[ผู้ร่วมสนทนา]
คือคนค่อนผมว่า ตอนนี้เยอะมากนะอาจารย์ ที่แบบว่ากลายเป็นโรควิตกตรงติดเพ่งเนี่ย ผมเลยสงสัยว่าตรงติดเพ่งเนี่ย พระพุทธเจ้าเคยตรัสกับใครมั้ย คือผมถามแบบคนไม่รู้เลยนะอาจารย์ ว่ามาได้ยังไง มาจากไหนคำนี้ แล้วคนดูแบบเป็นวิตกกันมาก ว่ากลัวจะติดเพ่ง ทั้ง ๆ ที่จริงจริงแล้วเนี่ย การเพ่งมันคือวิธีที่ทำให้เกิดสมาธิไม่ใช่เหรออาจารย์ ผมก็เลยสงสัย
[อาจารย์ Aero.1]
ก็ต้องนิยามคำว่าเพ่งที่เค้าพูดก่อน ว่าคำว่าเพ่งที่เค้าพูดในที่นี้นี่หมายถึงอะไร จริงๆ แล้วสิ่งที่คนเค้าพูดกันนี่ มาจากภาษาของครูบาอาจารย์นะ แล้วคำว่าเพ่งเองเนี่ย ถ้าในพระไตรปิฎกที่แปลมาเป็นไทยเนี่ย เพ่งเนี่ยมาจากภาษาบาลีก็คือฌานเลย ฌานนี่แปลว่าเพ่ง
แต่ทีนี้คำว่าฌานในสัมมาฌานของพระพุทธเจ้าเนี่ย ไม่ใช่เพ่งแบบทั่วไปหนะนะ เป็นเรื่องของการเพ่งแบบที่ผ่อนคลายนะ แล้วมีศัพท์คำนึงที่คู่กันก็คือมนสิการ ก็คือยกจิตตั้งอารมณ์ไว้อย่างจดจ่อต่อเนื่อง เนี่ยอาการเพ่ง คำว่าเพ่งในที่นี้ไม่ใช่ อาการเพ่งแบบเขม็งเข็งเกลียว.หรือเข่นอารมณ์ อย่างงี้ ครูบาอาจารย์สายป่าจะบอกว่า อย่าเพ่ง อย่าติดเพ่ง มีคำว่า”ติด”เข้ามาอีก ติดเพ่ง
ติดในที่นี้ก็คือการเพ่งเป็นอุปสรรค อุปสรรคหมายถึงอะไร ก็หมายถึงไปเข่นอารมณ์ ก็คือตัวฉันทะถูกตั้งไว้ผิดหนะ มันกลายเป็นการขวนขวายที่จะทำ ที่จะทำ โดยที่มีตัณหาเข้าไปผูกอารมณ์ไว้ เพราะฉะนั้น เวลาเราตั้งอารมณ์ผิดเนี่ย จิตมันจะไปผูกกับผลนะ เพ่งแล้วต้องได้ดีสิ เพ่งแล้วต้องได้นู่นได้นี่สิ เพราะอะไรฮะ เพราะพื้นฐานไม่ได้ถูกปูไว้เลย ถูกมั้ย เพราะฉะนั้นถ้าเราอยู่ๆมาทำอานาปานสติ โดยที่เราไม่ได้เรียนพื้นฐานเตรียมอานาปานสติ ผลก็จะเป็นแบบนั้น มันจะกลายเป็นเพ่ง เข่นอารมณ์ ก็จะมีลักษณะของการติดเพ่งไปด้วยความเขม็งเข็งเกลียว ไม่ใช่การมนสิการหรือยกจิตขึ้นตั้งอารมณ์ด้วยความต่อเนื่องด้วยความผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องอย่างนี้ อารมณ์ต่างกัน
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ทีนี้มาดูว่าเพ่งเนี่ย มันยังมีความหมายอีก ก็คือในบรรดากองกรรมฐาน 40 อาการเนี่ย คำว่าเพ่งเนี่ย จะใช้ตาเพ่งก็ได้ จะใช้ใจระลึกต่อเนื่องก็ได้ ก็เรียกว่าเพ่งเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นที่ท่านพูดกันว่าติดเพ่ง ติดเพ่งนั้นหนะก็เป็นด้วยเหตุนี้นะ ด้วยการเข่นอารมณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเนี่ยสาระสำคัญที่จะต้องเน้นนะก็คือ นอกจากเราเพ่งให้เป็นแล้วหรือว่ายกจิตขึ้นมนสิการอย่างต่อเนื่องในกรรมฐานแต่ละกองนั้นแล้วอย่างต่อเนื่อง สิ่งหนึ่งที่ต้องมีก็คือรู้ลำดับของเค้า รู้ทางเข้าออกของเค้า ตรงนี้สำคัญ ถ้าเราไม่รู้ตรงนี้ การปฏิบัติไปถึงแม้จะผ่อนอารมณ์ไป ไม่มีเขม็งเข็งเกลียว มนสิการต่อเนื่องไปแต่เราไม่รู้ตัวนี้ ไม่รู้ลำดับเนี่ย ก็นำไปสู่การเพ่งในระดับละเอียด ติดเพ่งในระดับละเอียดเช่นเดียวกัน เช่นการติดสุขเป็นต้น เพราะฉะนั้นลำดับในการปฏิบัติเนี่ย พื้นฐาน การเตรียมตัวแต่เบื้องต้นจึงสำคัญมาก
[ผู้ร่วมสนทนา]
อาจารยครับ แล้วทีนี้ ผมพูดถึงสายอื่นได้มั้ย
[อาจารย์ Aero.1]
ได้
[ผู้ร่วมสนทนา]
ผมกลัวว่ามันจะ..
[อาจารย์ Aero.1]
คืออย่างนี้นะในศาสนาเราเนี่ย พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกหรอกว่าอย่าไปพูดถึงวิธีการที่อื่น หรือว่าวิธีการไหนถูกผิด พระพุทธเจ้าให้ตั้งใจเข้าไปเรียนเลย เราไม่ได้ปรามาสใคร เพราะฉะนั้นเวลาผมเขียนก็ดีนะ หรือเวลาผมพูดถึงใครก็ดีนะ ผมเอ่ยชื่อเลย ผมเจตนาบริสุทธิ์มาก ไม่ต้องกลัวฟ้องนะ ยิ่งฟ้องยิ่งดีเลย ผมบอกเสมอ ฟ้องเนี่ย ผมอยากจะให้ผู้พิพากษาอ่านพระไตรปิฎกนะ เพราะฉะนั้น เอ่ยชื่อได้เลยฮะ มันไม่ได้ผิดกฏหมายนี่ แหม
[ผู้ร่วมสนทนา]
อาจารย์ อย่างสายดูจิต
[อาจารย์ Aero.1]
เราไม่ได้ปรามาสใคร เราไม่ได้หมิ่นประมาทใคร เราพูดไปตามลักษณะที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในเชิงการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ นี่เป็นสากล วิธีการศึกษาทั่วไปนะ อันนี้ทำความเข้าใจนะ เราจะได้ทราบทั่วไปนะครับ อ้าวเชิญครับ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ครับ เอ่อ พูดถึงสายดูจิตเลย สายดูจิตที่เค้าว่าติดเพ่งเนี่ย ดูจิต มันเพ่งลักษณะเดียวกันหรือเปล่าอาจารย์ หรือยังไง เป็นลักษณะ…
[อาจารย์ Aero.1]
เดี๋ยว.. ต้องกล่าวด้วยว่าใครบอกว่าติดเพ่ง
[ผู้ร่วมสนทนา]
เอ่อ สายของหลวงพ่อปราโมทย์หนะครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ถูก ถูก ถูก หมายถึงว่าวิธีการที่ท่านปราโมทย์สอนเนี่ยให้รู้จิต ถูกมั้ย ให้ต่อเนื่องไปให้รู้ตามไป ถูกมั้ย
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
คำถามคือ ใครเป็นคนบอกว่าติดเพ่ง
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ครับ
[อาจารย์ Aero.1]
ใครเป็นคนบอก หมายถึงมีคนวิจารณ์วิธีการของท่านปราโมทย์ว่าติดเพ่งใช่มั้ย? ผมเข้าใจถูกมั้ย?
[ผู้ร่วมสนทนา]
เวลาลูกศิษย์มาปึ๊บ คนนี้เพ่ง เพ่งนะ เพ่ง คือเหมือนกับว่า ผมก็เลยงงว่า เอ่อ
[อาจารย์ Aero.1]
ทำไมไม่ควรเพ่งใช่มั้ย?
[ผู้ร่วมสนทนา]
ใช่ หมายถึงว่า ก็ในเมื่อพระพุทธเจ้าเนี่ย คือท่านให้ทำฌาน ฌานนี้ก็คือการเพ่ง ผมเนี่ย ผมมาถึงจุดจุดที่ว่าผมอยากจะรู้เลย
[อาจารย์ Aero.1]
ก็ท่านศึกษาไม่ทั่ว ท่านจะยกตัวนี้นะ ท่านจะยกว่า ฌานไม่ต้องทำ ถูกมั้ย ให้ไปทำลักขณูปนิชฌาน คือท่านไปค้นตรงส่วนของอารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌานหนะ แล้วท่านก็บอกว่าตัวอารัมมณูปนิชฌานเนี่ย เป็นส่วนของสมถะ ไม่ต้อง ให้ตามรู้จิตไปแล้วจะเข้าสู่ลักขณูปนิชฌานซึ่งมันค้านต่อวิธีการไงที่เคยบอก
[ผู้ร่วมสนทนา]
มันมีอะไรที่ย้อนๆแย้งแบบเยอะมากอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
ถูก ถูก
[ผู้ร่วมสนทนา]
นี่ทำให้ผมหักเลยนะ หักเข้ามาหาอาจารย์เลยนะ เพราะว่าคือ เอ่อ ช่วงที่ผมเริ่มศึกษาจากแบบว่าผมไม่เลือกสำนักเลยนะ แบบว่าผมเข้าไปศึกษาไปลองปฏิบัติ ลองปฏิบัติ ลองทำดู แล้วก็ฟังในสิ่งที่ท่านสอนด้วย ทีนี้ กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ท่านสอนหนะ มันกลายเป็นว่า ท่าน มันย้อนแย้งคำพูด คือมันย้อนแย้งของอย่าง เอ่อ ที่พระพุทธเจ้าสอนเรื่องที่ว่าการทำสมาธิเนี่ยอาจารย์ ก็หมายถึงว่าจะมีสมาธิได้ก็คือจะต้องมีฌาน ฌานนี่ก็ต้องมีการเพ่ง ทีนี้สิ่งที่ท่านบอกนี่คือไม่อยากให้เพ่ง ติดเพ่ง เพ่งไปนะ กลับกลายเป็นว่าคือเพ่งไม่ดี เนี่ยผม…
[อาจารย์ Aero.1]
คือผมเข้าใจ ผมเข้าใจท่านนะ ก็คือท่านเข้าใจว่าให้มันเป็นอัตโนมัติ รู้จิตไปให้มันเป็นอัตโนมัติ อย่าไปเอาตัวอะไรเข้าไปขัด ซึ่งถ้าเราไปเปิดมหาปเทสนะ คำว่ามหาปเทสหมายถึงกระบวนการวิธีตรวจสอบธรรมนะ ถ้าเราไปเปิดมหาปเทส พระพุทธเจ้าให้ตามอารมณ์เหรอ? หรือพระพุทธเจ้าให้ข่มให้หลบ
[ผู้ร่วมสนทนา]
ไม่มีนะ มีแต่ให้กำหนดรู้ แล้วก็ให้ละ
[อาจารย์ Aero.1]
ใช่
[ผู้ร่วมสนทนา]
แต่จะละด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา ใช่มั้ยอาจารย์
[อาจารย์ Aero.1]
ถูก ทีนี้ตามความเข้าใจผม ผมก็ไม่ได้ศึกษางานท่านในระดับละเอียดหนะนะ ก็การที่บอกว่า…….
จบนาทีที่ 40.43
*หลังจากนาทีที่ 40.43 อาจารย์ Aero.1 ก็เล่าเรื่องการสอนดูจิตต่อ และเล่าความเป็นมาถึงประวัติศาสตร์การนำเข้ามาของวิธีการยุบหนอ พองหนอพร้อมอธิบายว่ามีความนอกแนวอย่างไร
จากคลิป
EP13 แก้อาการติดเพ่ง, คำสอนนอกแนวยุบหนอ พองหนอ, การบวชและวินัยของสงฆ์ ส.25 ธ.ค.64 เวลา 19.32 น
นาทีที่ 30.44 ถึงนาทีที่ 40.43
* หมายเหตุ
เพื่อความต่อเนื่องและชัดเจนของข้อมูลมีคลิป
นัยสําคัญของการเกิดธรรมยุติ, ข้อสันนิษฐาน การตีความจุดรู้ลม และการนับในคัมภีร์วิสุทธิมรรค อา16ม.ค.65
?? สารบัญ
01:15 เสวนาหนังสืออานาปานสติของพะอ๊อก แลสิยาดอ
08:06 วิธีรักษาศีลของพระ
12:46 หนังสืออานาปานสติที่สอนตรงที่สุดในโลก
15:53 ภาวนาดูลมหายใจพร้อมกับพุทโธมีอุปสรรคอย่างไร
22:04 ความคลาดเคลื่อนการนับลมในวิสุทธิมรรค
30:03 ที่มาภาวนาแบบยุบหนอ พองหนอ