[ผู้ร่วมสนทนา]
จะถามเรื่องอนุสติ 6 ก็คือ หมายถึงการระลึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วก็อีกอันนึงจาคานุสติใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่
[ผู้ร่วมสนทนา]
ก็คือแค่ระลึกเท่านี้ ใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ไม่ใช่ ไม่ใช่แค่ระลึกนะ คือผู้ที่หยั่งลงหนะนะ หมายถึงเอาวิธีการเนี่ยไปลองใช้ไปลองปรับในชีวิตประจำวัน แล้วเกิดผลหนะนะ เค้าเหล่านั้นหนะจะสิ่งนึงปรากฏในจิตที่เรียกว่าไตรสรณคมน์ เค้าเรียกหยั่งลงไตรสรณคมน์หรือชีวิตนี้มีที่พึ่ง เพราะเชื่อมั่นแน่ว่าวิธีการที่พระองค์ตรัสสอนเนี่ยมีอยู่จริงแน่นอน เพราะไปภาวนาแล้วเห็นจริงนะ มันจะเห็นไปตามลำดับ เพราะฉะนั้นการหยั่งลงไตรสรณคมน์เนี่ย ก็จะ ปักแน่นขึ้นเรื่อย ๆๆ จนกระทั่งรู้จักภพภูมิในที่สุด
เพราะฉะนั้นจะประกอบไปด้วยระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และการจะหยั่งลงปลูกจิตให้ป็นกุศลได้เนี่ย ต้องอาศัยทานกับศีล พอมาภาวนาก็เห็นภพภูมิ อย่างนี้ก็จะทำให้จิตนั้นหนะมีอนุสติ 6 เป็นเครื่องประกอบในชีวิตประจำวันนั้นแหละ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง ในใจก็จะชุ่มชื่นไปด้วยปีติ แค่ระลึกถึงข้อใดข้อหนึ่งในอนุสติเนี่ยปีติก็มาแล้ว เพราะอนุสติทั้ง 6 นั้นหนะ คือกรรมฐาน 6 ใน 40 หรือ 6 ใน 10 ของอนุสติทั้ง 10 อันมีเพิ่มอีก 4 ก็คือ อานาปานสติ มรณานุสติ กายานุสติ แล้วก็อะไรอีก อ้อ อุปสมานุสติ หรือการระลึกถึงคุณของพระนิพพาน เนี่ย 10 ข้อนี้ เรียกว่า อนุสติ 10
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
แต่ 6 ข้อต้นนั้นหนะ จะเป็นเครื่องอยู่โดยปกติของกัลยาณปุถุชนขึ้นไป ก็คือผู้รู้มรรคนั่นเอง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ก็คือตอนนี้ ผู้ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติก็คือยังไม่ได้ถึงอนุสติ 6 ใช่มั้ยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่ ๆ ก็จะเป็นลำดับความคิดอยู่ อันดับความคิด คนที่ใช้อนุมานจากความคิด ถ้าเค้ามีปัญญาแยกแยะมาก ๆ เนี่ย เค้าจะรู้ได้เลยว่าสิ่งที่เค้าได้รับได้ฟังหนะนะ เป็นพระสัทธรรมจริงๆ ตรงนี้ก็หยั่งลงได้นะ หยั่งลงเป็นไตรสรณคมน์ได้ ณ ระดับจินตามยปัญญา หรือปัญญาที่เกิดจากการอนุมานเอา
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ปัญญามี 3 ระดับ นะ สุตมยปัญญา ปัญญาที่ประกอบจากการฟัง จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิด ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา อย่างนี้เป็นสามระดับ
เพราะฉะนั้นบุคคลที่ก้าวเข้าสู่เรื่องของการมีไตรสรณคมน์เนี่ย เค้าเห็นเชิงประจักษ์ในเบื้องต้นเลย หรือรอยต่อท่ามกลาง อย่างนี้นะ ศรัทธาก็จะหยั่งลงมั่นขึ้น มั่นขึ้น ไม่ไหวเอน ไม่ไหวคลอน ใครจะมาพูดอะไร อย่างู้นอย่างงี้ ซึ่งเป็นปกติของโลกนั้นหนะ ก็จะไม่แกว่ง เพราะอะไร เพราะเห็นจริง เห็นจริงตามนั้น วิธีการที่ระคนมันก็ถูกคัดแยกออกไป อย่างงี้
แต่โดยปกติของมนุษย์ก็จะแกว่งนะ เพราะว่าอุปกิเลสจะทำงาน อุปกิเลสจะเกิดขึ้นนะ ฟุ้ง ก็จะมีลบหลู่ มีมานะ มีอิสสา มีสาเถยยะ มายา โอ้อวด อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะปรากฏ
เพราะฉะนั้นต้องรู้ทันแล้วดึงกลับเข้าลม อย่าให้เกิดความเพลิดเพลินในอารมณ์ของอุปกิเลสที่ปรากฏ ใน 16 อย่างหนะนะ ธรรมชาติของผู้ปฏิบัติเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นผู้ฟังธรรมเนี่ย ก็เหมือนกันนะ พอฟังไปถึงจุด ๆ นึงเนี่ย เดี๋ยวกิเลสจะหาช่องละ ตัวอุปกิเลสนี่แหละมันจะหาช่อง หาเหตุผลมา ให้สิ่งที่กำลังประพฤติ กำลังดำเนินอยู่นั้นหนะ คลายออก ด้วยอุบายอันแยบคายนะ เพราะตัวอุปกิเลสนี้ หรือจิตเองที่ประกอบไปด้วยอกุศลธรรมนั้นหนะ เค้าจะหาเหตุผลอันแยบคาย เราต้องตั้งให้มั่น ตัวชี้วัดคือทางที่รู้นี้ถูกตรงใช่มั้ย ต้องเปรียบเทียบให้ดี ต้องคัดแยกให้ได้ โยนิโสมนสิการต้องมีความคมชัด ไปตามความคิดไม่ได้ เราต้องประมวลเองนะ ต้องว่างพอที่จะประมวล ตัดสินให้ได้นะ ไม่งั้นมันก็กลับไปที่เดิมอีก ใช่มั้ย มันเป็นอย่างนั้นแหละธรรมดา
กลับไปที่เดิมแล้วจะตอบใครได้หละ ตอบตัวเองว่ายังไง เอ้า ที่เดินมา สมมติ 20 ปี นำมาสู่ความตัน แล้วยิ่งผมพูดด้วยบอกว่าถ้าทำต่อไปยิ่งกว่าตันนะ มันจะพาไปหลงแล้วก็วิมุตติแบบที่เป็น มิจฉาวิมุตตินะ นำไปสู่มิจฉาทิฏฐิได้ด้วย ปัญหามันจะหนักหนะทีนี้ ใช่มั้ยเพราะฉะนั้น ต้องโยนิโสมนสิการให้ดีว่าสิ่งที่เราเข้ามาศึกษาตรงนี้ เราแน่ชัดมั้ยว่าตรง ถ้าไม่แน่ชัด ออกเลยครับ อย่าอยู่ต่อ แสดงว่าไม่เห็นคุณแล้ว นะ ไม่เห็นคุณ ก็ อยู่ต่อไปมันก็อันตรายหนะนะ อันตรายเพราะมันกระทบรุนแรง ด้วยอะไร ด้วยอำนาจของอุปกิเลสนั้นแเหละ
เพราะฉะนั้นต้องชัดเจน ความคมชัดที่เป็นสติ สัมปชัญญะและความตั้งมั่นนี่ เค้าจะต้องฟันธงได้ชัดเจนนะ ว่าอันไหนถูกอันไหนผิด แต่ถ้ายังคลุมเครือ ปล่อยความคลุมเครือนั้นไว้เนี่ย มันจะเกิดพิษภายใน ถ้าไปละเมิดในบุคคลที่เค้าปฏิบัติตรงหนะ ทางกาย ทางวาจา แม้กระทั่งทางใจ วิบากกรรมก็จะ กระหน่ำอย่างรุนแรงนะ เพราะอะไร เพราะเราปฏิบัติมาเนี่ย มันเข้าสู่ความเป็นสติปัฏฐานนะ ทั้งผู้กระทบกับผู้ถูกกระทบเนี่ย อยู่ในสติปัฏฐานทั้งคู่เนี่ย โอ้โห ไม่เกินชาตินี้เลย และชาตินี้ภายในเจ็ดวันหนึ่งเดือนด้วย มันเป็นอย่างนั้น
ฉะนั้นต้องระวัง อย่าให้อุปกิเลสเนี่ยเข้าครอบงำ เค้าก็คือพญามารแหละ มารที่เป็นอภิสังขารมาร ฉะนั้น การศึกษาในที่เรียกว่า ถ้าเป็นเชิงวิชาการเค้าเรียกว่าการศึกษาเปรียบเทียบ ตัวนี้ต้องชัดเจนนะครับ
จากคลิป EP39 สนทนาธรรม ส.26 มี.ค.65
จบนาทีที่ 53.40