐/๑๕๕ ขุ.อุ. ๒๕/๑๒๕
๘. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี ปราชญ์พึงรักษาศีล.
ขุ. อิติ. ๒๕/๒๘๒
๙. อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาฌานญฺจ มาตุกํ ปมุขํ สพฺพธมฺมานํตสฺมา สีลํ วิโสธเย.
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง เพราะ ฉะนั้น พึงชําระศีลให้บริสุทธิ์
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๑๐.อวณฺณญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจสทา ลภติ สีลวา.
นรชนผู้ทุศีล ย่อมได้รับการติเตียนและความเสีย ชื่อเสียง ส่วนผู้มีศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญและ ชื่อเสียงทุกเมื่อ.
(ลีลาเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๒๕๕๗)
๑๑.อิเธว กิตฺตึ ลภติ เปจฺจ สคฺเค จ สุมโน สพฺพตฺถ สุมโน ธีโร สีเลสุ สุสมาหิโต.
ธีรชนผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในศีล ย่อมได้รับการสรรเสริญ ในเวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ครั้นตายไปแล้วก็ได้รับความสุขโสมนัสในสวรรค์ ย่อมรื่นเริงในที่ทุกสถานในโลกนี้
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๑๒. อิเธว นินฺทํ ลภติ เปจฺจาปาเย จ ทุมฺมโน สพฺพตฺถ ทุมฺมโน พาโล สีเลสุ อสมาหิโต.
คนพาลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นในศีล ย่อมได้รับการนินทาใน เวลาที่มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับทุกข์
โทมนัสในอบายภูมิ
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
๑๓. น เวทา สมฺปรายาย น ชาติ นปี พนฺธวา สกญฺจ สีลสํสุทฺธํ สมฺปรายสุขาวหํ.
เวทมนต์ ชาติกำเนิด พวกพ้อง นําสุขมาให้ในสัมปรายภพ ไม่ได้ ส่วนศีลของตนที่บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงนําสุขมาให้ในสัมปรายภพได้.
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปญฺจก. ๒๗/๑๗๕
๑๔. พหุสฺสุโตปี เจ โหติ สีเลสุ สุสมาหิโต อุภเยน นํ ปสํสนฺติ สีลโต จ สุเตน จ.
ถ้าคนเป็นพหุสูต มันคงดีในศีล บัณฑิตย่อมสรรเสริญ
เขาด้วยคุณ ๒ ประการ คือ ด้วยศีลและด้วยสุตะ
(พุทฺธ) องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๙
๑๕. โย จ วสฺสสตํ ชีเว ทุสฺสีโล อสมาหิโต เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย สีลวนฺตสฺส มายิโน.
ผู้ไม่มีศีล ไม่มั่นคง จึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีศีล
บําเพ็ญสมาธิ มีชีวิตอยู่วันเดียว ประเสริฐกว่า
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๒๙
๑๖. สีลมวิธ สิกฺเขถ อสฺมี โลเก สุสิกฺขิตํ สีลํ หิ สพฺพสมฺปตฺตี อุปนาเมติ เสวิตํ.
ท่านทั้งหลายพึงศึกษาศีลในศาสนานี้ ด้วยว่าศีล อันบุคคลศึกษาดีแล้ว สั่งสมดีแล้ว ย่อมนําสมบัติ ทั้งปวงมาให้ในโลกนี้.
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๑๗. สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี ปตฺถยาโน ตโย สุเข ปสํสํ วิตฺติลาภญฺจ เปจฺจ สคฺเค ปโมทนํ.
นักปราชญ์ เมื่อปรารถนาความสุข ๓ ประการ คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้ความปลื้มใจ ๑ ความ บรรเทิงในสวรรค์เมื่อละไปแล้ว ๑ พึงรักษาศีล
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๑๘. สีลวา หิ พหู มิตฺเต สญฺญเมนาธิคจฺฉติ ทุสฺสีโล ปน มิตฺเตหิ ธํสเต ปาปมาจรํ.
ด้วยว่าผู้มีศีล มีความสำรวม ย่อมได้มิตรมาก ส่วนผู้ทุศีลประพฤติแต่กรรมอันลามก ย่อมแตกจากมิตร
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗
๑๙. กาเยน วาจาย จ โยธ สญฺญโต มนสา จ กิญฺจิ น กโรติ ปาปํ น อตฺตเหตุ อลิกํ ภณาติ ตถาวิธํ สีลวนฺตํ วทนฺติ.
ผู้ใดในโลกนี้ สำรวมทางกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาป อะไร ๆ และไม่พูดพล่อยเพราะเหตุแห่งตน ท่านเรียก คนอย่างนั้นว่าผู้มีศีล
(สรภงฺคโพธิสตฺต) ขุ.ชา.จตฺตาฬิส. ๒๗/๕๔๐
๒๐. ตสฺมา หิ นารี จ นโร จ สีลวา อฏฺฐงฺคุเปตํ อุปวสฺสุโปสถํ ปุญฺญานิ กตฺวาน สุขุทฺริยานิ อนินฺทิตา สคฺคมุเปนฺติ ฐานํ.
เพราะฉะนั้น หญิงและชายผู้มีศีล รักษาอุโบสถประกอบด้วย
องค์ ๘ ทำบุญอันมีสุขเป็นกําไร จึงไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานสวรรค์.
(พุทฺธ) องฺ.ติก. ๒๐/๒๗๖
๒๑. อุนฺนฬสฺส ปมตฺตสฺส พาหิราสสฺส ภิกฺขุโน สีลํ สมาธิ ปญฺญา จ ปาริปูรี น คจฺฉติ.
เมื่อภิกษุมีมานะ มัวเมาประมาท มีความหวังในภายนอก (ออกห่างจากพระสัทธรรม) ศีล สมาธิ และปัญญาย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์.
(โสณโกฬิวิสเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๒๖๐
๒๒. เตสํ สมฺปนฺนสีลานํ อปฺปมาทวิหารินํ สมฺมทญฺญา วิมุตฺตานํ มาโร มคฺคํ น วินฺทติ.
มารค้นหาอยู่ ย่อมไม่พบทางของท่านผู้มีศีลสมบูรณ์ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ
(พุทฺธ) ขุ.ธ. ๒๕/๒๒
๒๓. สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํอาวุธมุตฺตมํ สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ.
ศีลเป็นกําลังหาที่เปรียบมิได้ เป็นอาวุธอย่างสูงสุด
เป็นอาภรณ์อันประเสริฐ เป็นเกราะอันน่าอัศจรรย์
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
หนังสืออ้างอิง
๑.พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๐,๑๑,๑๒,๑๔,๑๕, ๒๐, ๒๑, ๒๓,๒๕,๒๖,๒๗)
๒. อรรถกถาปรมัตถทีปนี ของ พระธรรมปาละ อธิบายความเถรคาถา, เถรีคาถา, วิมานวัตถุ และเปตวัตถุ
๓. อรรถกถาธรรมบท ภาคที่ ๑,๒,๓,๕,๖ ของ พระพุทธโฆสาจารย์
๔. อรรถกถาชาดก ของ พระพุทธโฆสาจารย์
๕. อรรถกถาสมันตปาสาทิกา ของ พระพุทธโฆสาจารย์
๖. วิสุทธิมรรค ภาค ๑ ของ พระพุทธโฆสาจารย์
๗. นวโกวาท ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
๘. วินัยมุข เล่ม ๑ และเล่ม ๒ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส
๙. พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑,๒,๓ ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
๑๐.เบญจศีลและเบญจธรรม ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส
๑๑.อุโบสถศีล ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
๑๒. จักรวาฬทีปนี ของ พระสิริมังคลาจารย์
๑๓. มงคลทีปนี ของ พระสิริมังคลาจารย์
๑๔. คําบรรยายพุทธศาสน์ เล่ม ๒ ของ พันเอก ปิ่น มุทุกันต์
๑๕. แบบไหว้พระสวดมนต์สำหรับอุบาสกอุบาสิกาและหลักธรรม ในการเจริญวิปัสสนา ของ พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ
๑๖. ดิกชันนารี Pali Proper Names ของ ดร. G.P. Malalasekera