[ผู้ร่วมสนทนา]
ดิชั้นขอถามอีกข้อ ข้อสุดท้าย ได้มั้ยคะ
[อาจารย์ Aero.1]
ยินดี
[ผู้ร่วมสนทนา]
คือว่าดิชั้นยังงงๆ อยู่ว่า ตรงที่เรื่องอานาปานสติเนี่ยค่ะ หลังจากที่ศึกษาอ่านบทสวดนี่หนะนะคะ บทสวดอานาหนะค่ะ
ที่บอกย่อ ๆไว้นะคะว่า ทีฆัง กับ รัสสัง อะไรเนี่ยหนะค่ะ เอ่อ รู้ลมเข้าออกที่ปลายจมูก รู้สึกลมไม่ใช่รู้ผัสสะ ทีนี้ที่เคยทำมาหนะนะคะ ไม่ได้ทำแบบนี้หนะค่ะ คือไปฟังมาว่า จริง ๆ ก็รู้ทั้งสองอย่างอ่ะค่ะว่า เอ่อ เค้าบอกว่ารู้ลมที่ปลายจมูก กับอีกสูตรนึงเค้าบอกว่าให้รู้สึกทั้งตัวว่ากำลังหายใจอยู่ เอ่อ เดิมนี่ก็ทำอย่างนี้หนะค่ะ
เอ่อ ทีนี้ ถ้ารู้สึกลมที่ปลายจมูก คืออย่างอื่นไม่ต้องรู้สึกเลย รู้สึกลมที่ปลายจมูกอย่างเดียว ไม่ต้องมานั่งรู้สึกทั้งตัว ว่าเรากำลังหายใจอยู่อะไรอย่างนี้ เอ่อ คือให้รู้สึกที่ปลายจมูกอย่างเดียวใช่มั้ยคะ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่ ทีนี้ ปัญหาตามมา ปัญหาตามมาตรงที่ว่า ต่อข้อคำถามนี้ คนที่พูดวิธีการนี้เนี่ย เค้าพูดด้วยความที่เข้าใจว่าอยากที่จะให้มันเป็นวิปัสสนา อยากจะให้เป็นวิธีวิปัสสนา
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะ
[อาจารย์ Aero.1]
โดยการศึกษาของผู้ที่พูดเรื่องนี้คนแรก ๆ เนี่ย เกิดมีความดังระดับประเทศ แต่ข้อมูลที่พูดมาเนี่ยเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อน
เพราะอะไร ถ้าได้ฟังชุดวิดีโอเรื่องแรกหนะนะฮะ ก็คือ อานาปานสติที่คุณไม่ได้ยินได้ฟังมาก่อนเนี่ย แล้วเทียบตามที่ผมบอกตามตำแหน่งต่างๆ ในพระไตรปิฎกเนี่ย คนที่แสดงธรรมแบบนี้เค้าก็จะฉุกคิดแล้วก็ ไปตามสืบตามหัวข้อต่าง ๆ ที่ผมชี้ไว้ เพราะฉะนั้นมันจะมีคำถามที่ว่า เอ๊ะ แล้วคนที่ดังระดับประเทศหรือพระที่ดังระดับประเทศ เค้าพูดแบบนี้มันจะไม่ตรงจริงเหรอ มันจริงหนะ
คำที่เค้าพูดเนี่ยมันมีสาเหตุจากตรงที่ว่า เค้าคิดว่าการรู้ลมไปเพ่งเนี่ย จะทำให้เจ็บป่วย ปวดหัว หรือเป็นสมาธิหัวตอ หรือเป็นเรื่องของสมาธิซึ่งไม่ควรกระทำ เนี่ย เค้าคิดไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นบริบททางสังคมภาคปฏิบัติในช่วงเวลา 30-40 ปีมานี้ มันจึงผลิตคำใหม่ขึ้นมาว่าต้องรู้ทั่วพร้อม เพราะฉะนั้นรู้ลมต้องรู้ทั่วพร้อม ซึ่งถ้ามาทำจริง ๆแล้วเนี่ย ตามลำดับที่พระพุทธเจ้าตรัสและพระสารีบุตรอธิบายเนี่ย จะรู้ได้ว่าขณะที่รู้ทั่วพร้อมเนี่ยไม่ใช่สาธารณะ ที่ใครบุคคลใดอยู่ ๆ จะมารู้ทั่ว ไม่สามารถ จะมีความแตกต่างมากกับผู้ที่รู้สั้นมาตั้งแต่ต้น รู้ยาวมาตั้งแต่ต้น แล้วรู้สั้นแล้วถึงมารู้ทั่ว การที่จะรู้ทั่วได้เนี่ย จะต้องมีสัมปชัญญะที่มีกำลังและมีสมาธิเจือแล้วอย่างนี้นะ
เพราะฉะนั้น ถามว่าแล้วคนที่ทำแบบนั้นเนี่ย เค้าจะได้ผลอย่างไรหละ จะได้ผลเป็นบวกเป็นลบหรืออย่างไร ผลที่ได้ก็คือเค้าจะไม่รู้จักความสงบเลย เพราะอะไร เพราะจิตยังไม่มีความตั้งมั่นเลย จิตมันก็จะวนฟุ้งอยู่ภายใน สังเกตได้ว่าถ้าจะถามคนที่ฝึกแบบนี้มานาน ๆ เนี่ย จะเกิดอะไรขึ้น ก็จะไม่รู้จักความสงบ แล้วก็จะฟุ้งอยู่ภายใน แล้วก็ฟุ้งอยู่ภายนอกอิรุงตุงนังเลยทีนี้ และคำสอนนี้จะพ่วงมาอีกคำสอนนึงก็คือดูจิต ก็คือรู้ไปว่าคิดอะไร ทำอะไร แล้วก็ไหลตามไป ไม่ต้องไปห้าม ไม่ต้องไปมีขันติหรือสังวรอะไร ซึ่งมันผิดหลักหมดเลย และคนเหล่านี้ในที่สุดจะฟุ้งซ่านแบบที่สุด ถ้าฝึกบ่อย ๆนะฝึกบ่อย ๆ มันคือวิธีฝึกฟุ้งซ่านนั่นเอง
สิ่งที่ผมพูดเนี่ย อาจจะมีคนจำนวนมากในประเทศ อาจจะไม่เห็นด้วยด้วยนะ เพราะอะไร เพราะเค้าซึมสิงกับคำสอนเหล่านั้นมายี่สิบกว่าปีหนะ เพราะฉะนั้นต้องเลือกเอานะ ผู้ใหม่อย่างคุณเข้ามาเนี่ย ต้องคัดแยกให้ได้ว่าอันไหนที่เป็นพระบริสุทธิธรรม
ที่ผมพูดที่ผมพูดนี้ไม่ได้พูดเชิงลบนะครับ หรือไปตีใครในเชิงลบ แต่ผมพูดไปตามพระสัทธรรมว่าผมเห็นแบบนี้ พระพุทธเจ้าสอนแบบนี้ ความเห็นอื่นที่ต่างไปผมก็ชี้ให้เห็นว่ามันเกิดจากที่ไหนอย่างไร และเค้าเคลื่อนตรงไหน ไม่ได้โจมตีใคร แต่มันจำเป็นต้องชี้ ชี้ว่าอันไหนที่ควรที่จะพึงกระทำอย่างนี้นะ
เพราะฉะนั้นมาในห้องนี้ ผมก็ไม่ได้บอกว่าให้เชื่อเลยแล้วก็อย่าพึ่งปฏิเสธแนวคิดอื่น ผมท้าให้พิสูจน์ ให้ลอง เข้ามา เข้ามา ลองทำดู แล้วถ้าเป็นไปตามที่พระพุทธเจ้าบอกเป็นตามลำดับอย่างที่คุณ ได้ไปขวนขวายในการดูพระสูตรมาว่าพระพุทธเจ้าตรัสอย่างไร ถ้าเป็นไปตามนั้นก็รู้ได้ด้วยตัวเอง อย่างนี้นะครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะ ทีนี้เป็นข้อปลีกย่อยของข้อสุดท้ายค่ะ เกรงใจจัง
[อาจารย์ Aero.1]
ไม่เป็นไร
[ผู้ร่วมสนทนา]
ทีนี้ถ้าเรามาโฟกัสที่ปลายจมูกเนี่ยค่ะ แล้วมันมีอีกข้อนึงที่ตามมาคือ อย่าเพ่ง อย่าเผลอ เออ แล้วทีนี้ถ้าไปโฟกัสที่ปลายจมูกเนี่ยเราจะรู้ได้ยังไงว่าเราไม่เพ่ง คือเผลอเนี่ยมันรู้ง่าย แต่ก็ถ้าเกิดมันจะเพ่งหรือเปล่า จึงเกิดอาการสงสัย
[อาจารย์ Aero.1]
คือวาทะเหล่านี้ มันเป็นวาทะนอกแนวนะ ไม่มีนะ พระพุทธเจ้าให้เพ่งนะ ฌานนี่แปลว่าเพ่งนะ คำว่าเพ่งนี่ หมายถึงอย่างนี้นะฮะ เพ่งแต่ไม่เกร็ง ไม่เข่น ลมหายใจเนี่ยเป็นลมหายใจปกติ ธรรมดาระบบลมหายใจเนี่ย ถึงแม้เราไม่ตั้งใจหายใจเค้าก็หายใจ ถูกมั้ยครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะ
[อาจารย์ Aero.1]
เพราะมันเป็นกล้ามเนื้ออัตโนมัติ แต่กล้ามเนื้ออัตโนมัติในระบบลมหายใจเนี่ย เราจะตั้งใจหายใจก็ได้ ถูกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ถูกค่ะ
[อาจารย์ Aero.1]
อย่าไปตั้งใจหายใจ ตัวตั้งใจหายใจหนะ คือการเข่นลมหายใจ เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่เรื่องเพ่งไม่เพ่งนะการเข่นเนี่ย ให้เรารู้เฉยๆ รู้เบาๆ ไม่ต้องไป เอ่อ จับนกหนะ ถ้าเราไปบีบเเน่นมากมันก็ตายใช่มั้ยครับ ถ้าเราคลายมากมันก็หลุด ก็เอาแต่พอดี แล้วเวลารู้ลมเนี่ย ให้รู้ลมบริเวณจุดกระทบ ใช้จุดกระทบเป็นบริเวณที่รู้ลม อันนี้เข้าใจมั้ยครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ค่ะๆ
จบนาทีที่ 26.54
*หลังจากนั้นอาจารย์ก็อธิบายเรื่องการรู้ความนานของลมเข้าลมออกที่จุด ๆ เดียว
จากคลิป
รู้ทั่วกาย,จริต คำถามผู้ใหม่ ศ.18 มิ.ย.64 โดย ท่าน อาจารย์ Aero.1
https://youtu.be/wij4icX7ryc
นาทีที่ 17.43 – นาทีที่ 26.54