[ผู้ร่วมสนทนา]
ขออนุญาตครับอาจารย์ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
เชิญครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
อาจารย์ครับผมว่าจะรบกวนถามเรื่องกายคตาสติ ผมมีความสงสัยว่าทำไมเวลากล่าวกายคตาสติ ทำไมพูดแค่อาการ 32
แต่ว่าถ้าไปดูในพระสูตรท่านจะอธิบายไว้ทั้ง 14 บรรพเลยครับ ถามเป็นความรู้เฉยๆ ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
14 บรรพนั่นก็คือในส่วนของมหาสติปัฏฐานสูตรเนาะ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ครับ เหมือนกันเลยครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้ลองไปดูซิว่า ในอาการ 32 เนี่ย ท่านตรัสเป็นในส่วนของสมถะภาวนาโดยตรงนะครับ ปรากฏในพระสูตรที่ชื่อว่า อนุสติ 10 สูตร ตรงนั้นท่านก็ตรัสในเรื่องของอาการ 32 ส่วนมหาสติปัฏฐานสูตรเนี่ย ที่ผมบอกบ่อย ๆ นะครับ ว่าเป็นการตรัสแบบรวมนะครับ ท่านจีงเน้นย้ำไงว่าลมนี่ก็เป็นกาย อย่างนี้นะ เพราะฉะนั้นก็จะมี 14 บรรพ รวมกันไปเลย พูดถึงเรื่องกายโดยตรง ประกอบไปด้วยนวสี 9 ธาตุมนสิการ รวมถึงอิริยาบถด้วย รวมถึงสัมปชัญญะด้วย บรรพนะฮะ อานาปานสติอีกหนึ่งก็รวมเป็นทั้งหมด 14 บรรพ ในส่วนของกายานุปัสนาสติปัฏฐานเน้นไปที่กายานุปัสนาสติปัฏฐาน เป็นกายหมวดกาย 14 บรรพ
แต่ในส่วนของอนุสติ 10 นั้นหนะ ท่านพูดถึงในเชิงสมถะ จึงกล่าวเน้นไปที่ตัวทวัตติงสาการหรือว่าอาการ 32
ทีนี้ตัวมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ท่านตรัสกับใคร ท่านตรัสเพื่ออะไร ก็ต้องรู้พุทธประสงค์ ตอนที่ท่านตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นการรวมวิธีปฏิบัติที่ตรัสไว้ครอบคลุมทุกส่วน ที่มุ่งเน้นไปที่การเห็นสติปัฏฐานด้วยวิธีต่างๆ เพราะฉะนั้นจะสังเกตได้ว่า ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นหนะ เนื่องจากมีสภาพเป็นสรุปข้อธรรมแล้วนั้นหนะ จะเห็นได้ว่าอะไรที่ไม่ได้เอื้อไปสู่การเกิดสติปัฏฐานเนี่ย ก็จะไม่ได้ตรัสไว้ ถึงแม้เป็นเรื่องสำคัญก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น กสิณ ไม่มีกสิณบรรพ เห็นมั้ย ไม่มีเมตตาอัปปมัญญาพรหมวิหารปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรด้วยเหตุนี้
อย่างนี้เป็นต้น ฉะนั้นข้อสังเกตนี้ก็ลองพิจารณาดูนะครับ พอจะเห็นภาพมั้ยครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
อ๋อ เห็นภาพครับอาจารย์ เข้าใจแล้วครับอาจารย์ครับ ขอบคุณครับอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
ขยายก็ในส่วนของอนุสติ 10 สูตรนะ อนุสติสูตรก็ดี กสิณสูตรก็ดี อัปปมัญญาพรหมวิหารก็ดี โดยมีเมตตาเป็นเบื้องต้นนั้นหนะ ท่านก็ตรัสเองนะ แต่ถามว่าทำไมเหล่านี้บางอันถึงไม่ปรากฏอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตร เนี่ย ตรงนี้สำคัญ เพราะอะไร ก็เพราะว่ามหาสติปัฏฐานสูตรนั้นหนะ ท่านตรัสกับชาวกุรุนครนะ แล้วชาวกุรุเนี่ย เค้ามีศีลสมาธิอยู่แล้ว และก็มีปัญญาด้วย คนในสังคมนั้นทั้งเมือง แม้แต่นกแขกเต้ายังท่อง อัฏฐิ อัฏฐิ อยู่ใช่มั้ย เคยฟังพระสูตร ในอรรถกถาท่านกล่าวไว้นะฮะ
เพราะฉะนั้นมันบ่งบอกสภาพแวดล้อมของคนในกุรุนครนั้นว่ายังไง ก็บ่งบอกว่าทุกคนนั้นหนะมีศีลเป็นพื้น มีสมาธิอยู่แล้ว แล้วบางคนก็เจริญปัญญาไปแล้วด้วย เป็นกัลยาณชนแล้ว พระองค์มาตรัสเรื่องของมหาสติปัฏฐานสูตรรวมทั้งหมด 21 บรรพ นั้นหนะเพื่อที่จะให้ลุถึงนิพพานนั่นเอง เป็นเจตจำนงหลักแล้วก็รวมทั้งหมดเลยว่ามีอะไรบ้าง แล้วก็แยกเป็นกาย เวทนา จิต ธรรม หรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน และธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างนี้เป็นต้นนะ
ข้อบ่งชี้ก็อย่างที่บอกเมื่อสักครู่ว่ากสิณสูตรพระองค์ตรัสเองแต่ไม่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร อัปปมัญญาพรหมวิหาร พระองค์ก็ทรงตรัสเองและเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการเป็นพื้นฐานของการเจริญในส่วนของสมถะเพื่อเข้าสู่วิปัสสนาเนี่ย พระองค์ก็ไม่ได้ตรัสด้วยเหตุนั้นนะครับ นี้คือข้อสังเกต
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้ในสังคมเรานี่ เค้าจะกล่าวว่าต้องสติปัฏฐานสี่เท่านั้น เป็นเอกายโน มคฺโค วิสุทธิยา หรือเป็นทาง หนทางอันเดียวที่ไปอันเอกสูู่ความบริสุทธิ์เนี่ย ตรงนี้ไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องมหาสติปัฏฐานสูตรเท่านั้นนะ เพราะคนคิดอย่างนี้จะกลายเป็นบุคคลที่ยกเอามหาสติปัฏฐานสูตร เป็นมหาสติปัฏฐานสูตรนิยมไปเลย เพราะว่าอะไร เพราะไปเข้าใจว่าคำว่าทางอันเอกเนี่ย คิดว่าเป็นพระสูตรเดียวก็จบหมดอย่างนี้นะ เป็นการเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นเมตตาไม่ได้ทำแน่ ใช่มั้ย ศีลก็ไม่ต้องพูดถึงก็ได้ ดูจิตอย่างเดียวอย่างนี้เป็นต้น ดูสติอย่างเดียวอย่างนี้เป็นต้น ที่ผมพูดบ่อยๆว่าในสมัยโบราณนั้นหนะเค้าอยู่ด้วยสหธรรมิกโดยรอบ เพราะฉะนั้นถ้าท่องสูตรไม่ได้ ท่องศีลไม่ได้เนี่ย หรือทำความเข้าใจไม่ได้เนี่ย ก็ยังมีคนขนาบอยู่ แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ ดูจิตอย่างเดียว
มีศีลข้อเดียวคือสติข้อเดียว อย่างนี้นี่ตายครับ อยู่ไม่ได้นะ เรียบร้อย เพราะอะไร เพราะรอบข้างก็ขนาบไม่ได้ ไม่รู้เหมือนกันศีลข้อเดียวกันทั้งวัดอย่างนี้ก็จบเลย
ทีนี้คำว่าทางอันเอกเนี่ย เอกายโน มคฺโค เนี่ย ถ้าลองไปเปิดดูในพระไตรปิฎกนะ 84,000 ก็ได้นะฮะ ในสูตรมหาสติปัฏฐานสูตร ตรง เอกายโน มคฺโค วิสุทธิยา เค้าจะ remark ไว้เลยว่า หมายถึงทางของเอกบุรุษ หนึ่งนะ สอง หมายถึง ทางที่ไปคนเดียว ซึ่งไม่ได้มีนัยยะว่าพระสูตรนี้พระสูตรเดียวนะ
เพราะฉะนั้นยุคนี้ คนที่เป็นสติปัฏฐานนิยมเนี่ย หรือวาทะนี้ หรือว่าสังคมที่ปฏิบัติแบบนี้ ก็ต้องพิจารณาเรื่องนี้ให้ดี ไม่งั้นแล้วทุกวันนี้จะมีวาทะที่ว่า
– ปฏิบัติกันด้วยวิธีรู้สึกตัวอย่างเดียว ก็ดี
– อิริยาบถอย่างเดียว ก็ดี
– หรือธาตุมนสิการบรรพอย่างเดียว ก็ดี
โอกาสสุ่มเสี่ยงของการเสียเวลาหรือว่าประพฤตินอกแนว หรือว่าทิฏฐืนอกแนวเนี่ยมันก็เกิดขึ้นได้ กลายเป็น สีลสามัญญตาและทิฏฐิสามัญญตา ที่ไม่ได้ตรงต่อพระสัทธรรมอย่างแท้จริง ก็ออกนอกแนวไป ส่วนใหญ่พวกนี้ก็วิ่ง ที่สุดแล้วนะครับปฏิบัติไม่รวม ถ้าอุกฤษฎ์มากๆ ก็กลายเป็นโพธิสัตว์กันหมด กลายเป็นตัวสุทธิบัตรเป็นเถรวาทนะ แต่ทิฏฐิเป็นมหายาน ความประพฤติเป็นมหายานกันหมดอย่านี้นะ ก็สุ่มเสี่ยงต่อการออกนอกพระสัทธรรม
จากคลิป
EP36 สนทนาธรรม พ.16 มี.ค.โดยท่านอาจารย์ Aero.1
นาทีที่ 10.49 – นาทีที่ 19.30